สืบเนื่องจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๘๐ รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านสังคม การสาธารณสุข การศึกษา และ วัฒนธรรม (๓) “พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาในทุกระดับและทุกรูปแบบให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม...” จะเห็นว่าตามรัฐธรรมดังกล่าวรัฐจะต้องพัฒนาคุณภาพการศึกษาในทุกระดับทุกรูปแบบให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่จังหวัดมุกดาหารที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมอันเนื่องมาจากการเปิดใช้โดยสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ ๒ (จังหวัดมุกดาหาร –แขวงสะหวันนะเขต) ซึ่งเป็นการพัฒนาพื้นที่เชื่อมโยงในทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านและพื้นที่ชายแดน เชื่อมต่อกับทางหลวงหมายเลข ๙ ของ สปป. ลาว แขวงสะหวันนะเขต ไปเชื่อมต่อกับเวียดนามตอนกลางที่มีหัวเมืองสำคัญของเวียดนาม คือ เมืองกวางตรี เมืองเว้ (เมืองเก่า) และเมืองดานัง อีกทั้ง จังหวัดมุกดาหารเป็นจังหวัดที่ยังไม่มีสถาบันอุดมศึกษาระดับปริญญาตรีเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สำหรับการรองรับการขยายตัวของภาคธุรกิจทั้งในและต่างประเทศในพื้นที่จังหวัดมุกดาหารและพื้นที่ใกล้เคียง นอกจากนั้น รัฐบาลได้กำหนดนโยบายด้านการศึกษา “ส่งเสริมความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยไปสู่การเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาและวิจัยพัฒนาในภูมิภาค” ดังนั้น จังหวัดมุกดาหารน่าจะสามารถเป็นเมืองการศึกษาเพื่อที่จะเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาในภูมิภาคได้ เพราะจังหวัดมุกดาหารสามารถเชื่อมต่อไปยัง สปป.ลาว เวียดนาม จีน โดยผ่านสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ ๒
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐที่มีอายุเกือบประมาณ ๒๐ ปี และมีวิสัยทัศน์ “เป็นมหาวิทยาลัยแห่งคุณภาพ ที่เน้นนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของบัณฑิตและประชาชนบนฐานภูมิปัญญาของอีสานใต้และอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง” โดยวิสัยทัศน์ดังกล่าวได้กำหนดให้มีการพัฒนาคุณภาพของบัณฑิตและประชาชนในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ซึ่งพื้นที่อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงนั้นมีพื้นที่ของจังหวัดมุกดาหารรวมอยู่ด้วย เพื่อทำให้วิสัยทัศน์บรรลุเป้าหมายมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีจึงได้มีการจัดการเรียนการสอน ณ จังหวัดมุกดาหาร โดยได้ดำเนินการตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๘ มีรายละเอียดพอสังเขปดังนี้
วันพฤหัสบดีที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๘ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้มีพิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร โดยเริ่มแรกเปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีต่อเนื่องสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ และวันเสาร์ที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ครั้งที่ ๓/๒๕๔๘ ได้รับทราบและเห็นชอบให้ดำเนินการจัดการเรียนการสอน ณ จังหวัดมุกดาหาร มีการดำเนินงานในรูปแบบของ “ศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยี” โดยใช้อาคารสถานที่ของโรงเรียนมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร และต่อมาวันศุกร์ที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ จังหวัดมุกดาหารได้ให้ความอนุเคราะห์สถานที่โดยมอบอาคารหลังเก่าของโรงเรียนมุกดาลัย เพื่อให้มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีดำเนินการปรับปรุงสำหรับการขยายการเรียนการสอนในหลักสูตรปริญญาตรีต่อเนื่องสาขาการบัญชี และเมื่อวันเสาร์ที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ ๑/๒๕๕๐ ได้อนุมัติเงินสำรองมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เพื่อใช้ปรับปรุงอาคารหลังเก่าโรงเรียนมุกดาลัย จังหวัดมุกดาหาร พร้อมทั้งได้เปิดรับอาจารย์และเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติหน้าที่ประจำศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จังหวัดมุกดาหาร จำนวน ๔ อัตราและได้แต่งตั้ง ดร.