Nuffnang Ads

วันพุธที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2557

Social Enterprise กับ มหาวิทยาลัย

Social Enterprise กับ มหาวิทยาลัย เป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะเนื่องจาก Social Enterprise คือ "กิจการเพื่อสังคม"  

Social Enterprise  เป็นอย่างไรใครรู้บ้าง
มหา'ลัยตัวอย่าง เป็นแบบอย่างมีที่ไหน

กิจการเพื่อสังคม คนชื่นชมชื่นฤทัย
อาจารย์ต้องใส่ใจ เพื่อคนไทยสังคมดี

สังคมจะดีขึ้น  จะยั่งยืนตามวิถี
ทุกคนสามัคคี ทำความดีเพื่อสังคม

กิจการเพื่อส่วนรวม จะต้องร่วมกันนิยม
ร่วมสร้างให้เหมาะสม เพื่อสังคมที่ดีเอย

อจต.

๒๘-๒๙ สิงหาคม ๒๕๕๗ การประชุมเรื่อง “University Engagement and Social Enterprise: Experiences from the UK and Thailand” 


อ้างอิงจาก 

http://www.engagementthailand.org/index.php?option=com_content&view=article&id=10&Itemid=27

แน่นอนครับว่า มหาวิทยาลัยเป็นกิจการหนึ่งที่โดยส่วนมากแล้ว พระราชบัญญัติของมหาวิทยาลัยต่างๆ มักจะปรากฎ ภารกิจ ดังนี้ 
๑. ผลิตบัณฑิต
๒. การวิจัย
๓. การบริการวิชาการ
๔. การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

จากภารกิจข้างต้น จะเป็นว่าทั้ง ๔ ประการ มหาวิทยาลัยจะต้องดำเนิน "กิจการ" เพื่อสังคม นั้นหมายความว่า 

๑. จะต้องผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพเพื่อรองรับความต้องการของสังคม
๒. จะต้องทำการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาของสังคม โดยเฉพาะท้องถิ่นในระดับต่างๆ 
๓. จะต้องนำผลงานวิจัยที่ได้ทำในข้อ ๒ ไปขยายผลให้บริการกับพื้นที่อื่นๆ สังคมอื่นๆ ได้รับประโยชน์จากงานวิจัยดังกล่าวให้มากยิ่งขึ้น
๔. จะต้องอนุรักษ์รักษาวัฒนธรรม ศิลปะ อันดีงามของสังคมเพื่อสืบทอดต่อรุ่นลูกรุ่นหลานตราบนานเท่านาน

ดังนั้น มหาวิทยาลัยในอนาคตควรจะต้องมีการพิจารณาดำเนินงานกิจการเพื่อสังคมได้รับประโยชน์สูงสุด 


อย่างไรก็ตาม  ผู้เขียนขอนำเสนอว่าอาจจะต้องพิจารณา "Social" อย่างอื่นมาช่วยหรือสนับสนุน "Social Enterprise"   

โดยที่ "SOCIAL" อาจจะแยกเป็นดังนี้ 
S = Study
O= Organize
C= Communicate
I = Integrate 
A = Apply
L = Learning 
            "SOCIAL" "ศึกษา จัดองค์กร สื่อสาร บูรณาการ ประยุกต์ เรียนรู้" ==> "จะต้องทำการศึกษาเรียนรู้พร้อมทั้งมีการประยุกต์โดยมีสื่อสารกันภายในองค์กรอย่างบูรณาการ"


นอกจากนั้น ผู้เขียนคิดว่า Social Media เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในยุคปัจจุบัน เนื่องจาก Social Media สามารถสนับสนุนด้านการจัดการความรู้ (Knowledge Management) สำหรับ "Social Enterprise"  ได้ (อ้างอิงจาก หนังสือ "การประยุกต์ใช้สื่อสังคมในการจัดการความรู้",  2557)

ซึ่งแน่นอนว่า หากว่ามหาวิทยาลัยดำเนินการแบบ "Social Enterprise" โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ จะเป็นการดีอย่างยิ่ง
๑. การมีเหตุมีผล   
- ผลิตบัณฑิตในสาขาที่เป็นความต้องการของประเทศชาติ
- ทำวิจัยในประเด็นที่สามารถแก้ปัญหาของประชาชน ประเทศชาติ
- ให้บริการวิชาการในส่วนเฉพาะที่ประชาชนได้ประโยชน์สูงสุด
- อนุรักษ์วัฒนธรรมและศิลปะที่ดีงามของไทย

๒. การมีความพอประมาณ
- ผลิตบัณฑิต รับนักศึกษาในสาขาต่างๆ ตามศักยภาพที่แท้จริงของหลักสูตร ไม่รับนักศึกษาจำนวนมากเกินไป 
- ทำวิจัยในเรื่องที่แก้ปัญหาของประเทศชาติได้แท้จริง และใช้งบประมาณจำนวนน้อยที่สุด โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมและประหยัด
- ให้บริการวิชาการโดยคำนึงถึงประชาชนที่ด้อยโอกาสเพื่อให้ได้รับสิ่งที่ดีอันนำมาซึ่งการส่งเสริมวิชาชีพสัมมาชีพที่ดีขึ้น
- ทำนุบำรุงวัฒนธรรมและศิลปะที่

๓. การมีภูมิคุ้มกัน
- ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพนอกจากวิชาชีพของบัณฑิต โดยอาจจะเน้น "วิชาคน" คือ มีจิตอาสา เป็นคนดี 
- ทำวิจัยที่สามารถแก้ไขปัญหาของประเทศชาติได้อย่างยั่งยืน
- ให้บริการวิชาการแก่สังคมที่เน้นการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน 
- ทำนุบำรุงวัฒนธรรมและศิลปะที่เน้นการในทุกคนทุกส่วนของท้องถิ่นสังคมได้ร่วมกันดำเนินการ 

โดยทั้งหมดจะต้องทำให้เกิด "ความรู้" อย่างยั่งยืนนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม ที่จะต้องยึดหลัก "คุณธรรม" ในการดำเนินการเพื่อทำให้เกิด "Social Enterprise"  อย่างแท้จริงและยั่งยืน

ดังนั้น ผู้เขียนขอสรุปความสัมพันธ์ระหว่าง "Social Enterprise" และ "มหาวิทยาลัย" โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงดังรูปภาพต่อไปนี้ 


อจต.
๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๗


ดร.สมสุข ธีระพิจิตร เลขาธิการ ทปอ. ซะนาน เจอวันนี้ท่านยังเหมือนเดิม
ทปอ. ดร.สมสุข ธีระพิจิตร เลขาธิการ ทปอ. ซะนาน เจอวันนี้ท่านยังเหมือนเดิม














วันเสาร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2557

พิธีพระราชทานเพลิงศพ “พระภาวนาวิศาลเถร (หลวงปู่บุญมี โชติปาโล)”

 (ร่าง) 


(แบบรายงานการขอพระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์)
เขียนที่...............................


