Nuffnang Ads

วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "พระพุทธนิรโรคันตราย"

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "พระพุทธนิรโรคันตราย"  ท่านผู้อ่านหลายท่านคงจะเคยได้ยินชื่อ  "พระพุทธนิรโรคันตราย" 

สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับ "พระพุทธนิรโรคันตราย"  Click อ่านเพิ่มเติมได้ที่ , ,    


           ทั้งนี้ ความเป็นมาของการสร้างพระพุทธนิรโรคันตรายนั้น สืบเนื่องมาจากพระอาการประชวรในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ ด้วยเหตุที่พระองค์ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของปวงชนชาวไทยทั้งชาติ ข่าวพระอาการประชวรสร้างความวิตกกังวลและห่วงใยแก่คนไทยทุกหมู่เหล่า ครั้งต่อมาเมื่อพระอาการประชวรค่อยคลายลงจนดีขึ้นเป็นลำดับ ยังความปลื้มปิติยินดีเป็นล้นพ้นแก่พสกนิกรทั่วประเทศ และจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ได้มีพระดำริเห็นชอบให้จัดสร้างพระพุทธรูปทองคำขึ้น เพื่อทูลเกล้าฯ ถวาย แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นเครื่องแสดงถึงความจงรักภักดีของคนไทยทั้งประเทศ ที่ปรารถนาจะให้พระองค์ทรงพ้นจากโรคภัยทั้งมวล โดยสมเด็จพระสังฆราชได้ประทานคำแนะนำในการจัดสร้างอย่างใกล้ชิด ถือได้ว่าเป็นพระพุทธรูปทองคำที่ใหญ่ที่สุด ที่สร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “พระพุทธนิรโรคันตราย” (นิร แปลว่า ปราศจาก, โรคันตราย มาจากคำว่า โรค+อันตราย รวมความแล้ว “นิรโรคันตราย” หมายถึง ความปราศจากโรคภัยอันตรายใด ๆ ที่มาอ้างอิง

โดยรูปภาพต่อไปนี้ ได้มาจากหนังสือ การจัดสร้างพระพุทธนิรโรคันตราย/ โดย ประมวล รุจนเสรี พิมพ์ครั้งที่1 กรุงเทพฯ: กรมปกครอง, 2538
















พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช
ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งถึงการทูลเกล้า ฯ ถวาย
พระพุทธนิรโรคันตราย ว่า

"... ขอขอบใจที่ได้นำพระพุทธรูป
อันศักดิ์สิทธิ์มาให้ ชื่อว่านิรโรคันตราย
เข้าใจว่าเป็นพระพุทธรูปที่คุ้มครองไม่ให้มี
อันตรายทั้งหลายโดยเฉพาะโรคภัย ซึ่งเป็น
ประโยชน์เพราะจำเป็นต้องรักษาสุขภาพให้ดี."




พระพุทธนิรโรคันตราย  
ปัดโรคร้ายหายจากพระราชา
พระพุทธงามจริงยิ่งล้ำค่า 
เหล่าประชาถวายแด่พระองค์

พระพุทธรูปอันศักดิ์สิทธิ์ 
เนรมิตสุขภาพทรงยืนยง
พระพุทธรูปคุ้มครองแด่พระองค์ 
ทรงดำรงคงมั่นยิ่งยืนนาน

พระพุทธรูปหลอมจิตทุกคนไทย 
ปัดโรคภัยทั้งหลายทรงสำราญ
พระพุทธรูปคุ้มครองทรงเบิกบาน 
ใจประสานทั้งชาติสามารถเอย


ปภาวีร์ 
๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น