กุลภา โภคสวัสดิ์ เป็นหัวหน้าศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยี เพื่อทำหน้าที่บริหารงานและประสานงานการติดต่อกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนภายในจังหวัดมุกดาหาร พร้อมทั้งได้เปิดศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยีอย่างเป็นทางการเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ (โดยมีท่านนายกสภามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี อุปนายกสภามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร อธิการบดีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ประธานหอการค้าจังหวัดมุกดาหาร ตัวแทนจากหน่วยงานจังหวัดมุกดาหาร และคณบดีคณะต่างๆ ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ร่วมในพิธีเปิดศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยีและมีพิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการระหว่างศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยีกับโรงเรียนมุกดาลัย) ต่อมาเมื่อวันเสาร์ที่ ๑๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๑ ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ครั้งที่ ๓/๒๕๕๑ มีมติเห็นชอบให้จัดตั้งวิทยาเขตมุกดาหาร และได้ขอความเห็นชอบในการใช้พื้นที่ป่าไม้บริเวณภูผาเจี้ย ตำบลมุกดาหาร อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร จำนวนพื้นที่ป่าไม้เนื้อที่ประมาณ ๑,๑๓๔ ไร่ เพื่อจัดตั้งวิทยาเขตมุกดาหาร
หลังจากนั้นเมื่อวันจันทร์ที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ดร.สุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ประชุมร่วมกับ ตัวแทนมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (ศ.พิเศษ ดร.จอมจิน จันทรสกุล นายกสภามหาวิทยาลัย) และ ตัวแทนจังหวัดมุกดาหาร (ดร.สมหมาย ปรีชาศิลป์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร) เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน ณ จังหวัดมุกดาหาร เพื่อจัดตั้งวิทยาเขตมุกดาหาร และเมื่อวันอังคารที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ดร.สุชาติ เมืองแก้ว รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาและคณะเจ้าหน้าที่จากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา พร้อมด้วยรองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและสารสนเทศ (ผศ.ดร.มนูญ ศรีวิรัตน์) รักษาการผู้อำนวยการกองแผนงาน (นายธีระศักดิ์ เชียงแสน) และหัวหน้าศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (ดร.กุลภา โภคสวัสดิ์) เดินทางตรวจพื้นที่ป่าไม้บริเวณภูผาเจี้ย ตำบลมุกดาหาร อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร เพื่อจัดตั้งวิทยาเขตมุกดาหาร ซึ่งต่อมาเมื่อวันจันทร์ที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้ความเห็นชอบการใช้พื้นที่ป่าไม้ ณ บริเวณภูผาเจี้ย ตำบลมุกดาหาร อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร เพื่อจัดตั้งวิทยาเขตมุกดาหาร และเมื่อวันศุกร์ที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑ สภามหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้อนุมัติข้อบังคับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ว่าด้วยการบริหารวิทยาเขตมุกดาหาร มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
จะเห็นว่าการดำเนินการจัดการเรียนการสอน ณ จังหวัดมุกดาหาร ที่เริ่มต้นมาตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๕๔๘ จนถึงปัจจุบัน นั้น มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้ดำเนินการด้วยความตั้งใจจริงและเป็นขั้นตอนเพื่อให้จังหวัดมุกดาหารมีสถาบันอุดมศึกษาระดับปริญญาตรีที่สามารถทำให้ลูกหลานชาวจังหวัดมุกดาหารและจังหวัดใกล้เคียงได้มีโอกาสทางการศึกษามากขึ้นพร้อมทั้งเป็นโอกาสอันดีที่จังหวัดมุกดาหารจะมีทรัพยากรบุคคลที่จะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น โดยเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีโดยรองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและสารสนเทศ (ผศ.