Nuffnang Ads

วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

(ร่าง) โครงการอาคารเฉลิมพระเกียรติจุฬาภรณวิทยพัฒน์


(ร่าง) โครงการ
อาคารเฉลิมพระเกียรติจุฬาภรณวิทยพัฒน์

หลักการและเหตุผล
        พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราโชวาทความตอนหนึ่ง  ในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินเปิดงานพระจอมเกล้าลาดกระบังนิทรรศน์ ๒๖ ณ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง วันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๒๖ ...การพยายามศึกษาวิทยาการและเทคโนโลยีอันก้าวหน้าทุกสาขาจากทั่วโลก แล้วเลือกสรรส่วนที่สำคัญเป็นประโยชน์   นำมาปรับปรุงใช้ให้พอดีพอเหมาะกับสภาพและฐานะของประเทศเรา เพื่อช่วยให้ประเทศของเราสามารถนำเทคโนโลยีอันทันสมัยมาใช้พัฒนางานต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่สิ้นเปลือง...
        ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์อัครราชกุมารี ประทานวโรกาสให้คณะผู้จัดทำรายการ บอกเก้าเล่าสิบ สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี ณ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2554 โดยมีพระราชดำรัสรับสั่งว่าฉันได้รับแนวทางการศึกษาจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ ท่านทรงพระราชทานคำปรึกษาแนะแนวทางการศึกษาซึ่งตอนเด็กๆ ก่อนจะเข้ามหาวิทยาลัย สมเด็จพระบรมฯ ท่านทรงศึกษาอยู่ต่างประเทศ ดังนั้นเหลือแค่สมเด็จพระเทพฯและฉันอยู่ในประเทศไทย สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท่านทรงอยากให้ลูกๆเลือกเรียนทั้งสองทางคือสายวิทยาศาสตร์และสายศิลปศาสตร์ซึ่งสมเด็จพระเทพฯท่านได้เสด็จมาถึง ณ จุดทางเลือกก่อนและท่านก็ทรงเลือกศึกษาต่อสายศิลปศาสตร์ มาถึงฉันก็เลยต้องได้ศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์ไป... 
        คณะรัฐมนตรี เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ อนุมัติให้โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยเป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค เพื่อกระจายโอกาสสำหรับนักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มีภารกิจหน้าที่ในการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑๖ ในลักษณะของโรงเรียนประจำ ทั้งนี้เพื่อกระจายโอกาสสำหรับนักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์     
        นโยบายของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้แถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันอังคารที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัย และนวัตกรรม .๑ เร่งพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นสังคมที่อยู่บนพื้นฐานขององค์ความรู้ โดยพัฒนาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ให้ประชาชนได้ใช้ในชีวิตประจำวันให้ทัดเทียมกับพัฒนาการในระดับนานาชาติ จัดให้มีแหล่งความรู้สาธารณะเพิ่มขึ้นทั้งในรูปองค์กร เช่น พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ สิ่งพิมพ์ และผ่านทางเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนยกมาตรฐานการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับ ๖.๒ เร่งสร้างนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย และครูวิทยาศาสตร์ให้เพียงพอต่อความต้องการของประเทศ เพื่อรองรับการพัฒนาประเทศอย่างมั่นคงและนำพาประเทศไทยเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจฐานความรู้แบบสร้างสรรค์และนวัตกรรมใหม่พัฒนาสายงานการวิจัยเพื่อให้นักวิจัยมีระบบความก้าวหน้าในวิชาชีพ รวมทั้งพัฒนาแหล่งงานด้านการวิจัยเพื่อรองรับบุคลากรการวิจัยทั้งในภาครัฐและเอกชน
        อีกทั้ง คณะรัฐมนตรีเมื่อการประชุมวันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๕๕ ได้เห็นชอบ (ร่าง) นโยบายและแผนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕๕ – ๒๕๖๔) ตามที่ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) เสนอ และให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนปฏิบัติการและแผนงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม และดำเนินการตามนโยบายและแผนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕๕ – ๒๕๖๔) สาระสำคัญของ (ร่าง) จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการพัฒนาประเทศไทยให้มีระบบเศรษฐกิจที่มีการขยายตัวอย่างมีคุณภาพและมีเสถียรภาพ ตลอดจนมีการกระจายประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมสู่สังคม ชุมชน ท้องถิ่น โดยได้อัญเชิญ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาควบคู่ไปกับอนาคตของประเทศที่ “วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นเครื่องมือช่วยพัฒนาประเทศไทย” ภายใต้วิสัยทัศน์ “นวัตกรรมเขียว เพื่อสังคมดีมีคุณภาพและเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพ” ซึ่งสอดรับกับทิศทางการพัฒนาประเทศของรัฐบาลที่ต้องการเห็นประเทศไทยสามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน มีเศรษฐกิจชุมชนเข้มแข็ง เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ และประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
                ยุทธศาสตร์ของนโยบายและแผน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑ ประกอบด้วย ๕ ยุทธศาสตร์ ดังนี้
                ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การพัฒนาความเข้มแข็งของสังคม ชุมชน และท้องถิ่นด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
                ยุทธศาสตร์ที่ ๒ การเพิ่มขีดความสามารถ ความยืดหยุ่นและนวัตกรรมในภาคการเกษตร ผลิตและบริการด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
                ยุทธศาสตร์ที่ ๓ การเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
                ยุทธศาสตร์ที่ ๔ การพัฒนาและเพิ่มศักยภาพทุนมนุษย์ของประเทศด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
                ยุทธศาสตร์ที่ ๕ การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและปัจจัยเอื้อด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
        นอกจากนั้น ประเทศไทยจะเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ.๒๕๕๘ และจังหวัดมุกดาหารเป็นประตูสู่อาเซียน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดเตรียมองค์ความรู้ในด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของจังหวัดมุกดาหารที่ว่า เมืองการศึกษา การค้า การท่องเที่ยว วัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง เชื่อมโยงอาเซียน ตามแผนแผนปฏิบัติราชการจังหวัดมุกดาหาร พศ. ๒๕๕๖-๒๕๖๐ (อ้างอิง www.mukdahan.go.th/sta_prov.htm)  ซึ่งการศึกษาพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาประเทศไทยเพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียน
        ดังนั้น เพื่อเป็นการน้อมนำพระราชดำรัสเกี่ยวกับการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ของประเทศไทยในระดับมัธยมศึกษา อีกทั้งเป็นการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลและมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายและแผนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕ – ๒๕๖๔) และยุทธศาสตร์การเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ.๒๕๕๘  โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยมุกดาหารจึงขอความเห็นชอบในการดำเนินโครงการก่อสร้าง “อาคารเฉลิมพระเกียรติจุฬาภรณวิทยพัฒน์” เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์อัครราชกุมารี จะทรงพระชนมายุ ๖๐ พรรษา ใน พ.ศ.๒๕๖๐

