ท่านผู้อ่านคงจะเึคยได้ยินคำต่างๆ ที่มีคำว่า มูล อยู่ด้วย เช่น ข้อมูล ฐานข้อมูล มูลเหตุ มูลสัตว์ มูลฐาน มูลความจริง มูลเมือง กุศลมูล แม่น้ำมูล มูลนิธิ คำฟ้องไม่มีมูล เซล่ามูล คำมูล มูลค่าเพิ่ม มูลค่าการผลิต เป็นต้น
ที่นี้่ มูล คำๆ เดียวน่าจะหมายถึงอะไรกันแน่ มีผู้รู้หลายท่านได้กล่าวว่า มูล มีความหมายว่า "ดั้งเดิม" เป็น พื้นฐาน รากฐาน รากเหง้า บรรพบุรุษ บรรพชนของเรา
แต่ถ้าเป็น คำมูล คือ คําที่มีความหมายชัดเจนอยู่ในตัว มีลักษณะดังนี้
1. เป็นคําชนิดต่างๆ ได้แก่นํานาม คําสรรพนาม คํากริยา คําวิเศษณ์คําบุพบท
คําสันธาน
2.เป็นคําไทยแท้หรือเป็นคําที่มาจากภาษาอื่นก็ได้
3.เป็นคําพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้
ดังนั้น จะเห็นว่า คำมูล เป็นสิ่งทีมีประโยชน์ต่อการสื่อสารต่อการศึกษาการเรียนเป็นอย่างมาก เป็นพื้นฐานของภาษาไทยของเรา
แต่มีอีกมูลอย่างหนึ่งที่ผู้เขียนก็ไม่เคยได้ยินและทราบมาก่อน คือ มูลกัจจารย์ เป็นเรื่องที่หลวงปู่แหวน ครั้งหนึ่งท่านได้มาเรียนมูลกัจจารย์ ที่จังหวัดอุบลราชธานี
อย่างไรก็ดี ผู้เขียนขอสนใจเพียง มูลเกี่ยวกับเหตุ ที่เรียกว่า มูลเหตุ เท่านั้น (ซึ่ง มูลเหตุ ตรงกับภาษาอังกฤษ คือ Cause) มูลเหตุ ถ้าหากเราแยกออกจากกันก็จะเป็น มูล + เหตุ ซึ่งมูลเราก็พอทราบแล้วจากข้างต้นว่าหมายถึงอะไร สำหรับ เหตุ นั้น ผู้เขียนคิดว่า น่าจะหมายถึง การเกิด หรือ หมายถึงสิ่งที่เป็นมาก่อนสิ่งที่เป็นผลเกิดขึ้น
ดังนั้นแล้ว มูลเหตุ น่าจะหมายถึง สิ่งทีเกิดขึ้นของพื้นฐานรากเหง้่าในเรื่องนั้นๆ ที่เราสนใจอยู่ในขณะใดขณะหนึ่งช่วงเวลาใดๆ ตัวอย่างเช่น มูลเหตุของความทุกข์ ก็คงจะหมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้่นของพื้นฐานที่ทำให้เกิดความทุกข์ ท่านใดที่มีมูลเหตุของความทุกข์ในการทำงาน ท่านก็จะค้นหาสิ่งที่เกิดขึ้นว่ามันมาจากพื้นฐานอะไรเริ่มต้นเกิดความทุกข์จากการทำงานได้อย่างไร ซึ่งเมื่อเราทราบรู้ถึงพื้นฐานของความทุกข์ดังกล่าวแล้ว เราก็ย่อมจะสามารถค้นหาวิธีิการดับทุกข์ตั้งแต่เริ่มต้นของพื้นฐานดังกล่าว
สำหรับท่านผู้อ่่านท่านใดที่มีความรัก ก็ย่อมจะมีมูลเหตุของความรัก ผู้อ่านลองคิดดูนะครับว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้น เพราะอะไร ถึงเรียกว่า มูลเหตุแห่งรัก จากหนังสือประวัติของหลวงปู่แหวน (๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๘) หน้าที่ ๔๘ ที่ว่า คำทำนายจากเมืองอุบลราชธานี ได้กล่าวไว้ว่า "ในสมัยเมื่อเรียนมูลกัจจารย์อยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานีนั้น มีหมอดูทำนายว่าเนื้อคู่ของท่านอยู่ทางทิศนั้น รูปร่างสันทัด ผิวเนื้อขาวเหลือง ใบหน้ารูปใบโพธิ์" . . . (ขณะนั้นหลวงปู่้เป็นพระหนุ่ม) เมื่อสายตาทั้งสองฝ่ายประสานกันเข้า ก็มีอานุภาพลึกลับและรุนแรงพอที่ตรึงคนทั้งสองฝ่ายให้ตะลึงไปได้... แต่ภาพของหญิงงามนั้นยังปรากฏขึ้นเป็นครั้งคราว แต่เมื่อเร่งภาวนาเข้าภาพนั้นก็สงบลง ... เผลอไม่ได้ (ใจ) เป็นต้องไปหาหญิงนั้นทัีนที... คอยจับดูจิืตว่ามันคลายความรักในหญิงนั้นแล้วหรือยัง ปรากฏว่าไม่ได้ผล จิตยังคงวิ่งออกไปหาหญิงงามเช่นเคย... ในที่สุด กำหนดอุบายการพิจารณาเปลี่ยนใหม่ คราวนี้เพ่งเอากายของหญิงนั้นเป็นเป้าหมายในการพิจารณากายคตาสติ โดยแยกยกขึ้นพิจารณาทีละัอย่างๆ พิจารณาให้เห็นความจริงว่า อวัยวะัอย่างนั้นๆ ของตนก็มี ของหญิงก็มี ทำไมจะต้องไปรัก ไปหลง ไปคิดถึง...
ท่านผู้อ่านเห็นหรือยังว่า ถ้าเมื่อไรก็ตามเราสามารถค้นหาถึงมูลเหตุของเรื่องนั้นๆ เราจะสามารถแก้สิ่งทีเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน
ดังนี้แล้ว ผู้เขียนอยากจะเชิญชวนเราทุกคนมาหาให้ความสำคัญของมูลเ้หตุในเรื่องราวต่างๆ ซึ่งผู็เขียนเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต การเรียนการศึกษา การทำงานของเราทุกคน
มนูญ ศรีวิรัตน์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น