วันที่.........เดือน....................................

เรื่อง ขอพระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์

เรียน เจ้าคณะตำบล......................

สิ่งที่ส่งมาด้วย     ๑.ประวัติวัดสระประสานสุข                           จำนวน ๒ ชุด
.ประวัติเจ้าอาวาสปัจจุบัน                              จำนวน ๒ ชุด
.สำเนาการประชุมคณะกรรมการจัดงาน   จำนวน ๒ ชุด
.ภาพถ่าย                                                           จำนวน ๒ ชุด
กระผม พระ.............................................เจ้าอาวาสวัด................................. ตั้งอยู่ที่......................ตำบล.....................อำเภอ....................จังหวัด...................
มีความประสงค์ ขอพระราชทานเพลิงศพ “พระภาวนาวิศาลเถร (หลวงปู่บุญมี โชติปาโล)” ระหว่างวันที่ ๑-๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๘ และในการนี้ ทางวัดและคณะกรรมการจัดงานวัดเห็นสมควร
. ขอพระราชทานเพลิงศพ “พระภาวนาวิศาลเถร (หลวงปู่บุญมี โชติปาโล)” 
๒. ขอพระราชทานอัญเชิญ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดาเนินไปทรงประกอบพิธีพระราชทานเพลิงศพ “พระภาวนาวิศาลเถร (หลวงปู่บุญมี โชติปาโล)”  ณ วัดดังกล่าว ส่วนกำหนดวันและเวลาใดสุดแต่จะทรงพระกรุณาโปรด
ได้แนบสำเนาเอกสารตามระเบียบมหาเถรสมาคม เรื่อง การขอพระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์ พร้อมกับประวัติวัด ประวัติเจ้าอาวาสปัจจุบัน สำเนาการประชุมคณะกรรมการวัดและคณะกรรมการจัดงานฯ  และภาพถ่าย จำนวน ๒ ชุด มาพร้อมกับรายงานนี้ด้วยแล้ว

    เรียนมาด้วยความเคารพ
...............................................
(.............................................)
เจ้าอาวาสวัด............................
บันทึกความเห็นของเจ้าคณะตำบล
......................................................................................................................................................................................................................................................................................
(.............................................)
เจ้าคณะตำบล...........................

บันทึกความเห็นของเจ้าคณะอำเภอ
......................................................................................................................................................................................................................................................................................
(.............................................)
เจ้าคณะอำเภอ..........................
บันทึกความเห็นของนายอำเภอ
.......................................................................................................................................................................................................................................................................................
(.............................................)
นายอำเภอ...............................
บันทึกความเห็นของเจ้าคณะจังหวัด
......................................................................................................................................................................................................................................................................................
(.............................................)
เจ้าคณะจังหวัด.........................
บันทึกความเห็นของผู้ว่าราชการจังหวัด
......................................................................................................................................................................................................................................................................................
(.............................................)
ผู้ว่าราชการจังหวัด...................
บันทึกความเห็นของผู้บังคับบัญชาทหาร (ถ้ามี)
......................................................................................................................................................................................................................................................................................
(.............................................)
ตำแหน่ง...................................
บันทึกความเห็นของเจ้าคณะภาค
......................................................................................................................................................................................................................................................................................
(.............................................)
เจ้าคณะภาค.............................
บันทึกความเห็นของเจ้าคณะใหญ่
......................................................................................................................................................................................................................................................................................
(.............................................)
เจ้าคณะใหญ่.........................



ประวัติวัดสระประสานสุข
บ้านนาเมือง ตำบลไร่น้อย อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 
ชื่อเดิมวัดบ้านนาเมือง ชื่อปัจจุบันวัดสระประสานสุข สร้างเมื่อพุทธศักราช ๒๔๗๐ สร้างโดยท่านพระศาสนดิลก (ชิตเสโน) (เสน) ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีทอง หรือวัดศรีอุบล เป็นผู้พาสร้างวัดสระประสานสุข
เจ้าอาวาสวัดสระประสานสุข มี ๒ องค์แรกคือ อาจารย์ทองดี องค์ที่ ๒ เจ้าคุณภาวนาวิสารเถร (หลวงปู่บุญมี โชติปาโล) ที่ดินของวัดประมาณ ๗๕ ไร่ การก่อสร้างหลวงปู่ได้เริ่มวางแผนก่อสร้างวัดเมื่อปี พุทธศักราช ๒๔๘๐ โดยได้รับการร่วมมือจากญาติโยมเป็นอย่างดี
ปีพุทธศักราช ๒๕๑๕ หลวงปู่ได้นำชาวบ้านก่อสร้าง ศาลาการเปรียญขนาดใหญ่ และได้สร้างพระประธานปางนาคปรก ขนาดใหญ่
ปีพุทธศักราช ๒๕๒๙ ได้สร้างอุโบสถบนเรือสุวรรณหงส์ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๔ ได้สร้างประตูทางเข้าวัด เป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ๓ เศียร
ปีพุทธศักราช ๒๕๓๒ ได้สร้างหอระฆัง ๕ ชั้น นายชุ่นเลี้ยง แซ่ล้อ นางโชจิร แซ่เตียว (เสี่ยบุญชัย) ผู้สร้างหอระฆัง
เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๓๘ ทำพิธีเพื่อสร้างวิหารปรูเรือนาคราด ห้าหัวกลางน้ำเวลาเที่ยงตรง
เมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๓๙ ทำพิธีตอกเสาเข็มวิหารเรือกลางน้ำ เวลาเที่ยงตรง