วัตถุประสงค์
๑.   เพื่อเฉลิมพระเกียรติ ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์อัครราชกุมารี ในวโรกาสจะทรงพระเจริญพระชนมายุ ๖๐ พรรษา ใน พ.ศ.๒๕๖๐
๒.  เพื่อเป็นการน้อมนำพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์
๓.  เพื่อเป็นแหล่งการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพทุนมนุษย์ของประเทศด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
๔.  เพื่อเป็นแหล่งความรู้ด้านวิทยาศาสตร์รองรับการประชาคมอาเซียน


ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
๑. ทำให้ประชาชนได้สำนักในพระมหากรุณาธิคุณและเฉลิมพระเกียรติในวโรกาส ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์อัครราชกุมารี ในวโรกาสจะทรงพระเจริญพระชนมายุ ๖๐ พรรษา ใน พ.ศ.๒๕๖๐
๒.ทำให้เกิดการเสริมสร้างให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์
๓.ทำให้เกิดแหล่งการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพทุนมนุษย์ของประเทศด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
๔. ทำให้มีแหล่งความรู้ด้านวิทยาศาสตร์รองรับการประชาคมอาเซียน


ความหมาย “อาคารเฉลิมพระเกียรติจุฬาภรณวิทยพัฒน์”
        คือ อาคารที่จัดสร้างเพื่อเฉลิมพระเกียรติแด่ ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์อัครราชกุมารี ในวโรกาสจะทรงพระเจริญพระชนมายุ ๖๐ พรรษา ใน พ.ศ.๒๕๖๐ เป็นอาคารที่ใช้สำหรับการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพทุนมนุษย์ของประเทศด้านวิทยาศาสตร์

ลักษณะของอาคาร
        เน้น การประหยัดพลังงานและใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์
        เน้น การให้มีการปลูกพันธ์ไม้ภายในอาคารโดยพันธ์ไม้ต่างๆ สามารถใช้ในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์

มณูญพงศ์ ศรีวิรัตน์
 ประธานสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร
 ผู้ร่างโครงการ