ดร.มนูญ ศรีวิรัตน์) และรองผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร (ดร.สมหมาย ปรีชาศิลป์ )ได้ถวายรายงานแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน ณ จังหวัดมุกดาหาร พร้อมทั้งถวายรายงานการก่อสร้างอาคารศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยี ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ และมีแผนดำเนินการก่อสร้างอาคารเฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา มหาราชา ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ต่อไป นอกจากนั้น เมื่อวันพุธที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้เรียนเชิญผู้แทนจากสำนักงบประมาณ ดูงานการจัดการเรียนการสอน ณ วิทยาเขตมุกดาหาร พร้อมทั้งเยี่ยมชมพื้นที่ภูผาเจี้ย ซึ่งเป็นสถานที่สำหรับจะก่อสร้างอาคารเฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา มหาราชา โดยอาคารดังกล่าวมีเอกลักษณ์บางส่วน ประกอบด้วย เช่น พื้นที่ส่วนกลางขนาด ๑๒๐ x ๑๒๐ เมตร เป็นจำนวน ๙ ไร่ ซึ่งหมายถึง รัชกาลที่ ๙ พื้นที่อาคาร๗ ช่วงอาคาร ซึ่งหมายถึง ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๗ รอบ พื้นที่ตรงกลางอาคารมีพระฉายาลักษณ์ขนาด ๗ x ๑๒ เมตร เท่ากับ ๘๔ ตารางเมตร และพื้นที่ด้านหน้าวิทยาเขตมีพระพุทธรูป ที่ชื่อ “พระพุทธปทุมมุกดานพรัตน์” ที่มีความหมายว่า พระพุทธรูปที่ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (ปทุม) และชาวมุกดาหาร (มุกดา) ร่วมกันถวายแด่รัชกาลที่ ๙ (นพรัตน์) เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม การจะพัฒนาวิทยาเขตมุกดาหารให้เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีคุณภาพและพัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยในอนาคต จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ปัจจัยหลายๆ ประการ เช่น พื้นที่กายภาพที่เหมาะสม การให้ความร่วมมือของประชาชนชาวจังหวัดมุกดาหาร การสนับสนุนจากหน่วยงานราชการและภาคเอกชนจังหวัดมุกดาหาร การสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาล การสนับสนุนงบประมาณจากองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดมุกดาหาร เป็นต้น ซึ่งการดำเนินงานจัดการเรียนการสอน ณ จังหวัดมุกดาหารที่ผ่านมามหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้น้อมนำพระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ที่พระราชทานในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ณ วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร เมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๑๒ ที่ว่า “...งานด้านการศึกษาเป็นงานสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของชาติ เพราะความเจริญและความเสื่อมของชาตินั้น ขึ้นอยู่กับการศึกษาของพลเมืองเป็นข้อใหญ่ จึงต้องจัดการศึกษาให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น...” และพระราชดำรัสสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ได้พระราชทานแก่คณะผู้ปฏิบัติงานโครงการตามพระราชดำริ ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๔๐ ที่ว่า “...ผู้ที่ได้รับการศึกษาดี การศึกษาที่สูงขึ้นย่อมจะเป็นผู้ที่มีโอกาสในการที่จะเลือกงานและเลือกวิถีการดำเนินชีวิตได้ดีขึ้น ไม่ใช่ว่าจะดีขึ้นโดยอัตโนมัติ แต่หมายความว่าจะมีโอกาสที่จะปรับปรุงตัวเองให้ดีขึ้น ก็ได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานทางด้านการศึกษาหลายๆ หน่วยงาน...” ดังนั้น มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการจัดตั้งวิทยาเขตมุกดาหารจะเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของจังหวัดมุกดาหารอันจะทำให้เป็นแหล่งวิชาการเพื่อชาวลูกหลานมุกดาหารและจังหวัดใกล้เคียงรวมทั้งประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความร่วมมือในการก่อสร้างอาคารเฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา มหาราชา ซึ่งเป็นอาคารที่จะถูกก่อสร้าง ณ พื้นที่บริเวณภูผาเจี้ย พวกเราทุกคนพร้อมใจพร้อมกายเพื่อน้อมถวายพ่อหลวงของเราที่พระองค์ท่านจะทรงพระชนมพรรษา ๘๔ พรรษา ในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าชาวมุกดาหารทุกท่านจะร่วมกายใจทำให้อาคารดังกล่าวสมพระเกียรติแด่พระองค์ท่าน เพราะถ้าไม่ได้รับความร่วมมือจากชาวมุกดาหารการเดินหน้าของวิทยาเขตมุกดาหารคงจะต้องไม่สามารถทำได้และอาจจะทำให้เกิดปัญหาในการดำเนินการในอนาคต