ปัจจุบันวัดสระประสานสุขเป็นวัดที่มีชื่อเสียง ทั้งในจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดใกล้เคียง เป็นวัดที่มีความสำคัญ มีพุทธศาสนิกชนเลื่อมใสจำนวนมาก ด้วยบารมีของหลวงปู่บุญมีท่านเคร่งในวินัยและเป็นพระสายธรรมยุทธ์ นอกจากนี้ยังมียังมีสถาปัตยกรรมที่สวยงาม ดึงดูดให้ผู้คนเดินทางมาชมกันอย่างแพร่หลาย และมีผู้เลื่อมใสมาทำบุญกันมาก
วัดสระประสานสุขอยู่ห่างจากตัวเมือง ประมาณ ๕ กิโลเมตร บ้านนาเมือง ตำบลไร่น้อย อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี   วัดบ้านนาเมืองหรือวัดสระประสานสุข ซึ่งมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นและต่างจากวัดอื่นๆ เช่น ประตูทางเข้าวัดจะเป็นรูปพระอินทร์ทรงช้าง ๓ เศียร พระอุโบสถบนเรือสุวรรณหงส์ หอระฆัง ๕ ชั้น วิหารรูปเรือนาคราด ซึ่งตั้งอยู่กลางน้ำ อีกทั้งศาลาการเปรียญ ยังเป็นที่ประดิษฐ์สถานของพระประธานปางนาคขนาดใหญ่ อีกทั้งรูปเหมือนพระเกจิอาจารย์ชื่อดังอีกหลายองค์ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้มากราบไหว้สักการะ และขณะนี้ทางวัดและญาติโยมได้สร้างพิพิธภัณฑ์ หลวงปู่บุญมี โชติปาโล ซึ่งมีขนาดใหญ่อยู่ทางด้านวิหารกลางน้ำ ซึ่งหลวงปู่ประสงค์จะให้สร้างพิพิธภัณฑ์ ให้เสร็จก่อนทำการประชุมเพลิงท่าน ทางวัดจึงเร่งสร้างให้เสร็จทันกำหนด ภายในวัดนั้นมีความเงียบสงบร่มเย็น มีบริเวณที่กว้างขวาง โดยพุทธศาสนิกชน ได้เลื่อมใสและศรัทธาใน หลวงปู่บุญมี โชติปาโล จึงเดินทางมาทำบุญและเยี่ยมชมวัด ไม่ว่าทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ทั้งนี้บริเวณด้านหลังวัดเป็นที่ตั้งของวิหารกลางน้ำ ซึ่งมีปลาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก โดยพุทธศาสนิกชนได้นำมาปล่อยไว้ ซึ่งหลวงปู่บอกว่าไม่อยากให้เบียดเบียนซึ่งกันและกัน จึงไม่มีใครนำปลาที่สระน้ำไปกิน จึงทำให้ปลามีปริมาณมากอีกทั้งทางวัดได้จัดบริการให้อาหารปลาโดยแล้วแต่ผู้มาทำบุญจะบริจาค วัดบ้านนาเมืองนับว่าเป็นวัดที่มีสถาปัตยกรรมที่สวยงาม ทั้งยังบ่งบอกถึงความเป็นไทยอีกด้วย
ประวัติและปฏิปทา
พระภาวนาวิศาลเถร
(หลวงปู่บุญมี โชติปาโล)
ชาติภูมิ
พระภาวนาวิศาลเถรหรือ หลวงปู่บุญมี โชติปาโลมีนามเดิมว่า บุญมี นามสกุล กุศลคุณ เกิดเมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๕๒ ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ปีระกา ซึ่งตรงกับวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา คือ วันมาฆบูชา ณ บ้านเลขที่ ๑๓๖ หมู่ที่ ๒ บ้านนาเมือง ตำบลไร่น้อย อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี โยมบิดาชื่อ นายกุ กุศลคุณ โยมมารดาชื่อ นางเลื่อน กุศลคุณ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด ๑๐ คน เป็นชาย ๔ คน หญิง ๖ คน ท่านเป็นบุตรคนโต มีรายชื่อตามลำดับดังนี้

(๑) พระภาวนาวิศาลเถร (หลวงปู่บุญมี โชติปาโล)
(๒) นางสมบูรณ์ มูลมั่ง
(๓) นายเผ่า กุศลคุณ
(๔) นางสอน เนื่องเฉลิม
(๕) นายเลิศ กุศลคุณ
(๖) นางก้าน กุศลคุณ
(๗) นายเผย กุศลคุณ
(๘) นางอูบแก้ว ยอดกุล
(๙) นางคําหล้า ทัศนาลักษณ์
(๑๐) นางคํามั่น แก้วตา

หลวงปู่บุญมีท่านเล่าให้ฟังถึงเหตุผลที่ชื่อว่า บุญมี นั้น มีอยู่ว่า ก่อนที่โยมมารดาของท่านจะตั้งครรภ์ ได้ฝันว่า หลวงปู่สีทา ชยเสโน ซึ่งมีศักดิ์เป็นลุงของหลวงปู่ได้เอาพร้ามาให้ แต่พร้าด้ามนั้นเป็นสนิมไปหมด ในนิมิตนั้นโยมมารดาท่านได้ถามหลวงปู่สีทาว่า เอาพร้าขี้เมี่ยง (เป็นสนิม) นี้มาให้ทำไม ใช้ประโยชน์อะไรก็ไม่ได้

หลวงปู่สีทาได้บอกว่า ให้เอาไปฝน (ลับมีด) เสียก่อนจึงจะใช้การได้

เมื่อโยมมารดาจะคลอด ก็เกิดอาการเจ็บท้อง (เจ็บครรภ์) อยู่นานเป็นเวลา ๗ วัน ๗ คืน ความทราบถึงพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงต่างพระองค์ สำเร็จราชการมณฑลอีสาน ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่สีทา ชยเสโน พระองค์จึงได้เสด็จพร้อมกับหลวงปู่สีทา ชยเสโน มาเยี่ยมดูอาการโยมมารดาว่าเป็นเพราะอะไรจึงคลอดยากเย็นหนักหนา ครั้นถึงเวลาเที่ยงตรง ในสมัยนั้นไม่มีเครื่องบอกเวลาเหมือนในปัจจุบัน มีการบอกเวลาโดยการยิงปืนใหญ่เป็นสัญญาณ พอสิ้นเสียงปืนใหญ่ โยมมารดาก็คลอดทารกเพศชายออกมาเป็นเวลาเที่ยงพอดี และเสด็จในกรมทรงมีรับสั่งว่า เด็กชายคนนี้ชะรอยจะเป็นผู้มีบารมีมาเกิด จะดีจะชั่วเพียงใดก็ไม่อาจรู้ได้ ขอให้ชื่อว่า บุญมี นะและมีรับสั่งให้โยมบิดาของหลวงปู่ห่อพันตัวแล้วนำไปลอดใต้ท้องช้าง กลับไปกลับมา ๓ ครั้งเพื่อเป็นสิริมงคล หลวงปู่จึงได้ชื่อว่า บุญมีตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

หลวงปู่บุญมีในวัยเด็กนั้นมีสุขภาพร่างกายบอบบาง ไม่แข็งแรง เป็นเด็กที่เลี้ยงยาก เจ็บไข้อยู่บ่อยๆ สามวันดีสี่วันไข้ตลอดเวลา จนชาวบ้านที่ผ่านไปมาที่เป็นหญิงจะแวะเวียนเอานมมาให้กินเพราะสงสาร รวมทั้งเอาด้ายมาผูกคอและแขนให้เป็นจำนวนมากมาย เพื่อหวังให้สุขภาพร่างกายของเด็กชายบุญมีแข็งแรงยิ่งขึ้น ผีจะได้ไม่มารบกวน แต่ก็ไม่ค่อยได้ผลมากนัก จากคําบอกเล่าของ นางคํามั่น แก้วตา ผู้เป็นน้องสาวคนสุดท้อง เล่าว่า หลวงปู่เล่าให้ฟังว่า ตอนเมื่อเกิดมานั้น มีผิวที่บอบบางมาก มองเห็นฮอดใส้ในท้อง ตัวกะน้อย