องค์ฟ้าหญิง มิ่งขวัญ จุฬาภรณ์
ถวายพระพร นอบน้อม พร้อมเชิดชู
ทรงเชี่ยวชาญ ศาสตร์วิทย์ จิตเป็นครู
ทรงรอบรู้ วิจัย ใครจะยิ่ง

อาคารนี้ เฉลิม เสริมพระเกียรติ
รายละเอียด เสริมส่ง องค์ฟ้าหญิง
ปีห้ารอบ พรรษา ค่ามากยิ่ง
ทรงเป็นมิ่ง ชาวไทย ใจภักดี

หลักคิดสร้าง ร่างเริ่ม เติมเรื่องวิทย์
พร้อมเป็นมิตร ทุกสิ่ง ยิ่งจะดี 
สร้างประหยัด จัดทาง วางแปลนดี
วิทย์ที่ดี ดีเลิศ เกิดความรู้

สร้างถวาย พระองค์ ทรงปรีชา
พวกเรามา อาสา อย่าเพียงดู
รวมทุกส่วน ชวนกัน ทำให้ดู
เพื่อเชิดชู พระองค์ ทรงพระเจริญ

มณูญพงศ์ ศรีวิรัตน์

ประธานสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร 
แต่งถวาย ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๖ 














วันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การจัดอุดมศึกษากับพื้นที่จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

อ้างอิงจาก www.pdit.co.th


อันดับจังหวัดจำนวน (คน)
(31 ธันวาคม 2555) [3]
! จำนวน (คน)
(31 ธันวาคม 2554) [4]
จำนวน (คน)
(31 ธันวาคม 2553) [5]
1นครราชสีมา2,601,1672,585,3252,582,089
2อุบลราชธานี1,826,9201,816,0571,813,088
3ขอนแก่น1,774,8161,766,0661,767,601
4บุรีรัมย์1,566,7401,559,0851,553,765
5อุดรธานี1,557,2981,548,1071,544,786
6ศรีสะเกษ1,458,3701,452,2031,452,471
7สุรินทร์1,386,2771,380,3991,381,761
8ร้อยเอ็ด1,308,5701,305,0581,309,708
9ชัยภูมิ1,133,0341,127,4231,127,423
10สกลนคร1,129,1741,123,3511,122,905
11กาฬสินธุ์985,084981,655982,578
12มหาสารคาม945,149939,736940,911
13นครพนม708,350704,768703,392
14เลย629,787624,920624,066
15ยโสธร540,267538,853539,257
16หนองคาย512,439509,870509,395
17หนองบัวลำภู505,071502,551502,868
18บึงกาฬ412,613407,634403,542
19อำนาจเจริญ373,494372,241372,137
20มุกดาหาร342,868340,581339,575
รวม21,697,48821,585,88321,573,318
อ้างอิง ภาคอีสาน (ประเทศไทย)





ลำดับ จังหวัด สถาบันที่ 1 สถาบันที่ 2 สถาบันที่ 3
1 นครราชสีมา ม.เทคโนโลยีสุรนารี  ม.ราชภัฏนครราชสีมา  ม.เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
2 อุบลราชธานี ม.อุบลราชธานี ม.ราชภัฏอุบลราชธานี
3 ขอนแก่น ม.ขอนแก่น ม.ทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น
4 บุรีรัมย์ ม.ราชภัฏบุรีรัมย์
5 อุดรธานี ม.ราชภัฏอุดรธานี
6 ศรีสะเกษ ม.ราชภัฏศรีสะเกษ
7 สุรินทร์ ม.ราชภัฏสุรินทร์ ม.เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
8 ร้อยเอ็ด ม.ราชภัฏร้อยเอ็ด
9 ชัยภูมิ ม.ราชภัฏชัยภูมิ
10 สกลนคร ม.ราชภัฏสกลนคร ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ สกลนคร
11 กาฬสินธุ์ ม.ราชภัฏกาฬสินธุ่ ม.ทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์
12 มหาสารคาม ม.มหาสารคาม  ม.ราชภัฏมหาสารคาม
13 นครพนม ม.นครพนม
14 เลย ม.ราชภัฏเลย
15 ยโสธร -
16 หนองคาย ม.ขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย
17 หนองบัวลำภู -
18 บึงกาฬ -
19 อำนาจเจริญ ม.มหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ
20 มุกดาหาร -


จากข้อมูลข้างต้น 
จะเห็นว่ามีจังหวัดต่อไปนี้ที่ยังไม่มีสถาบันอุดมศึกษา (มหาวิทยาลัย) ในพื้นที่ภายในจังหวัด คือ 

