Nuffnang Ads

วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงพ่อจรัญ รีบเจริญ รีบฝึก"

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงพ่อจรัญ รีบเจริญ รีบฝึก" คติธรรมคำสอนของหลวงพ่อจรัญ  สำคัญอย่างยิ่งในเรื่อง "รีบเจริญ รีบฝึก"  ขอเชิญทุกท่านอ่านได้ตามรูปภาพต่อไปนี้

คติธรรมคำสอนของหลวงพ่อจรัญข้างต้น เป็นสิ่งที่พุทธศาสนิกชนทุกคนทุกท่านควรจะต้องพิจารณากันว่าถึงเวลาที่จะต้องรีบกันหรือยัง  "รีบเจริญ รีบฝึก" กัน เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่เราสามารถรีบเจริญรีบฝึกตามที่ท่านหลวงพ่อได้เมตตาไว้แล้ว เชื่อว่าจะเกิดผลดีต่อตัวของเราเอง ต่อสังคม และต่อทุกฝ่ายอย่างแน่นอน

และเป็นธรรมเนียมที่ผู้เขียนจะต้องขออนุญาตฝากกาพย์ยานี ๑๑ ไว้ให้ท่านผู้อ่านทุกท่านได้เมตตาพิจารณาชี้แนะแนะนำเพื่อการปรับปรุงพัฒนาให้ดียิ่งๆ ขึ้นต่อไป ดังนี้

รีบเจริญรีบฝึก  จิตคอยนึกตรึกตรองดี
ตาดูสิ่งที่ดี  ฟังเรื่องดีหูได้ยิน

ความดีตีนรีบวิ่ง  ปากให้นิ่งจริงให้ชิน
อย่าเพียงแต่จะกิน  ตายสูญสิ้นสุขไม่มี

ฝึกจนให้เชี่ยวชาญ  จนชำนาญเป็นอย่างดี
มือทำแต่ความดี  สร้างตัวดีมีเจริญ

วิ่งหนีจากความชั่ว  จิตอย่ากลัวมัวหมางเมิน
มีธรรมจิตเพลิดเพลิน  ฝึกก้าวเดินเกินยิ่งดี

วิ่งหาแต่ความทุกข์  หมดสนุกสุขไม่มี
เศร้าใจทุกนาที  ตรมฤดีอย่างแน่นอน

รีบฝึกรีบเจริญ  ให้มากเกินเพลินทุกตอน
ธรรมะอย่าตัดรอน  จะได้พรก่อนตายเอย

ปภาวีร์ 
๑ มิถุนายน ๒๕๕๙

วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "จิตถึงสมาธิ- ญาณทรรศน์ สมเด็จพระสังฆราชฯ"

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "จิตถึงสมาธิ- ญาณทรรศน์ สมเด็จพระสังฆราชฯ" คติธรรมคำสอนในเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เกี่ยวกับเรื่อง "จิตถึงสมาธิ" ซึ่งสามารถรับฟังได้จาก YouTube ต่อไปนี้ 

https://www.youtube.com/watch?v=J5VdlJYyIVI&list=PLlUF6ZLOol0HKTwXPHu87ORwZh_4axEJ4&index=21


จิตที่เป็นสิ่งควรแก่การงาน รับศีล รับสมาธิ ที่ยิ่งขึ้น และรับปัญญาได้ จิตถึงสมาธินี้จึงเป็นข้อสำคัญ การหัดทำกรรมฐาน ก็เป็นการหัดทำให้จิตตั้งมั่นอยู่ในกุศลธร­รมทั้งหลาย เพราะกรรมฐานอันเป็นที่ตั้งของจิตนี้ ก็ล้วนเป็นกุศลธรรม จะเป็นข้อใดก็ตาม และแม้ที่เป็นข้อหลักใหญ่ซึ่งเป็นหลักปฏิบ­ัติทั่วไป คือ สติปัฏฐาน ทั้ง 4 อันได้แก่ กาย เวทนา จิต ธรรม ก็เป็นหลักปฏิบัติ สมาธิจึงเป็นหลักแกนของการปฏิบัติธรรม

คติธรรมคำสอนในเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช ฯ ข้างต้นเป็นสิ่งที่ทรงคุณค่าอย่างยิ่งที่เราทุกคนคนไทยพุทธศาสนิกชนจะน้อมเข้ามาหาตนเพื่อจะได้รับแต่สิ่งที่ดีๆ เข้ามาในชีวิต โดยเฉพาะเรื่องของการจิตที่ถึงสมาธิ เป็นเรื่องที่ดีอย่างยิ่ง

และเป็นธรรมเนียมที่ผู้เขียนจะขออนุญาตฝากกาพย์ยานี ๑๑ ไว้ให้ท่านผู้อ่านทุกท่านได้โปรดเมตตาพิจารณาชี้แนะแนะนำเพื่อการปรุบปรุงพัฒนาให้ดียิ่งๆ ขึ้นดังนี้

จิตถึงสมาธิ  มีสติทุกเวลา
ก่อเกิดในปัญญา แก้ปัญหาของชีวิต

ตั้งมั่นในกุศล  เมื่อเป็นคนสนสักนิด

สมาธิที่จิต  นิ่งสนิทชิดในธรรม

จิตใจให้ละเอียด อย่าขี้เกียจเกลียดพระธรรม

สิ่งจิตคิดประจำ  พร้อมน้อมนำทำเรื่องดี

กายเวทนาจิตธรรม  ค่าสูงล้ำย้ำฤดี

จิตนิ่งให้มากมี  สมาธิมีดีต่อตน

สมาธิที่จิต  ย่อมได้สิทธิ์จิตได้พร

จิตเราอย่าเศร้าก่อน  ยิ้มทุกตอนก่อนจากลา

บุญกุศลธรรม  จิตดื่มด่ำธรรมเข้ามา

นิพพานได้ทุกครา  พร้อมจากลาพาสุขเอย

ปภาวีร์ 
๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๙

วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงพ่อจรัญ ความกังวลใจ"

