Nuffnang Ads

วันพุธที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2557

Social Enterprise กับ มหาวิทยาลัย

Social Enterprise กับ มหาวิทยาลัย เป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะเนื่องจาก Social Enterprise คือ "กิจการเพื่อสังคม"  

Social Enterprise  เป็นอย่างไรใครรู้บ้าง
มหา'ลัยตัวอย่าง เป็นแบบอย่างมีที่ไหน

กิจการเพื่อสังคม คนชื่นชมชื่นฤทัย
อาจารย์ต้องใส่ใจ เพื่อคนไทยสังคมดี

สังคมจะดีขึ้น  จะยั่งยืนตามวิถี
ทุกคนสามัคคี ทำความดีเพื่อสังคม

กิจการเพื่อส่วนรวม จะต้องร่วมกันนิยม
ร่วมสร้างให้เหมาะสม เพื่อสังคมที่ดีเอย

อจต.

๒๘-๒๙ สิงหาคม ๒๕๕๗ การประชุมเรื่อง “University Engagement and Social Enterprise: Experiences from the UK and Thailand” 


อ้างอิงจาก 

http://www.engagementthailand.org/index.php?option=com_content&view=article&id=10&Itemid=27

แน่นอนครับว่า มหาวิทยาลัยเป็นกิจการหนึ่งที่โดยส่วนมากแล้ว พระราชบัญญัติของมหาวิทยาลัยต่างๆ มักจะปรากฎ ภารกิจ ดังนี้ 
๑. ผลิตบัณฑิต
๒. การวิจัย
๓. การบริการวิชาการ
๔. การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

จากภารกิจข้างต้น จะเป็นว่าทั้ง ๔ ประการ มหาวิทยาลัยจะต้องดำเนิน "กิจการ" เพื่อสังคม นั้นหมายความว่า 

๑. จะต้องผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพเพื่อรองรับความต้องการของสังคม
๒. จะต้องทำการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาของสังคม โดยเฉพาะท้องถิ่นในระดับต่างๆ 
๓. จะต้องนำผลงานวิจัยที่ได้ทำในข้อ ๒ ไปขยายผลให้บริการกับพื้นที่อื่นๆ สังคมอื่นๆ ได้รับประโยชน์จากงานวิจัยดังกล่าวให้มากยิ่งขึ้น
๔. จะต้องอนุรักษ์รักษาวัฒนธรรม ศิลปะ อันดีงามของสังคมเพื่อสืบทอดต่อรุ่นลูกรุ่นหลานตราบนานเท่านาน

ดังนั้น มหาวิทยาลัยในอนาคตควรจะต้องมีการพิจารณาดำเนินงานกิจการเพื่อสังคมได้รับประโยชน์สูงสุด 


อย่างไรก็ตาม  ผู้เขียนขอนำเสนอว่าอาจจะต้องพิจารณา "Social" อย่างอื่นมาช่วยหรือสนับสนุน "Social Enterprise"   

โดยที่ "SOCIAL" อาจจะแยกเป็นดังนี้ 
S = Study
O= Organize
C= Communicate
I = Integrate 
A = Apply
L = Learning 
            "SOCIAL" "ศึกษา จัดองค์กร สื่อสาร บูรณาการ ประยุกต์ เรียนรู้" ==> "จะต้องทำการศึกษาเรียนรู้พร้อมทั้งมีการประยุกต์โดยมีสื่อสารกันภายในองค์กรอย่างบูรณาการ"


นอกจากนั้น ผู้เขียนคิดว่า Social Media เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในยุคปัจจุบัน เนื่องจาก Social Media สามารถสนับสนุนด้านการจัดการความรู้ (Knowledge Management) สำหรับ "Social Enterprise"  ได้ (อ้างอิงจาก หนังสือ "การประยุกต์ใช้สื่อสังคมในการจัดการความรู้",  2557)

ซึ่งแน่นอนว่า หากว่ามหาวิทยาลัยดำเนินการแบบ "Social Enterprise" โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ จะเป็นการดีอย่างยิ่ง
๑. การมีเหตุมีผล   
- ผลิตบัณฑิตในสาขาที่เป็นความต้องการของประเทศชาติ
- ทำวิจัยในประเด็นที่สามารถแก้ปัญหาของประชาชน ประเทศชาติ
- ให้บริการวิชาการในส่วนเฉพาะที่ประชาชนได้ประโยชน์สูงสุด
- อนุรักษ์วัฒนธรรมและศิลปะที่ดีงามของไทย

๒. การมีความพอประมาณ
- ผลิตบัณฑิต รับนักศึกษาในสาขาต่างๆ ตามศักยภาพที่แท้จริงของหลักสูตร ไม่รับนักศึกษาจำนวนมากเกินไป 
- ทำวิจัยในเรื่องที่แก้ปัญหาของประเทศชาติได้แท้จริง และใช้งบประมาณจำนวนน้อยที่สุด โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมและประหยัด
- ให้บริการวิชาการโดยคำนึงถึงประชาชนที่ด้อยโอกาสเพื่อให้ได้รับสิ่งที่ดีอันนำมาซึ่งการส่งเสริมวิชาชีพสัมมาชีพที่ดีขึ้น
- ทำนุบำรุงวัฒนธรรมและศิลปะที่

๓. การมีภูมิคุ้มกัน
- ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพนอกจากวิชาชีพของบัณฑิต โดยอาจจะเน้น "วิชาคน" คือ มีจิตอาสา เป็นคนดี 
- ทำวิจัยที่สามารถแก้ไขปัญหาของประเทศชาติได้อย่างยั่งยืน
- ให้บริการวิชาการแก่สังคมที่เน้นการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน 
- ทำนุบำรุงวัฒนธรรมและศิลปะที่เน้นการในทุกคนทุกส่วนของท้องถิ่นสังคมได้ร่วมกันดำเนินการ 

โดยทั้งหมดจะต้องทำให้เกิด "ความรู้" อย่างยั่งยืนนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม ที่จะต้องยึดหลัก "คุณธรรม" ในการดำเนินการเพื่อทำให้เกิด "Social Enterprise"  อย่างแท้จริงและยั่งยืน

ดังนั้น ผู้เขียนขอสรุปความสัมพันธ์ระหว่าง "Social Enterprise" และ "มหาวิทยาลัย" โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงดังรูปภาพต่อไปนี้ 


อจต.
๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๗


ดร.สมสุข ธีระพิจิตร เลขาธิการ ทปอ. ซะนาน เจอวันนี้ท่านยังเหมือนเดิม
ทปอ. ดร.สมสุข ธีระพิจิตร เลขาธิการ ทปอ. ซะนาน เจอวันนี้ท่านยังเหมือนเดิม














ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น