1. จังหวัดยโสธร
2. จังหวัดหนองบัวลำภู
3. จังหวัดบึงกาฬ
4. จังหวัดมุกดาหาร 
(หมาิยเหตุ  จังหวัดหนองบัวลำภู และ จังหวัดบึงกาฬ ถูกจัดตั้งเป็นจังหวัดไม่ถึง 5 ปี) 

หากจะเอาจำนวนประชากรในจังหวัดเป็นเกณฑ์ในการจัดตั้งมหาวิทยาลัยแน่นอนทั้ง 4 จังหวัดข้างต้นมีจำนวนประชากรไม่มากนัก อย่างไรก็ตาม หากนำเกณฑ์ในเรื่องพื้นที่ที่เชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อเป็นทางเชื่อมในการเป็นประชาคมอาเซียน ก็อาจจะเหลือเพียงจังหวัด บึงกาฬ และ มุกดาหาร เท่านั้น 

ทั้งนี้ หากพิจารณาความพร้อมระหว่างจังหวัดบึงกาฬและจังหวัดมุกดาหาร แล้วนั้น จะเห็นว่าจังหวัดมุกดาหารอาจจะได้เปรียบตรงที่เป็นจังหวัดมาุก่อนเกือบ 30 ปี และมีสะพานข้ามแม่น้ำโขง (แห่งที่ 2) จึงทำให้ จังหวัดมุกดาหาร ป็นทางเลือกหนึ่งของรัฐบาลในการกำหนดพื้นที่ที่จะเป็นจังหวัดในการพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาในการรองรับแรงงานและการขยายตัีวของการเป็นประชาคมอาเซียน  

นอกจากนั้น ที่จังหวัดมุกดาหารยังมีโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค คือ โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยมุกดาหาร ที่จะเ้ป็นโรงเรียนในการสร้างนักเรียนมัธยมศึกษาที่มีคุณภาพด้านวิทยาศาสตร์ให้กับพื้นที่ส่งต่อระดับอุดมศึกษาในที่สุด 


โดยที่การมีสถาบันอุดมศึกษาเพื่อรองรับชาวต่างประเทศเข้าศึกษาต่อในประเทศไทย จังหวัดมุกดาหาร น่าจะเป็นพื้่นที่ที่เหมาะสมอย่างยิ่ง เนื่องจากนักเรียนจาก สปป.ลาว เวียดนาม หรือ จากตอนใต้ของจีน สามารถเดินทางมาได้ง่ายสะดวก อีกทั้งเชื่อว่าต่อไป การส่งสินค้าจากไทยไปสู่ประชาคมอาเซียนผ่านสะหวันนะเขต (สปป.ลาว) ก็น่าจะเป็นช่องทางหลักในอีกไม่กีปีข้างหน้า

ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศไทยจะต้องกำหนดยุทธศาสตร์การอุดมศึกษาให้สอดคล้องกับพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือในการรองรับการเป็นประชาคมอาเซียน เพราะหากไม่มีแผนหรือไม่มีนโยบายรองรับอาจจะทำให้การพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดน (มุกดาหาร) ได้รับผลกระทบ เนื่องจากการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ทรัพยากรมนุษย์ (ผู้ที่สำเร็จอุดมศึกษา) ในการเป็นกำัลังสำคัญของการพัฒนา 

ซึ่งการพัฒนาอุดมศึกษาดังกล่าวจะเป็นการสอดคล้องกับ แผนพัฒนาจังหวัดมุกดาหาร 4 ปี (พ.ศ. 2557-2560) ที่กำหนดวิสัยทัศน์ ว่า  เมืองการศึกษา การค้า การท่องเที่ยว วัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง เชื่อมโยงอาเซียน

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับด้านการศึกษาระดับอุดมศึกษาทุกหน่วยจะให้ความสำคัญในการพัฒนาการศึกษา เพราะหากแผนการพัฒนาอุดมศึกษากับพื้นที่จังหวัดชายแดนมีความชัดเจน ย่อมจะส่งผลให้นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาในพื้นที่จังหวัดและพื้นที่ใกล้เคียงไ้ด้ตัดสินใจว่าจะเรียนที่ใด ซึ่งหากเมื่อเรียนแล้วจบสามารถทำงานในพื้นที่บ้านเกิด (โดยเฉพาะพื้นที่รองรับการเป็นประชาคมอาเซียน) ย่อมจะทำให้ไม่เกิดการเคลื่อนย้านแรงงานเข้าสู่เมืองหลวงหรือเมืองใหญ่ ดังนั้น ข้อดีของการจัดอุดมศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดน (มุกดาหาร) สามารถที่จะเกิดผลดีดังต่อไปนี้ 