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงพ่อจรัญ ความกังวลใจ" คติธรรมคำสอนของหลวงพ่อจรัญ  สำคัญอย่างยิ่งในเรื่อง "กังวลใจ"  ขอเชิญทุกท่านอ่านได้ตามรูปภาพต่อไปนี้



คติธรรมคำสอนของท่านหลวงพ่อจรัญข้างต้นเกี่ยวกับเรื่องของความกังวลใจ ซึ่งถือว่าเป็นศัตรูของชีวิตคนเรานั้น นับว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดีอย่างยิ่ง ยิ่งถ้าท่านใดมีความกังวลใจมากเท่าใด ใจย่อมไม่เป็นสุขอย่างแน่นอน  ความกังวลใจนั้น เป็นสิ่งที่เราคิดว่าจะเกิดสิ่งไม่ดีในอนาคต ทำให้ใจของเราเกิดความทุกข์ขึ้นมาทันใดในปัจจุบัน ดังนั้น จะต้องขจัดความกังวลใจให้ออกไปให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ 

และเป็นธรรมเนียมที่ผู้เขียนจะต้องขออนุญาตฝากกาพย์ยานี ๑๑ ไว้ให้ท่านผู้อ่านทุกท่านได้โปรดเมตตากรุณาพิจารณาชี้แนะแนะนำเพื่อการปรับแก้ไขให้ดียิ่งขึ้นต่อไป ดังนี้ 

อันความกังวลใจ  เกิดเมื่อไหร่ใจทุกข์ที
เป็นสิ่งที่ไม่ดี   มีทุกทีดีไม่ได้

อนาคตยังไม่มา  เสียเวลาพาทุกข์ใจ
อย่าคิดให้มากไป  สั่งจิตใหม่ให้มีธรรม

แก้ไขปัจจุบัน  แก้เร็วพลันทันประจำ
ความดีลงมือทำ  จิตน้อมนำธรรมเข้ามา

เรื่องใดที่เป็นทุกข์  ไม่เป็นสุขอย่าเข้าหา
คิดใหม่ในทุกครา  ธรรมมีค่าพาเบิกบาน

สั่งจิตหยุดกังวล  คิดเวียนวนค้นสืบสาน
ธรรมะมหาศาล  พานิพพานสานทันที

ทำดีปัจจุบัน  จิตสุขสันต์สุขฤดี
กังวลหยุดทันที  ยิ้มให้ดีมีสุขเอย

ปภาวีร์ 
๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙

วันเสาร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "อบรมมุทิตา - ญาณทรรศน์ สมเด็จพระสังฆราชฯ"

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "อบรมมุทิตา - ญาณทรรศน์ สมเด็จพระสังฆราชฯ" คติธรรมคำสอนในเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เกี่ยวกับเรื่อง "มุทิตา" ซึ่งสามารถรับฟังได้จาก YouTube ต่อไปนี้ 

https://www.youtube.com/watch?v=T3zxXwdeYNI&list=PLlUF6ZLOol0HKTwXPHu87ORwZh_4axEJ4&index=20



พระพุทธเจ้าตรัสสอนให้อบรมมุทิตา ที่มีอยู่เป็นพื้นในจิตใจของตนนี้แหละ แผ่ขยายให้กว้างออกไป ท่านก็สอนให้แผ่ไปในบุคคลที่เป็นที่รักก่อ­น ตั้งจิตให้เขาได้รับความสุขความเจริญ เมื่อเขาได้รับประสบสุขสมบัติ ได้รับความสำเร็จ ก็บันเทิงยินดี จากนั้นก็ตรัสสอนให้แผ่ไปในบุคคลที่เป็นกล­างๆ เมื่อทำได้ก็สอนให้แผ่ไปในบุคคลที่เป็นศัต­รู หรือที่ไม่ชอบกัน เมื่อบุคคลที่เป็นกลางๆ หรือแม้ที่เป็นศัตรูที่ไม่ชอบกันได้ความสุ­ขความเจริญก็แผ่ใจออกไปให้เขา พลอยยินดีในความสุขความเจริญของเขา

เชื่อว่าคติธรรมคำสอนในเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช ฯ ในข้างต้นนั้น "มุทิตา" เป็นสิ่งที่เราทุกคนบุคคลจะต้องมี ซึ่งยิ่งมีมากเท่าไร ยิ่งจะเป็นผลดีต่อทุกๆ คน ทุกๆ ฝ่าย ที่เกี่ยวกับข้อง

และเป็นธรรมเนียมที่ผู้เขียนจะต้องขออนุญาตฝากกาพย์ยานี ๑๑ ไว้ให้ท่านผู้อ่านทุกท่านได้โปรดเมตตาพิจารณาชี้แนะแนะนำเพื่อการปรับปรุงพัฒนาให้ดียิ่งๆ ขึ้นต่อไปในอนาคต ดังนี้

