Nuffnang Ads

วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "แกนสำคัญของปฏิบัติธรร­ม- ญาณทรรศน์ สมเด็จพระสังฆราชฯ"

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "แกนสำคัญของปฏิบัติธรร­ม- ญาณทรรศน์ สมเด็จพระสังฆราชฯ" คติธรรมคำสอนในเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เกี่ยวกับเรื่อง "แกนสำคัญของการปฏิบัติธรรม" ซึ่งสามารถรับฟังได้จาก YouTube ต่อไปนี้ 

https://www.youtube.com/watch?v=35i7EsFEPa4&nohtml5=False


จิต หรือที่เรียกว่าจิตใจ อันเป็นแกนสำคัญของการปฏิบัติธรรม สมาธิก็เป็นแกนสำคัญของปฏิบัติธรรม เพราะฉะนั้นในพระสูตรหนึ่งจึงได้มีแสดงไว้­ว่า สมาธิเป็นข้อหลัก ตรัสแสดงไว้เป็นอันดับ ๑ และตรัสแสดงว่ามรรคมีองค์ ๘ ข้ออื่นนั้นเป็นบริวาร หรือเป็นบริขารของสมาธิ อันแสดงว่าสมาธิเป็นแกนหรือเป็นหลักสำคัญข­องการปฏิบัติธรรม และสมาธินั้นก็คือจิตนั่นเอง

คติธรรมคำสอนในเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช ฯ ข้างต้น เป็นสิ่งที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง เพราะเมื่อไหร่ที่เข้าถึงแกน คือ สมาธิ นั้นแล้วย่อมจะเกิดพลังในการจัดการในเรื่องต่างๆ  สมาธิ คือ จิต (จิตใจ) เป็น "แกน" อันสำคัญอย่างยิ่งในการที่จะทำให้เราทุกคนสามารถที่จะบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ในที่สุด 


และเป็นธรรมเนียมที่เขียนจะต้องขออนุญาตฝากกาพย์ยานี ๑๑ ไว้ให้ท่านผู้อ่านทุกท่านได้โปรดเมตตากรุณาพิจารณาชี้แนะแนะนำเพื่อการปรับปรุงพัฒนาให้ดียิ่งๆ ขึ้นต่อไป ดังนี้


จิตใจแกนสำคัญ  ต่างเกี่ยวพันกันอย่างดี
สมาธิมากมี  ส่งผลดีมีประจำ

สงบนิ่งให้มาก  จิตสามารถมากจดจำ
คือปฏิบัติธรรม  สิ่งควรทำทุกเวลา

สมาธิข้อหลัก  ฝึกให้หนักรักทุกครา
เป็นแกนทรงคุณค่า  ต้องนำพาหาสู่ตน

ฝึกจิตสมาธิ  มีสติตั้งกมล
ต้องฝึกอย่างอดทน  เฉพาะคนสนให้มี

แกนหลักรักให้มาก ทำไม่ยากหากอยากมี
สมาธิสิ่งดี  นำชีวีดีแน่นอน

ทุกคนย่อมทำได้  เริ่มทันใดให้ได้ก่อน
สมาธิทุกตอน  จะได้พรถาวรเอย


ปภาวีร์ 
๑ สิงหาคม ๒๕๕๙

วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "ครูบาศรีวิชัย จิตจะเป็นวิมุตติ ==> อริยทรัพย์"

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "ครูบาศรีวิชัย จิตจะเป็นวิมุตติ ; อริยทรัพย์" คติธรรมคำสอนของท่านครูบาศรีวิชัย สำคัญอย่างยิ่งที่ยิ่งจะต้องพิจารณากันว่าท่าน "ต้องการอริยทรัพย์หรือไม่" ดังนั้น จึงขอเชิญชวนทุกท่านอ่านได้ตามรูปภาพต่อไปนี้ 


ธรรมเทศนาท่านครูบาศรีวิชัยข้างต้นเป็นสิ่งที่มีค่าอย่างยิ่งที่เราทุกคนควรจะต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนไตร่ตรองให้ดีว่าเป้าหมายในชีวิตของเรานั้น ต้องการเอาอะไร ต้องการจะไปที่ไหนเมื่อหมดลมหายใจ ฝึกไว้เตรียมตัวไว้ย่อมจะเป็นสิ่งที่ดี 

และเป็นธรรมเนียมที่ผู้เขียนจะขออนุญาตฝากกาพย์ยานี ๑๑ ไว้ให้ท่านผู้อ่านทุกท่านได้โปรดพิจารณาเมตตากรุณาชี้แนะแนะนำเพื่อการปรับปรุงพัฒนาให้ดียิ่งๆ ขึ้นต่อไป ดังนี้ 

ประหารกิเลสหมด 
ให้ได้ครบจบทันที
นิพพานในชาตินี้ 

สิ้นชีวีดีแน่นอน

หลุดพ้นจากความทุกข์ 

พบความสุขอำนวยพร
ทบทวนคิดกลับย้อน 

อย่าอาวรณ์ก่อนตายไป

ทรัพย์สินมีมากมาย 

หากว่าตายหายทันใด
เอาไปด้วยไม่ได้ 

ไม่ว่าใครในโลกา

เป้าหมายคือนิพพาน 

ธรรมประสานงานคุณค่า
ตั้งมั่นทุกเวลา 

สติมาพาได้ธรรม

ต้องมีอริยทรัพย์ 

ต้องรู้จักมักในธรรม
ฝึกจิตเป็นประจำ 

ทุกเช้าค่ำย้ำใจตน

สร้างบุญในทุกวัน 

พร้อมแบ่งปันบุญกุศล
พร้อมตายจากเป็นคน 

เพื่อหลุดพ้นไม่กลับเอย

ปภาวีร์ 
๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๙

วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ ความเพียร"

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ  ความเพียร"  คติธรรมคำสอนของท่านหลวงปู่ดู่ สั้นๆ คือ "สำเร็จด้วยความเพียร" ขอเชิญทุกท่านได้อ่านตามรูปภาพต่อไปนี้