1. ทำให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาตรา 80 ประเด็นการจัดการศึกษาที่ให้มีความเท่าเทียมกันในระดับพื้นที่ 

2.  ทำให้เกิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในพื้นที่เพื่อรองรับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของพื้นที่ชายแดนที่จะรองรับประชาคมอาเซียน

3. ทำให้ลดปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงาน อันเป็นนโยบายของรัฐบาล


มณูญพงศ์ ศรีวิรัตน์
ประธานสถานศึกษา ร.ร.จุฬาภรณราชวิทยาลัยมุกดาหาร 


ข้อมูลเพิ่มเติมที่น่าสนใจอย่างยิ่งต้อง Click อ่าน

และ Click อ่านข้อมูลนี้ 


เป็นเมืองการศึกษา เมืองการค้าการท่องเที่ยว
รัฐต้องมาแลเหลียว พร้อมมีเอี่ยวพัฒนา
นโยบายชัดเจน กำหนดเกณฑ์การศึกษา
เป็นเมืองที่ต้องมา เพื่อเชื่อมหากับอาเซียน
เมืองนี้มีของดี เป็นเมืองที่ต้องแวะเวียน
ประชาคมอาเซียน ต้องมาเยือนมุกดาหาร


เมืองนี้ต้องเจริญ จึงขอเชิญร่วมประสาน
อาเซียนอีกไม่นาน มุกดาหารเจริญเอย

วันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ผ้าป่าสามัคคี ณ วัดป่าหนองอ้อ (บ้านเกิดหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล)


ขอเชิญผู้มีจิตศรัทธาร่วมเป็นเจ้าภาพทอดผ้าป่าสามัคคี เพื่อสมทบการบูรณะวัดป่าหนองอ้อ (ธรรมยุต) บ้านข่าโคม (บ้านเกิดหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล)




ทอดถวาย ณ วัดป่าหนองอ้อ (ธรรมยุต) บ้านข่าโคม ตำบลปะอาว อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี วันเสาร์ที่ ๑๓ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๖

ตามที่วัดป่าหนองอ้อ (ธรรมยุต) เป็นวัดป่าบ้านเกิดของหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล ที่มีเจ้าจอมมารดาทับทิมได้พาคณะมาทอดผ้าป่าถวายไทยทานกับองค์หลวงปู่ใหญ่ (หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล)ใน พ.ศ. ๒๔๗๙ ทราบที่ทราบแล้วนั้น และในช่วงออกพรรษาก็ยังได้มอบให้บุตรชายนำคณะมาทอดกฐิน พร้อมทั้งกองบวชอีกกองหนึ่ง ในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีฉลู ร.ศ. ๑๕๖ วันสุดท้ายของกฐินกาล ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ ศ. ๒๔๘๐

ดังนั้น เพื่อเป็นการสืบทอดเจตนารมณ์ทำนุบำรุงพุทธศาสนาให้มีความเจริญรุ่งเรือง ทางวัดป่าหนองอ้อ (ธรรมยุต) ได้ร่วมกับศรัทธาญาติโยม ดำเนินการบูรณะวัดป่าหนองอ้อ (ธรรมยุต) เพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านและเป็นที่เคารพสักการะของพระภิกษุสงฆ์ ทางวัดจึงได้ดำเนินการบูรณะพื้นที่ภายในวัดอันประกอบด้วยโรงครัว ห้องน้ำ และอื่นๆ ซึ่งยังขาดปัจจัยอีกส่วนหนึ่งเพื่อจะดำเนินการให้มีความก้าวหน้าและมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

ด้วยเหตุผลข้างต้นทางวัดจึงขอเจริญพร บอกบุญมายังผู้มีจิตศรัทธาร่วมทำบุญบูรณะวัดในครั้งนี้ด้วย ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยจงอำนวยอวยชัย ให้ทุกท่านจงมีแต่ความสุขกายสบายใจ เจริญด้วยจตุพรพิธพรชัยทั้ง ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิพาณธนสารสมบัติ ทุกคนทุกท่านเทอญ


ประธานฝ่ายสงฆ์

พระนิเทศศาสนคุณ (สมาน สิริปุญฺโญ)

ประธานอุปถัมภ์

ผศ.ดร.มณูญพงศ์ ศรีวิรัตน์ ประธานสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จำกัด

