Nuffnang Ads

วันจันทร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2553

กด กลด แล้วก็ กฎ

กด เป็นลักษณะอาการการกระทำที่ใช้กำลังพลังทำอะไรกับสิ่งของวัตถุหนึ่ง เพื่อให้สิ่งนั้น หยุดไม่เคลื่อนไหว ให้ยุบลงไป ให้คลายตัว ให้สลายตัวแตกตัว ซึ่งจะเห็นว่าการกดอะไรก็ตามแต่จะต้องใช้กำลังและมีเป้าหมายคือ วัตถุ สัตว์ (มนุษย์ก็ได้) หรือสิ่งของ และประการสำคัญคือ การกด ทำให้ สิ่งของวัตถุมีการเปลี่ยนสถานะไป แต่ถ้าหากเป็นคนที่โดนกด (ถ้าเป็นการกดนวดแผนไทยก็เป็นการดี) เกี่ยวกับการเรียนหนังสือ การทำงานปฏิบัติงาน แล้วมักจะไม่ค่อยมีความสุขสักเท่าไร เพราะทำให้เกิดความเครียดจากการถูกกด ด้วยเหตุนี้ ถ้าหากผู้ที่อำนาจหรือผู้ที่กำลังมากกว่า กด ผู้อ่อนแอกว่า แล้วอาจจะทำให้เกิดปัญหาของการดันกลับคืน ซึ่งที่เรียกว่า ถูกกดดัน ซึ่งเขาเหล่านั้นก็จะหาโอกาสในการกดกลับคืนเช่นกัน (แต่อาจจะเป็นในการที่ลับไม่ต่อหน้านั่นเอง) ดังนั้น ไม่ว่าเราจะเป็นผู้มีอำนาจหรือผู้มีพละกำลังที่มากกว่า ก็พยายามอย่า กด ผู้ที่ด้อยกว่าก็แล้วกัน

ที่มามาถึง คำว่า กลด คือ ร่มขนาดใหญ่มีด้ามยาวถอดเก็บได้ที่ชายร่มมีผ้ามุ้งเย็บติดโดยรอบหรือมีมุ้งขนาดใหญ่ครอบต่างหาก กลดใช้เป็นบริขารพิเศษของพระธุดงค์ ซึ่งโดยธรรมเนียมการอยู่กลดเป็นวิธีที่จะทำให้ไม่เห็นแก่ความสุขสบายส่วนตัวไม่ยึดติดกับความสะดวกสบายในการนอน เป็นการสละกิเลสส่วนหนึ่งได้ ก็เช่นเดียวกันถ้าหากเราสามารถปักกลดดังกล่าวในจิตใจของเราได้ เป็นร่มที่จะคอยเตือนใจ เตือนสติของเราว่า อะไรที่สะดวกสบายเราก็ควรจะลดละเลิก (แต่ค่อยๆ ทำก็ได้)

แต่สำหรับ กฎ ตัวสุดท้าย ผู้เขียนคิดว่าเราทุกคนทราบกันดีว่ามีความหมายเป็นอย่างไร แต่เพื่อให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ผู้เขียนขออนุญาตนำเสนอในส่วนของกฎที่มาจากหนังสือของของ ไชย ณ พล (เรื่อง ปรัชญาแห่งชีวิต) ได้กล่าวถึงเกณฑ์กฎหมายไว้น่าสนใจมากเลยที่เดียว กล่าวคือ กฎหมาย คือ ข้อตกลงของสมาชิกในสังคมหนึ่งๆ ว่านั่นคือเกณฑ์ความดีสำหรับพวกเขาตามสถานการณ์ในยุดนั้น โดยตัวแปรสำคัญที่จะทำให้กฎหมายดีมาก หรือดีน้อย คือ 1. ผู้ออกกฎเป็นใคร 2. เจตนารมณ์แห่งการบัญญัติกฎคืออะไ3. การบังคับใช้กฎหมายในสังคมเหมาะสมเพียงใด ด้วยเหตุนี้ จึงยังต้องมีกฎแห่งกฎหมายอีกชั้นหนึ่งเพื่อให้กฎหมายเป็นกฎที่ดีสำหรับส่วนรวม กฎแห่งกฎหมาย คือ

1.ผู้ออกกฎต้องเป็นผู้เกี่ยวข้องในผลได้ผลเสียจากกฎกติกานั้น

2. เจตนารมณ์แห่งบทบัญญัติต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขส่วนรวม หรือไม่บั่นทอนประโยชน์สุขส่วนรวมโดยไม่ชอบธรรม ทั้งไม่ทำลายสิทธิพื้นฐานส่วนตัวแห่งมนุษยชน

3. กฎหมายไม่มีอำนาจบังคับย้อยหลังไปยังเหตุการณ์ก่อนการบัญญัติกฎหมาย

4. กฎหมายจะมีอำนาจบังคับใช้เมื่อได้ประกาศให้สาธารณะทราบทั่วกันแล้ว

5. การบังคับใช้กฎนั้นต้องทั่วถึงและเป็นธรรม

6. กฎหมายที่ดีต้องมีข้อยกเว้นเสมอ เพราะการออกกฎหมายเป็นการบัญญัติเพื่อสนองความต้องการของสังคมในสถานการณ์หนึ่งๆ ในกาลหนึ่ง แต่อาจมีสถานการณ์อื่นที่เกิดด้วยเหตุผลอื่นในกาลเดียวกัน หรือกาลอื่น ที่กฎหมายนั้นไม่มีความเหมาะสมที่จะใช้ก็ได้

จากข้างต้น ผู้อ่านจะเห็นว่าทั้ง 3 กด กลด และกฎ นั้น มีสิ่งที่เหมือนกันอยู่พอสมควร คือ การทำอะไรก็ตามแต่จะต้องพอเหมาะพอดีแก่ทุกฝ่ายแก่ทุกสิ่ง วันนี้เราทุกคนมาเริ่มกด ดีไม่ครับ คือ กดจิตตัวเองให้อยู่กับสิ่งดีๆ ภายใต้กลดของความดี และภายใต้กฎของธรรมชาติ

มนูญ ศรีวิรัตน์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น