Nuffnang Ads

วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

คนบ้านเดียวกัน

เมื่อวาน (วันอาทิตย์ที่ ๒๘​ พ.ย. ๒๕๕๓) ผู้เขียนได้ดูการแสดงดนตรีความสัมพันธ์ไทยและกัมพูชา มีอยู่ช่วงหนึ่งที่นักร้องชายของกัมพูชาร้องเพลงไทย คือ เพลงคนบ้านเดียวกัน (ของไผ่ พงศธร) ซึ่งในเนื้อเพลงมีท่อนหนึ่งที่ประทับใจ (จริงๆ แล้วมีหลายๆ ท่อนที่ให้ความหมายที่ดีมากๆ)  ท่อนที่ว่า คือ "คนบ้านเดียวกัน แค่มองตากันก็เข้าใจอยู่" 


ผู้เขียนคิดว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับคนบ้านเดียวกัน ซึ่งหมายถึงในครอบครัวของเราในบ้านของเรา ถ้าหากมองตากันแล้วก็เข้าใจกันในทุกเรื่องจะดีมากเลย จะทำให้ครอบครัวนั้นมีความสุขในการอยู่ร่วมกันทั้งคนที่เป็นพ่อ เป็นแม่ เป็นลูก ที่นี้เราจะทำอย่างไรกันเพื่อให้เกิดมองตากันก็เข้าใจกัน สำหรับครอบครัวใดที่มีความรักความอบอุ่นต่อกันก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่สำหรับครอบครัวใดที่อาจจะมีปัญหา ผู้เขียนคิดว่าอาจจะต้องต่างฝ่ายต่างควรจะลองหยุดให้มีสติคิดทบทวนในเรื่องต่างๆ ที่เกิดขึ้น และเอาผลประโยขน์ของส่วนรวมของครอบครัวเป็นหลัก (อย่าเอาประโยชน์ส่วนตนตัวเองเป็นหลัก) และมีมีสติคิดแล้ว ก็ควรมานั่งคุยกันด้วยจิตใจที่บริสุทธิ์ไม่คิดว่าตัวเองจะต้องเป็นผู้ชนะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องในครอบครัวถ้าหากทุกคนคิดว่าตัวเองเป็นผู้แพ้แล้วละก็ ครอบครัวของเราจะเป็นผู้ชนะตลอดไป


สำหรับคนบ้านเดียวกันในครอบครัว ถ้าต้องการที่จะเข้าใจกันมากยิ่งๆ ขึ้นก็ควรจะต้องหาเวลาศึกษากันให้มาก หมายความว่า มีเวลาพักผ่อนร่วมกันทำกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งมีมากมาย เช่น ไปทำบุญที่วัด ไปทำบุญเลี้ยงเด็กด้อยโอกาสในสถานที่ต่างๆ ไปเที่ยวธรรมชาติ เป็นต้น และที่สำคัญ คือ จะทำกิจกรรมอะไรก็ตามแต่ ควรจะต้องยึดหลักของประชาธิปไตยในครอบครัว รับฟังความคิดเห็นของคนส่วนมาก แต่ก็ไม่ได้ทิ้งความคิดเห็นคนส่วนน้อย (นั้นคือ รับฟังเพื่อไปปรับปรุงในครั้งต่อๆ ไป หรือ ให้เสียงส่วนน้อยมีส่วนร่วมในกิจกรรมอื่นๆ) 

สำหรับท่านใดที่ไม่มีครอบครัวก็ไม่เป็นไร เราอาจจะไปประยุกต์ใช้กับที่ทำงานเพื่อนร่วมงาน ถ้าหากที่ทำงานใดหน่วยงานใดที่เพื่อนร่วมงานต่างคิดว่าทุกคนเป็นคนบ้านเดียวกัน ความเข้าใจก็จะเกิดขึ้น จะทำงานสิ่งใดร่วมกันก็จะประสบความสำเร็จทุกอย่าง โรงเรียนใดครูนักเรียนต่างคิดว่าโรงเรียนเป็นบ้านของเราทุกคนในโรงเรียนต่างก็เป็นคนบ้านเดียวกัน (โรงเรียนเดียวกัน) ทำการสิ่งใดโรงเรียนนั้นก็จะประสบความสำเร็จไปทุกเรื่องเพราะเกิดรักความสามัคคีความเข้าใจกัน สำหรับมหาวิทยาลัยก็เช่นกันถ้าหากผู้บริหาร อาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักศึกษา ต่างก็มีความรู้สึกว่าเป็นคนบ้านเดียวกัน (มหาวิทยาลัยของเรา) ความเข้าใจกันก็จะเกิดขึ้นทำสิ่งประการใดก็จะสำเร็จลุล่วง เกิดความรักสามัคคีในมหาวิทยาลัย

ที่นี้ ผู้เขียนขอกลับมาที่เนื้อร้องของเพลงดังกล่าว ซึ่งจริงๆ แล้วเนื้อร้องมีเนื้อหาสาระที่สำคัญหลายประการ ผู้อ่านลองฟังเพลงนี้จะดีหรือไม่ครับ "คนบ้านเดียวกัน"  นอกจากนั้น เนื้อร้องบางส่วนบางท่อนมีส่วนเกี่ยวกับอาชีพคนขับแท็กซี่ ซึ่งผู้เขียนได้เคยเขียนเกี่ยวกับอาชีพนี้เมื่อปี ๒๕๕๓​ เดือนกันยายน ท่านใดที่สนใจอ่านเชิญ "อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี้"


คนบ้านเดียวกันทำได้ไม่อยากหรอกครับ ถ้าหาเราทุกคน (คนไทย) ลองเป็นคนบ้านเดียวกัน ถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้เป็นญาติกันไม่ใช่พี่น้องสายเลือดเดียวกัน แต่ถ้าหากว่าเราต้องการเป็นคนบ้านเดียวกันแล้วละก็ จะทำให้เราเข้าใจกันมากยิ่งขึ้น ทำอะไรเราก็มีความสุขร่วมกัน แต่ก็อย่างเดียว คนบ้านเดียวกัน อย่างให้ น.หนู มันไปไหนนะครับ เพราะเดี๋ยวมันจะกลายเป็น "คนบ้าเดียวกัน" (คนบ้าเหมือนกัน) 
มนูญ​​​ ศรีวิรัตน์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น