คุณสมเนตร แววคุ้ม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปะอาว

คุณคิมหันต์ พิบูลย์บุญ กำนันตำบลปะอาว

ประธาน

คุณครูสมคิด แก้วสุพรรณ

คุณกนกรักษ์ แสงชัย

คุณณัฐยาพร-เด็กชายสวัชชัย กาญบรรจง

คุณยุพดี พูลจิตต์

คุณทศพร ศรีธรรม

คุณสมคิด แขมารัมย์ รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลปะอาว

คุณสมพงษ์ วราพงษ์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๑

คุณกายา คืนดี ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๒

คุณทวี จิตรงาม ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๔

คุณมรกต ศุภสร ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๕

คุณดุสิต สิตวัน ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๖

คุณทวี ประสมทอง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๗

คุณบัวเรียน บุญถม ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๘

รองประธาน

จ.ส.อ.ทวีศักดิ์ ศรีสุข

คุณสถิตย์-คุณมะลิวัลย์ ผาเวช

คุณสำรวย ส่งศรี

คุณจำปา ยืนมั่น

คุณถวัลย์ กิ่งแก้ว

คุณสมพงษ์ ขันชะลี

คุณลิดา ขันชะลี

คุณวิชัย รู่ปอ้วน

คุณฮุย แก้วสุพรรณ

คุณบุญเพ็ง สุขรักษ์

คุณประสาน มูลวัน

คุณบุญโฮม ศุภสร

คุณถาวร ศูนย์ธรรมลา

คุณบุญมี ทำชอบ

คุณจรัส ลาบ้านเพิ่ม

คุณส่อง คูณสว่าง

คุณสำเนียง แก้วสุพรรณ

กรรมการสายโรงพยาบาลศรีมหาโพธิ์

คุณอาทิตย์-คุณเพียงพิศ สมคะเณย์

คุณสุพรรณ วงษ์พินิจ

คุณสมชาย-คุณรวิศรา เงาเพ็ชร

คุณนิกร-คุณฉวีวรรณ จอมโคตร

คุณพนมลักษณ์ เจริญศรี

คุณเอกรัตน์ เจริญศรี

คุณชาญชัย-คุณกลอยใจ กำแมด

คุณฉวี-คุณหนูจันทร์ ผ่องแผ้ว

คุณคมชาย-คุณวันทา สุขยิ่ง

คุณสุกิจพงษ์-คุณจุฬาลักษณ์ รุจรัฐเศรษฐ์

คุณยุทธศาสตรา-คุณเพ็ญภักดิ์ หล่าบรรเทา

คุณสุชน นุยืนรัมย์

คุณปรีชา นุยืนรัมย์

คุณสุมาลัย นุยืนรัมย์

คุณธรวรรษ นุยืนรัมย์

คุณสุรเชษฐ์ นุยืนรัมย์

คุณพลวัฒ คำเพชรดี

คุณวีระยุทธ เบ้าเงิน

คุณศิริชัย ไกรสิทธิ์

คุณณรงค์ชัย ไชยโกฏิ

คุณยุทธภูมิ จันทรซุม

คุณธีระพงษ์ หลาทอง

คุณวรวิทย์ หลาทอง

คุณชัชวาล วงศ์ศิริ

คุณศักดิ์ชัย เครือเขียว

คุณกิติศักดิ์ ประสานจิต

คุณเชิดศักดิ์ โสบุญ

คุณเริ่มศักดิ์ โสบุญ

คุณวุฒิพันธ์ เจริญลอย

คุณจักรกฤษ กิ่งสกุล

คุณกฤษฎา มนัส

คุณนพพร สุขเลิศ

คุณเอกวิทย์ จันทรุกขา

คุณสมยศ สุขสวาท

คุณยุทธยา โสภาสิน

คุณวิจิณ โชคทรัพย์

คุณวุฒิชัย จันทิมา

คุณไพรัช แสนร่มเย็น

คุณกิติศักดิ์ นามวงศ์

คุณเชษฐา สมชัย

คุณกิติพงษ์ มุสิกสาร

คุณอนุวัฒน์ บุญจรัส

คุณเกรียงศักดิ์ บุญส่ง

คุณพละชัย ศรีขาว

กรรมการสายพิบูลมังสาหาร

คุณครูอุทัยวรรณ แก้วสุพรรณ

คุณครูจันทร์เพ็ญ ศรีสุข

ผอ.สิริพร แสนทวีสุข

คุณครูสุพรรณษา สุริยกมล

คุณเกษศิรินทร์ เสริมศิลป์

คุณครูพิบูล ประดา

คุณครูเข็มทอง จำปาทอง

คุณครูพรรณี อรุณพันธุ์

