Nuffnang Ads

วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บอกแล้ว ได้ยิน แต่ไม่ฟัง

เราทุกคนต่างสื่อสารกันได้หลายแบบๆ แบบหนึ่งที่สำคัญ คือ การพูด ในลักษณะการบอกออกไปจากคนหนึ่ง ไปสู่อีกคนหรือหลายๆ คน เมื่อเสียงที่พูดที่บอกออกไป จะไปกระทบกับโสตประสาทภายในหูของเราก็จะทำให้ได้รับเสียงที่ส่งผ่านมา แต่ประเด็นสำคัญที่กล่าวถึง คือ การรับเสียงของเราอาจจะมี 2 ประเภท คือ เป็นการได้รับที่เรียกว่า ได้ยิน และการได้รับที่เรียกว่า ได้ฟัง

ได้ยิน กับ ได้ฟัง แตกต่างกันอย่างแน่นอนครับ เพราะทั้ง 2 ลักษณะนั้น ผู้ที่ได้รับเสียงที่ส่งมาจะปฏิบัติหรือกระทำต่อจากการได้รับเสียงไม่เหมือนกัน

ตัวอย่างในห้องเรียนแห่งหนึ่งในสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นห้องเรียนที่ได้มาตรฐาน บรรยายกาศน่านั่งเรียนเป็นอย่างมาก แอร์เย็นสบาย นักศึกษาบางคนก็ใส่หรือกันหนาวแขนยาว ไม่เหมือนเรียนให้ห้องของโรงเรียนประภมมัธยม ห้องเรียนดังกล่าวอาจารย์ก็สอนไป นักศึกษานั่งเรียนบางคนได้ยินเสียงอาจารย์เท่านั้น เพราะมั่วแต่คุยกัน บางคนก็สนใจเรื่องข้อความในโทรศัพท์มือถือ บา่งคนก็มองหน้าอาจาีรย์ผู้สอน นั้นคือ การยินเสียงของอาจารย์เท่านั้น เพราะการยินคือ อาการที่นักศึกษารับทราบว่ามีเสียงเข้ามาในรูหูเท่านั้น แต่ไม่จดจำ ไม่รู้ว่ามันเกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร ไม่รู้ว่าจะทำอะไรต่อไป ซึ่งต่างกันกับนักศึกษาส่วนใหญ่ในห้องเรียนที่ได้ฟังเสียงอาจารย์ผู้สอนสามารถจะจดจำ สามารถที่จะคิดถามในเรื่องที่อาจารย์สอน สามารถที่ตอบคำถามในใจในเรื่องที่อาจารย์สอน สามารถที่คิดประยุกต์เพิ่มเติมได้จากที่อาจารย์สอน สามารถที่รู้ว่าเรื่องที่ีได้ฟังเสียงจากอาจารย์นั้นเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียน การดำรงชีวิตการใช้ชีวิต และประการสำคัญ คือ สามารถทำให้นักศึกษาสามารถที่รู้เรื่องต่างๆ ได้เป็นอย่างดีในชั่งโมงสอนนั้น

จะเห็นว่า การได้ยิน กับ การได้ฟัง นั้นมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะการได้ยินเป็นเพียงแต่เราไ้ด้รับเสียงผ่านรูหูเท่านั้น ไม่ได้ใช้มันสมองในการคิดในเรื่องที่ได้ยินเลย ไม่ได้ใช้มันสมองในการจดจำหรือคิดประยุกต์ประมวลผลในเรื่องที่ได้ยินเลย ส่วนการได้ฟังนั้น เป็นสิ่งที่เราได้รับเสียงผ่านรูหูของเราและเราได้ใช้มันสมองที่มีอยู่ในการจดจำ ในการคิดประยุกต์ ในการประมวลผลในเรื่องที่เราได้ฟัง ด้วยเหตุนี้ เราจะเห็นว่า การได้ฟังนั้นมีความสำคัญมากต่อการใช้ชีิวิตประจำวัน ทั้งในการเรียนการสอน การทำงาน และที่สำคัญมากยิ่งขึ้น คือ ถ้าหากเราได้ฟังอย่างมีสติรอบครอบ มีจิตใจที่ตั้งใจแน่วแน่ มีจิตใจที่จดจ่อแล้ว การฟังในเรื่องต่างๆ ยิ่งจะได้ประโยชน์เป็นอย่างมาก เพราะจะทำให้เราได้ใช้มันสมองของเราให้เกิดประโยชน์

ที่นี้ มาตามชื่อเรื่อง ที่ว่า บอกแล้ว ได้ยิน แต่ไม่ฟัง นั้น เกิดขึ้นกับหลายๆ คน ไม่ว่าจะเป็นลูกๆ หลานๆ เด็กๆ นักเรียน นักศึกษา หรือแม้แต่กระทั่งผู้ใหญ่ในวัยทำงาน ความหมายที่เกี่ยวข้อง คือ ผู้ใหญ่ ผู้ที่มีประสบการณ์ คุณพ่อ คุณแม่ คุณครูบาอาจารย์ เจ้านาย ได้บอกในเรื่องที่เป็นประโยชน์ เราเพียงได้ยินเท่านั้น แต่เราไม่ฟัง จะเห็นว่า การได้รับเสียงจาก ผู้ใหญ่ คุณพ่อ คุณแม่ ครูบาอาจารย์ เจ้านาย ไม่มีประโยชน์อันใดเลย สูญเปล่าเวลาในการได้รับเสียง เพราะเป็นการได้รับเสียง เพียงเป็นการได้ยิน

ด้วยเหตุนี้ หากเราเป็นลูก เป็นนักเรียน เป็นนักศึกษา เป็นผู้ใต้บังคับบัญชา เป็นอะไรก็ตามแต่ เราควรจะฝึกฝนในการได้รับเสียงจากการได้ยิน เป็นการได้ฟัง น่าจะดีกว่า เพราะทำให้เราได้ใช้มันสมองของเราคิดติดตามในเรื่องที่เราได้ฟัง แล้วสมองของเราจะสั่งการในส่วนที่เกี่ยวข้องในทางที่ดีมีประโยชน์ต่อตัวเรา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเราได้รับเสียงโดยการฟังที่มีสติมากเท่าไร เรายิ่งจะได้ใช้มันสมองของเราในการประมวลผลเพื่อกระทำในสิ่งที่ดีๆ สิ่งที่งามๆ และในที่สุด เราก็จะเป็นผู้ที่ฟังที่ดี เมื่อมีคนบอกแล้ว เรามีแต่ฟัง

มนูญ ศรีวิรัตน์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น