 “ความสำเร็จนั้นมิใชอยูที่การสวดมนตออนวอนพระเจามาประทานให หากแตตองลงมือทำดวยตนเอง ถาตั้งใจทำตามแบบแลวทุกอยางตองสำเร็จ ไมใชจะสำเร็จ พระพุทธเจาทานวางแบบเอาไวแลว ครูบาอาจารย ทุกองคมีพระพุทธเจาเปนที่สุด ก็ไดทำตามแบบ เปนตัวอยาง ใหเราดู อัฐิทานก็กลายเปนพระธาตุกันหมด เมื่อไดไตรตรอง พิจารณาใหรอบคอบแลว ขอใหลงมือทำทันที ขาขอรับรองวา ตองสำเร็จ สวนจะชาหรือเร็วนั้น อยูที่ความเพียรของผูปฏิบัติ ” 

คติธรรมคำสอนของหลวงปู่ดู่ เกี่ยวกับเรื่องของความเพียรข้างต้นนั้น นับได้ว่าเป็นสิ่งที่ใครที่หากว่าได้มีความเพียรในเรื่องที่ดีๆ แล้ว ย่อมจะประสบความสำเร็จอย่างแน่นอนในที่สุด

และเป็นธรรมเนียมที่ผู้เขียนจะต้องขออนุญาตฝากกาพย์ยานี ๑๑ ไว้ให้ท่านผู้อ่านทุกคนทุกท่านได้โปรดเมตตาพิจารณาชี้แนะแนะนำเพื่อการปรับปรุงพัฒนาให้ดียิ่งๆ ขึ้นต่อไป ดังนี้

ความเพียรเปลี่ยนชีวิต  เราลิขิตคิดทำดี
ความเพียรให้มากมี  เป็นสิ่งดีมีที่ตน

ความเพียรที่ดวงจิต  ที่ละนิดจิตต้องสน
เพียรมากจิตอดทน  เมื่อเป็นคนสนเพียรไว้

จะเร็วหรือจะช้า  เรื่องเวลาพาเข้าใจ
ความเพียรเรียนรู้ได้  ไม่ว่าใครใจต้องเพียร

เรื่องธรรมนำชีวิต  ที่ละนิดจิตย้ำเตือน
ธรรมะขยันเพียร  อ่านคิดเขียนเปลี่ยนแล้วดี

จะต้องลงมือทำ  จิตจดจำนำชีวี
ลงมือทำทันที เพียรมากมีดีต่อไป

ไตร่ตรองทบทวนธรรม  เพียรพร้อมทำนำพ้นภัย

ทุกสิ่งสำเร็จได้  เพียรด้วยใจให้สุขเอย

ปภาวีร์ 
๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๙

วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงพ่อจรัญ ชะตากรรมของเรา"

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงพ่อจรัญ ชะตากรรมของเรา" คติธรรมคำสอนของท่านหลวงพ่อจรัญสำคัญอย่างยิ่งที่ยิ่งจะต้องพิจารณากันว่าเป็น "ชะตากรรมของเราหรือไม่" ดังนั้น จึงขอเชิญชวนทุกท่านอ่านได้ตามรูปภาพต่อไปนี้ 



คติธรรมคำสอนของท่านหลวงพ่อจรัญข้างต้นเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวของเราเป็นอย่างยิ่ง ชะตากรรมของเราเอง เราย่อมจะรู้ดีกว่าใครว่าเป็นเพราะอะไร ดังนั้น ขอให้ทุกท่านได้พิจารณาอย่างถี่ถ้วนไตร่ตรองให้ดีในการที่จะกระทำการใดๆ ให้เกิดขึ้น

และเป็นธรรมเนียมที่ผู้เขียนจะขออนุญาตฝากกาพย์ยานี ๑๑ ไว้ให้ท่านผู้อ่านทุกท่านได้โปรดพิจารณาเมตตากรุณาชี้แนะแนะนำเพื่อการปรับปรุงพัฒนาให้ดียิ่งๆ ขึ้นต่อไป ดังนี้ 

อยู่ที่การกระทำ  เป็นประจำนำสู่ตน
ดีชั่วทั่วทุกคน  อยู่ที่ตนสนเลือกทำ

หากว่าตนทำดี  ผลย่อมดีมีประจำ
ทำชั่วนรกต่ำ  ต้องจดจำเลือกให้ดี

ตัวเราขีดชะตา  กรรมนำพาหาทุกที
เป็นคนสนทำดี  ธรรมมากมีดีแน่นอน

ชะตากรรมของเรา  หนักหรือเบาเรารู้ก่อน
คิดธรรมนำกลับย้อน  อำนวยพรก่อนสายไป

ตัวเราต้องคิดดี  ทำเรื่องดีมีต่อไป
เรื่องชั่วกลัวเข้าไว้  น้อมสู่ใจให้มากมี

ตัวเราคนกำหนด  จะปรากฏจดทุกที
ตั้งใจธรรมให้มี  ทำสิ่งดีมีสุขเอย

ปภาวีร์ 
๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๙

วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "สงบจากกาม- ญาณทรรศน์ สมเด็จพระสังฆราชฯ"

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "สงบจากกาม- ญาณทรรศน์ สมเด็จพระสังฆราชฯ" คติธรรมคำสอนในเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เกี่ยวกับเรื่อง "สงบจากกาม" ซึ่งสามารถรับฟังได้จาก YouTube ต่อไปนี้ 

https://www.youtube.com/watch?v=7mTO4eszFpw&nohtml5=False



จิตที่ตั้งมั่นนี้เป็นสมาธิในพระพุทธศาสนา หมายจำเพาะที่เป็นสัมมาสมาธิ คือตั้งมั่นอยู่โดยชอบ
ซึ่งมีหลักอยู่ที่ว่า สงบจากกาม สงบจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ดั่งนี้ จึงจะเป็นสัมมาสมาธิในพระพุทธศาสนา

คติธรรมคำสอนในเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชฯ ข้างต้นเป็นสิ่งที่หากว่าใครสามารถที่จะสงบจากกามได้ ย่อมจะได้รับในสิ่งที่ดีอย่างยิ่ง  ซึ่งการสงบจากเรื่องกามดังกล่าว เป็นสิ่งที่อาจจะต้องฝึกตนอย่างอดทนเป็นอย่างมาก  แล้วจะสามารถหลุดพ้นจากกามได้ในที่สุด

และเป็นธรรมเนียมที่ผู้เขียนจะต้องขออนุญาตฝากกาพย์ยานี ๑๑ ไว้ให้ท่านผู้อ่านทุกท่านได้โปรดเมตตาพิจารณาชี้แนะแนะนำเพื่อการปรับปรุงพัฒนาให้ดียิ่งๆ ขึ้นต่อไป ดังนี้

เมื่อจิตที่ตัังมั่น ต้องคอยหมั่นสงบจิต
ฝึกได้ที่ละนิด  ไม่ได้ผิดจิตรู้ดี

ต้องสงบจากกาม  ธรรมติดตามถามมากมี
กามสิ้นในทันที  นำชีวีมีเบิกบาน

สงบกามให้มาก  ธรรมสามารถมหาศาล
จิตใจสุขสำราญ  อาจนิพพานงานเย็นใจ

ตั้งมั่นอยู่โดยชอบ  จิตคอยตอบรอบคอบไว้
กามมากเสียเรื่อยไป  สงบใจให้ดีดี

อกุศลธรรม  อย่าจดจำทำไม่ดี
สมาธินิ่งดี  สงบดีกามสิ้นลง

ทำได้ใจเป็นสุข  ไม่มีทุกข์ให้พะวง
มีธรรมนำดำรง  จิตต้องปลงคงมั่นเอย

ปภาวีร์ 
๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๙

วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงพ่อจรัญ จะเกียจคร้านหรือพักผ่อนไม่ได้"

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงพ่อจรัญ จะเกียจคร้านหรือพักผ่อนไม่ได้" คติธรรมคำสอนของหลวงพ่อจรัญ  สำคัญอย่างยิ่งในเรื่อง "จะเกียจคร้านหรือพักผ่อนไม่ได้"  ขอเชิญทุกท่านอ่านได้ตามรูปภาพต่อไปนี้

คติธรรมคำสอนของท่านหลวงพ่อจรัญข้างต้นตามรูปภาพเป็นสิ่งที่เราต้องคนจะต้องไม่เกียจคร้านไม่ต้องพักผ่อนต้องอดทนในการความดี  ดังนั้น วันนี้ จะต้องถามตัวของเราเองว่าเราได้ทำอะไรในเรื่องที่ดีไปแล้วบ้าง  เพราะว่าเราเองไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะสิ้นลมหายใจได้ คงเป็นหน้าที่ของแต่ละคนที่จะสนใจใส่ใจให้ดีๆ ก็แล้วกัน

และเป็นธรรมเนียมที่ผู้เขียนจะต้องขออนุญาตฝากกาพย์ยานี ๑๑ ไว้ให้ท่านผู้อ่านทุกท่านได้โปรดมีเมตตาพิจารณาชี้แนะแนะนำเพื่อการปรับปรุงพัฒนาให้ดียิ่งๆ ขึ้นต่อไป ดังนี้

จะต้องไม่เกียจคร้าน  ไม่รำคาญสานเรื่องดี
พักผ่อนก็ไม่ดี  เกิดทั้งที่ดีต้องทำ

มัวซบเซาไม่ได้  สั่งจิตใจให้มีธรรม
ความดีมีประจำ  จิตตอกย้ำทำมากมี

เวลาที่เหลือน้อย  ไม่ต้องคอยปล่อยชีวี
รีบเร่งทำความดี  ทุกนาทีดีแน่นอน

ชีวิตต้องอดทน  เกิดเป็นคนอย่าตัดรอน
ทำดีมีได้พร  ทำทุกตอนย้อนดูตน

ดีสิ่งประเสริฐสุด  ทำอย่าหยุดฉุดกมล
ทำดีมีต้องทน  อย่าไปสนคนว่าเรา

ชีวิตชิดในธรรม  ดีต้องทำจดจำเอา
คนอื่นเรื่องของเขา ดีของเรารีบทำเอย

ปภาวีร์ 
๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๙

วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ ระวังใหดีจะเปนบาป เมตตาจะพาตกเหว"

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ  ระวังใหดีจะเปนบาป เมตตาจะพาตกเหว คติธรรมคำสอนของท่านหลวงปู่ดู่ สั้นๆ คือ "เมตตาจะพาตกเหว" ขอเชิญทุกท่านได้อ่านตามรูปภาพต่อไปนี้
“ใหระวังใหดีจะเปนบาป เปรียบเสมือนกับการจุดไฟไว ตรงกลางระหวางคนสองคน ถาเราเอาธรรมะไปชวนเขา เขา ไมเห็นดวย ปรามาสธรรมนี้ซึ่งเปนธรรมของพระพุทธเจา ก็เทากับเราเปนคนกอ แลวเขาเปนคนจุดไฟ... บาปทั้งคู เรียกวา เมตตาจะพาตกเหว” 

“เหมือนกับมีชายคนหนึ่งตกอยูในเหวลึก มีผูจะมาชวย คนที่ ๑ มีเมตตาจะมาชวย เอาเชือกดึงขึ้นจากเหว ดึงไมไหว จึงตกลงไปในเหวเหมือนกัน คนที่ ๒ มีกรุณามาชวยดึงอีก ก็ตกลงเหวอีก คนที่ ๓ มีมุทิตามาชวยดึงอีกก็พลาดตกเหวอีก เชนกัน คนที่ ๔ สุดทาย เปนผูมีอุเบกขาธรรม เห็นวาเหวนี้ลึก เกินกวากำลังของตนที่จะชวย ก็มิไดทำประการใดทั้งๆ ที่จิต ใจก็มีเมตตาธรรม ที่จะชวยเหลืออยู คนสุดทายนี้จึงรอดชีวิต จากการตกเหวตาม เพราะอุเบกขาธรรมนี้แล”