คุณโสโรจน์ อรุณพันธุ์

คุณครูสุภัทร มากดี

ผอ.ไพทูรย์ มากดี

คุณครูจินดาวรรณ ทรายทอง

คุณครูจารุณี สายมงคล

คุณครูสาราณีย์ สายหยุดภักดี

คุณครูนภดล สัตยากูล

คุณครูบรรจง ประดา

คุณครูนิภาพร ดวงไข

คุณครูบุญกอง พุ่มจันทร์

คุณครูชูศักดิ์ พุ่มจันทร์

คุณครูนิศานาถ ไชยสังข์

คุณสัมฤทธิ์ ดวงไข

คุณครูประยูร สมโคตร

คุณครูวิระสันต์ สมโคตร

คุณครูสถิตย์ สมศรี

คุณครูจุราพร วรรณคำ

คุณครูประเสริฐ คำล้าน

คุณครูไสว โพธิ์ไทร

คุณครูระพีพร ไชยโกฏ

คุณครูวัชราภรณ์ เทาวงษ์

คุณครูวิมล เกษหอม

คุณละมุล จำปาบุรี

คุณวิรัตน์ สวัสดี

คุณครูสุริยเทพ ภาเรือง

คุณสุพัตรา จันทร์คำ

คุณวิชุลลดา แก้วสุพรรณ

คุณครูดนัยวิชญ์ แก้วสุพรรณ

คุณธีรดา แก้วสุพรรณ

ผอ.โทน มากดี

คุณกมลลักษณ์ มากดี

คุณทวีศักดิ์ นิกรพล

คุณราตรี ดาราคำ

คุณแม่ไถ่ แก้วสุพรรณ

คุณวิชัย แก้วสุพรรณ

คุณมาลี แก้วสุพรรณ

คุณเรืองเดช ศรีคำ

คุณวิจิตร ศรีคำ

คุณธีระ ศรีคำ

คุณชนะ ศรีคำ



กรรมการสายคุณกนกรักษ์ แสงชัย

คุณรจนา-คุณกัญญา เสนสอน พร้อมครอบครัว

คุณณภัทร์ เอิบอิ่ม

เด็กหญิงลภัสธร เอิบอิ่ม

คุณชาตินันท์ ชาวศรี

คุณจินตนา เพชรดาริน

คุณยุพาภรณ์-คุณสุรชัย จันทรักษ์ พร้อมครอบครัว

คุณธัญญพร ทองน้อย

คุณลัดดาวัลย์ เพ็ญสุข

Mataru Yoshida

Toyoko Yoshida

Shinji Yoshida

Masako Yoshida

Riwesa Yoshida

Hayato Yoshida



กรรมการสายคุณทศพร ศรีธรรม

คุณยุวดี เภสัชชะ

คุณกัญญา เลิศวิทยากร

คุณสุชาดา บุญสิงห์

คุณกชกร ฐานมั่น

คุณอรวรรณ ดรุนพันธ์

ผอ.โกสิน พูลวัน


สิบสามกรกฎา เชิญชวนมาทอดผ้าป่า

บ้านข่าโคมวัดป่า ร่วมกันมาสามัคคี

มีมากร่วมสร้างมาก บริจาคตามพอดี

ผ้าป่าสามัคคี สร้างสิ่งดีเพื่อหลวงปู่

บ้านเกิดหลวงปู่เสาร์ ชาวพุทธเราบูชาครู

หลวงปู่เป็นผู้รู้ ทั้งเป็นครูหลวงปู่มั่น

ทอดถวายวัดป่า ผ้าป่าสามัคคีกัน

ทำบุญพร้อมลงขัน ช่วยเหลือกันได้บุญเอย


มณูญพงศ์ ศรีวิรัตน์

ประธานอุปถัมภ์ผ้าป่าสามัคคี

วันเสาร์ที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๖ ณ วัดป่าหนองอ้อ (ธรรมยุต) บ้านข่าโคม (บ้านเกิดหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล)













วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

นวด : เด็ก ผู้ใหญ่ => แล้วจะดี


ช่วงนี้มาร่วมการแข่งขันกีฬาบุคลากรมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ ๓๒ โดยมี ม.บูรพา (บางแสน) เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน อาจจะเดินไปมากหน่อย เลยปวดเท้า นอกจากนั้นอากาศก็ร้อนเลยเดินเข้าห้างแหลมทอง (ตรงข้าม ม.บูรพา) เจอแผงหนังสือลดราคาเล่มละ ๒๐บาท และ ลด ๕๐% เลยเลือกซื้อหนังสือเกี่ยวกับ เท้า (ส้นเท้า ส้นตีน) เพราะคิดว่าเท้าเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตอย่างมาก ที่ทำให้เราได้เดิน ได้ยืน ในสังคมได้ในวันนี้
 