อบรมมุทิตา สิ่งมีค่าพาเบิกบาน
ยิ่งมีมหาศาล พร้อมสืบสานแผ่ออกไป

ฝึกตนคอยยินดี นำชีวีมีธรรมไว้
แผ่มากอยู่เรื่อยไป ไม่ว่าใครใจนำพา

ศัตรูผู้ไม่ชอบ จิตคอยบอกมุทิตา
ให้เขาไปเถิดหนา ยิ่งเมตตาฆ่าศัตรู

พลอยยินดีทุกอย่าง หาหนทางสร้างความรู้
ผิดพลาดสอนเป็นครู ธรรมให้รู้ดูให้ดี

มุทิตาพาเจริญ มีมากเกินเพลินฤดี
ฝึกตนให้มากมี ส่งผลดีมีต่อไป

ศัตรูหรือเพื่อนมิตร ธรรมใกล้ชิดคิดเข้าใจ
มุทิตาที่ใจ สุขฤทัยใจงามเอย


ปภาวีร์ 
๒๙ พฤษาคม ๒๕๕๙

วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงพ่อจรัญ ประพฤติ สำคัญอยู่ที่จิต"

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงพ่อจรัญ ประพฤติ สำคัญอยู่ที่จิต" คติธรรมคำสอนของหลวงพ่อจรัญ  สำคัญอย่างยิ่งในเรื่อง "ของจิต"  จึงขอเชิญทุกท่านอ่านเพิ่มเติมได้ดังนี้
คติธรรมคำสอนของท่านหลวงพ่อจรัญข้างต้น เป็นลายมือที่ท่านได้เมตตามอบไว้ให้เราทุกคนได้พิจารณาทำตาม แล้วจะต้องได้รับผลดีอย่างแน่นอน  ดังนั้น คงเป็นหน้าที่ของแต่ละท่านจะได้คิดพิจารณานำไป "ประพฤติ" ให้ได้

และเป็นธรรมเนียมที่ผู้เขียนจะต้องขออนุญาตฝากกาพย์ยานี ๑๑ ไว้ให้ท่านผู้อ่านทุกท่านได้โปรดเมตตาพิจารณาชี้แนะแนะนำเพื่อการปรับปรุงพัฒนาให้ดียิ่งๆ ขึ้นต่อไป ดังนี้ 

สำคัญอยู่ที่จิต  ประพฤติผิดมิตรหนีหาย
ประพฤติดีอย่าอาย  ยังไม่สายตายไม่มี

ตั้งตัวผิดมัวหมอง  ธรรมไม่มองต้องฤดี
ตั้งตัวถูกเรื่องดี  จิตชีวีมีผ่องใส

ประพฤติตนสำคัญ  ธรรมตั้งมั่นขยันไว้
จิตเราเศร้าทำไม  ตายเมื่อไหร่ไม่ได้ดี

สติใช้คุมจิต  ธรรมใกล้ชิดคิดทำดี
ประพฤติในสิ่งดี  นำชีวีดีแน่นอน

ตัวเราจิตสั่งได้  ธรรมมากไว้ในทุกตอน
เรื่องเก่าไม่กลับย้อน  อย่าตัดรอนสอนใจตน

จิตนั้นสำคัญยิ่ง  พบความจริงยิ่งต้องค้น
จิตดีเมื่อเป็นคน  ตายจากคนหลุดพ้นเอย

ปภาวีร์ 
๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๙

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "อารมณ์ที่เป็นกุศล- ญาณทรรศน์ สมเด็จพระสังฆราชฯ"

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "อารมณ์ที่เป็นกุศล- ญาณทรรศน์ สมเด็จพระสังฆราชฯ" คติธรรมคำสอนในเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เกี่ยวกับเรื่อง "อารมณ์ที่เป็นกุศล" ซึ่งสามารถรับฟังได้จาก YouTube ต่อไปนี้ 

https://www.youtube.com/watch?v=nhX2slMFeDc&list=PLlUF6ZLOol0HKTwXPHu87ORwZh_4axEJ4&index=18



ก็เพราะว่าจิตน้อมไปมากในกามา กามคุณารมณ์ เพราะฉะนั้นจึงมีความคุ้นเคยอยู่ในกามคุณา­รมณ์ เรียกว่าอยู่กับกามคุณารมณ์มานาน อยู่กับกามคุณารมณ์มาก อยู่กับกามคุณารมณ์บ่อยๆ ฉะนั้นเมื่อผู้ปฏิบัติธรรมะมีสติความระลึก­ได้ในฝ่ายอารมณ์ที่เป็นกุศล คือกรรมฐาน มีความรู้ตัวอยู่ มีความเพียรไม่ทิ้งความเพียร ปฏิบัติอยู่บ่อยๆ ในกรรมฐาน ทำให้มากในกรรมฐาน และทำให้อยู่นานในกรรมฐาน จิตก็จะน้อมมาสู่สัมมาสติ

คติธรรมคำสอนในเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช ฯ ข้างต้นเกี่ยวกับเรื่องการทำอารมณ์ที่เป็นกุศล หากทำได้กันทุกคนย่อมจะหลุดพ้นจากสิ่งที่วนเวียนว่ายตายเกิดอย่างแน่นอน ดังนั้น คงจะเป็นหน้าที่ของแต่ละท่านที่จะพิจารณาว่าทำอ่างไรที่จะให้อารมณ์เป็น "กุศล" มากที่สุด

และเป็นธรรมเนียมที่ผู้เขียนจะต้องขออนุญาตฝากกาพย์ยานี ๑๑ ไว้ให้ท่านผู้อ่านทุกท่านได้โปรดเมตตาพิจารณาชี้แนะแนะนำเพื่อการปรับปรุงพัฒนาให้ดียิ่งๆ ขึ้นต่อไป ดังนี้

