Nuffnang Ads

วันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การจัดอุดมศึกษากับพื้นที่จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

อ้างอิงจาก www.pdit.co.th


อันดับจังหวัดจำนวน (คน)
(31 ธันวาคม 2555) [3]
! จำนวน (คน)
(31 ธันวาคม 2554) [4]
จำนวน (คน)
(31 ธันวาคม 2553) [5]
1นครราชสีมา2,601,1672,585,3252,582,089
2อุบลราชธานี1,826,9201,816,0571,813,088
3ขอนแก่น1,774,8161,766,0661,767,601
4บุรีรัมย์1,566,7401,559,0851,553,765
5อุดรธานี1,557,2981,548,1071,544,786
6ศรีสะเกษ1,458,3701,452,2031,452,471
7สุรินทร์1,386,2771,380,3991,381,761
8ร้อยเอ็ด1,308,5701,305,0581,309,708
9ชัยภูมิ1,133,0341,127,4231,127,423
10สกลนคร1,129,1741,123,3511,122,905
11กาฬสินธุ์985,084981,655982,578
12มหาสารคาม945,149939,736940,911
13นครพนม708,350704,768703,392
14เลย629,787624,920624,066
15ยโสธร540,267538,853539,257
16หนองคาย512,439509,870509,395
17หนองบัวลำภู505,071502,551502,868
18บึงกาฬ412,613407,634403,542
19อำนาจเจริญ373,494372,241372,137
20มุกดาหาร342,868340,581339,575
รวม21,697,48821,585,88321,573,318
อ้างอิง ภาคอีสาน (ประเทศไทย)





ลำดับ จังหวัด สถาบันที่ 1 สถาบันที่ 2 สถาบันที่ 3
1 นครราชสีมา ม.เทคโนโลยีสุรนารี  ม.ราชภัฏนครราชสีมา  ม.เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
2 อุบลราชธานี ม.อุบลราชธานี ม.ราชภัฏอุบลราชธานี
3 ขอนแก่น ม.ขอนแก่น ม.ทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น
4 บุรีรัมย์ ม.ราชภัฏบุรีรัมย์
5 อุดรธานี ม.ราชภัฏอุดรธานี
6 ศรีสะเกษ ม.ราชภัฏศรีสะเกษ
7 สุรินทร์ ม.ราชภัฏสุรินทร์ ม.เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
8 ร้อยเอ็ด ม.ราชภัฏร้อยเอ็ด
9 ชัยภูมิ ม.ราชภัฏชัยภูมิ
10 สกลนคร ม.ราชภัฏสกลนคร ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ สกลนคร
11 กาฬสินธุ์ ม.ราชภัฏกาฬสินธุ่ ม.ทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์
12 มหาสารคาม ม.มหาสารคาม  ม.ราชภัฏมหาสารคาม
13 นครพนม ม.นครพนม
14 เลย ม.ราชภัฏเลย
15 ยโสธร -
16 หนองคาย ม.ขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย
17 หนองบัวลำภู -
18 บึงกาฬ -
19 อำนาจเจริญ ม.มหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ
20 มุกดาหาร -


จากข้อมูลข้างต้น 
จะเห็นว่ามีจังหวัดต่อไปนี้ที่ยังไม่มีสถาบันอุดมศึกษา (มหาวิทยาลัย) ในพื้นที่ภายในจังหวัด คือ 

1. จังหวัดยโสธร
2. จังหวัดหนองบัวลำภู
3. จังหวัดบึงกาฬ
4. จังหวัดมุกดาหาร 
(หมาิยเหตุ  จังหวัดหนองบัวลำภู และ จังหวัดบึงกาฬ ถูกจัดตั้งเป็นจังหวัดไม่ถึง 5 ปี) 

หากจะเอาจำนวนประชากรในจังหวัดเป็นเกณฑ์ในการจัดตั้งมหาวิทยาลัยแน่นอนทั้ง 4 จังหวัดข้างต้นมีจำนวนประชากรไม่มากนัก อย่างไรก็ตาม หากนำเกณฑ์ในเรื่องพื้นที่ที่เชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อเป็นทางเชื่อมในการเป็นประชาคมอาเซียน ก็อาจจะเหลือเพียงจังหวัด บึงกาฬ และ มุกดาหาร เท่านั้น 

ทั้งนี้ หากพิจารณาความพร้อมระหว่างจังหวัดบึงกาฬและจังหวัดมุกดาหาร แล้วนั้น จะเห็นว่าจังหวัดมุกดาหารอาจจะได้เปรียบตรงที่เป็นจังหวัดมาุก่อนเกือบ 30 ปี และมีสะพานข้ามแม่น้ำโขง (แห่งที่ 2) จึงทำให้ จังหวัดมุกดาหาร ป็นทางเลือกหนึ่งของรัฐบาลในการกำหนดพื้นที่ที่จะเป็นจังหวัดในการพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาในการรองรับแรงงานและการขยายตัีวของการเป็นประชาคมอาเซียน  

นอกจากนั้น ที่จังหวัดมุกดาหารยังมีโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค คือ โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยมุกดาหาร ที่จะเ้ป็นโรงเรียนในการสร้างนักเรียนมัธยมศึกษาที่มีคุณภาพด้านวิทยาศาสตร์ให้กับพื้นที่ส่งต่อระดับอุดมศึกษาในที่สุด 


