Nuffnang Ads

วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555

โครงการบูรณะเส้นทางธรรมะสู่ความเป็นหนึ่ง

หลักการและเหตุผล

เป็นที่ทราบกันดีว่า หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ชาติภูมิของท่านเป็นชาวจังหวัดอุบลราชธานี เกิด ณ วันจันทร์ แรม ๔ ค่ำ เดือนยี่ปีระกา วันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๔๐๒ ที่บ้านข่าโคม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เนื่องจากท่านเป็นพระวิปัสสนาธุระรุ่นแรก และท่านเป็นอาจารย์ของพระครูวินัยธรมั่น ภูริทฺตโต (หลวงปู่มั่น) ซึ่งหลวงปู่มั่นท่านเป็นอาจารย์สอนธรรมทางวิปัสสนากรรมฐานที่มีชื่อเสียงมีผู้เคารพนับถือมาก หลวงปู่มีศิษยานุศิษย์ที่เป็นพระเถระ อาทิ

พระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล)

พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม)

หลวงปู่มหาปิ่น ปญฺญาพโล

พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฎ์ (หลวงปู่เทสก์ เทสรงฺสี)

หลวงปู่ขาว อนาลโย

หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ

พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (ท่านพ่อลี ธมฺมธโร)

หลวงปู่ชอบ ฐานสโม

หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร

พระญาณสิทธาจารย์ (หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร)

พระครูสุทธิธรรมรังษี (หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท)

หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ

พระโพธิญาณเถร (หลวงปู่ชา สุภทฺโท)

พระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล)

หลวงปู่จวน กุลเชฏฺโฐ

หลวงปู่สิงห์ทอง ธมฺมวโร

พระสุธรรมคณาจารย์ (หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ)

หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ

หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม

พระวิสุทธิญาณเถระ (หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย)

พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน)

พระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)

พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร (หลวงปู่วัน อุตฺตโม)

พระเทพวิสุทธิมงคล (หลวงปู่ศรี มหาวีโร)

พระมงคลวุฒ (หลวงปู่เครื่อง สุภทฺโท)

พระเทพเจติยาจารย์ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร)

หลวงปู่ผินะ ปิยธโร

หลวงปู่สนธิ์ สุมโณ

พระครูญาณวิสิทธิ์ (ท่านพ่อเฟื่อง โชติโก)

หลวงปู่ผั่น ปาเรสโก

พระอริยเวที (พระอาจารย์มหาเขียน ฐิตสีโล)

คุณแม่ชีแก้ว เสียงล้ำ

หลวงพ่อผาง จิตฺตคุตฺโต

หลวงปู่ผาง ปริปุณฺโณ

หลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ

หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ

หลวงปู่บุดดา ถาวโร

หลวงปู่บุญจันทร์ กมโล

หลวงปู่แว่น ธนปาโล เป็นต้น

กล่าวสำหรับสถานที่เกิดของหลวงปู่เสาร์ ที่บ้านข่าโคม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี นับตั้งแต่ วันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๐๒ จนถึงปัจจุบัน (พ.ศ.๒๕๕๕) เป็นเวลากว่า ๑๕๓ ปี บ้านข่าโคมเป็นสถานที่ที่แห่งจุดเริ่มต้นของหลวงปู่เสาร์ และจุดเริ่มต้น คือ “ความเป็นหนึ่ง” ของการสอนธรรมทางวิปัสสนากรรมฐานหนทางการหลุดพ้นจากความทุกข์




หลวงปู่เสาร์ฉายร่วมกับคณะศิษยานุศิษย์ ณ วัดป่าบ้านข่าโคม จ.อุบลราชธานี









 สภาพปัจจุบัน ณ วัดป่าบ้านข่าโคม (บันทึก ๑ ตุลาคม ๒๕๕๕)
 สภาพปัจจุบัน ณ วัดป่าบ้านข่าโคม (บันทึก ๑ ตุลาคม ๒๕๕๕)