อะไรคือกามา ต้องค้นหาพาเข้าใจ
กามคุณารมณ์ใคร  มีเมื่อไหร่ใจระทม

ต้องมีสติระลึก  จิตต้องฝึกนึกนิยม
ธรรมะอันเหมาะสม  น่าชื่นชมสมฤทัย

อารมณ์ที่เป็นกุศล  มีทุกคนพ้นทุกข์ภัย

ฝึกมีให้มากไว้  ตายทันใดใจสุขเย็น

ปฏิบัติอยู่บ่อยบ่อย  จิตเฝ้าคอยค่อยบำเพ็ญ

กุศลทุกเช้าเย็น  จิตจะเห็นเป็นอย่างไร

มากในกรรมฐาน  เพื่อนิพพานสานจิตใจ

ธรรมมากย่อมสุขใจ  ตายเมื่อไหร่ไปทันที

สู่สัมมาสติ  สมาธิให้มากมี

อารมณ์กุศลดี  ยิ่งมากมีดีแน่เอย

ปภาวีร์ 
๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๙

วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงพ่อจรัญ อย่าเห็นแก่ตัว"

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงพ่อจรัญ อย่าเห็นแก่ตัว" คติธรรมคำสอนของท่านหลวงพ่อจรัญสำคัญอย่างยิ่งที่ยิ่งจะต้องพิจารณากันว่าเป็น "อย่าเห็นแก่ตัว" ดังนั้น จึงขอเชิญชวนทุกท่านอ่านได้ตามรูปภาพต่อไปนี้ 

คติธรรมคำสอนของท่านหลวงพ่อจรัญข้างต้น ส้ันๆ  ได้ใจความในความไม่เห็นแก่ตัว ดังนั้น หากว่าเราไม่เห็นแก่ตัว ไม่กลัวลำบาก ย่อมจะเป็นสิ่งที่ประเสริฐเลิศที่สุดอย่างแน่นอน

และเป็นธรรมเนียมที่ผู้เขียนจะต้องขออนุญาตฝากกาพย์ยานี ๑๑ ไว้ให้ท่านผู้อ่านทุกท่านได้โปรดเมตตากรุณาชี้แนะแนะนำเพื่อการปรับปรุงพัฒนาต่อไปให้ดียิ่งขึ้น ดังนี้

ต้องไม่เห็นแก่ตัว  อย่าได้กลัวตัวลำบาก

เป็นสิ่งที่ไม่ยาก  จิตต้องอยากมากเข้าใจ

ความยากจะไม่เกิด  ธรรมประเสริฐเลิศยิ่งใหญ่

มีธรรมประจำใจ  ให้เร็วไวก่อนสิ้นลม

หากว่าเห็นแก่ตัว  ยิ่งเมามัวชั่วนิยม

เป็นเรื่องไม่เหมาะสม ไม่ชื่นชมตรมอุรา

ชีวิตกลัวลำบาก  ยิ่งกลัวมากมากปัญหา

สติเกิดปัญญา  ธรรมเข้าหาพาเบิกบาน

เห็นแก่ตัวยิ่งมาก  ปราศจากการให้ทาน

ชีวิตน่าสงสาร  อีกไม่นานตายมีกรรม

ปรับเปลี่ยนความนึกคิด  ให้ใกล้ชิดติดเรื่องธรรม

สั่งจิตเป็นประจำ  ทานตัวนำทำดีเอย

ปภาวีร์ 
๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๙

วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสให้อบรมจ­ิต- ญาณทรรศน์ สมเด็จพระสังฆราชฯ"

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสให้อบรมจ­ิต- ญาณทรรศน์ สมเด็จพระสังฆราชฯ" คติธรรมคำสอนในเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เกี่ยวกับเรื่อง "อบรมจิต" ซึ่งสามารถรับฟังได้จาก YouTube ต่อไปนี้ 

https://www.youtube.com/watch?v=IIYaOUZXf5g&list=PLlUF6ZLOol0HKTwXPHu87ORwZh_4axEJ4&index=16




อารมณ์ของมิจฉาสติดังที่เรียกว่ากามคุณารม­ณ์ ปรากฏเป็นโลภ โกรธ หลง หรือราคะ โทสะ โมหะ ซึ่งมีอาการเป็นตัณหาคือความดิ้นรนทะยานอย­ากของจิตใจไปต่างๆ เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสให้อบรมจ­ิต เพื่อให้เกิดเป็นสัมมาสติคือระลึกชอบ คือระลึกไปในอารมณ์ ก็คือเรื่องที่จิตคิด เรื่องที่จิตดำริ เรื่องที่จิตหมกมุ่นถึงนั่นแหละ อันเป็นอารมณ์ฝ่ายกุศล เกิดเป็นสัมมาสติคือระลึกชอบ

คติธรรมคำสอนในเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช ฯ ข้างต้นนั้น หากว่าท่านใดที่ยังมีกาคุณารมณ์ที่ปรากฏเป็นโลภ โกรธ หลง คงจะต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ทั้ง ๓ สิ่งนั้น ลดลงและหมดในที่สุด พร้อมหยุดไม่ให้มีต่อไป ซึ่งหากว่าทำได้แล้ว จะได้ความแต่ความสุขที่แท้จริงในที่สุด 

และเป็นธรรมเนียมที่ผู้เขียนจะต้องขออนุญาตฝากกาพย์ยานี ๑๑ ไว้ให้ท่านผู้อ่านทุกท่านได้โปรดพิจารณาชี้แนะแนะนำเพื่อการปรับปรุงพัฒนาให้ดียิ่งๆ ขึ้นต่อไป ดังนี้ 

