Nuffnang Ads

วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

เมืองนักปราชญ์ ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม คือ ที่ไหน?

ชื่อเรื่อง "เมืองนักปราชญ์ ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม คือ ที่ไหน?" ผู้เขียนเชื่อว่า คนสอบถามคนจังหวัดอุบลราชธานีคงจะได้รับคำตอบอย่างแน่นอน  อย่างไรก็ตาม หากว่าไปสอบถามกับคนจังหวัดอื่นที่อื่น ผู้เขียนไม่แน่ใจว่าจะตอบได้หรือไม่ 

ครับ แน่นอนว่า "เมืองนักปราชญ์ ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม" ต้องเป็นที่ดินแดนที่ถูกเรียกว่า "เมืองดอกบัว อุบลราชธานี"  ทั้งนี้ ก่อนอื่นผู้เขียนขออนุญาตนำสิ่งที่บ่งบอกว่า "อุบลเมืองนักปราชญ์" โดยท่านมนัส สุขสาย ได้ให้ความหมายว่าการที่อุบลราชธานีมีสมญานามว่า “เมืองนักปราชญ์” ด้วยเหตุผล 9 ประการ ได้แก่
1. เป็นอู่อารยธรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
2. สืบเชื้อสายจากตระกูลปราชญ์
3. มีวัดมากที่สุด
4. เป็นศูนย์รวมทางการศึกษา ตั้งแต่โบราณมาคนในอีสานทั้งหมดจะเดินทางมาศึกษาเล่าเรียนที่จังหวัดอุบลราชธานี
5.นำเอาภาษาไทยมาสอนเป็นแห่งแรกในประเทศไทย (นอกจากกรุงเทพ)
6. พระภิกษุคามวาสี (วิชาการ)
7. พระภิกษุอรัญญวาสี (ฝ่ายปฏิบัติ)
8. พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจนโท จันทร์) เข้าแสดงธรรมในพระบรมมหาราชวังเป็นที่ประทับใจพระมหากษัตริย์จนได้รับการตรัสชมด้วยวาจาว่า “ นี่คือปราชญ์ ”
9. ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม
(สามารถอ่านเพิ่มเติมในรายละเอียดได้ที่ http://guideubon.com/news/view.php?t=34&s_id=7&d_id=7)

นอกจากนั้น หากว่าผู้อ่านเคยได้ยินหรือเคยผ่านสายตาว่า "4 สมเด็จเมืองอุบล" ก็อาจจะเกิดข้อสงสัยว่า หมายถึงอะไร  

"สมเด็จ" ที่ว่า หมายถึง พระอริยสงฆ์ที่มีสมณศักดิ์ระดับสมเด็จ หรือสมเด็จพระราชาคณะชั้นสุพรรณบัฏอันเป็นต่ำแหน่งรองจากสมเด็จพระสังฆราชเท่านั้น ซึ่งอุบลราชธานีมีพระอริยสงฆ์ระดับสมเด็จมากถึง 4 รูป ถือว่ามากที่สุดในภาคอีสาน (อ้างอิงจาก 4 สมเด็จฯ เมืองอุบล 1 ในที่มาของสมญานามเมืองนักปราชญ์)


ที่นี้ ผู้เขียนเชื่อว่าหลายท่านคงจะเริ่มคล้อยตามแล้วนะครับว่า "อุบล คือ เมืองนักปราชญ์"  นอกจากนั้น สายพระภิกษุอรัญญวาสี (ฝ่ายปฏิบัติ) ของจังหวัดอุบลราชธานี นั้น มีมากมาย  ดั่งเช่น 

หลวงปู่คำคะนิง
วัดถ้ำคูหาสวรรค์ อ. โขงเจียม จ. อุบลราชธานี 
เกิดเมื่อวันพุธ เดือน ๔ ปีกุน พ.ศ ๒๔๓๗
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลวงปู่คำคะนิงได้ที่ 
(๑) http://msrivirat.blogspot.com/2015/01/blog-post_24.html
(๒) http://msrivirat.blogspot.com/2014/12/blog-post_23.html

พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันโท-จันทร์) 
เกิดในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เมื่อวันศุกร์ เดือน 4 แรม 10 ค่ำ เวลาประมาณ 5 นาฬิกา ปีมะโรง จุลศักราช 1218 ตรงกับวันที่ 20 มีนาคม พุทธศักราช 2399

หลวงปู่เสาร์ กันติสีโล 
ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน พากันละบาป "ประโยคธรรม หลวงปู่เสาร์ กันติสีโล"
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://msrivirat.blogspot.com/2015/02/blog-post_2.html

หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต
ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงปู่มั่น การกล่าวโทษคนอื่น" 
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://msrivirat.blogspot.com/2016/06/blog-post_35.html

หลวงปู่ขาว อนาลโย
กิดเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2431
อ่านธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงปู่ขาว อนาลโย" ได้ที่
(๑) http://msrivirat.blogspot.com/2015/01/blog-post_27.html
(๒) http://msrivirat.blogspot.com/2016/01/blog-post_2.html

หลวงปู่พรหมมา เขมจาโร  
ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงปู่พรหมมา เขมจาโร" อุบลราชธานี
สนใจอ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://msrivirat.blogspot.com/2015/01/blog-post_26.html

หลวงปู่บุญมี โชติปาโล
ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "ต้นไม้พูดได้ ณ วัดหลวงปู่บุญมี โชติปาโล (วัดสระประสานสุข อุบลฯ)"
สนใจอ่านเพิ่มเติมได้ที่  http://msrivirat.blogspot.com/2015/01/blog-post_31.html

หลวงปู่ชา  สุภทฺโท
ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "รวบรวมคำสอน หลวงปู่ชา (๑)" อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://msrivirat.blogspot.com/2016/01/blog-post_13.html

หลวงปู่คำบุ คุตตจิตโต
ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "กุศโลบายทางธรรม หลวงปู่คำบุ คุตตจิตโต"
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://msrivirat.blogspot.com/2015/02/blog-post_27.html

หลวงปู่เก่ง ธนวโร
ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "คำสอน หลวงปู่เก่ง ธนวโร"  อ่านเพิ่มเติมได้ที่
http://msrivirat.blogspot.com/2015/02/blog-post_21.html

      จะเห็นว่า อุบลราชธานีเป็น "เมือง 4 สมเด็จ" มีพระภิกษุอรัญญวาสี (ฝ่ายปฏิบัติ) จำนวนมากมาย ดังนั้น ย่อมทำให้คนอุบลฯ ได้ซึมซับความเป็น "ปราชญ์" และ "การใฝ่ธรรม" อย่างแท้จริง ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่สถาบันการศึกษาไม่ว่าภาครัฐและเอกชนในจังหวัดอุบลราชธานีในทุกระดับจะต้องให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าว เพื่อที่จะเป็นหลักในการพัฒนาการศึกษาของจังหวัดอุบลราชธานี ให้นักเรียนนักศึกษาได้เข้าใจคำว่า "ปราชญ์" และ "ใฝ่ธรรม" อย่างแท้จริง อันจะสามารถยกระดับความรู้ในด้านต่างๆ ให้มีคุณภาพมากยิ่งๆ ขึ้น

เป็นปราชญ์ที่ใฝ่ธรรม ย่อมจะนำสู่เรื่องดี
นักปราชญ์เป็นคนดี สร้างวิถีธรรมนำใจ

นักเรียนต้องเรียนรู้ อีกทั้งครูต้องใส่ใจ
เรียนรู้ให้เข้าใจ ปราชญ์อย่างไรรู้กระจ่าง

ทุกอย่างต้องเข้าถึง ความเป็นหนึ่งธรรมนำทาง
นักปราชญ์เป็นตัวอย่าง หาหนทางพัฒนา

อุบลต้องตระหนัก มารู้จักสิ่งมีค่า
ใฝ่ธรรมสร้างปัญญา เกิดคุณค่ายั่งยืนเอย


ปภาวีร์
๑๓ พ.ย.๒๕๕๗

อ่านเพิ่มเติม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น