คติธรรมคำสอนของหลวงปู่ดู่ข้างต้นเป็นสิ่งที่ทุกคนจะต้องสนใจให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะว่าหากว่าพิจารณาให้ดีแล้ว ย่อมจะดีอย่างแน่นอน 

และเป็นธรรมเนียมที่ผู้เขียนจะต้องขออนุญาตฝากกาพย์ยานี ๑๑ ไว้ให้ท่านผู้อ่านทุกท่านได้โปรดพิจารณาชี้แนะแนะนำเพื่อการปรับปรุงพัฒนาให้ดียิ่งๆ ขึ้นต่อไป ดังนี้

ต้องพิจารณา  ใช้เมตตาพาแก้ไข
ปัญหาเล็กหรือใหญ่  เมตตาไว้ให้มากมี

บางสิ่งต้องไตร่ตรอง  จิตจดจองมองให้ดี
เมตตาเป็นสิ่งดี  ให้พอดีมีต่อไป

ต้องอุเบกขาธรรม  ฝึกประจำนำเข้าใจ
เมตตาให้อภัย  ไม่เป็นภัยในทุกคน

พรหมวิหารสี่ข้อ  มีให้พอต่อกมล
ธรรมะมีมากล้น  เพื่อหลีกพ้นวนเวียนตาย

เมตตาธรรมนำสุข  ไม่มีทุกข์หญิงหรือชาย
เรื่องธรรมอย่าได้อาย  ยังไม่สายกายดับลง

อุเบกขาวางเฉย   ฝึกให้เคยพร้อมวางปลง
ทุกสิ่งไม่ยืนยง  จิตมั่นคงนิพพานเอย


ปภาวีร์ 
๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๙

วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงพ่อจรัญ ไปลามาไหว้"

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงพ่อจรัญ ไปลามาไหว้" คติธรรมคำสอนของหลวงพ่อจรัญ  สำคัญอย่างยิ่งในเรื่อง "การไปลามาไหว้  ขอเชิญทุกท่านอ่านได้ตามรูปภาพต่อไปนี้

คติธรรมคำสอนของท่านหลวงพ่อจรัญเกี่ยวกับเรื่องของการไปมาลาไหว้ เป็นวัฒนธรรมประเพณีอันดีที่มีมานานของพุทธศาสนิกชนคนไทยเรา ดังนั้น หากเราทุกคนยิ่งตระหนักในคำสอนของท่านหลวงพ่อจรัญข้างต้นให้มากแล้ว ยิ่งจะทำให้สังคมไทยมีความสุขในทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพราะแน่นอนว่าสิ่งที่อย่างน้อยที่สุดที่เราจะได้รับ คือ "พร"  ยิ่งเราได้รับพรมากเท่าไหร่จิตใจของเรายิ่งจะมีความสุขผ่องใสในการดำรงชีวิต 

และเป็นธรรมเนียมที่ผู้เขียนจะต้องขออนุญาตฝากกาพย์ยานี ๑๑ ไว้ให้ท่านผู้อ่านทุกท่านได้โปรดเมตตาพิจารณาแนะนำเพื่อการปรับแก้ไขให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป ดังนี้

เมื่อไปลามาไหว้  ย่อมได้ใจในทันที
ทุกฝ่ายมอบสิ่งดี  ยิ้มทุกทีที่เจอกัน

เมื่อไปก็ต้องลา  เมื่อได้มาพาสุขสันต์
ธรรมะมีพร้อมกัน  เกี่ยวสัมพันธ์พลันเบิกบาน

การไหว้เป็นสิ่งดี  พรชั้นดีมหาศาล
ยิ้มให้สุขสำราญ  ไหว้ทุกงานสานสัมพันธ์

อย่างน้อยต้องได้พร  ใครไหว้ก่อนย่อมสุขสันต์
ต่างฝ่ายต่างไหว้กัน ยิ้มให้กันปันความดี

พรนั้นย่อมจะเกิด  เป็นสิ่งเลิศประเสริฐศรี
ไหว้กันในทุกที  สุขฤดีมีทุกคน

บัดนี้ต้องขอลา  ไหว้ทุกคราพาสุขล้น
มีธรรมในกมล  ไหว้ทุกคนสนไหว้เอย

ปภาวีร์ 
๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๙

วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "สมาธิคู่สติ- ญาณทรรศน์ สมเด็จพระสังฆราชฯ"

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "สมาธิคู่สติ- ญาณทรรศน์ สมเด็จพระสังฆราชฯ" คติธรรมคำสอนในเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เกี่ยวกับเรื่อง "สมาธิและสตินี้ต้องอาศัยอยู่ด้วยกัน" ซึ่งสามารถรับฟังได้จาก YouTube ต่อไปนี้ 

https://www.youtube.com/watch?v=FYoBQxh8D-c&nohtml5=False


สมาธิและสตินี้ต้องอาศัยอยู่ด้วยกัน ก็เพราะว่าจิตจะกำหนดเป็นตัวสติ ก็ต้องมีสมาธิคือจิตต้องตั้งอยู่ อีกอย่างหนึ่งสมาธิก็ต้องมีสติ คือเพราะเหตุว่ามีสติกำหนดอยู่ จิตจึงตั้งอยู่กับความกำหนดนั้นได้ ถ้าไม่มีสติกำหนดอยู่ จิตก็ไม่มีที่ตั้ง เพราะว่าสตินั้นสร้างที่ตั้งให้แก่สมาธิ สมาธิอาศัยสติกำหนด จึงตั้งอยู่ได้ ก็เป็นอันว่า ทั้งสติและทั้งสมาธินี้ต้องอยู่ด้วยกัน แยกกันไม่ได้

คติธรรมคำสอนในเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช ฯ ข้างต้นเป็นสิ่งที่เราทุกคนได้รู้จักเป็นอย่างดีในเรื่องของ "สมาธิ และ สติ" เพียงแต่ท่านใดจะสามารถมีสติมีสมาธิให้มากเท่านั้น ดังนั้น คงจะเป็นหน้าที่ของแต่ละท่านที่จะได้พิจารณาไตร่ตรองลองคิดให้ดีๆ ว่าตัวของเรานั้นมี "สติ สมาธิ" เป็นอย่างไร 

และเป็นธรรมเนียมที่ผู้เขียนจะต้องขออนุญาตฝากกาพย์ยานี ๑๑ ไว้ให้ท่านผู้อ่านได้โปรดเมตตากรุณาชี้แนะแนะนำเพื่อการปรับปรุงพัฒนาให้ดียิ่งๆ ขึ้นต่อไป ดังนี้ 

สองสิ่งอาศัยกัน  ต่างผูกพันต้องนำพา
จิตรู้ทุกเวลา  สิ่งตามมาหาสิ่งดี

ต้องดีมีสติ  สมาธิให้มากมี
กำหนดทุกนาที  หากไม่มีดีไม่ได้ 

สติต้องกำหนด  ธรรมปรากฏให้มากไว้
สมาธิตั้งไว้  นานเท่าไรใจได้ดี

สองสิ่งจริงอย่างเห็น  จิตบำเพ็ญเห็นทันที
แยกกันใครว่าดี   จะต้องมีดีคู่กัน

สติรู้ทุกตอน  กำหนดก่อนให้เร็วพลัน
สมาธิขยัน  ทำทุกวันสุขสันต์ใจ

จิตต้องมีที่ตั้ง  เกิดพลังสั่งทันใด
สมาธินานไว้  ธรรมยิ่งใหญ่ใจสุขเอย


ปภาวีร์ 
๒๔ กรกฏาคม ๒๕๕๙

วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ ต้องขึ้นฝั่ง"

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ  ต้องขึ้นฝั่ง"  คติธรรมคำสอนของท่านหลวงปู่ดู่ สั้นๆ คือ "เรื่องของการขึ้นฝั่ง" ขอเชิญทุกท่านได้อ่านตามรูปภาพต่อไปนี้
“ที่วาเปนกิเลสก็ถูก แตเบื้องแรกตองอาศัยกิเลสไปละกิเลส (อาศัยกิเลสสวนละเอียดไปละกิเลสสวนหยาบ) แตไม่ไดใหติดในแสงสวางหรือหลงแสงสวาง แตใหใชแสงสวางใหถูก ใหเปนประโยชน           เหมือนอยางกับเราเดินผานไปในที่มืด ตองใชแสงไฟ หรือจะขามแมน้ำ มหาสมุทรก็ตองอาศัยเรือ อาศัยแพ แตเมื่อถึงฝงแลวก็ไมไดแบกเรือแบกแพขึ้นฝงไป” 

คติธรรมคำสอนในหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ ข้างต้นเป็นสิ่งที่เตือนใจให้เราทุกคนได้ตระหนักถึงความเป็นจริงในการที่จะขึ้นฝั่งให้ได้ ดังนั้น จึงเป็นสิ่งที่ทุกคนทุกท่านได้ไตร่ตรองดูว่าเป็นอย่างไร 

และเป็นธรรมเนียมที่ผู้เขียนจะขออนุญาตฝากกาพย์ยานี ๑๑ ไว้ให้ท่านผู้อ่านทุกท่านได้โปรดกรุณาพิจารณาชี้แนะแนะนำเพื่อการปรับปรุงพัฒนาแก้ไขให้ดียิ่งๆ ขึ้นต่อไป ดังนี้

เป้าหมายคือข้ามฝั่ง  มีพลังสั่งจิตใจ
ข้ามได้หรือไม่ได้  ต้องชั่งใจให้รู้ดี

กิเลสต้องลดละ  ด้วยธรรมะยิ่งมากมี
ข้ามน้ำสายนที  นำชีวีมีพ้นภัย

แสงไฟนำสว่าง  เป็นหนทางสร้างภพใหม่
ชีวิตจะปลอดภัย  ธรรมยิ่งใหญ่ใส่ใจตน

ข้ามน้ำต้องใช้แพ  ธรรมจริงแท้ข้ามหลุดพ้น
ความสุขสู่กมล  จิตอดทนสนธรรมดี

ทุกสิ่งมีประโยชน์  อาจมีโทษและไม่ดี
เลือกธรรมนำชีวี  จิตคิดดีทำดีไป

ถึงฝั่งคือเป้าหมาย  ฝึกก่อนตายมากเข้าไว้
ธรรมะจะพาไป  สุขฤทัยในกาลเอย


ปภาวีร์ 
๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๙

วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงพ่อจรัญ เอาความดีแก้"

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงพ่อจรัญ เอาความดีแก้" คติธรรมคำสอนของหลวงพ่อจรัญ  สำคัญอย่างยิ่งในเรื่อง "การทำความดี"  ขอเชิญทุกท่านอ่านได้ตามรูปภาพต่อไปนี้


คติธรรมคำสอนของท่านหลวงพ่อจรัญข้างต้นเป็นสิ่งที่เราทุกคนควรจะต้องพิจารณาค้นหาทำตามเป็นอย่างยิ่ง เพราะการเอาความดีเข้าแก้ไขในปัญหาต่างๆ นั้น เป็นสิ่งที่จะต้องดีอย่างยิ่ง ดังนั้นไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตามแต่ หากว่าเรามีสติพิจารณาว่าจะต้องเอาความดีเข้าไปแก้ไขเท่านั้น จะดีอย่างแน่นอน 

และเป็นธรรมเนียมที่ผู้เขียนจะต้องขออนุญาตฝากกาพย์ยานี ๑๑ ไว้ให้ทุกท่านได้กรุณาเมตตาชี้แนะแนะนำเพื่อการปรับปรุงพัฒนาให้ดียิ่งๆ ขึ้นต่อไป ดังนี้