อารมณ์โลภโกรธหลง  ไม่ประสงค์จงหลีกหนี
อารมณ์ที่ไม่ดี  นำชีวีมีวอดวาย

ตัณหาความดิ้นรน  ทุกข์กมลจนตัวตาย

เป็นเรื่องที่ไม่ง่าย  ยังไม่สายอบรมจิต

ระลึกชอบสติ  สมาธิมากเป็นนิจ

อารมณ์ที่จิตคิด  ต้องใกล้ชิดติดธรรมะ

อารมณ์ฝ่ายกุศล  ให้มากล้นทนมานะ

สั่งจิตอย่าลดละ  ย่อมชนะในสักวัน

หากว่าจิตหมกมุ่น  ยิ่งหมองขุ่นไม่สร้างสรรค์

จิตทุกข์ยิ่งโศกศัลย์  บรรลัยกัลป์มหาศาล

ตั้งใจอบรมจิต  ที่ละนิดจิตเบิกบาน

หวังไปพระนิพพพาน  สุขสำราญกาลสิ้นเอย

ปภาวีร์ 
๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๙

วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงพ่อจรัญ ทำบุญคล้ายวันเกิด"

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงพ่อจรัญ ทำบุญคล้ายวันเกิด" คติธรรมคำสอนของหลวงพ่อจรัญ  สำคัญอย่างยิ่งในเรื่อง "ของวันเกิด"  ขอเชิญทุกท่านอ่านได้ตามรูปภาพต่อไปนี้



คติธรรมคำสอนของท่านหลวงพ่อจรัญตามรูปภาพข้างต้น  เป็นสิ่งที่ไว้อ่านจดจำนำไปปฏิบัติสำหรับเราทุกคนทุกท่านที่จะต้องมีการทำบุญคล้ายกับวันเกิด  เพราะทุกคนเกิดมานั้นจะต้องมีวันเกิดกันอย่างแน่นอน (และเช่นเดียวกันคือ วันตายก็ย่อมจะมีเช่นกัน)

และเป็นธรรมเนียมเช่นเคยที่ผู้เขียนจะต้องขออนุญาตฝากกาพย์ยานี ๑๑ ไว้ให้ท่านผู้อ่านทุกท่านได้โปรดเมตตากรุณาพิจารณาชี้แนะแนะนำ เพื่อทำให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม ดังนี้

ทุกคนมีวันเกิด  วันประเสริฐเลิศยิ่งนัก
เป็นวันที่รู้จัก   มอบความรักให้แม่พ่อ

พระอรหันต์ในบ้าน  ธรรมประสานไม่ต้องรอ
พ่อแม่คุณยิ่งหนอ  น้ำตาคลอรอทดแทน

วันเกิดเลี้ยงพ่อแม่  ความจริงแท้แน่ตอบแทน
ความรักอันหวงแหน  หมื่นล้านแสนต้องรู้คุณ

ต้องทำบุญตักบาตร  ธรรมให้มากอยากในบุญ
ธรรมะจะพาหนุน  ให้เป็นทุนตุนต่อไป

ต้องขออโหสิกรรม  จิตน้อมนำทำเข้าไว้
เจ้ากรรมเจ้าเวรใคร  พร้อมอภัยในทันที

พร้อมแผ่ส่วนกุศล  ให้ทุกคนสุขชีวี
วันเกิดประเสริฐศรี  ทำความดีมีสุขเอย

ปภาวีร์ 
๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๙

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หน้าตาของธรรมะ- ญาณทรรศน์ สมเด็จพระสังฆราชฯ"

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หน้าตาของธรรมะ- ญาณทรรศน์ สมเด็จพระสังฆราชฯ" คติธรรมคำสอนในเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เกี่ยวกับเรื่อง "หน้าตาของธรรมะ" ซึ่งสามารถรับฟังได้จาก YouTube ต่อไปนี้ 

https://www.youtube.com/watch?v=ATsGVCSqYwA&nohtml5=False



การปฏิบัติธรรมต้องมีสติ มีปัญญา และก็ประกอบด้วยสมาธิ แต่พูดสั้นๆ ต้องมีสติ มีปัญญา ซึ่งมีสมาธิรวมอยู่ด้วย เมื่อมีความตั้งใจฟัง กำหนดฟังเสียงที่แสดงนี้อยู่ตลอด ก็ย่อมจะได้ปัญญาคือตัวความรู้ ที่รู้เรื่องนั่นเองว่าสอนว่าอย่างไร อบรมว่าอย่างไร เพราะฉะนั้น จึงให้รู้จักหน้าตาของธรรมะดั่งนี้ ตั้งใจฟังนั่นเป็นสมาธิ กำหนดใจฟังนั่นเป็นตัวสติ รู้เรื่องนี่เป็นตัวปัญญา การปฏิบัติธรรมจึงต้องมีสติ มีปัญญา และก็ประกอบด้วยสมาธิดังที่กล่าวนั้น

คติธรรมคำสอนในเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช ฯ เกี่ยวกับเรื่องหน้าตาของธรรมะ จะสามารถทำให้พุทธศาสนิกชนทุกคนได้เข้าใจมากยิ่งขึ้นว่า เมื่อเราจะมี "ธรรมะ" นั้น หน้าตาของธรรมมะเป็นอย่างไร และเมื่อเข้าใจแล้ว ย่อมจะทำให้ทุกคนทุกท่านได้สามารถที่จะพบความสุขที่แท้จริงได้ในที่สุด

และเป็นธรรมเนียมที่ผู้เขียนจะต้องขออนุญาตฝากกาพย์ยานี ๑๑ ไว้ให้ทุกคนทุกท่านได้โปรดเมตตากรุณาพิจารณาชี้แนะแนะนำเพื่อการปรับปรุงพัฒนาให้ดียิ่งๆ ขึ้นต่อไป ดังนี้