สุดท้ายนี้ ขออนุญาตนำเสนอ คำว่า “MUKDAHAN” ซึ่งประกอบด้วย M = Management U = Understand K = Knowledge D = Development A = Advance H = Harmony A = Ambition N = Natural or Network ดังนั้น “MUKDAHAN CAMPUS” วิทยาเขตมุกดาหารมุ่งเน้นการจัดการความเข้าใจความรู้ด้านต่างๆ เพื่อพัฒนาให้มีความก้าวหน้าทันสมัยที่กลมกลืนกับความปรารถนาของธรรมชาติ
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐที่มีอายุเกือบประมาณ ๒๐ ปี และมีวิสัยทัศน์ “เป็นมหาวิทยาลัยแห่งคุณภาพ ที่เน้นนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของบัณฑิตและประชาชนบนฐานภูมิปัญญาของอีสานใต้และอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง” โดยวิสัยทัศน์ดังกล่าวได้กำหนดให้มีการพัฒนาคุณภาพของบัณฑิตและประชาชนในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ซึ่งพื้นที่อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงนั้นมีพื้นที่ของจังหวัดมุกดาหารรวมอยู่ด้วย เพื่อทำให้วิสัยทัศน์บรรลุเป้าหมายมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีจึงได้มีการจัดการเรียนการสอน ณ จังหวัดมุกดาหาร โดยได้ดำเนินการตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๘ มีรายละเอียดพอสังเขปดังนี้
วันพฤหัสบดีที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๘ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้มีพิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร โดยเริ่มแรกเปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีต่อเนื่องสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ และวันเสาร์ที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ครั้งที่ ๓/๒๕๔๘ ได้รับทราบและเห็นชอบให้ดำเนินการจัดการเรียนการสอน ณ จังหวัดมุกดาหาร มีการดำเนินงานในรูปแบบของ “ศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยี” โดยใช้อาคารสถานที่ของโรงเรียนมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร และต่อมาวันศุกร์ที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ จังหวัดมุกดาหารได้ให้ความอนุเคราะห์สถานที่โดยมอบอาคารหลังเก่าของโรงเรียนมุกดาลัย เพื่อให้มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีดำเนินการปรับปรุงสำหรับการขยายการเรียนการสอนในหลักสูตรปริญญาตรีต่อเนื่องสาขาการบัญชี และเมื่อวันเสาร์ที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ ๑/๒๕๕๐ ได้อนุมัติเงินสำรองมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เพื่อใช้ปรับปรุงอาคารหลังเก่าโรงเรียนมุกดาลัย จังหวัดมุกดาหาร พร้อมทั้งได้เปิดรับอาจารย์และเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติหน้าที่ประจำศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จังหวัดมุกดาหาร จำนวน ๔ อัตราและได้แต่งตั้ง ดร.กุลภา โภคสวัสดิ์ เป็นหัวหน้าศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยี เพื่อทำหน้าที่บริหารงานและประสานงานการติดต่อกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนภายในจังหวัดมุกดาหาร พร้อมทั้งได้เปิดศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยีอย่างเป็นทางการเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ (โดยมีท่านนายกสภามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี อุปนายกสภามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร อธิการบดีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ประธานหอการค้าจังหวัดมุกดาหาร ตัวแทนจากหน่วยงานจังหวัดมุกดาหาร และคณบดีคณะต่างๆ ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ร่วมในพิธีเปิดศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยีและมีพิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการระหว่างศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยีกับโรงเรียนมุกดาลัย) ต่อมาเมื่อวันเสาร์ที่ ๑๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๑ ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ครั้งที่ ๓/๒๕๕๑ มีมติเห็นชอบให้จัดตั้งวิทยาเขตมุกดาหาร และได้ขอความเห็นชอบในการใช้พื้นที่ป่าไม้บริเวณภูผาเจี้ย ตำบลมุกดาหาร อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร จำนวนพื้นที่ป่าไม้เนื้อที่ประมาณ ๑,๑๓๔ ไร่ เพื่อจัดตั้งวิทยาเขตมุกดาหาร