แม้โยมมารดาได้ประคับประคองเลี้ยงดูเป็นอย่างดี แต่ก็ยังเป็นห่วงลูกอยู่ตลอดเวลาว่าเป็นคนไม่ค่อยแข็งแรง ไม่อยากให้ไปทำมาหาเลี้ยงชีพที่เป็นงานหนักและอยู่ห่างไกล จึงบอกหลวงปู่ว่า ลูกเอ๋ยบวชแล้วอย่าสึกนะจากคำพูดนี่เอง ทำให้หลวงปู่บุญมีรำลึกอยู่เสมอว่า จะเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อทดแทนพระคุณพ่อแม่

การศึกษา
หลวงปู่บุญมี ได้ศึกษาเล่าเรียนทั้งทางโลกและทางธรรม ตลอดจนการศึกษาพิเศษ ดังนี้

ปีพุทธศักราช ๒๔๖๕ จบชั้นประโยคประถมศึกษาปีที่ ๔ จากโรงเรียนประชาบาลบ้านนาเมือง ตำบลไร่น้อย อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

ปีพุทธศักราช ๒๔๘๐ สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก (น.ธ.เอก) จากสำนักเรียนวัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม) ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

ด้านการศึกษาพิเศษ หลวงปู่บุญมียังได้ศึกษาเล่าเรียนอักษรขอม อักษรธรรม อักษรไทยน้อย (ลาว) จนเกิดทักษะ มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถอ่านออกเขียนได้อย่างชำนาญ นอกจากนั้นหลวงปู่ยังมีความสามารถทางด้านการใช้ภาษาผญา ภาษิตอีสาน เป็นอย่างดี สามารถนำเอามาใช้ในทางเทศนาธรรมและคำสอนของหลวงปู่ จนเป็นที่ประทับใจและสร้างศรัทธาแก่ลูกศิษย์ลูกหาที่ได้ฟังพระธรรมเทศนาทุกคน เช่น ทางเป็นเค้าอย่ากวดหนามปก อย่าไปเทียวทางฮกป่าดงเสือฮ้าย เสือบายเจ้าบ่มีผู้ซ่อย บัดห่าจ่อยบ่มีผู้ซ้ำผู้แล”, “ให้เจ้าฟันเฮือไว้หลายลำแฮท่า ให้เจ้าหม่าข่าวไว้หลายมื้อแขกสิโฮมและ ไฟไหม้ป่าจั่งเห็นหน้าหนู ฝนตกมาจั่งเห็นกะปูฯลฯ