หน้าตาของธรรมะ  ต้องมานะจะรู้ดี
รู้แล้วสุขฤดี  นำชีวีมีสุขใจ

เริ่มจากตั้งใจฟัง  เกิดพลังสั่งเข้าใจ
สติเกิดทันใด  รู้ว่องไวให้รู้ดี

สมาธิตั้งใจ  มากเข้าไว้ให้มากมี
ปัญญาเกิดทันที  ประเสริฐศรีดีต่อตน

นั่นคือปฏิบัติธรรม   เป็นประจำนำอดทน
ธรรมะจะต้องสน  เพื่อหลุดพ้นไม่กลับมา

ต้องมีจิตที่นิ่ง  ทำให้จริงทุกเวลา
สติเกิดปัญญา  แก้ป้ญหาพาสุขใจ

หน้าตาของธรรมะ  จิตเห็นพระจะยิ่งใหญ่
ตายไปสู่ภพใหม่  สุขฤทัยไปดีเอย

ปภาวีร์ 
๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๙

วันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงพ่อจรัญ : ขันติ"

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงพ่อจรัญ : ขันติ" คติธรรมคำสอนของท่านหลวงพ่อจรัญสำคัญอย่างยิ่งที่ยิ่งจะต้องพิจารณากันว่าตัวเรามี "ขันติ" หรือยัง ดังนั้น จึงขอเชิญชวนทุกท่านอ่านได้ตามรูปภาพต่อไปนี้ 


...ขันติ .. ความอดทนสำคัญที่สุด
เปรียบเสมือนเสาบ้านทีเดียว
บ้านเรือนถ้าขาดเสา
ก็จะกลายเป็นไม้เราดีๆ นี่เอง
ถ้าขาดความอดทน
ความดีอื่นก็ไม่เจริญ
อด.. คือ อด.. ต่อสิ่งที่ชอบ
ทน.. คือ ทน.. ต่อสิ่งที่ชัง..."

คติธรรมคำสอนของท่านหลวงพ่อจรัญข้างต้นเป็นที่เราทุกคนควรต้องสนใจและจะต้องมีให้ได้ในเรื่องของ "ขันติ" เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่เรามีขันติ แล้วเราจะสามารถชนะได้ทุกอย่างอย่างแน่นอน ซึ่งสิ่งแรกที่เราจะชนะ คือ "ชนะใจของเรา" นั่นเอง

และเป็นธรรมเนียมที่ผู้เขียนจะต้องขออนุญาตฝากกาพย์ยานี ๑๑ ไว้ให้ท่านผู้อ่านทุกท่านได้โปรดเมตตากรุณาพิจารณาชี้แนะแนะนำเพื่อการปรับปรุงพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นๆ ต่อไป ดังนี้

ทุกคนสนขันติ  มีสติทุกเวลา
ขันติสิ่งมีค่า   ทุกเวลาพาเจริญ

ขันติคืออดทน  มีทุกคนสนให้เกิน
มีมากเกิดเพลิดเพลิน  ขอสรรเสริญเจริญธรรม

อดต่อสิ่งที่ชอบ  จิตคอยบอกมอบประจำ
ขันติต้องน้อมนำ  จิตมีธรรมทำเรื่องดี

ทนต่อสิ่งที่ชัง  เกิดพลังสั่งชีวี
อดทนในทันที  เรื่องไม่ดีหนีห่างไกล

ทุกคนฝึกจิตตน  ยิ่งอดทนคนยิ่งใหญ่
เป็นคนทนให้ได้  ทุกเรื่องไปใจยิ่งเย็น

สั่งจิตคิดอดทน   เพื่อหลุดพ้นจนนิพพาน
อดทนมหาศาล  ย่อมเบิกบานสานธรรมเอย


ปภาวีร์ 
๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๙

วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "ใจที่ตั้งฟัง- ญาณทรรศน์ สมเด็จพระสังฆราชฯ"

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "ใจที่ตั้งฟัง- ญาณทรรศน์ สมเด็จพระสังฆราชฯ" คติธรรมคำสอนในเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เกี่ยวกับเรื่อง "ใจที่ตั้งฟังดั่งนี้แหละคือ วิตก ที่เรียกว่าตรึก" ซึ่งสามารถรับฟังได้จาก YouTube ต่อไปนี้ 

https://www.youtube.com/watch?v=lywPCj-_hjU&index=24&list=PLlUF6ZLOol0HKTwXPHu87ORwZh_4axEJ4


ใจที่ตั้งฟังดั่งนี้แหละคือ วิตก ที่เรียกว่าตรึก แล้วก็ประคองให้ใจนี้ตั้งฟังอยู่เรื่อยไป ไม่ให้ใจแว่บออกไปไหน ดั่งนี้คือ วิจาร ที่เรียกว่าตรอง เพราะฉะนั้นวิตก วิจารนี้จึงคู่กัน ต้องมีทั้งสอง ใจจึงจะตั้งฟังหรือตั้งอ่านอยู่ได้นาน ถ้ามีแต่เพียงวิตกอย่างเดียวไม่มีวิจาร ก็ได้แค่แว่บหนึ่ง แว่บหนึ่ง ต่อเมื่อมีคู่กันอยู่ ใจจึงจะตั้งอยู่ ที่จะฟังที่จะอ่านได้นาน ทำให้รู้เรื่องได้ตลอด ซึ่งเป็นตัวปัญญาอันบังเกิดขึ้นจากสมาธิ คือทำสมาธิในการฟัง

คติธรรมคำสอนในเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชฯ ข้างต้นเป็นสิ่งที่เราหลายท่านอาจจะลองพิจารณาตาม แล้วลองลงมือทำตาม ซึ่งเชื่อว่าหากว่าได้ทำแล้ว ย่อมจะเกิดผลดีอย่างแน่นอน เพราะเป็นสิ่งดีมีประโยชน์ต่อการทำงานและการดำรงชีวิตให้มีประสิทธิภาพ

และเป็นธรรมเนียมที่ผู้เขียนจะต้องขออนุญาตกาพย์ยานี ๑๑ ไว้ให้ท่านผู้อ่านทุกท่านได้โปรดเมตตาพิจารณาชี้แนะแนะนำเพื่อการปรับปรุงพัฒนาให้ดียิ่งๆ ขึ้นต่อไป ดังนี้

หากว่าใจตั้งฟัง  เกิดพลังสั่งกลับมา
ตรึกไว้ทุกเวลา  ย่อมนำพาหาสิ่งดี

ไม่ให้ใจแว่บออก  จิตสั่งตอบบอกทุกที
แว่บหนึ่งยิ่งไม่ดี  แว่บมากมีดีไม่ได้ 

ใจจึงจะต้องอยู่  เพื่อให้รู้อยู่ไม่ไกล
ทำให้รู้เรื่องได้  เรื่องอะไรใจรู้ดี

ตรองคิดชิดให้มาก  เรื่องไม่ยากหากเรื่่องดี
ตรึกตรองลองทุกที่  นำชีวีดีเรื่อยไป

ฟังอ่านให้นานนาน  จิตประสานงานเข้าใจ
ไม่ให้แว่บไปไหน  จิตนิ่งไว้ในกมล

สมาธิการฟัง  จิตตรงตั้งสั่งมากล้น
ทำได้เมื่อเป็นคน  ตายหลุดพ้นวนเวียนเอย


ปภาวีร์ 
๔ กรกฎาคม ๒๕๕๙

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "ชีวิตที่ล่วงไป- ญาณทรรศน์ สมเด็จพระสังฆราชฯ"

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "ชีวิตที่ล่วงไป- ญาณทรรศน์ สมเด็จพระสังฆราชฯ" คติธรรมคำสอนในเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังacฆปริณายก เกี่ยวกับเรื่อง "ชีวิตที่ล่วงเลย" ซึ่งสามารถรับฟังได้จาก YouTube ต่อไปนี้ 
https://www.youtube.com/watch?v=J5VdlJYyIVI&index=21&list=PLlUF6ZLOol0HKTwXPHu87ORwZh_4axEJ4


กาลเวลา ย่อมกลืนกินตัวเอง เมื่อกาลเวลาล่วงไป ล่วงไป ชีวิตนี้ก็ล่วงไป ล่วงไป ดังเช่นที่โลกกำหนดนับ เป็น วัน คืน เดือน ปี เป็นต้น และเพราะกาลเวลาล่วงไป ล่วงไปนี้เอง จึงได้มีอดีต คือที่ล่วงไปแล้ว มีอนาคตที่ยังไม่มาถึง และมีปัจจุบันบัดนี้ ฉะนั้น ความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ และความเป็นอนัตตา จึงได้มีขึ้น เพราะกาลเวลานี้เอง ที่ล่วงไป ล่วงไป

คติธรรมคำสอนของเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช ฯ ข้างต้นเป็นสิ่งที่เป็นความจริงแท้แน่นอนที่สุด เพราะไม่มีใครที่จะหลีกเลี่ยงได้ว่า "ชีวิตนี้ก็ล่วงไป" และยิ่้งจะล่วงไปในทุกวัน ดังนั้น เมื่อกาลเวลาล่วงไป ใจเราต้องตั้งมั่นในความดี ทำความดีไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้วจะพบกับความสุขอันยิ่งใหญ่

และเป็นธรรมเนียมที่ผู้เขียนจะต้องขออนุญาตฝากกาพย์ยานี ๑๑ ไว้ให้ท่านผู้อ่านทุกท่านได้โปรดชี้แนะแนะนำเพื่อการแก้ไขให้ดียิ่งๆ ขึ้นต่อไป ดังนี้

ชีวิตนี้ล่วงไป  ทำอย่างไรใครรู้ดี
ล่วงไปทุกนาที  ทำไงดีชีวีเรา

วันคืนเดือนปีผ่าน  ไม่ได้นานกาลผ่านเก่า
ล่วงมาสุขปนเศร้า  จิตของเราเศร้าอย่ามี

ผ่านมาคืออดีต  เรื่องชีวิตคิดให้ดี
ปัจจุบันสิ่งดี  ยิ่งทำดีมีบุญนำ

อนาคตยังไม่มา เสียเวลาพาจดจำ
ปัจจุบันมีธรรม  เป็นประจำทำทุกวัน

ความไม่เที่ยงเกิดดับ  ตายลาลับนับไม่ทัน
ความดีที่สร้างสรรค์  ต้องขยันหมั่นมากมี

ความเป็นอนัตตา  สิ่งมีค่าพาชีวี
นิพพานได้ยิ่งดี  สุขฤดีมีสุขเอย


ปภาวีร์ 
๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๙

วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงพ่อจรัญ : แค่นี้พอก่อน"

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงพ่อจรัญ : แค่นี้พอก่อน" คติธรรมคำสอนของท่านหลวงพ่อจรัญสำคัญอย่างยิ่งที่ยิ่งจะต้องพิจารณากันว่าเป็น "แค่นี้พอก่อน" ดังนั้น จึงขอเชิญชวนทุกท่านอ่านได้ตามรูปภาพต่อไปนี้ 


