ไล่ เป็นคำที่ใช้คู่กับคำอื่นๆ เพื่อจะได้มีความหมายที่สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ไล่ล่า เป็น คำหนึ่งที่ใช้สำหรับการที่ผู้อำนาจมากกว่าผู้มีอาวุธพลานุภาพมากกว่าตามหาผู้มีอำนาจน้อยกว่าผู้ที่ไม่มีอาวุธหรือผู้ไม่มีพลานุภาพน้อยกว่าเพื่อทำลาย เพื่อทำให้สูญสิ้นไป เพื่อทำให้ไม่มีตัวตนในโลกนี้ หรือ เพื่อทำให้สิ้นชีวิต เช่น นายพรานไล่ล่าสัตว์ ตำรวจไล่ล่าโจรร้ายที่ฆ่าคนตาย เป็นต้น จะเห็นว่าไล่ล่าเป็นสิ่งที่เราไม่ต้องการให้เกิดขึ้น เพราะจะเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดแต่การสูญเสีย ผู้ที่ถูกตามล่าก็เป็นทุกข์เพราะจะต้องค่อยระมัดระวังตัวไม่ให้ถูกล่าได้ ดังนั้น การไล่ล่าจะต้องมีทั้งผู้ไล่ล่าและผู้ถูกไล่ล่า
แต่บางครั้งไล่ อาจจะใช้คู่กับ ออก กลายเป็น ไล่ออก แน่นอนครับ ไล่ออก เป็นสิ่งที่ไม่ปรารถนาสำหรับผู้ที่ทำงานมีงานเป็นประจำ การไล่ออกจะเกิดขึ้นได้นั้น จะต้องมีเหตุว่ากระทำผิดอย่างร้ายแรงในองค์กรนั้น ผู้บริหารองค์กรนั้นๆ ก็สามารถใช้อำนาจตาม กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกฎหมาย ที่กำหนดไว้ได้อย่างถูกต้อง อย่างไรก็ดี หากผู้บริหารใช้อำนาจไม่ถูกไม่ควรกระทำการไล่ออกโดยไม่สมเหตุสมผล ก็พลอยจะทำให้เกิดความเดือดร้อน เกิดความเสียหายต่อผู้ถูกไล่ออก ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม แน่นอนครับถ้าหากเราทำดีปฏิบัติงานดี กระทำในสิ่งที่ชอบ รับรองได้ว่าไม่ม่ใครที่จะใช้อำนาจไล่ออกได้ ยกเว้นแต่ว่าเรานั้นกระทำผิด ปฏิบัติงานไม่ดีไม่ถูกต้องไม่ควร ผู้มีอำนาจก็สามารถย่อมมีสิทธิ์ที่ถูกต้องในการไล่ออก
ไล่ออก อีกแบบหนึ่งที่เราทุกคนรู้จักกันดี คือ ไล่ออก จากการแข่งขันกีฬา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแข่งขันกีฬาฟุตบอล กรรมการผู้ตัดสินสามารถไล่นักกีฬาออกได้ถ้าหากเล่นผิดกติกา บางครั้งก็เตือนก่อน แล้วตามด้วยใบเหลือง และให้ใบแดงไล่ออกจากสนามถ้าหากกระทำผิดกติกาอีกครั้ง แต่บางครั้งเราจะเห็นว่ากรรมการผู้ตัดสินก็สามารถให้ใบแดงไล่ออกจากสนามไปเลยจะเกิดขึ้นเมื่อกระทำผิดกติการ้ายแรงจริง ดังนั้น จะเห็นว่าการไล่ออก ไม่ว่าจะเป็นสำหรับผู้ทำงานหรือนักกีฬาต่างๆ ไม่ชอบ ไม่ต้องการเอาเสียเลย แล้วเราจะทำอย่างไรกันดี เพื่อไม่ให้เกิดการไล่ออกเกิดขึ้น เราทุกคนจะต้องปฏิบัติประพฤติ กระทำ ในสิ่งที่ดีๆ ในสิ่งที่กำหนดไว้ตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกฎหมาย นั้นคือ กระทำแต่ความดี กระทำแต่ความถูกต้องความชอบ
เมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว การไล่ออกจะไม่เกิดขึ้น ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดหลักคิดง่ายๆ เพื่อไม่ให้เกิดการไล่ คือ จะต้องคิดแต่สิ่งดีๆ ทำแต่สิ่งดีๆ ทั้งกาย วาจา และใจ เมื่อเป็นเช่นนั้น ผู้มีอำนาจก็ไม่สามารถไล่เราออกได้ ไล่ล่าเราได้ ถึงแม้ว่าผู้อำนาจจะไล่เราออก หรือไล่ล่าเรา สักวันหนึ่งไม่เร็วไม่ช้า ความจริงก็ย่อมจะปรากฏให้เห็น และผู้มีอำนาจที่ใช้อำนาจในทางที่ผิดย่อมจะได้รับผลการกระทำอันนั้น ผลกรรมอันนั้นอย่างแน่นอน
มนูญ ศรีวิรัตน์
แต่บางครั้งไล่ อาจจะใช้คู่กับ ออก กลายเป็น ไล่ออก แน่นอนครับ ไล่ออก เป็นสิ่งที่ไม่ปรารถนาสำหรับผู้ที่ทำงานมีงานเป็นประจำ การไล่ออกจะเกิดขึ้นได้นั้น จะต้องมีเหตุว่ากระทำผิดอย่างร้ายแรงในองค์กรนั้น ผู้บริหารองค์กรนั้นๆ ก็สามารถใช้อำนาจตาม กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกฎหมาย ที่กำหนดไว้ได้อย่างถูกต้อง อย่างไรก็ดี หากผู้บริหารใช้อำนาจไม่ถูกไม่ควรกระทำการไล่ออกโดยไม่สมเหตุสมผล ก็พลอยจะทำให้เกิดความเดือดร้อน เกิดความเสียหายต่อผู้ถูกไล่ออก ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม แน่นอนครับถ้าหากเราทำดีปฏิบัติงานดี กระทำในสิ่งที่ชอบ รับรองได้ว่าไม่ม่ใครที่จะใช้อำนาจไล่ออกได้ ยกเว้นแต่ว่าเรานั้นกระทำผิด ปฏิบัติงานไม่ดีไม่ถูกต้องไม่ควร ผู้มีอำนาจก็สามารถย่อมมีสิทธิ์ที่ถูกต้องในการไล่ออก
ไล่ออก อีกแบบหนึ่งที่เราทุกคนรู้จักกันดี คือ ไล่ออก จากการแข่งขันกีฬา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแข่งขันกีฬาฟุตบอล กรรมการผู้ตัดสินสามารถไล่นักกีฬาออกได้ถ้าหากเล่นผิดกติกา บางครั้งก็เตือนก่อน แล้วตามด้วยใบเหลือง และให้ใบแดงไล่ออกจากสนามถ้าหากกระทำผิดกติกาอีกครั้ง แต่บางครั้งเราจะเห็นว่ากรรมการผู้ตัดสินก็สามารถให้ใบแดงไล่ออกจากสนามไปเลยจะเกิดขึ้นเมื่อกระทำผิดกติการ้ายแรงจริง ดังนั้น จะเห็นว่าการไล่ออก ไม่ว่าจะเป็นสำหรับผู้ทำงานหรือนักกีฬาต่างๆ ไม่ชอบ ไม่ต้องการเอาเสียเลย แล้วเราจะทำอย่างไรกันดี เพื่อไม่ให้เกิดการไล่ออกเกิดขึ้น เราทุกคนจะต้องปฏิบัติประพฤติ กระทำ ในสิ่งที่ดีๆ ในสิ่งที่กำหนดไว้ตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกฎหมาย นั้นคือ กระทำแต่ความดี กระทำแต่ความถูกต้องความชอบ
เมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว การไล่ออกจะไม่เกิดขึ้น ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดหลักคิดง่ายๆ เพื่อไม่ให้เกิดการไล่ คือ จะต้องคิดแต่สิ่งดีๆ ทำแต่สิ่งดีๆ ทั้งกาย วาจา และใจ เมื่อเป็นเช่นนั้น ผู้มีอำนาจก็ไม่สามารถไล่เราออกได้ ไล่ล่าเราได้ ถึงแม้ว่าผู้อำนาจจะไล่เราออก หรือไล่ล่าเรา สักวันหนึ่งไม่เร็วไม่ช้า ความจริงก็ย่อมจะปรากฏให้เห็น และผู้มีอำนาจที่ใช้อำนาจในทางที่ผิดย่อมจะได้รับผลการกระทำอันนั้น ผลกรรมอันนั้นอย่างแน่นอน
มนูญ ศรีวิรัตน์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น