การบรรพชาและการอุปสมบท
ในขณะเรียนชั้นประถมศึกษา โยมมารดาได้พาหลวงปู่บุญมีไปฝากเป็นลูกศิษย์วัดกับ หลวงปู่สีทา ชยเสโน (ซึ่งเป็นหลวงลุง) ณ วัดบูรพา ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ทำให้ท่านได้มีโอกาสกราบนมัสการรับใช้ใกล้ชิด พระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล และพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ซึ่งท่านอาจารย์ทั้งสองได้แวะเวียนมากราบนมัสการเยี่ยมหลวงปู่สีทา ชยเสโน พระอุปัชฌาย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระในสมัยนั้น อยู่เสมอ
เมื่อสิ้นหลวงปู่สีทา ชยเสโน ในปีพุทธศักราช ๒๔๖๘ โยมมารดาจึงนำไปบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม) จังหวัดอุบลราชธานี และในระหว่างบรรพชาเป็นสามเณรนั้น พระอาจารย์มั่นได้เมตตานำสามเณรบุญมีติดตามไปจำพรรษาที่จังหวัดสกลนครด้วย สามเณรบุญมีจึงมีโอกาสได้เรียนรู้ ซึมซับปฏิปทาจริยาวัตรของพระวิปัสสนาจารย์อย่างใกล้ชิดตั้งแต่เยาว์วัย ถือได้ว่าท่านเป็นศิษย์ของพระอาจารย์มั่นอีกองค์หนึ่ง
เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี หลวงปู่บุญมีได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม) จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๗๔ ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะแม จุลศักราช ๑๒๙๓ และตรงกับวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา คือ วันวิสาขบูชา โดยมี พระเดชพระคุณพระศาสนดิลก (เสน ชิตเสโน) เป็นพระอุปัชฌาย์, พระมหาสว่าง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์เพ็ง เป็นพระอนุศาสนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า โชติปาโลอันมีความหมายเป็นมงคลว่า ผู้มีแสงสว่างในธรรม
ช่วงชีวิตสมณเพศ
หลังจากอุปสมบท หลวงปู่บุญมีได้มีโอกาสกราบนมัสการ ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) ซึ่งเป็นพระเถระผู้ใหญ่ผู้มีคุณูปการต่อกิจการคณะสงฆ์ภาคอีสาน และท่านเจ้าคุณฯ ก็ได้เมตตาต่อหลวงปู่บุญมี โดยอนุญาตให้ติดตามท่านไปอยู่จำพรรษา ณ วัดบรมนิวาส ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร และวัดเขาพระงาม (วัดสิริจันทรนิมิต วรวิหาร) ตำบลเขาพระงาม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี อีกด้วย
ในช่วงชีวิตสมณเพศของหลวงปู่บุญมี ท่านได้ออกจาริกธุดงค์ไปในสถานที่ต่างๆ ครั้งหนึ่งท่านได้ออกจาริกไปพร้อมกับ พระอาจารย์มหาสว่าง ซึ่งเป็นพระกรรมวาจาจารย์ของท่าน โดยจาริกไปประเทศพม่า ลาว เวียดนาม และเลยไปถึงประเทศจีน เมื่อกลับจากประเทศจีน หลวงปู่บุญมีท่านได้ช่วย พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม สร้างวัดป่าสาลวัน ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา อีกวัดหนึ่ง
นอกจากนี้หลวงปู่บุญมียังได้มีศรัทธาร่วมสร้างวัดอโศการาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ ร่วมกับ ท่านพ่อลี ธัมมธโร เพื่อเป็นศูนย์วิปัสสนากรรมฐานแก่พุทธศาสนิกชน และยังได้ร่วมกับ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร สร้างวัดป่าสุทธาวาส อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ รวมทั้งได้ร่วมกับ พระอาจารย์ดี ฉันโน สร้างวัดภูเขาแก้ว อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี อีกวัดหนึ่งด้วย
ปีพุทธศักราช ๒๔๘๐ หลวงปู่บุญมีเดินทางกลับมายังจังหวัดอุบลราชธานี และได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดสระประสานสุข โดยท่านได้ทำการพัฒนาก่อสร้างวัดสืบต่อจากพระเดชพระคุณพระศาสนดิลก (เสน ชิตเสโน) เจ้าอาวาสวัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม) ซึ่งเป็นผู้นำพาในการสร้างวัดสระประสานสุขและเป็นพระอุปัชฌาย์ของท่าน หลวงปู่บุญมีได้พัฒนาวัดสระประสานสุขซึ่งเป็นวัดบ้านเกิดของท่านให้มีความเจริญรุ่งเรืองเป็นที่น่าเลื่อมใสศรัทธาแก่พุทธศาสนิกชนในจังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดใกล้เคียงทั่วไปเรื่อยมาตามลำดับ
ผลงานด้านการพัฒนาวัด
วัดสระประสานสุข เดิมชื่อ วัดบ้านนาเมือง ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองไปประมาณ ๕ กิโลเมตร สร้างขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๗๐ โดยการนำพาของ พระเดชพระคุณพระศาสนดิลก (เสน ชิตเสโน) เจ้าอาวาสวัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม) ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกและวางรากฐานก่อสร้างมาตั้งแต่ต้น จนกระทั่งหลวงปู่บุญมีได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๘๐ ท่านจึงได้เริ่มวางแผนและดำเนินการพัฒนาวัดโดยได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านญาติโยมผู้เลื่อมใสศรัทธา จนมีความเจริญรุ่งเรืองตามลำดับ วัดมีเนื้อที่ประมาณ ๗๕ ไร่
ผลงานด้านการพัฒนาวัดสระประสานสุข ที่หลวงปู่บุญมีได้ริเริ่มและดำเนินการก่อสร้างถาวรวัตถุต่างๆ ภายในวัด เพื่อให้วัดเป็นศาสนสถานที่เป็นแหล่งรวมใจของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป มีดังนี้
ปีพุทธศักราช ๒๕๑๕ หลวงปู่บุญมี ได้เป็นผู้นำศรัทธาชาวบ้านก่อสร้าง ศาลาการเปรียญ ขนาดใหญ่ ในลักษณะทรงปั้นหยา ภายในประดิษฐานพระประธานปางนาคปรกขนาดใหญ่ และรูปหล่อเหมือนพระเถราจารย์ชื่อดังอีกหลายองค์ ที่หลวงปู่เป็นผู้นำศรัทธาชาวบ้านหล่อไว้เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้บูชาสักการะ
ปีพุทธศักราช ๒๕๒๙ หลวงปู่บุญมี ได้ออกแบบและเป็นประธานในการก่อสร้าง อุโบสถบนเรือสุพรรณหงส์ อันมีความหมายว่า จะเป็นพาหนะที่จะพาบรรดาพุทธศาสนิกชนผู้มีใจเป็นกุศลข้ามห้วงมหาสมุทรแห่งวัฏฏสงสารสู่ดินแดนมหานิพพานในที่สุด ซึ่งอุโบสถที่หลวงปู่บุญมีได้สร้างขึ้นนี้ มีความสวยงาม ตั้งตระหง่านโดดเด่นเป็นสง่า แปลกกว่าที่วัดอื่นๆ เพราะเป็นอุโบสถอยู่บนเรือสุพรรณหงส์ประดับด้วยเซรามิคสีน้ำตาลแดงขนาดใหญ่ ส่วนด้านหน้าอุโบสถประดิษฐาน รูปหล่อหลวงปู่บุญมี โชติปาโล หากเข้าประตูวัดมาจะเป็นด้านหลังอุโบสถ ก่อให้เกิดความศรัทธาปสาทะแก่ญาติโยมที่ได้เข้ามาทำบุญ ณ วัดสระประสานสุข เป็นอย่างยิ่ง
ปีพุทธศักราช ๒๕๓๒ หลวงปู่บุญมี ได้นำคณะศิษยานุศิษย์สร้าง หอระฆัง ๕ ชั้น ประดับด้วยเซรามิคสีน้ำตาลแดง โดยมีนายชุ่นเลี้ยง แซ่ล้อ และนางโชจิร แซ่เตียว (เสี่ยบุญชัย) รับเป็นเจ้าภาพในการก่อสร้าง