เมื่ออ่านไปบางเล่ม ก็เห็นความสำคัญของเท้า ซึ่งควรจะต้อง "นวด" 

จากหนังสือหลายๆ เล่มที่กล่าวถึง “เท้า” นั้นจะเห็นว่าเท้ามีความสัมพันธ์เกี่ยวกับส่วนต่างๆ ของร่างกายอย่างหนีไม่พ้น เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคต่างๆ รักษาโรคต่างๆ  
(อ้างอิง   และ )

ซึ่งผมจะไม่ขอก้าวล่วงในเรื่องดังกล่าว เนื่องจากเพราะไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ แต่สิ่งที่จะขอออกความเห็น คือ นวด กับ เด็ก ผู้ใหญ่ แล้วจะดี

หากสังคมในท้องถิ่นต่างจังหวัดอาจจะเป็นหมู่บ้าน ตำบล หรืออะไรก็ตามแต่ หากว่ารัฐบาลไทยส่งเสริมแพทย์แผนไทยอย่างจริงจัง อาจจะส่งเสริมการเรียน “นวด” ในระดับมัธยมศึกษาเพื่อให้เด็กที่สนใจได้มีความรู้เรื่องดังกล่าวเป็นพื้นฐานการนวดและสามารถพัฒนาได้ ทั้งนี้ เมื่อเด็กนักเรียนที่ผ่านการอบรมการ “นวด” ก็สามารถที่จะกลับมาที่บ้านเพื่อนวดให้ผู้ใหญ่ที่บ้าน คือ “พ่อแม่” อาจจะเป็นการนวดคลายเส้น (โดยเฉพาะ “เท้า”) ซึ่งผมมีความเชื่อส่วนตัวว่า เด็กนักเรียนดังกล่าวจะสามารถได้รับค่าตอบแทน ถึงแม้จะไม่ใช่เงินทอง แต่สิ่งที่ได้รับ คือ ความสัมพันธ์อันอบอุ่นภายในครอบครัว “เด็ก กับ ผู้ใหญ่” ซึ่งจะนำมาซึ่งความรู้สึกที่ “ดี” สำหรับทุกฝ่าย นอกจาก ในวันเสาร์อาทิตย์หรือวันหยุด เด็กดังกล่าวสามารถที่จะไปบริการการนวด หรือ เปิดให้บริการการนวด (ในที่ทำการของทางราชการ เช่น สำนักงาน อบต. เป็นต้น) จะทำให้เกิดประโยชน์ในเรื่องการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เกิดความสัมพันธ์ระหว่าง “เด็ก กับ ผู้ใหญ่” ในชุมชนนั้น อันจะสามารถลดปัญหาเรื่องอื่นๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องยาเสพติด เรื่องทะเลาะวิวาท (เนื่องจากเด็กเหล่านี้ได้มีงานทำ ได้มีความสัมพันธ์กับผู้ใหญ่ในชุมชน และที่สำคัญ คือ เด็กๆ เหล่านี้สามารถได้รับผลตอบแทนในรูปแบบของ “ค่าจ้างที่เป็นเงิน” ได้

            ทั้งนี้ ท้องถิ่นสามารถกำหนดนโยบาย “นวด”
น. “นำ” เวลามาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อเด็ก
ว. “วอน” ให้ผู้ใหญ่สนับสนุนกิจกรรมของเด็ก
ด. “ดำเนินการ” ให้เกิดขึ้นให้ได้ “เด็กเป็นผู้นวด ผู้ใหญ่ถูกนวด”

โดย ทำการ “นวด” ดังกล่าวให้เกิด “นวด” ต่อไปนี้
  = น้ำ (เลือด)
ว  = เวียน (ไหลเวียน)
= ดี (เกิดความสมดุล)

นวด => เพื่อให้ให้เลือดไหลเวียนได้สะดวกไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายให้ทั่วถึงเกิดความสมดุลของเลือดลมเป็นอย่างดี

 นวดแล้วเกิดผลดี ทำให้มีงานแก่เด็ก
การนวดอาจเรื่องเล็ก แต่เป็นเอกป้องกันโรค
ให้เด็กเกิดความรู้  พร้อมเป็นอยู่อย่างไม่โศก
นวดเท้าไม่เกิดโรค มีแต่โชคให้ตัวตน
นวดเลือดไหลเวียนดี  ผลเป็นดีต่อทุกคน
นวดแล้วเกิดมรรคผล ย่อมสร้างคนให้เจริญ