พิจารณาทำดี  ยิ่งมากมีดีเข้าไว้
หากโกรธสติไว้  หยุดให้ได้ในทันที

ต้องเอาความดีแก้  ความจริงแท้แน่เรื่องดี
ทุกสิ่งแก้แล้วดี   ยิ่งทำดีมีสู่ตน

พูดจาให้ไพเราะ  พูดเรื่องเหมาะเจาะกมล
พูดดีมีอดทน  พูดน่าสนทนต่อไป

ความดีมีไม่สุด  ดีอย่าหยุดจุดยิ่งใหญ่
คิดดีมีเรื่อยไป  ทำดีไว้ใจสุขเย็น

ร้ายมาอย่าร้ายตอบ  ชอบไม่ชอบบอกใจเย็น
ความดีหมั่นบำเพ็ญ  อย่าละเว้นเห็นในธรรม

ความดีแก้ไขตน  สุขกมลตนต้องทำ
ความดีทำประจำ  ทุกเช้าค้ำย้ำตนเอย 

ปภาวีร์ 
๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๙

วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงพ่อจรัญ โดนด่าเป็นบุญ"

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงพ่อจรัญ โดนด่าเป็นบุญ" คติธรรมคำสอนของหลวงพ่อจรัญ  สำคัญอย่างยิ่งในเรื่อง "โดนด่าเป็นบุญ"  ขอเชิญทุกท่านอ่านได้ตามรูปภาพต่อไปนี้


คติธรรมคำสอนของท่านหลวงพ่อจรัญข้างต้นเป็นสิ่งที่ย่อมจะเกิดขึ้นกับเราทุกคนในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการโดนด่า หรือว่า โกรธ ก็ตามแต่ ดังนั้น หากว่าเราโดนด่าแล้วเราสามารถที่จะไม่ด่าตอบ ไม่โกรธตอบ ย่อมจะไม่มีโทษเกิดขึ้นต่อตัวเราอย่างแน่นอน   จึงเป็นหน้าที่ที่เราทุกคนจะต้องน้อมพิจารณาฝึกฝนตนเองให้สามารถนิ่งเฉยภายใน (ใจ) ของเราให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ 

และเป็นธรรมเนียมที่ผู้เขียนจะต้องขออนุญาตฝากกาพย์ยานี ๑๑ ไว้ให้ท่านผู้อ่านทุกท่านได้โปรดพิจารณาชี้แนะแนะนำเพื่อการปรับปรุงพัฒนาให้ดียิ่งๆ ขึ้นต่อไป ดังนี้

เราโดนด่าเป็นบุญ  อาจเป็นทุนหนุนหยุดโกรธ
โดนด่าไม่มีโทษ  เป็นประโยชน์ฝึกฝนตน

เราอย่าไปโกรธตอบ  จิตทดสอบบอกอดทน
นำธรรมใส่กมล  อย่าไปสนคนด่าเรา

เขาด่าเขาก็โกรธ  เราไม่โกรธเราไม่เศร้า
เขาโกรธจิตมัวเมา  ไม่ทุเลาเขาทุกข์ใจ

โกรธตอบเป็นบาปมาก  ยิ่งทุกข์มากมีในใจ
นิ่งเสียมากเข้าไว้  โดนด่าไปใจเบิกบาน

ฝึกฝนอดทนมาก ย่อมสามารถสุขสำราญ
โกรธมานิ่งให้นาน  จนเชี่ยวชาญสานในธรรม

ปล่อยวางทางหลุดพ้น  เมื่อเป็นคนสนประจำ
โดนด่าไม่จดจำ  จิตมีธรรมนำสุขเอย

ปภาวีร์ 
๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๙

วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "ซึ่งมีเป้าหมายคือนิพพานในที่สุด - ญาณทรรศน์ สมเด็จพระสังฆราชฯ"

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "ซึ่งมีเป้าหมายคือนิพพานในที่สุด - ญาณทรรศน์ สมเด็จพระสังฆราชฯ" คติธรรมคำสอนในเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เกี่ยวกับเรื่อง "เป้าหมายคือนิพพาน" ดูเพิ่มเติมจาก YouTube ต่อไปนี้
https://www.youtube.com/watch?v=62NFb1LJLjA&nohtml5=False



พระพุทธศาสนานั้น ตรัสสอนให้ละกิเลส ละตัณหา ละโลภ ละโกรธ ละหลง ซึ่งมีเป้าหมายคือนิพพานในที่สุด เพราะฉะนั้นต้องหมั่นพิจารณาดูตัวเองให้เห็น สัจจะคือความจริงอันนี้ ให้รู้จักดีจักชั่วอันมีขึ้นทันทีตามลำดับของการกระทำ ตั้งแต่เบื้องต้นเรื่อยขึ้นไป จนถึงขั้นมรรคผลนิพพานก็เช่นเดียวกัน ย่อมให้บังเกิดเป็นมรรคผล เป็นนิพานไปตามลำดับที่ปฏิบัติถึงขั้นถึงวาระ ทุกกาลทุกสมัย เมื่อครั้งพุทธกาลเป็นอย่างใด เดี๋ยวนี้ก็เป็นอย่างนั้น ธรรมะจึงเป็นอกาลิโกไม่ประกอบด้วยกาลเวลา

คติธรรมคำสอนในเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช ฯ ข้างต้นเป็นควรจะต้องเป็นเป้าหมายของทุกคนทุกท่าน นั่นคือ "นิพพานในที่สุด"  แล้วจะทำอย่างไรที่เราทุกคนจะสามารถไปถึงจุดนั้นได้ ซึ่งต้องมีความเพียรเรียนรู้เข้าใจในธรรมะเป็นอย่างยิ่ง และยึดเป้าหมายให้คงมั่นตลอดเวลาด้วยสติ