วันที่ ๑๔ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๓๘ ทำพิธีเพื่อสร้าง วิหารกลางน้ำเรือธรรมนาคราช เวลาเที่ยงตรง และเมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๓๙ ทำพิธีตอกเสาเข็มเวลาเที่ยงตรง วิหารกลางน้ำเรือธรรมนาคราช เป็นวิหารกลางน้ำบนนาคราชรูปร่างคล้ายเรือ ส่วนหัวเป็นนาคราช ๕ เศียร โดยทางเดินเข้าวิหารกลางน้ำเป็นทางเดินด้านหางของนาคราช ตั้งอยู่ด้านหลังของวัดและมีปลาอาศัยอยู่ในสระน้ำใหญ่เป็นจำนวนมาก โดยพุทธศาสนิกชนได้นำมาปล่อยไว้ ซึ่งหลวงปู่บอกว่าไม่อยากให้เบียดเบียนซึ่งกันและกัน จึงไม่มีใครนำปลาที่สระน้ำใหญ่ไปกิน ทำให้ปลามีปริมาณมาก อีกทั้งทางวัดได้จัดบริการให้อาหารปลาแล้วแต่ผู้มาทำบุญจะบริจาค
นอกจากนี้แล้วหลวงปู่บุญมียังได้สร้างศาสนสถานต่างๆ ภายในวัดสระประสานสุข คือ วิหารโชติปาโล, กุฏิโชติปาโลนุสรณ์ ในลักษณะทรงไทย, กุฏิโชติธรรม ในลักษณะทรงไทย, หอสวดมนต์ ในลักษณะทรงไทย และที่สร้างความประทับใจเป็นพิเศษให้แก่ชาวบ้านญาติโยมที่เดินทางมายังวัดสระประสานสุข ก็คือ ซุ้มประตูทางเข้าด้านหน้าวัด (ประตูโขง) ที่หลวงปู่บุญมีได้สร้างเป็น รูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ๓ เศียร ที่ใหญ่โตมาก สามารถมองเห็นตั้งตระหง่านโดดเด่นเป็นสง่ามาแต่ไกล นอกจากนี้ท่านยังได้ตัดถนนเข้าหน้าวัด, สร้างและปรับปรุงห้องน้ำห้องสุขาให้เพียงพอกับชาวบ้านญาติโยมที่มาร่วมทำบุญในงานเทศกาลต่างๆ รวมถึง การสร้างกำแพงคอนกรีตเสริมเหล็กซึ่งมีรูปสัตว์นานาชาติล้อมรอบบริเวณวัด ตลอดจนปรับปรุงสภาพแวดล้อม ภูมิทัศน์ และพื้นที่ภายในวัดทั้งหมดให้เหมาะสม เป็นระเบียบ เป็นสัดส่วน สวยงาม ร่มรื่นไปด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด สมกับเป็นวัดสายปฏิบัติและสถานที่บำเพ็ญบุญ เป็นที่พึงพิงด้านจิตใจแก่พุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป
อนึ่ง เนื่องจากทางวัดมีอาณาเขตติดต่อกับเขตทหารอากาศ กองบินที่ ๒๑ ข้าราชการทหารอากาศจึงมีศรัทธามาร่วมอุปสมบทและจำพรรษา ณ วัดสระประสานสุข ตลอดมา
ด้านการปกครอง หลวงปู่บุญมีท่านมีระเบียบการปกครองพระสงฆ์ในวัดให้สอดคล้องกับกฎของมหาเถรสมาคม (มส.) อย่างเคร่งครัด โดยมีกฎกติกาของวัดตามมติของคณะสงฆ์ภายในวัดเป็นผู้กำหนดขึ้นมาเอง และที่เป็นกิจวัตรสำคัญที่หลวงปู่ได้ริเริ่มและให้ปฏิบัติเป็นประจำ คือ การจัดให้มีการปฏิบัติธรรมและเจริญสมาธิภาวนาทุกวัน โดยเฉพาะวันพฤหัสบดี ณ ศาลาการเปรียญวัดสระประสานสุข ตั้งแต่เวลา ๑๙.๐๐ น. เป็นต้นไป
ผลงานด้านการทำนุบำรุงพระศาสนา
หลวงปู่บุญมี ไม่เพียงพัฒนาและก่อสร้างศาสนสถานในบริเวณวัดสระประสานสุข ซึ่งเป็นวัดที่อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของหลวงปู่เท่านั้น ท่านยังได้มีจิตเมตตาในการมอบทุนทรัพย์ ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ สนับสนุนการก่อสร้างอุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฏิ และวิหารภายในวัดต่างๆ ทั้งในและนอกประเทศ เช่น
๑. สร้างพระพุทธรูปใหญ่ ณ วัดเขาพระงาม (วัดสิริจันทรนิมิต วรวิหาร) อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ร่วมกับท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) โดยใช้ไหกระเทียมในสมัยนั้นเป็นมวยผม (พระเกศ)
๒. สร้างพระนาคปรก ร่วมกับท่านพ่อลี ธัมมธโร เจ้าอาวาสวัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ ในฐานะที่ท่านเป็นสหธรรมิกกัน อีกทั้งท่านพ่อลียังเป็นชาวจังหวัดอุบลราชธานีด้วย
๓. บูรณะมณฑปรอยพระพุทธบาท
๔. บูรณะศาลารัชมังคลาภิเษก ณ วัดสังกัสรัตนคีรี บนยอดเขาสะแกกรัง อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี
๕. สร้างพระพุทธรูปเนื้อโลหะ หน้าตักกว้าง ๓ เมตร ประดิษฐาน ณ ศาลารัชมังคลาภิเษก
๖. ปีพุทธศักราช ๒๕๓๔ หลวงปู่บุญมี ได้นำคณะศิษยานุศิษย์ร่วมกันสร้างพระพุทธรูปปางประทานพร สูง ๗ เมตร ๗๙ เซนติเมตร เนื้อโลหะทองเหลือง ถวายนามว่า พระพุทธโชติปาละชนะมาร”, สร้างพระสังกัจจายน์เป็นปูนปั้น ขนาดหน้าตักกว้าง ๓ เมตร ถวายนามว่า พระสังกัจจายน์โชติปาโลและสร้างพระสิวลี ถวายนามว่า พระสิวลีโชติปาโลเพื่อนำไปประดิษฐานไว้ ณ วัดสังกัสรัตนคีรี บนยอดเขาสะแกกรัง อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี ซึ่งเป็นสถานที่จัดงานประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
๗. ให้อุปกรณ์ในการก่อสร้างอุโบสถ วัดบ้านกุดมะฮง อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร
๘. สร้างพระเจ้าใหญ่ และบูรณะหอระฆัง ณ วัดบ้านบ่อ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ
๙. สร้างพระพุทธรูปสูง ๓ เมตร ณ วัดถ้ำกลองเพล อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
๑๐. สร้างพระพุทธรูปปางสมาธิ สูง ๓ เมตร จำนวน ๒ องค์ ณ เมืองเชียงรุ้ง ประเทศจีน
๑๑. ให้อุปกรณ์ในการก่อสร้างวัดป่าภูถ้ำพระ อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร
๑๒. ให้อุปกรณ์ในการก่อสร้างวัดคอนสวรรค์ อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร
๑๓. ให้การอุปถัมภ์และช่วยเหลือวัดต่างๆ ในจังหวัดอุบลราชธานี ได้แก่ วัดบ้านก้านเหลือง, วัดบ้านตำแย, วัดบ้านหนองหว้า, วัดบ้านหนองมุก, วัดสำราญนิเวศน์, วัดบ้านระเว, วัดบ้านนาจาน, วัดบ้านดอนจืด, วัดบ้านด้ามพร้า, วัดบ้านปลาดุกน้อย, วัดบ้านยางลุ่ม, วัดป่าอำเภอม่วงสามสิบ, วัดบ้านกุดลาด, วัดบ้านกระโสบ และวัดบ้านหมากมี่ (วัดบ้านขนุน) เป็นต้น
นอกจากนั้นหลวงปู่บุญมียังรับกิจนิมนต์ไปแสดงธรรมเทศนาตามสถานที่ต่างๆ โดยไม่เลือกปฏิบัติ เป็นกิจวัตรที่ท่านได้ปฏิบัติเป็นประจำจนทำให้ญาติโยมเลื่อมใสศรัทธา และมาร่วมทำบุญจากทุกจังหวัดทั่วประเทศ
ผลงานด้านสาธารณประโยชน์
นอกจากภารกิจในการบริหารจัดการวัดสระประสานสุข และวัดวาอารามต่างๆ แล้ว หลวงปู่บุญมียังมีจิตเมตตาบริจาคเงินทุนสนับสนุนโครงการอาหารกลางวันแก่โรงเรียนที่ขาดแคลน, มอบทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนที่่เรียนดีแต่ยากจนขาดแคลนทุนทรัพย์ ปีละ ๒๐ ทุน, บริจาควัสดุต่อเติมและก่อสร้างอาคารเรียนให้กับโรงเรียน, สร้างรั้วกำแพงให้กับโรงเรียนบ้านนาเมือง ซึ่งเป็นโรงเรียนเก่าแก่ของบ้านนาเมือง เพื่อให้นักเรียนได้ใช้ประโยชน์ทางด้านการศึกษาต่อไป นอกจากนั้นหลวงปู่ยังได้นำญาติโยมชาวบ้านนาเมือง ช่วยกันตัดถนนจากบ้านนาเมืองเชื่อมต่อไปยังบ้านดงหนองแสน ตำบลไร่น้อย เป็นระยะทาง ๓ กิโลเมตร โดยไม่ได้ใช้งบประมาณของทางราชการแต่อย่างใด เพื่อทำให้การสัญจรไป-มาของชาวบ้านในละแวกนั้นสะดวกยิ่งขึ้น และกิจกรรมสำคัญอีกประการหนึ่งที่หลวงปู่ได้ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ คือ การไถ่ชีวิตโค กระบือ โดยซื้อมาก่อนที่จะถูกนำไปยังโรงฆ่าสัตว์ แล้วนำมาบริจาคให้กับชาวบ้านที่ยากจนได้เอาไปเลี้ยงเพื่อใช้แรงงานประกอบอาชีพต่อไป