"อาตมาไม่เคยสอนใครไปสู่สวรรค์ นิพพาน 
แต่สอนกรรมฐานให้ระลึกชาติได้
ระลึกบุญคุณคนได้ นึกถึงพ่อแม่
นึกถึงตัวเอง และ สงสารตัวเอง
จะทำแต่สิ่งดีๆ แค่นี้พอก่อน"

คติธรรมคำสอนของท่านหลวงพ่อจรัญข้างต้นนั้น หากว่าเราทุกคนเริ่มต้นทำกรรมฐานตามคำสอนที่ท่านหลวงพ่อจรัญได้เมตตาไว้ เชื่อว่าจะเป็นสิ่งที่พอเพียงในเบื้องต้น ซึ่งจะสามารถก้าวเดินต่อไปในสายธรรมที่ยิ่งใหญ่ได้ในที่สุด

และเป็นธรรมเนียมที่ผู้เขียนจะต้องขออนุญาตฝากกาพย์ยานี ๑๑ ไว้ให้ท่านผู้อ่านทุกท่านได้เมตตากรุณาพิจารณาเพื่อการปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งๆ ขึ้นต่อไป ดังนี้

หลวงพ่อจรัญสอน  อย่าตัดรอนก่อนจะสาย
ให้ระลึกชาติได้  สิ่งยิ่งใหญ่ในตอนนี้

ระลึกคุณพ่อแม่  สิ่งจริงแท้แย่ไม่ดี
บุญคุณคนต้องมี   นึกทุกทีดีอย่างไร

ต้องนึกถึงตัวเอง  จิตต้องเพิ่งเร่งธรรมไว้
ตัวเองธรรมหรือไม่  ต้องถามใจให้มากมี

สงสารตนให้มาก  ธรรมให้มากยากไม่มี
จะทำแต่สิ่งดี  นำชีวีดีในธรรม

แค่นี้ได้พอก่อน  จะได้พรย้อนประจำ
ระลึกน้อมจดจำ  ทุกเช้าค่ำย้ำใจตน

สั่งจิตคิดทำดี  ยิ่งมากมีดีมากล้น
แค่นี้พอแล้วคน  ธรรมให้สนค้นต่อเอย

ปภาวีร์ 
๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙

วันพุธที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "ทำดีเมื่อใดก็ฤกษ์ดีเมื่อนั้น- ญาณทรรศน์ สมเด็จพระสังฆราชฯ"

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "ทำดีเมื่อใดก็ฤกษ์ดีเมื่อนั้น- ญาณทรรศน์ สมเด็จพระสังฆราชฯ" คติธรรมคำสอนในเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังacฆปริณายก เกี่ยวกับเรื่อง "ทำดีฤกษ์ดี" ซึ่งสามารถรับฟังได้จาก YouTube ต่อไปนี้ 
https://www.youtube.com/watch?v=P1_s11v62Po&list=PLlUF6ZLOol0HKTwXPHu87ORwZh_4axEJ4&index=23



ทำดีเมื่อใด ก็ฤกษ์งามยามดีเมื่อนั้น และเมื่อทำดี ชีวิตนี้ก็เป็นชีวิตดี ถ้าตรงกันข้าม ทำชั่ว ชีวิตนี้ก็เป็นชีวิตชั่ว ไม่ทำดี ปล่อยให้กาลเวลาล่วงไปโดยเปล่า ปราศจากประโยชน์ ชีวิตนี้ ก็เป็น ชีวิตเปล่า เพราะฉะนั้น จึงได้มีพระพุทธภาษิตตรัสเตือนเอาไว้ว่า ความดี ความเพียร พึงรีบกระทำเสียตั้งแต่ในวันนี้ทีเดียว เพราะว่าใครเล่าจะรู้ว่า ความตายจะมาต่อวันพรุ่งนี้

โอวาทธรรมในเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช ฯ ข้างต้น เป็นสิ่งที่พุทธศาสนิกชนคนไทยทุกคนสามารถจะได้กันทุกคน เพราะเมื่อไหร่ที่เราทำดี ย่อมจะฤกษ์ดีในเรื่องนั้นๆ อย่างแน่นอนในที่สุด หากไม่เชื่อก็คงต้องลองทำดี แล้วท่านจะได้ฤกษ์ในสิ่งนั้นทันที

และเป็นธรรมเนียมที่ผู้เขียนจะต้องขออนุญาตฝากกาพย์ยานี ๑๑ ไว้ให้ท่านผู้อ่านทุกท่านได้โปรดเมตตากรุณาชี้แนะแนะนำเพื่อการปรับปรุงพัฒนาให้ดียิ่งๆ ขึ้นต่อไป ดังนี้ 

เราทำดีเมื่อใด  ย่อมจะได้ในสิ่งดี
ได้ฤกษ์งามยามดี  นำชีวีดีแน่นอน

ทำดีในทุกวัน  สิ่งสร้างสรรค์กันทุกตอน
ฤกษ์ดีมีได้พร  ธรรมทุกตอนย้อนที่ตน

ชีวิตไร้ประโยชน์   ย่อมเกิดโทษโกรธทุกคน
ไร้สุขทุกข์กมล  นี้หนอคนไม่สนธรรม

ชีวิตที่สูญเปล่า  เรื่องน่าเศร้ามัวเมากรรม
ความดีไม่ยอมทำ  วนเวียนซ้ำทำไม่ดี

ความดีมีความเพียร  ธรรมใฝ่เรียนเตือนฤดี
อาจตายวันพรุ่งนี้  เร่งทำดีมีมากไว้

ความดีต้องรีบทำ  เป็นประจำธรรมที่ใจ
ฤกษ์ดีมีทันใด  ทำสิ่งใดได้ดีเอย

ปภาวีร์ 
๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๙