Nuffnang Ads

วันอาทิตย์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การประยุกต์ใช้สื่อสังคมในการจัดการความรู้


บทนำ
หนังสือเล่มนี้ ผู้เขียนมีความตั้งใจว่าจะนำประสบการณ์จากการประยุกต์ใช้สื่อสังคม (Social Media) ในการจัดการความรู้ตั้งแต่ พ.ศ. 2553 เพื่อรวบรวมประมวลให้เกิดประโยชน์ต่อทั้งนักศึกษาและผู้อ่านทั่วไป เนื่องจากในปัจจุบันสื่อสังคมได้เข้ามามีบทบาทต่อคนไทยเป็นอย่างมากไม่ว่าจะเป็นในด้านของการทำงาน หรือด้านการเรียนการสอนและอื่นๆ ซึ่งหนังสือเล่มนี้ได้ถูกเรียบเรียงไว้ทั้งหมด 8 บท ดังนี้
บทที่ 1
ความรู้ การจัดการความรู้ และเทคโนโลยีสารสนเทศ
จะกล่าวถึงความหมายของความรู้ การจัดการความรู้ ความเป็นมาของการจัดการความรู้ในประเทศไทยว่าเป็นมาอย่างไรและทำไมถึงมีความสำคัญ โดยที่กระบวนการของการจัดการความรู้มีส่วนที่จะต้องอาศัยความสามารถของเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าช่วยเหลือ อันจะทำให้การจัดการความรู้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

บทที่ 2
กระบวนการจัดการความรู้กับเทคโนโลยีสารสนเทศ
                จะอธิบายกระบวนการจัดการความรู้ว่าประกอบไปด้วยอะไรบ้าง และมีความสำคัญอย่างไร ซึ่งกระบวนการจัดการความรู้เป็นสิ่งที่สำคัญที่จะทำให้ความรู้ไม่ชัดแจ้งกลายเป็นความรู้ที่ชัดแจ้ง อันจะเกิดประโยชน์ต่อการนำความรู้ชัดแจ้งไปประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ สำหรับพัฒนาองค์กร หน่วยงาน ให้เกิดประสิทธิภาพที่สูงขึ้น ทั้งนี้ ผู้เขียนได้นำเสนอกระบวนการจัดการความรู้ในรูปแบบ Manoonpong’s 7s Framework for Knowledge Management  และจะกล่าวถึงความสำคัญของการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้กับการจัดการความรู้ โดยผู้เขียนได้นำเสนอรูปแบบของสมการ “มณูญพงศ์” ในการจัดการความรู้ อันจะนำไปสู่เรื่องที่เกิดประโยชน์ต่อการจัดการความรู้คือ “ สื่อสังคมกับการจัดการความรู้”

บทที่ 3
การประยุกต์ใช้ Social Networks : Facebook ในการจัดการความรู้
 
จะเป็นการกล่าวถึง Social Networks (เครือข่ายสังคม) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Social Media (สื่อสังคม) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Facebook ซึ่งเป็น Social Networks ที่ได้รับความนิยมจากผู้ใช้งานจำนวนมากจากทั่วโลก ดังนั้น การนำ Facebook มาประยุกต์ใช้ในการจัดการความรู้ย่อมจะเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง เนื่องจากการใช้งาน Facebook นั้นไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ โดยที่ความสามารถของ Facebook เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้และเลือกใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด อันจะนำไปสู่การพัฒนาตนเองและพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งๆ ขึ้นต่อไป
บทที่ 4
การประยุกต์ใช้ Blog : WordPress, Blogger ในการจัดการความรู้
                จะเป็นการนำ Blog ที่มีชื่อว่า  WordPress และ Blogger มาใช้ในการจัดการความรู้ ซึ่งจะกล่าวถึงความเป็นมาของ WordPress และ Blogger  ต่อจากนั้นจึงจะได้นำเสนอวิธีการนำ WordPress และ Blogger มาประยุกต์ใช้ในการจัดการความรู้เพื่อให้ทราบว่ามีข้อดีอย่างไร เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้ใช้งานนำไปใช้ในการจัดการความรู้ต่อไป

บทที่ 5
การเปรียบเทียบการใช้ WordPress กับ Facebook
ในการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาท้องถิ่น : กรณี จังหวัดอุบลราชธานี
เริ่มต้นด้วยคำถามว่าทำไมถึงต้องเปรียบเทียบการใช้ WordPress กับ Facebook ในการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาท้องถิ่นกรณีจังหวัดอุบลราชธานี พร้อมทั้งนำเสนอขั้นตอนการดำเนินการเปรียบเทียบดังกล่าว และที่สำคัญคือการสรุปผลการเปรียบเทียบการใช้ระหว่าง WordPress กับ Facebook ในการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาท้องถิ่นกรณีจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งผลการเปรียบเทียบดังกล่าวจะทำให้ผู้ใช้งานสามารถพิจารณานำสื่อสังคมทั้ง WordPress และ Facebook ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการความรู้ในองค์กรหน่วยงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป

บทที่ 6
การใช้ Blogger และ Facebook ในการจัดการความรู้
สำหรับทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
                มีคำถามว่าทำไมการจัดการความรู้เพื่อทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาจึงมีความสำคัญ และจะสามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อสังคม Blogger และ Facebook มาช่วยในการจัดการความรู้ดังกล่าวได้หรือไม่  การใช้ Blogger ในการจัดการความรู้จะดำเนินการอย่างไรให้เกิดประโยชน์ต่อการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา  และ Social Network ที่เรียกว่า Facebook จะสามารถนำมาประยุกต์ใช้สำหรับการจัดการความรู้เพื่อทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาได้อย่างไรบ้าง

บทที่ 7
การประยุกต์ใช้ Content Sharing ในการจัดการความรู้
จะให้ความสำคัญเกี่ยวกับ Content Sharing สำหรับการจัดการความรู้ว่ามีประโยชน์อย่างไร โดย Content Sharing เป็นประเภทหนึ่งของสื่อสังคมและมีการใช้งานในปัจจุบันหลายชนิดด้วยกัน อย่างไรก็ดี ผู้เขียนจะขอกล่าวถึง Content Sharing ที่จะประยุกต์ใช้ในการจัดการความรู้เฉพาะ YouTube, OneDrive (Microsoft), Drive (Google) , SlideShare ตามลำดับเท่านั้น
บทที่ 8
บทสรุปการประยุกต์ใช้สื่อสังคมในการจัดการความรู้
เป็นการสรุปการประยุกต์ใช้สื่อสังคมในการจัดการความรู้ที่ได้นำเสนอในหนังสือเล่มนี้  อันจะทำให้ผู้อ่านได้ทราบว่าสื่อสังคมมีประโยชน์ต่อการจัดการความรู้อย่างไรบ้าง และจะนำเสนอเกี่ยวกับแนวโน้มในอนาคตของการใช้สื่อสังคมในการจัดการความรู้ เพื่อให้ผู้อ่านสามารถที่จะใช้เป็นแนวทางในการจัดการความรู้ต่อองค์กรและหน่วยงานต่อไป



หากสนใจ Click เข้าไปชมได้ที่  e-book.in.th นะครับผม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น