ผลงานด้านสังคมสงเคราะห์
หลวงปู่บุญมี ท่านเป็นพระผู้มีเมตตาจิตแก่ญาติโยมและประชาชนชาวจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดใกล้เคียงทั่วไป หลวงปู่เห็นความสำคัญของการช่วยเหลือคนไข้ที่ขาดแคลนตามโรงพยาบาล จึงได้บริจาคอุปกรณ์และเครื่องมือแพทย์ เช่น เครื่องวัดความดันโลหิต เครื่องดูดเสมหะ เครื่องตรวจเลือด ให้กับโรงพยาบาลต่างๆ เช่น
๑. โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
๒. โรงพยาบาลสำโรง อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี
๓. โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
๔. โรงพยาบาลน้ำยืน อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี
๕. โรงพยาบาลดอนมดแดง อำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี
๖. โรงพยาบาลเขมราฐ อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี
๗. โรงพยาบาลทุกอำเภอในจังหวัดศรีสะเกษ
๘. โรงพยาบาลจังหวัดเชียงใหม่
นอกจากนั้นในวันทำบุญคล้ายวันเกิดของหลวงปู่บุญมี ท่านได้มอบทุนการศึกษา เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์การศึกษา รวมทั้งให้ทานแก่เด็กพิการในจังหวัดอุบลราชธานี ให้ทานวัวที่ไถ่ชีวิตมาจากโรงฆ่าสัตว์ให้กับชาวบ้านที่ยากจนเป็นประจำทุกปี บริจาคเสื้อผ้า ข้าวสารอาหารแห้งให้กับศูนย์ชาวเขาแม่ฟ้าหลวง ตลอดจนบริจาคอุปกรณ์เครื่องเขียนต่างๆ ให้กับชาวเขาในจังหวัดเชียงใหม่ ให้ข้าราชการศูนย์หม่อนไหมจังหวัดอุบลราชธานี พัฒนาสถานที่ต่างๆ และยังจัดหาแหล่งน้ำดื่ม น้ำใช้ ให้กับหมู่บ้านต่างๆ ในจังหวัดอุบลราชธานี
ผลงานด้านการเผยแผ่ธรรม
หลวงปู่บุญมี เป็นพระอริยสงฆ์ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยพรหมวิหาร ๔ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา จะเห็นได้จากเวลาที่หลวงปู่ฉันภัตตาหารเช้า จะมีผู้นำอาหารมาถวายเป็นจำนวนมาก เมื่อฉันเสร็จแล้ว หลวงปู่จะแบ่งปันอาหารที่เหลือนั้นให้กับทุกคนๆ ให้นำกลับไปเลี้ยงดูบุตรหลาน และพ่อแม่ที่อยู่ทางบ้านโดยทั่วถึงกัน ญาติโยมที่นำอาหารไปถวายหลวงปู่ต่างก็มีความอิ่มเอิบใจ เพราะนอกจากเป็นการถวายทานแก่หลวงปู่แล้ว ยังได้ทำทานกับคนทั่วไปอีกทางหนึ่ง ซึ่งการให้อาหารนี้หลวงปู่ให้โดยการโยนและขว้างอาหารหรือสิ่งของให้กับคนที่ท่านต้องการให้ กระทั่งมีลูกศิษย์ลูกหาเคยนมัสการถามหลวงปู่ว่า ทำไมจึงโยนและขว้างสิ่งของให้
หลวงปู่บอกว่า เป็นการเตือนสติสัมปชัญญะประจำตัวอยู่ตลอดเวลา
นอกจากการอบรมสั่งสอนแก่ญาติโยมที่มากราบไหว้ และทำบุญที่วัดแล้ว หลวงปู่ยังได้ออกเทศนา ปาฐกถาธรรม และสนทนาธรรมแก่ประชาชนทั่วไป ตามสถานที่ราชการ โรงเรียน หมู่บ้านต่างๆ มาโดยตลอด
ทางด้านหลักธรรมและคำสอน หลวงปู่บุญมีท่านเป็นอริยสงฆ์ที่มีปฏิปทาและศีลาจริยวัตรอันงดงาม ชอบธรรม เดินทางสายกลางอันเป็นข้อปฏิบัติธุดงควัตรสายพระกรรมฐานอย่างเสมอต้นเสมอปลาย เจริญรอยตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ และพ่อแม่ครูบาอาจารย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท), พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต และท่านเจ้าคุณพระศาสนดิลก (เสน ชิตเสโน) ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของหลวงปู่ มาโดยตลอด หลักธรรมคำสอนของหลวงปู่จึงมีคุณค่าอย่างยิ่ง และมีคำผญาภาษิตอีสานแทรกอยู่ทุกครั้ง ทำให้เข้าใจง่าย รู้ถึงคุณค่าของหลักธรรมและคำสอนของพระพุทธองค์
นอกจากนี้ท่านยังเน้นการอบรมสั่งสอนให้รู้คุณของพระแก้ว ๒ องค์ คือ บิดา มารดา ซึ่งเป็นพระอรหันต์ในบ้านที่ทุกคนควรกราบไหว้บูชาตลอดกาล สอนให้ทุกคนบำเพ็ญตนตามหลักกุศลสมาทาน สอนให้รู้จักศาสนากับสังคมไทย การประหยัดและอดออมตามหลักพระพุทธศาสนา สำหรับการปฏิบัติธรรม ท่านสอนให้ปฏิบัติธรรมเป็นกิจวัตรประจำวัน โดยการนั่งสมาธิภาวนาทุกครั้ง ในเทศกาลวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาต่างๆ ท่านจะให้บำเพ็ญทานบารมี สมาทานศีล ปฏิบัติภาวนาเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ทุกครั้ง
บุคคลตัวอย่างของจังหวัดอุบลราชธานี
หลวงปู่บุญมีท่านเป็นชาวจังหวัดอุบลราชธานีโดยกำเนิด เกิดที่บ้านนาเมือง ตำบลไร่น้อย อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ครั้นเมื่ออุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว ได้อุทิศตนเป็นสงฆ์สาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำหน้าที่สืบทอดและเผยแผ่หลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ตลอดชีวิตในสมณเพศ หลวงปู่บุญมีท่านได้ทำการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในจังหวัดอุบลราชธานี ที่บ้านเกิดเมืองนอนของท่าน เห็นได้จากการเริ่มต้นพัฒนาวัดสระประสานสุข จากวัดป่าธรรมดาให้เจริญรุ่งเรืองมาตามลำดับจนเป็นวัดปฏิบัติที่มีชื่อเสียง ญาติโยมประชาชนจากทั่วประเทศมีจิตเลื่อมใสศรัทธาเดินทางมากราบนมัสการหลวงปู่กันอย่างไม่ขาดสาย
เมื่อครั้งที่จังหวัดอุบลราชธานีได้จัดงานสมโภชเฉลิมฉลองการก่อตั้งเมืองอุบลราชธานีครบ ๒๐๐ ปี ในปีพุทธศักราช ๒๕๓๕ มีการจัดทำหนังสือที่ระลึกชื่อว่า อุบลราชธานี ๒๐๐ ปี โดยได้มีการคัดเลือกและรวบรวมประวัติ-ผลงานของบุคคลสำคัญ บุคคลตัวอย่าง ที่เป็นชาวอุบลราชธานีโดยกำเนิดและได้ทำประโยชน์นำความเจริญมาสู่จังหวัดอุบลราชธานี ในครั้งนั้น พระครูไพโรจน์รัตโนบล (หลวงปู่บุญมี โชติปาโล) เจ้าอาวาสวัดสระประสานสุข ท่านได้รับคัดเลือกและยกย่องให้เป็นพระสงฆ์ที่น่าเคารพนับถือทางด้านพระเถระสายวิปัสสนาธุระในจังหวัดอุบลราชธานี จึงถือได้ว่าท่านเป็นพระสงฆ์ตัวอย่างที่ชาวจังหวัดอุบลราชธานีสมควรยกย่องให้เป็น พระดีศรีอุบล และเป็น พระดีศรีแผ่นดินที่ชาวไทยทั่วประเทศสมควรเอาเป็นตัวอย่างตลอดไป
อ้างอิงจาก