และเป็นธรรมเนียมที่ผู้เขียนจะต้องขออนุญาตฝากกาพย์ยานี ๑๑ ไว้ให้ท่านผู้อ่านทุกท่านได้โปรดพิจารณาด้วยความเมตตาเพื่อชี้แนะแนะนำเพื่อการปรับปรุงพัฒนาให้ดียิ่งๆ ขึ้นต่อไป ดังนี้

เป้าหมายของชีวิต  จะต้องคิดติดในธรรม
มั่นท่องเป็นประจำ  พร้อมน้อมนำทำให้ดี

เป้าหมายคือนิพพาน  ทุกการงานสานทันที
จิตว่างสติมี  ชั่วหรือดีมีที่ตน

ทำดีตามลำดับ  จิตค่อยนับธรรมมากล้น
ธรรมได้สุขกมล  ไม่เวียนวนสับสนใจ

สัจจะคือความจริง  จิตต้องนิ่งอิงธรรมไว้
นิพพานงานยิ่งใหญ่  เพียรต่อไปใจอดทน

ชีวิตจิตคิดดี   ธรรมมากมีดีทุกคน
ต้องถึงขั้นมรรคผล  จะหลุดพ้นไม่วนเวียน

เป็นอกาลิโก  เก่งหรือโง่ธรรมต้องเรียน
ตัวเราต้องปรับเปลี่ยน  พร้อมพากเพียรเตือนตนเอย

ปภาวีร์
๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๙

วันอาทิตย์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงพ่อจรัญ สร้างความดีต้องมีอุปสรรค"

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงพ่อจรัญ สร้างความดีต้องมีอุปสรรค" คติธรรมคำสอนของท่านหลวงพ่อจรัญสำคัญอย่างยิ่งที่ยิ่งจะต้องพิจารณากันว่าเป็น "เรื่องการสร้างความดีนั้นย่อมมีปัญหาอุปสรรค" ดังนั้น จึงขอเชิญชวนทุกท่านอ่านได้ตามรูปภาพต่อไปนี้ 


คติธรรมคำสอนของท่านหลวงพ่อจรัญข้างต้นนี้ เป็นสิ่งที่กล่าวได้ว่าใกล้กับตัวของเรามากที่สุด เพราะว่า "เรื่องของความดี" เป็นสิ่งที่ควรจะต้องทำ และต้องทำให้เร็วที่สุด มากที่สุด จนกว่าตัวของเราจะหมดลมหายใจ

และเป็นธรรมเนียมที่ผู้เขียนจะต้องขออนุญาตฝากกาพย์ยานี ๑๑ ไว้ให้ท่านผู้อ่านทุกท่านได้โปรดเมตตาพิจารณาแนะนำเพื่อการปรับปรุงพัฒนาให้ดียิ่งๆ ขึ้นต่อไป ดังนี้

ท่านอย่าเข้าใจผิด  อย่าได้คิดไม่มีเวร
เวรกรรมไม่ละเว้น  ย่อมตามเห็นเป็นต่อไป

เวรกรรมตามสนอง  กรรมจดจ้องต้องเรื่อยไป

หยุดกรรมสิ้นลงได้  ช่างยิ่งใหญ่ในทันที

กรรมนั้นไม่มีสูญ  อยากเป็นศูนย์บุญต้องมี

ทุกสิ่งมารมากมี  บารมีดีไม่เกิด

ความดีสร้างมากไว้  สร้างเรื่อยไปให้ประเสริฐ

เรื่องธรรมเป็นสิ่งเลิศ  สิ่งบรรเจิดเชิดชูธรรม

กรรมเก่ามาแต่ก่อน  มาทุกตอนย้อนที่ทำ

ความดีมีประจำ  ดีต้องย้ำทำต่อไป

ต้องมีอุปสรรค  ธรรมรู้จักมักเข้าใจ

ความดีนั้นยิ่งใหญ่  ทำเข้าไว้ให้มากเอย

ปภาวีร์ 
๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๙

วันเสาร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงพ่อจรัญ วินัยภายในและภายนอก"

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงพ่อจรัญ วินัยภายในและภายนอก" คติธรรมคำสอนของหลวงพ่อจรัญ  สำคัญอย่างยิ่งในเรื่อง "วินัยภายใน และ ภายนอก"  ขอเชิญทุกท่านอ่านได้ตามรูปภาพต่อไปนี้
คติธรรมคำสอนของท่านหลวงพ่อจรัญข้างต้น เกี่ยวกับเรื่องของวินัย ซึ่งท่านได้เมตตาไว้สองอย่างคือ วินัยภายในและวินัยภายนอก  ทั้งนี้ หากว่าทุกคนสามารถมีวินัยทั้งภายในและภายนอกอย่างที่ท่านหลวงพ่อจรัญได้เมตตาไว้แล้ว เชื่อว่าทุกคนที่ทำได้จะต้องได้รับแต่สิ่งที่ดีๆ อย่างแน่นอน

และเป็นธรรมเนียมที่ผู้เขียนจะต้องขออนุญาตฝากกาพย์ยานี ๑๑ ไว้ให้ท่านผู้อ่านทุกท่านได้โปรดพิจารณาชี้แนะแนะนำเพื่อการปรับปรุงพัฒนาให้ดียิ่งๆ ขึ้นต่อไป ดังนี้ 

วินัยมีสองอย่าง  เป็นหนทางสร้างชีวิต
ทุกคนจะต้องคิด  ที่ละนิดชิดในธรรม

วินัยอันภายใน  เกิดทันใดสตินำ
ฝึกมีเป็นประจำ  พร้อมจดจำทำต่อไป

วินัยส่วนภายนอก  ต้องขอตอบบอกเข้าใกล้
สวยเรียบร้อยนั่นไง  มีมากไว้ได้สิ่งดี

ทุกสิ่งมีระเบียบ  ต้องเปรียบเทียบธรรมให้มี
ระบบจะต้องดี   ยิ่งมากมีดีแน่นอน

หมดจดและเหมาะเจาะ   จะต้องเสาะหาทุกตอน
วินัยให้ได้ก่อน  ยิ่งถาวรพรตามมา

วินัยด้วยมีธรรม  จิตน้อมนำทำทุกครา

สติทุกเวลา ย่อมนำพาหาสุขเอย

ปภาวีร์ 
๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๙

วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงพ่อจรัญ : ใครทำใครได้"

