คำนี้รู้สึกว่าได้ยินกันทุกวัน เด็กๆ ชั้นประถมคนหนึ่งได้ถามเพื่อนร่วมชั้นว่าเรามาปรองดองกันเถอะ เพื่อนอีกคนเมื่อได้ยินก็ถามกลับไปว่า ทำไมเราต้องปรองดองกันด้วย มันหมายถึงอะไรกัน เราจะต้องเริ่มต้นอย่างไร
นั้นเป็นส่วนหนึ่งที่เด็กอาจจะไม่ทราบความหมายที่แท้จริง เมื่อไม่รู้ความหมายที่แท้จริงว่าหมายถึงอะไรก็ไม่สามารถลงมือกระทำได้ ภาษาไทยนี้ก็แปลกดีนะครับท่านผู้อ่าน เพราะว่า คำว่า ปรอง ถ้าอยู่โดดๆ อยู่เดี่ยวๆ นั้นไม่มีความหมายอะไรเลย ปรอง หมายถึง อะไร จะปรองกัน คือ อะไร ไม่เคยมีคนเคยพูดถึงคำว่า ปรอง เดี่ยวๆ เลย
นั้นเป็นส่วนหนึ่งที่เด็กอาจจะไม่ทราบความหมายที่แท้จริง เมื่อไม่รู้ความหมายที่แท้จริงว่าหมายถึงอะไรก็ไม่สามารถลงมือกระทำได้ ภาษาไทยนี้ก็แปลกดีนะครับท่านผู้อ่าน เพราะว่า คำว่า ปรอง ถ้าอยู่โดดๆ อยู่เดี่ยวๆ นั้นไม่มีความหมายอะไรเลย ปรอง หมายถึง อะไร จะปรองกัน คือ อะไร ไม่เคยมีคนเคยพูดถึงคำว่า ปรอง เดี่ยวๆ เลย
ส่วนคำว่า ดอง หมายถึง แช่หรือหมัก ผัก ผลไม้ และสิ่งต่างๆ เพื่อเก็บรักษาไว้ให้อยู่ได้นานๆ แต่บางครั้งเราอาจจะได้ยินคำว่า ดอง จากคนอีสาน ซึ่งหมายถึง การแต่งงาน (กินดอง = เกี่ยวดอง = เกี่ยวข้องกันโดยการแต่งงาน) เป็นต้น จะเห็นว่า ดอง เมื่ออยู่คำเดียว ก็สามารถมีความหมายในตัวเองได้ ดังนั้น ถ้าหากคนอีสานมาดองกันจะสร้างความสัมพันธ์สามัคคีกันมากขึ้น มีความผูกพันกันแน่นมากยิ่งขึ้น แต่หากเป็นความหมายตั้งแต่แรกข้างต้นนั้น เป็นการกระทำใดๆ ที่ต้องการรักษาสิ่งของที่เราสนใจให้อยู่ได้นานๆ ซึ่งหลายๆ ท่านคงจะทราบดี เช่น ดองผลไม้ ดองผัก เป็นต้น
แต่ถ้าหากเมื่อไรก็ตาม ที่ ปรอง + ดอง แล้ว จะเป็น ปรองดอง นั้น หมายถึง ประนีประนอม ยอมกัน ตกลงกันด้วยไมตรีจิต (ซึ่งจะเห็นว่าไม่ได้มีความหมายเกี่ยวกับ คำว่า ดอง ข้างต้นเลย) ซึ่งที่จริงแล้ว คำปรองดอง ควรจะหมายถึง กระทำการใดที่ตกลงกันได้อย่างที่มีความสัมพันธ์อันดี (เหมือนกับคำว่า ดอง ของคนอีสาน) โดยควรจะกระทำอย่างรวดเร็วด้วยซ้ำ (ไม่ให้เหมือนกับ คำว่า ดองที่เป็นการเก็บรักษาให้อยู่นานๆ) และสิ่งหนึ่งที่ควรทำคือ การตกลงด้วยไมตรีจิต ความหมายนี้ลึกซึ้งมากที่เดียว เพราะการปรองดอง จะกระทำได้ให้สำเร็จนั้น จะต้องทั้งสองฝ่าย (หรือหลายๆ ฝ่ายก็ตามแต่) มีไมตรีจิตต่อกัน มีความจริงใจต่อกัน มีความบริสุทธิ์ใจต่อกัน มีความเข้าใจซึ่งกันและกัน (เอาใจเขามาใส่ใจเรา เอาความเจ็บปวดของคนอื่นๆ มาเป็นของเรา เอาความเจ็บปวดของเราให้คนอื่นเข้าใจเรา)
ดังนั้น ปรองดอง ที่พูดๆ กัน ที่เห็นกันทุกวันนี้ จะประสบความสำเร็จได้นั้น ผู้เขียนคิดว่า ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดที่ขัดแย้งกันอยู่ควรจะต้องมอบไมตรีจิตให้กันและกันเสียก่อน แล้วหลังจากนั้นให้นำความหมายของคำว่า ดอง ของคนอีสาน มาปฏิบัติ และไม่ควรที่จะ ดอง ไว้ (เหมือนความหมายที่สื่อถึงการเก็บไว้ให้ได้นาน) ควรจะต้องรีบลงมือมอบไมตรีจิตให้กันด้วยความจริงใจ ยอมรับในสิ่งที่ตกลงร่วมกันภายใต้ความยุติธรรมของทุกๆ ฝ่ายอย่างเท่าเทียมกัน เมื่อเป็นอย่างนั้นแล้ว ปรองดอง จะเป็นประโยชน์อย่างมหาศาลต่อการที่เราทุกคนจะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ขอให้เพียงแต่ไม่ดอง ไว้นานๆ ก็แล้วกัน
มนูญ ศรีวิรัตน์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น