ดังนั้น การบูรณะพื้นที่วัดป่าบ้านข่าโคม จะทำให้คนอุบลราชธานีและคนไทยได้ร่วมกันตระหนักถึงพระคุณของหลวงปู่เสาร์ที่ได้สร้างสิ่งดีๆ ไว้ให้แผ่นดินนี้ ด้วยเหตุนี้ จึงเห็นสมควรจัดทำโครงการ “บูรณะเส้นทางธรรมะสู่ความเป็นหนึ่ง” โดยความหมายของโครงการดังกล่าว คือ เป็นการบูรณะทั้งด้านกายภาพ ด้านความรู้ประวัติของหลวงปู่เสาร์ ด้านคำสอนธรรมะของหลวงปู่เสาร์ อันกลับคืนสู่ความเป็นหนึ่งของหลวงปู่เสาร์ในด้านการสอนธรรมทางวิปัสสนากรรมฐาน


วัตถุประสงค์

๑. เพื่อบูรณะด้านกายภาพของเส้นทางเข้าสู่วัดป่าข่าโคม

๒. เพื่อบูรณะพื้นที่วัดป่าข่าโคม

๓. เพื่อจัดทำประวัติของหลวงปู่เสาร์ในรูปแบบสื่อต่างๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ

๔. เพื่อน้อมนำคำสอนของหลวงปู่เสาร์มาเป็นเครื่องเตือนใจในความเป็นคน


กิจกรรมที่จะต้องดำเนินการ

๑. จัดสร้างปรับปรุงถนนเข้าสู่วัดป่าข่าโคม

๒. จัดปรับปรุงพื้นที่วัดป่าข่าโคม

๓. จัดซ่อมแซมอนุรักษ์ศาลาเก่าแก่ในวัดป่าข่าโคม

๔. จัดสร้างรูปเหมือนหลวงปู่เสาร์เพื่อให้ชาวพุทธได้กราบไหว้บูชาระลึกถึงพระคุณ

๕. จัดสร้างศาลาธรรมเพื่อให้ชาวพุทธได้เป็นสถานที่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน

หมายเหตุ โครงการดังกล่าวข้างต้น จะสอดคล้องกับการพัฒนาอุบลราชธานี ที่ยึดหลักการการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน  โดยที่ประเทศไทยรับผิดชอบ “การท่องเที่ยว” และ “ศูนย์กลางการบิน” ดังนั้น อุบลฯ อาจจะกำหนดวิสัยทัศน์ว่า “เที่ยวก่อนใครในสยาม” และในอนาคต อุบลฯ จะเป็น “มหานครแห่งการท่องเที่ยวของลุ่มน้ำโขง” โดยเที่ยวแบบ ๓ ธ คือ ธรรมชาติ ธรรมะ และ ธรรมดา

ธรรมชาติ แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ

- เส้นทางการเดินทาง

- ระบบข้อมูลสารสนเทศ (ประวัติความเป็นมาของแหล่งธรรมชาติ) ต่างๆ เป็นภาษาอาเซียน ภาษาอังกฤษ

ธรรมะ แหล่งวิปัสสนา ศึกษาธรรมะ

-เส้นทางการเดินทาง

- ระบบข้อมูลสารสนเทศ (ประวัติความเป็นมาของแหล่งธรรมะต่างๆ เป็นภาษาอาเซียน ภาษาอังกฤษ

ธรรมดา แหล่งที่พักรับรองที่เน้นธรรมดาตามรูปแบบ Home Stay



อ้างอิง


๒. แก้ว อรุณฉาย, "หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล พระอาจารย์ของปรมาจารย์อรหันต์พระป่า" สำนักพิมพ์อักษรธรรม ISBN 978-616-233-156-5
๓. ดำรงธรรรมม, "หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล วัดเลียบ อุบลราชธานี" บริษัทไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2006) จำกัด ISBN 978-616-514-028-7



อจต.

ผู้ร่างโครงการ


รูปภาพประกอบเพิ่มเติม











ดูข้อมูลเพิ่มเติมใน Facebook ได้ที่ กลุ่ม 
บูรณะเส้นทางธรรมะสู่ความเป็นหนึ่ง  



หรือ Youtube



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น