โดยที่การมีสถาบันอุดมศึกษาเพื่อรองรับชาวต่างประเทศเข้าศึกษาต่อในประเทศไทย จังหวัดมุกดาหาร น่าจะเป็นพื้่นที่ที่เหมาะสมอย่างยิ่ง เนื่องจากนักเรียนจาก สปป.ลาว เวียดนาม หรือ จากตอนใต้ของจีน สามารถเดินทางมาได้ง่ายสะดวก อีกทั้งเชื่อว่าต่อไป การส่งสินค้าจากไทยไปสู่ประชาคมอาเซียนผ่านสะหวันนะเขต (สปป.ลาว) ก็น่าจะเป็นช่องทางหลักในอีกไม่กีปีข้างหน้า

ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศไทยจะต้องกำหนดยุทธศาสตร์การอุดมศึกษาให้สอดคล้องกับพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือในการรองรับการเป็นประชาคมอาเซียน เพราะหากไม่มีแผนหรือไม่มีนโยบายรองรับอาจจะทำให้การพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดน (มุกดาหาร) ได้รับผลกระทบ เนื่องจากการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ทรัพยากรมนุษย์ (ผู้ที่สำเร็จอุดมศึกษา) ในการเป็นกำัลังสำคัญของการพัฒนา 

ซึ่งการพัฒนาอุดมศึกษาดังกล่าวจะเป็นการสอดคล้องกับ แผนพัฒนาจังหวัดมุกดาหาร 4 ปี (พ.ศ. 2557-2560) ที่กำหนดวิสัยทัศน์ ว่า  เมืองการศึกษา การค้า การท่องเที่ยว วัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง เชื่อมโยงอาเซียน

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับด้านการศึกษาระดับอุดมศึกษาทุกหน่วยจะให้ความสำคัญในการพัฒนาการศึกษา เพราะหากแผนการพัฒนาอุดมศึกษากับพื้นที่จังหวัดชายแดนมีความชัดเจน ย่อมจะส่งผลให้นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาในพื้นที่จังหวัดและพื้นที่ใกล้เคียงไ้ด้ตัดสินใจว่าจะเรียนที่ใด ซึ่งหากเมื่อเรียนแล้วจบสามารถทำงานในพื้นที่บ้านเกิด (โดยเฉพาะพื้นที่รองรับการเป็นประชาคมอาเซียน) ย่อมจะทำให้ไม่เกิดการเคลื่อนย้านแรงงานเข้าสู่เมืองหลวงหรือเมืองใหญ่ ดังนั้น ข้อดีของการจัดอุดมศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดน (มุกดาหาร) สามารถที่จะเกิดผลดีดังต่อไปนี้ 

1. ทำให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาตรา 80 ประเด็นการจัดการศึกษาที่ให้มีความเท่าเทียมกันในระดับพื้นที่ 

2.  ทำให้เกิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในพื้นที่เพื่อรองรับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของพื้นที่ชายแดนที่จะรองรับประชาคมอาเซียน

3. ทำให้ลดปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงาน อันเป็นนโยบายของรัฐบาล


มณูญพงศ์ ศรีวิรัตน์
ประธานสถานศึกษา ร.ร.จุฬาภรณราชวิทยาลัยมุกดาหาร 


ข้อมูลเพิ่มเติมที่น่าสนใจอย่างยิ่งต้อง Click อ่าน

และ Click อ่านข้อมูลนี้ 


เป็นเมืองการศึกษา เมืองการค้าการท่องเที่ยว
รัฐต้องมาแลเหลียว พร้อมมีเอี่ยวพัฒนา
นโยบายชัดเจน กำหนดเกณฑ์การศึกษา
เป็นเมืองที่ต้องมา เพื่อเชื่อมหากับอาเซียน
เมืองนี้มีของดี เป็นเมืองที่ต้องแวะเวียน
ประชาคมอาเซียน ต้องมาเยือนมุกดาหาร


เมืองนี้ต้องเจริญ จึงขอเชิญร่วมประสาน
อาเซียนอีกไม่นาน มุกดาหารเจริญเอย

1 ความคิดเห็น:

  1. มุกดาหาร มี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี วิทยาเขตมุกดาหาร ที่กำลังสร้างอยู่ภูผาเจีย แล้วนะครับ คิดว่าถ้ามหาวิทยาลัยมีการพัฒนาและเจริญอย่างรวดเร็วก็คงแยกเป็นมหาวิทยาลัยของจังหวัดมุกดาหารเองละครับ ผมว่าไม่นานนะ เพราะตอนนี้ก็มีการเรียนการสอนอยู่ 4 หลักสูตร คือ

    -วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
    สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ
    สาขาการจัดการสิ่งแวดล้อม (เปิดรับในปีการศึกษา 2556)

    -บริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.)
    สาขาการจัดการธุรกิจ
    สาขาการจัดการโลจิสติกระหว่างประเทศ (เปิดรับในปีการศึกษา 2556)

    -บัญชีบัณฑิต (บช.บ.)
    สาขาการบัญชี

    -ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)
    สาขาภาษาเพื่อการสื่อสารพัฒนาลุ่มน้ำโขง (เปิดรับในปีการศึกษา 2556)

    (คนมุกดาหาร)

    ตอบลบ