Nuffnang Ads

วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "ถัมถะ - สมเด็จพระสังฆราช"

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "ถัมถะ    - สมเด็จพระสังฆราช" คติธรรมคำสอนในเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เกี่ยวกับเรื่อง "ถัมถะ " ซึ่งอยู๋ในหน้า ๖๗  ของหนังสือพระนิพนธ์ เรื่อง "ธรรมเพื่อความสวัสดี" น่าสนใจอย่างยิ่ง ตามรูปภาพต่อไปนี้



... ถัมถะ ท่านแปลว่า “หัวดื้อ” อันความหัวดื้อหรือความดื้ออย่างรุนแรงเป็นความไม่มีเหตุผลอย่างยิ่ง จะเชื่อหรือไม่เชื่อในเรื่องใดก็เป็นไปตามที่ต้องการจะเชื่อหรือไม่เชื่อเท่านั้น ไม่ฟังเหตุผลใดๆ ไม่คำนึงถึงเหตุผล จะคิดปรุงแต่งแต่ว่าจะต้องไม่เห็นด้วย ไม่เชื่อ ไม่ทำตาม ก็ดื้อเท่านั้น เป็นการไม่ใช่ปัญญาคิด หรือไม่มีปัญญาพอจะใช้คิด จึงเป็นความโง่ความมืดแห่งปัญญา...

คติธรรมคำสอนในเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช ฯ ข้างต้นนั้น หากว่าว่าใครถัมถะแล้ว  ย่อมไม่น่าเกิดผลดีอย่างแน่นอน ดังนั้น ชีวิตของเราจะต้องไม่ "ถัมถะ" จะดีในที่สุด

และเป็นธรรมเนียมที่ผู้เขียนจะต้องขออนุญาตฝากกาพย์ยานี ๑๑ ไว้ให้ท่านผู้อ่านทุกท่านได้เมตตากรุณาพิจารณาชี้แนะเพื่อการปรับแก้ไขให้ดียิ่งๆ ขึ้นต่อไป ดังนี้

ชีวิตเมื่อถัมถะ  ไม่ลดละจะไม่ดี
มีแล้วเศร้าฤดี  นำชีวีมีวอดวาย

ความไม่มีเหตุผล ทุกข์กมลจนตัวตาย
มีมากเรื่องน่าอาย  น่าเสียดายสายเกินแก้

ไม่เชื่อและไม่ฟัง  มีแต่พังรั้งจะแย่
ถัมถะจะพาแพ้  เรื่องจริงแท้แน่นอนไป

ปรุงแต่งไม่เห็นด้วย  ยิ่งจะซวยป่วยหัวใจ
คิดแต่ว่าไม่ใช่  มีเรื่อยไปไม่เจริญ

ไม่ใช้ในปัญญา  ธรรมไม่หาพาหมางเมิน
หัวดื้อคือส่วนเกิน  ต้องขอเชิญเจริญธรรม

ถัมถะละยิ่งดี   ส่งผลดีมีประจำ
หยุดดื้อดีน้อมนำ  ดื้อไม่ทำนำต่อเอย

ปภาวีร์ 
๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙

2 ความคิดเห็น:

  1. พระนิพนธ์
    ธรรมเพื่อความสวัสดี หน้า ๖๗

    “ถัมถะ”คือ“หัวดื้อ” คนยึดถือผูกมัดไว้
    อวดเก่งข้าเหนือใคร ดื้อตาใสไม่ฟังความ

    ความคิดข้าเป็นใหญ่ เหตุผลใดไม่คิดถาม
    ไม่เชื่อไม่ทำตาม เป็นการไม่ใช้ปัญญา

    จิตคิดแต่เสแสร้ง ล้วนปรุงแต่งสร้างปัญหา
    บังแสงแห่งปัญญา ไม่หลุดพ้นให้จนใจ

    คำนึงถึงเหตุผล ปุถุชนพึงคิดได้
    เปลี่ยน“ไม่”ให้เป็น“ใช่” “ธรรมเพื่อความสวัสดี”

    ตอบลบ
  2. พระนิพนธ์
    ธรรมเพื่อความสวัสดี หน้า ๖๗


    ถัมถะจะไม่ดี หากมากมีดีไม่ได้
    หัวดื้ออยู่เรื่อยไป ไม่มีใครใส่ใจตน

    ถัมถะละลดลง อย่าดำรงคงทานทน
    มีมากทุกข์เหลือล้น เศร้ากมลคนหนีไกล

    ถัมถะสละสิ้น ให้เคยชินจางหายไป
    หัวดื้อทุกข์ฤทัย ไม่ฟังใครใยต้องทน

    ถัมถะชนะได้ ธรรมมากไว้ในกมล
    ไม่ฟังเพราะยึดตน ไม่หลุดพ้นจนตายเอย

    ตอบลบ