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงพ่อจรัญ : ใครทำใครได้" คติธรรมคำสอนของท่านหลวงพ่อจรัญสำคัญอย่างยิ่งที่ยิ่งจะต้องพิจารณากันว่าตัวเรานั้น "ตัวเราต้องทำเอง" หรือยัง ดังนั้น จึงขอเชิญชวนทุกท่านอ่านได้ตามรูปภาพต่อไปนี้ 

คติธรรมคำสอนของท่านหลวงพ่อจรัญข้างต้น เป็นสิ่งที่เป็นสัจธรรมความจริงแท้แน่นอน ที่คนใดสร้างบุญแล้ว ย่อมเกิดแก่ตนอย่างแน่นอน ไม่สามารถที่แบ่งให้ใครได้บ้าง  ดังนั้น วันนี้เราเองต้องรีบสร้างบุญให้มากๆ เท่าที่จะทำได้ แล้วจะได้แต่สิ่งดีอย่างแน่นอน

และเป็นธรรมเนียมที่ผู้เขียนจะต้องขออนุญาตฝากกาพย์ยานี ๑๑ ไว้ให้ท่านผู้อ่านทุกท่านได้โปรดพิจารณาชี้แนะแนะนำเพื่อการปรับปรุงพัฒนาให้ดีมากขึ้นกว่าเดิม

สร้างบุญให้กับตน  สุขกมลพ้นจากภัย
บุญมากยากหรือไม่  ต้องถามใจให้ดีดี

บุญนั้นทำทุกวัน  บุญเสกสรรคพลันสุขี
สร้างกันให้มากมี  นำชีวีดีแน่นอน

ใครทำใครย่อมได้  ทำเรื่อยไปให้ได้ก่อน
สร้างบุญในทุกตอน  อย่าพลัดผ่อนก่อนสายไป

บุญมีเพราะได้ธรรม  ลงมือทำนำต่อไป
สร้างบุญหนุนภพใหม่  บุญยิ่งใหญ่ในใจตน

บุญแบ่งกันไม่ได้   ไม่ว่าใครใจต้องสน
สร้างบุญให้มากล้น  ตายจากคนพ้นทุกข์ภัย

กุศลคนต้องสร้าง  เป็นหนทางก้าวย่างไป
บุญใครสร้างย่อมได้  สิ่งยิ่งใหญ่ก่อนไปเอย

ปภาวีร์ 
๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๙

วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "ศีลสมาธิปัญญานี้เป็นหลักย่อของปฏิบัติธรร­ม- ญาณทรรศน์ สมเด็จพระสังฆราชฯ"

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "ศีลสมาธิปัญญานี้เป็นหลักย่อของปฏิบัติธรร­ม- ญาณทรรศน์ สมเด็จพระสังฆราชฯ" คติธรรมคำสอนในเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เกี่ยวกับเรื่อง "ศีลสมาธิปัญญา" ซึ่งสามารถรับฟังได้จาก YouTube ต่อไปนี้ 
https://www.youtube.com/watch?v=h1bsOOqFytI&nohtml5=False



ศีลสมาธิปัญญานี้เป็นหลักย่อของปฏิบัติธรร­ม ธรรมะหมวดอื่นซึ่งเป็นปฏิบัติธรรม ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนไว้เป็นอันมาก ท่านแสดงว่าก็สรุปเข้าในศีลสมาธิปัญญานี้ อันเรียกว่าไตรสิกขา ก็ได้แก่ สีลสิกขา จิตตสิกขา ปัญญาสิกขา สีลสิกขาก็คือศีล จิตตสิกขาก็คือสมาธิ ปัญญาสิกขาก็คือปัญญา

คติธรรมคำสอนในเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชฯ ข้างต้นเป็น ๓ สิ่งที่พุทธศาสนิกชนคนไทยจะต้องให้ความสำคัญตระหนักอยู่ตลอดเวลาเสมอว่า การปฏิบัติธรรมนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเริ่มด้วยการมี ศีล" แล้วตามด้วย "สมาธิ" และเกิด "ปัญญา" ในที่สุด ดังนั้น เมื่อ ศีลสมาธิปัญญาเป็นหลักย่อของการปฏิบัติธรรมแล้ว เป็นหน้าที่ของทุกท่านที่จะได้ลองทำกันแล้วจะสุขสันต์กันในทันที

และเป็นธรรมเนียมที่ผู้เขียนจะต้องขออนุญาตฝากกาพย์ยานี ๑๑ ไว้ให้ท่านผู้อ่านทุกท่านได้เมตตากรุณาพิจารณาพร้อมชี้แนะแนะนำเพื่อการปรับแก้ไขให้ดียิ่งๆ ขึ้นต่อไปดังนี้ 

สามสิ่งที่สำคัญ  ล้วนสัมพันธ์กันอย่างดี
ศีลนั้นจะต้องมี  ทุกชีวีมีเพื่อตน

สมาธิจะตามมา  ทุกเวลาพากมล

ต้องมีอย่างอดทน  ให้มากล้นพ้นทุกข์ภัย

ปัญญาจะก่อเกิด  สิ่งประเสริฐเลิศยิ่งใหญ่

สามสิ่งเกี่ยวกันไป  ขาดเมื่อไหร่ใจระทม

เรียกว่าไตรสิกขา  ต้องนำพาหานิยม

ทำได้อภิรมย์  ธรรมเหมาะสมชื่นชมใจ

เป็นคนทนต้องทำ  เข้าใจธรรมนำต่อไป

ทำได้ทุกเพศวัย  รีบทำไว้ในทันที

ชีวิตจิตมาก่อน  ศีลทุกตอนก่อนให้ดี

ตายไปได้สิ่งดี  เย็นฤดีมีสุขเอย 


ปภาวีร์ 
๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๙