หลังจากนั้นเมื่อวันจันทร์ที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ดร.สุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ประชุมร่วมกับ ตัวแทนมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (ศ.พิเศษ ดร.จอมจิน จันทรสกุล นายกสภามหาวิทยาลัย) และ ตัวแทนจังหวัดมุกดาหาร (ดร.สมหมาย ปรีชาศิลป์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร) เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน ณ จังหวัดมุกดาหาร เพื่อจัดตั้งวิทยาเขตมุกดาหาร และเมื่อวันอังคารที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ดร.สุชาติ เมืองแก้ว รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาและคณะเจ้าหน้าที่จากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา พร้อมด้วยรองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและสารสนเทศ (ผศ.ดร.มนูญ ศรีวิรัตน์) รักษาการผู้อำนวยการกองแผนงาน (นายธีระศักดิ์ เชียงแสน) และหัวหน้าศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (ดร.กุลภา โภคสวัสดิ์) เดินทางตรวจพื้นที่ป่าไม้บริเวณภูผาเจี้ย ตำบลมุกดาหาร อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร เพื่อจัดตั้งวิทยาเขตมุกดาหาร ซึ่งต่อมาเมื่อวันจันทร์ที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้ความเห็นชอบการใช้พื้นที่ป่าไม้ ณ บริเวณภูผาเจี้ย ตำบลมุกดาหาร อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร เพื่อจัดตั้งวิทยาเขตมุกดาหาร และเมื่อวันศุกร์ที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑ สภามหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้อนุมัติข้อบังคับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ว่าด้วยการบริหารวิทยาเขตมุกดาหาร มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
จะเห็นว่าการดำเนินการจัดการเรียนการสอน ณ จังหวัดมุกดาหาร ที่เริ่มต้นมาตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๕๔๘ จนถึงปัจจุบัน นั้น มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้ดำเนินการด้วยความตั้งใจจริงและเป็นขั้นตอนเพื่อให้จังหวัดมุกดาหารมีสถาบันอุดมศึกษาระดับปริญญาตรีที่สามารถทำให้ลูกหลานชาวจังหวัดมุกดาหารและจังหวัดใกล้เคียงได้มีโอกาสทางการศึกษามากขึ้นพร้อมทั้งเป็นโอกาสอันดีที่จังหวัดมุกดาหารจะมีทรัพยากรบุคคลที่จะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น โดยเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีโดยรองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและสารสนเทศ (ผศ.ดร.มนูญ ศรีวิรัตน์) และรองผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร (ดร.สมหมาย ปรีชาศิลป์ )ได้ถวายรายงานแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน ณ จังหวัดมุกดาหาร พร้อมทั้งถวายรายงานการก่อสร้างอาคารศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยี ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ และมีแผนดำเนินการก่อสร้างอาคารเฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา มหาราชา ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ต่อไป นอกจากนั้น เมื่อวันพุธที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้เรียนเชิญผู้แทนจากสำนักงบประมาณ ดูงานการจัดการเรียนการสอน ณ วิทยาเขตมุกดาหาร พร้อมทั้งเยี่ยมชมพื้นที่ภูผาเจี้ย ซึ่งเป็นสถานที่สำหรับจะก่อสร้างอาคารเฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา มหาราชา โดยอาคารดังกล่าวมีเอกลักษณ์บางส่วน ประกอบด้วย เช่น พื้นที่ส่วนกลางขนาด ๑๒๐ x ๑๒๐ เมตร เป็นจำนวน ๙ ไร่ ซึ่งหมายถึง รัชกาลที่ ๙ พื้นที่อาคาร๗ ช่วงอาคาร ซึ่งหมายถึง ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๗ รอบ พื้นที่ตรงกลางอาคารมีพระฉายาลักษณ์ขนาด ๗ x ๑๒ เมตร เท่ากับ ๘๔ ตารางเมตร และพื้นที่ด้านหน้าวิทยาเขตมีพระพุทธรูป ที่ชื่อ “พระพุทธปทุมมุกดานพรัตน์” ที่มีความหมายว่า พระพุทธรูปที่ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (ปทุม) และชาวมุกดาหาร (มุกดา) ร่วมกันถวายแด่รัชกาลที่ ๙ (นพรัตน์) เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม การจะพัฒนาวิทยาเขตมุกดาหารให้เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีคุณภาพและพัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยในอนาคต จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ปัจจัยหลายๆ ประการ เช่น พื้นที่กายภาพที่เหมาะสม การให้ความร่วมมือของประชาชนชาวจังหวัดมุกดาหาร การสนับสนุนจากหน่วยงานราชการและภาคเอกชนจังหวัดมุกดาหาร การสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาล การสนับสนุนงบประมาณจากองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดมุกดาหาร เป็นต้น ซึ่งการดำเนินงานจัดการเรียนการสอน ณ จังหวัดมุกดาหารที่ผ่านมามหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้น้อมนำพระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ที่พระราชทานในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ณ วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร เมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๑๒ ที่ว่า “...งานด้านการศึกษาเป็นงานสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของชาติ เพราะความเจริญและความเสื่อมของชาตินั้น ขึ้นอยู่กับการศึกษาของพลเมืองเป็นข้อใหญ่ จึงต้องจัดการศึกษาให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น...” และพระราชดำรัสสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ได้พระราชทานแก่คณะผู้ปฏิบัติงานโครงการตามพระราชดำริ ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๔๐ ที่ว่า “...ผู้ที่ได้รับการศึกษาดี การศึกษาที่สูงขึ้นย่อมจะเป็นผู้ที่มีโอกาสในการที่จะเลือกงานและเลือกวิถีการดำเนินชีวิตได้ดีขึ้น ไม่ใช่ว่าจะดีขึ้นโดยอัตโนมัติ แต่หมายความว่าจะมีโอกาสที่จะปรับปรุงตัวเองให้ดีขึ้น ก็ได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานทางด้านการศึกษาหลายๆ หน่วยงาน...” ดังนั้น มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการจัดตั้งวิทยาเขตมุกดาหารจะเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของจังหวัดมุกดาหารอันจะทำให้เป็นแหล่งวิชาการเพื่อชาวลูกหลานมุกดาหารและจังหวัดใกล้เคียงรวมทั้งประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความร่วมมือในการก่อสร้างอาคารเฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา มหาราชา ซึ่งเป็นอาคารที่จะถูกก่อสร้าง ณ พื้นที่บริเวณภูผาเจี้ย พวกเราทุกคนพร้อมใจพร้อมกายเพื่อน้อมถวายพ่อหลวงของเราที่พระองค์ท่านจะทรงพระชนมพรรษา ๘๔ พรรษา ในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าชาวมุกดาหารทุกท่านจะร่วมกายใจทำให้อาคารดังกล่าวสมพระเกียรติแด่พระองค์ท่าน เพราะถ้าไม่ได้รับความร่วมมือจากชาวมุกดาหารการเดินหน้าของวิทยาเขตมุกดาหารคงจะต้องไม่สามารถทำได้และอาจจะทำให้เกิดปัญหาในการดำเนินการในอนาคต
สุดท้ายนี้ ขออนุญาตนำเสนอ คำว่า “MUKDAHAN” ซึ่งประกอบด้วย M = Management U = Understand K = Knowledge D = Development A = Advance H = Harmony A = Ambition N = Natural or Network ดังนั้น “MUKDAHAN CAMPUS” วิทยาเขตมุกดาหารมุ่งเน้นการจัดการความเข้าใจความรู้ด้านต่างๆ เพื่อพัฒนาให้มีความก้าวหน้าทันสมัยที่กลมกลืนกับความปรารถนาของธรรมชาติ
มุกดาหารบ้านผมมมม อิอิ พัฒนาาาาาไกลโลดดด
ตอบลบศราวุธ
อย่าว่าแต่มุกดาหารเลยค่ะ
ตอบลบการศึกษาไม่ได้จำกัดอยู่ที่พื้นที่ อาณาเขต หรือแม้แต่อายุค่ะ
คำว่ากราศึกษา.......ไม่มีคำว่า
ตอบลบแก่เกินเรียน
ดีครับเป็นการขยายโอกาสให้กับผู้ที่สนใจที่จะศึกษาต่อแต่มีปัญหาเรื่องการเดินทาง การเปิดการเรียนการสอนที่มุกดาหารก็เป็นอีกวิธีที่จะให้ประชาชนที่อยู่ตามจังหวัดใกล้เคียงได้เข้ามาศึกษา เพื่อผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพต่อไปครับ
ตอบลบพัฒนาให้อิสานเจริญ เจริญ
ตอบลบ