ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "คือเป็นผู้ขอ สำรวม- ญาณทรรศน์ สมเด็จพระสังฆราชฯ" คติธรรมคำสอนในเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เกี่ยวกับเรื่อง "เป็นผู้ขอ ต้องสำรวม" ซึ่งสามารถรับฟังได้จาก YouTube ต่อไปนี้
https://www.youtube.com/watch?v=j_oUliB80mI&nohtml5=False
คำว่า ภิกขุ หรือ ภิกษุ ที่ในพระวินัยก็มาใช้เรียก ผู้ที่อุปสมบทแล้วตามพระวินัย ที่แปลตามศัพท์อย่างหนึ่งว่าเป็นผู้ขอ คือเป็นผู้ขอโดยปรกติ ด้วยการที่อุ้มบาตร เดินเข้าไปในละแวกบ้าน แสดงอาการว่าขอ แต่มิได้เรียกร้องกล่าววาจาขออย่างยาจกวณิพก อุ้มบาตรเดินเข้าไปด้วยความสำรวม ผู้มีศรัทธาก็นำอาหารมาใส่บาตรถวาย
คติธรรมคำสอนในเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช ฯ ข้างต้นเป็นเรื่องการให้เข้าใจคำว่า "ภิกขุ หรือ ภิกษุ" ซึ่งเชื่อว่าหลายๆ ท่านทราบกันดี อย่างไรก็ดี เมื่อไหร่ก็ตาม สำหรับปถุชนคนธรรมดาแล้วนั้น เมื่อไหร่ก็ตามที่เรามี "ความสำรวม" แล้ว ย่อมเป็นสิ่งที่ดีอย่างยิ่ง ดังนั้น ต้องรีบสำรวมในทุกๆ เวลา ทุกสถานที่ให้ได้
และเป็นธรรมเนียมที่ผู้เขียนจะต้องขออนุญาตฝากกาพย์ยานี ๑๑ ไว้ให้ท่านผู้อ่านทุกท่านได้โปรดพิจารณาชี้แนะแนะนำเพื่อการปรับปรุงพัฒนาให้ดียิ่งๆ ขึ้นต่อไป ดังนี้
สำรวมคืออะไร ต้องเข้าใจให้มากมี
สำรวมสงบดี จะต้องมีสงบเย็น
ต้องระมัดระวัง เดี๋ยวจะพังให้ได้เห็น
แน่วแน่ไม่ยากเย็น จิตบำเพ็ญเห็นภายใน
สำรวมสมาธิ มีสติเริ่มทันใด
สงบกายและใจ มากเข้าไว้ใจรู้ดี
ผู้ให้และผู้ขอ ต้องให้พอรอให้มี
สำรวมในทันที ทุกนาทีดีแน่นอน
สงบจบนิ่งไว้ นิ่งที่ใจให้ได้ก่อน
สำรวมในทุกตอน อย่าตัดรอนก่อนสายไป
ศรัทธาพามีสุข ขจัดทุกข์อยู่ในใจ
สำรวมได้หรือไม่ อยู่ที่ใจให้รู้เอย
https://www.youtube.com/watch?v=j_oUliB80mI&nohtml5=False
คำว่า ภิกขุ หรือ ภิกษุ ที่ในพระวินัยก็มาใช้เรียก ผู้ที่อุปสมบทแล้วตามพระวินัย ที่แปลตามศัพท์อย่างหนึ่งว่าเป็นผู้ขอ คือเป็นผู้ขอโดยปรกติ ด้วยการที่อุ้มบาตร เดินเข้าไปในละแวกบ้าน แสดงอาการว่าขอ แต่มิได้เรียกร้องกล่าววาจาขออย่างยาจกวณิพก อุ้มบาตรเดินเข้าไปด้วยความสำรวม ผู้มีศรัทธาก็นำอาหารมาใส่บาตรถวาย
คติธรรมคำสอนในเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช ฯ ข้างต้นเป็นเรื่องการให้เข้าใจคำว่า "ภิกขุ หรือ ภิกษุ" ซึ่งเชื่อว่าหลายๆ ท่านทราบกันดี อย่างไรก็ดี เมื่อไหร่ก็ตาม สำหรับปถุชนคนธรรมดาแล้วนั้น เมื่อไหร่ก็ตามที่เรามี "ความสำรวม" แล้ว ย่อมเป็นสิ่งที่ดีอย่างยิ่ง ดังนั้น ต้องรีบสำรวมในทุกๆ เวลา ทุกสถานที่ให้ได้
และเป็นธรรมเนียมที่ผู้เขียนจะต้องขออนุญาตฝากกาพย์ยานี ๑๑ ไว้ให้ท่านผู้อ่านทุกท่านได้โปรดพิจารณาชี้แนะแนะนำเพื่อการปรับปรุงพัฒนาให้ดียิ่งๆ ขึ้นต่อไป ดังนี้
สำรวมคืออะไร ต้องเข้าใจให้มากมี
สำรวมสงบดี จะต้องมีสงบเย็น
ต้องระมัดระวัง เดี๋ยวจะพังให้ได้เห็น
แน่วแน่ไม่ยากเย็น จิตบำเพ็ญเห็นภายใน
สำรวมสมาธิ มีสติเริ่มทันใด
สงบกายและใจ มากเข้าไว้ใจรู้ดี
ผู้ให้และผู้ขอ ต้องให้พอรอให้มี
สำรวมในทันที ทุกนาทีดีแน่นอน
สงบจบนิ่งไว้ นิ่งที่ใจให้ได้ก่อน
สำรวมในทุกตอน อย่าตัดรอนก่อนสายไป
ศรัทธาพามีสุข ขจัดทุกข์อยู่ในใจ
สำรวมได้หรือไม่ อยู่ที่ใจให้รู้เอย
ปภาวีร์
๖ ตุลาคม ๒๕๕๙
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น