  

ประวัติเจ้าอาวาส
ประวัติวัดสระประสานสุข





สำเนารายงานการประชุม
คณะกรรมการวัดและคณะกรรมการการจัดงานฯ






ภาพถ่ายวัดสระประสานสุข































พระบรมวงศานุวงศ์ที่เสด็จวัดสระประสานสุข (วัดบ้านนาเมือง)
เพื่อกราบนมัสการพระภาวนาวิศาลเถร(หลวงปู่บุญมี โชติปาโล)


วันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๒ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร

วันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๕ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร พร้อมด้วยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา ฯ

วันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๖ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ

วันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๔๖ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ

วันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๖ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ

วันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๗ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ

วันที่ ๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๗ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ


••• บารมีหลวงปู่บุญมี •••

ท่านหลวงปู่บุญมี บารมีมีเมตตา
พวกเรากราบบูชา เป็นบุญญาในชีวิต

หลวงปู่สอนธรรมะ บูชาพระน้อมดวงจิต
ธรรมะให้ใกล้ชิด เมตตาจิตต่อทุกคน

พวกเรามาช่วยกัน ร่วมสร้างสรรค์คนอุบลฯ
ร่วมกันอุทิศตน มากผู้คนสามัคคี

ทุกอย่างพร้อมจะเสร็จ จะสำเร็จเพราะความดี
ด้วยหลวงปู่บุญมี ผู้มากมีธรรมะเอย

***********
== วัดสระประสานสุข ==
วัดสระประสานสุข มีความสุขที่ได้มา
หลวงปู่ผู้บุญญา กราบบูชาน้อมดวงจิต

กราบหลวงปู่บุญมี บารมีอันศักดิ์สิทธิ์
พวกเราเหล่าลูกศิษย์ ตั้งน้อมจิตทำความดี

หลวงปู่สอนพระธรรม ตั้งใจทำบุญมากมี
มีบุญและบุญมี นำชีวีรอดพ้นภัย

หลวงปู่สร้างสรรค์เรือ เพื่อเอื้อเฟื้อสู่ภพใหม่
น้อมจิตให้เข้าใจ ว่าทำไมเรือสวยงาม

หลวงปู่สอนให้คิด ตั้งดวงจิตคิดดีงาม
พวกเราควรทำตาม ไม่ต้องถามว่าทำไม

วันนี้ขอเชิญชวน อย่าเรรวนในจิตใจ
ขอเชิญมาด้วยใจ จะสุขใจนิรันดร์เอย

******************
 ===> ท่านหลวงปู่บุญมี โชติปาโล < ===

ท่านหลวงปู่บุญมี บารมีแผ่ไพศาล
พระดีมีผลงาน ได้สืบสานศาสนา

หลวงปู่เป็นผู้ให้ ด้วยจิตใจที่เมตตา
คำสอนล้วนมีค่า ต้องนำพามาใส่ใจ

หลวงปู่สอนโดยทำ ให้น้อมธรรมอยู่ที่ใจ
ง่ายดายจำขึ้นใจ ธรรมสุขใจในคำสอน

บัดนี้ถึงเวลา พวกเรามาร่วมเหมือนก่อน
หลวงปู่จะนำพร ไม่นิ่งนอนมาร่วมกัน

พระราชทานเพลิงศพ มาน้อมนบทุกเขตขัณฑ์
หลายฝ่ายมาช่วยกัน เสกสร้างสรรค์เพื่อหลวงปู่

งานนี้จิตอาสา จิตนำพาพร้อมใจสู้
ทุกคนได้เรียนรู้ ท่านหลวงปู่ครูในธรรม

"บุญมี" คือหลวงปู่ โลกต่างรู้และจดจำ
ร่วมกันลงมือทำ จะพบธรรมสุขใจเอย

มณูญพงศ์ ศรีวิรัตน์



ระเบียบมหาเถรสมาคม พ.ศ.๒๕๓๙
http://www.gad.moi.go.th/NSL-11-06-53-2539-1.pdf


      หลักการในการขอพระราชทานพระมหากรุณา หากเป็นเรื่องที่พระภิกษุสงฆ์  
       ขอให้ผ่านความเห็นชอบตามระเบียบ การขอ ฯพระบรมราชูปถัมภ์ ตามระเบียบมหาเถรสมาคม  สำนักราชเลขาธิการ