ในหนังสือ ปรัชญาแห่งชีวิต เขียนโดย ไชย ณ พล
พอ ตอนเด็กๆ แล้ว พ่อแม่ก็สอนว่าครอบครัวสำคัญ
พอ ตอนไปโรงเรียน แล้ว ครูก็สั่งสอนทุกวันว่าความรู้เป็นสิ่งสำคัญ
พอ ตอนมีเพื่อน แล้ว เพื่อนก็บอกว่าความสนุกสนานกับเพื่อนสัมพันธ์สำคัญ
พอ ตอนไปหาญาติผู้ใหญ่ แล้ว ผู้ใหญ่ก็บอกว่าการสร้างฐานะหาทรัพย์เงินทองเพื่อความอยู่รอดเป็นสิ่งสำคัญ
พอ ตอนมีแฟน แล้ว แฟนก็บอกว่าความรักสำคัญ
พอ ตอนมีลูก แล้ว ลูกก็บอกเวลาเอาใจใส่ลูกเป็นสิ่งสำคัญ
พอ ตอนทำงาน แล้ว ที่ทำทำงานก็บอกว่าความรับผิดชอบต่อประโยชน์ขององค์กรเป็นสิ่งสำคัญ
พอ ตอนมีลูกค้า แล้ว ลูกค้าก็บอกว่าความซื่อสัตย์เป็นสิ่งสำคัญ
พอ ตอนมองเข้าไปในสภา แล้ว นักการเมืองก็บอกว่านโยบายของตนสำคัญ
พอ ตอนไปหาผู้ประสบความสำเร็จ แล้ว ผู้สำเร็จทั้งหลายก็บอกว่าการทำงานหนักเป็นสิ่งสำคัญ
พอ ตอนป่วยไปหาหมอ แล้ว หมอก็บอกว่า อาหาร การออกกำลังกายและการพักผ่อนเป็นสิ่งสำคัญ
พอ ตอนเหนื่อยใจไปหาพระ แล้ว พระก็บอกว่าวิเวกเป็นสิ่งสำคัญ
พอ ตอนตาย แล้ว ถึงมือสัปเหร่อ สัปเหร่อก็บอก ไม่เห็นมีอะไรสำคัญ
จะเห็นว่า พอ . . . แล้ว . . . ดังกล่าวข้างต้นล้วนแต่มีเหตุว่าเกิดจากอะไร ทำอะไร ต้องการอะไร แล้วมันจะเกิดอะไรตามมา หลายๆ สิ่ง หลายๆ อย่างนั้น จะต้องมีเหตุและผล เหตุนั้นเป็นสิ่งที่มนุษย์เราต่างประสบพบเห็นหรือกำหนดขึ้นมาไม่ว่าจะจากตัวเองหรือคนอื่น รวมทั้งปัจจัยภายนอกที่เรากำหนดไม่ได้ เหตุที่เป็นกิเลสทำให้เราเป็นทุกข์ที่เป็นผลที่เกิดขึ้น ผลการเกิดทุกข์นั้นเราจำเป็นจะต้องแก้ที่เหตุ เพราะเมื่อไรก็ตามเราเข้าใจ เข้าถึงของเหตุที่เกิดขึ้นได้ว่าเพราะอะไร เราสามารถใช้จิตที่มีสติ มีสมาธิ เพื่อให้เกิดปัญญาในการแก้ไขปัญหาสาเหตุได้
จากที่กล่าวข้างต้น ถ้าหากเราต้องการจะหยุด พอ . . . แล้ว . . . หรือทำให้มันหายไปหรือไม่เกิดขึ้นอีก เราสามารถที่จะกระทำได้โดยเพียงแต่ ทำให้มันมาอยู่ใกล้กัน เป็นเพียง พอแล้ว นั้นหมายถึงว่า เราจะต้องใช้ความกล้าหาญ ที่มีจิตแนวแน่ตั้งใจจริงในการที่กล่าวคำว่า พอแล้ว และลงมือกระทำปฏิบัติในสิ่งนั้นๆ ที่เป็นเหตุแห่งทุกข์
ตัวอย่างเช่น หลายๆ ท่านที่เคยสูบบุหรี่ ซึ่งท่านเหล่านั้นล้วนทราบว่า พอ สูบบุหรี่ แล้ว จะทำให้เกิดโรคทางต่างๆ เกี่ยวกับทางเดินหายใจ ไม่ว่าจะเป็นปอด วัณโรค เป็นต้น แต่ถ้าเมื่อไรก็ตามที่เขาได้ใช้จิตที่มีความกล้าหาญ กล้าเปลี่ยนแปลง กล้าที่เปล่งวาจา ว่า พอแล้ว พอแล้วเราไม่เอาอีกแล้ว ผู้เขียนเชื่อว่า พอแล้ว ดังกล่าวจะมีคุณค่าอย่างมหาศาล
ที่ผ่านมาหลายๆ ท่านคงจะได้ลงมือทำหรือลงมือพูดคำว่า พอแล้ว คำดังกล่าวเป็นคำที่มีพลังอย่างมากในการเปลี่ยนแปลงของชีวิต คนที่กล่าวหรือพูดหรือลงมือทำเกี่ยวกับ พอแล้ว ได้ จะเป็นคนที่จะต้องมีความตั้งใจจริง มีความแน่วแน่ที่จะหยุด ที่จะพอในสิ่งที่กระทำหรือสิ่งที่เป็นอยู่ อาจจะมีคำถามว่า พอแล้ว นี้ จะใช้ได้กับการเรียนได้หรือไม่ จะใช้ได้กับการประกอบอาชีพได้หรือไม่ ผู้เขียนคิดว่า พอแล้ว จะเหมาะสมกับเพียงเหตุการณ์หรือการกระทำที่เป็นเรื่องที่ไม่ดี เรื่องที่ทำให้เกิดทุกข์ เรื่องที่ทำให้เกิดความเดือนร้อนกับตัวเรา ผู้อื่น สังคมและประเทศชาติ
วันนี้ ถ้าหากเราคนไทยมาเริ่มต้นมาพูด หรือ กระทำ เกี่ยวกับ คำว่า พอแล้ว ในสิ่งที่ทำให้เกิดทุกข์ เกิดโทษ เกิดความเดือนร้อน รับรองได้เลยว่าเราทุกคนในสังคม จะพบกับความสุขอย่างยั่งยืน เหมือนกับ คำข้างต้นที่ว่า พอ ตอนตาย แล้ว ถึงมือสัปเหร่อ สัปเหร่อก็บอก ไม่เห็นมีอะไรสำคัญ เราทุกข์ในโลกนี้ล้วนเอาอะไรไปไม่ได้ นอกจากความดีที่ได้สร้าง ได้กระทำต่อตนเอง ต่อคนอื่นๆ ต่อสังคม และต่อประเทศชาติ
มนูญ ศรีวิรัตน์
เห็นด้วยครับ กับท่อนที่ว่า ไม่เห็นมีอะไรสำคัญ เราทุกข์ในโลกนี้ล้วนเอาอะไรไปไม่ได้ นอกจากความดีที่ได้สร้าง ได้กระทำต่อตนเอง ต่อคนอื่นๆ ต่อสังคม และต่อประเทศชาติ อยากให้ทุคนคิดอย่างนี้เช่นกัน ไม่ใช่เพื่อใคร แต่เพื่อตัวเอง ...
ตอบลบ