Nuffnang Ads

วันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2557

การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็นเรื่องที่อย่างสนใจอย่างยิ่ง ซึ่งมีหนังสือหลายเล่มที่ได้นำเสนอ เช่น 




อย่างไรก็ดี ผู้เขียนคิดว่าจากหนังสือดังกล่าวข้างต้น ยังไม่สำคัญเท่ากับสิ่งที่ ศ.นพ.ประเวศ วะสี ได้กล่าวไว้ คือ


"การศึกษาทำให้ไม่มีศีลธรรม ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่มีเกียรติ ประเทศเราต้องมีหลักใหญ่ คือ คนไทยทุกคนมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ และมีศักยภาพของความสร้างสรรค์ และเชื่อว่าเราทำอะไรดีๆ ได้ ประเทศจะได้มีพลัง แต่ตอนนี้มายาคติต่างๆ ทางการศึกษาทำให้เหมือน คุกที่มองไม่เห็น หรือ the invisible prison เพราะฉะนั้น มันต้องปลดปล่อยตัวเองออกไป เราจน เราความรู้น้อย พ่อแม่เราไม่ได้ฐานะใหญ่โต พวกนี้เป็นมายาคติทั้งสิ้น ถ้ามีสำนึกตัวนี้ เราจะมีความสุขในตัวอย่างลึกล้ำ การศึกษาต้องเป็นพลังที่ทำให้คนมีเกียรติศักดิ์ศรี"  ที่มา http://www.thairath.co.th/content/452494




ดังนั้น สำหรับผมคิดว่า การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ต้องเน้น 
" สุ จิ ปุ ลิ" ครับ

สุ จิ ปุ ลิ มีสติสมาธิดี
เริ่มฟังให้ดีดี ความคิดดีจะตามมา

ความคิดต้องวิเคราะห์ คิดให้เหมาะเกิดปัญหา
คำถามตามออกมา เพื่อค้นหาตอบเข้าใจ

จากนั้นลงมือเขียน เป็นแบบเรียนอย่างตั้งใจ
เรียนรู้อย่างสนใจ ความรู้ใหม่ปัญญาเอย

อจต.
๒๔ กันยายน ๒๕๕๗
ผู้เขียนจึงขอนำเสนอดังนี้ 







และที่สำคัญ คือ ผู้เขียนคิดว่า การอ่านเป็นเรื่องที่สำคัญในการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 

••••••• นั่งอ่าน ••••••
นั่งอ่านเพราะอยากอ่าน น่าสงสารอ่านหนังสือ
เด็กอ่านน่านับถือ จับสองมือตั้งใจอ่าน

พ่อแม่พร้อมเกื้อหนุน เกิดเป็นคุณวิชาการ
สองตาจ้องประสาน อ่านยิ่งนานความรู้ยิ่ง

หนังสือต้องสนใจ อ่านเข้าใจรู้ทุกสิ่ง
อ่านมากอย่างแท้จริง สรรพสิ่งยิ่งรู้เอย

อจต.
๒๕ กันยายน ๒๕๕๗ ณ ร้านนายอินทร์ Lotus วารินชำราบ




ซึ่งในปัจจุบันมักจะมีการกล่าวถึง "การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ" โดยที่สำหรับ "ผู้เรียน" ผู้เขียนขออนุญาตแทนด้วย "LEARNER"  ตามนี้ครับ




นอกจากที่การเรียนรู้ที่ต้องการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแล้ว สิ่งหนึ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งคงจะหนีไม่พ้นคำว่า "ครู" โดยที่บทบาทความเป็นครู เป็นสิ่งที่มีผลต่อคุณภาพของการเรียนรู้ และ ผู้เรียน ดังนี้ 


     โดยที่สิ่งหนึ่งที่เกียวช้องกับการเรียนรู้ คือ "การจัดการความรู้ (Knowledge Management)" ซึ่งผู้เขียนได้นำเสนอ Manoonpong's 7s Framework for Knowledge Management ดังนี้ 


ครับ ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนเกี่ยวกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งอาจจะเป็นประโยชน์ต่อ "ผู้เรียน" และ ผู้สอน (คุณครู) ร่วมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาด้านการศึกษา อันจะได้ส่วนกันในการพัฒนาการศึกษาของไทยให้มีความเจริญก้าวหน้า พร้อมที่จะทำให้เกิด "ปัญญา" ในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป 

มณูณพงศ์ ศรีวิรัตน์




วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557

Social Enterprise ณ เชียงใหม่ แล้วเกี่ยวอะไรที่อุบลฯ

ชื่อเรื่องของวันนี้ (๑ กันยายน ๒๕๕๗) คือ "Social Enterprise ณ เชียงใหม่ แล้วเกี่ยวอะไรที่อุบลฯ"

ก่อนอื่นผู้เขียนต้องขอขอบพระคุณคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีที่ได้อนุมัติให้ผู้เขียนได้เข้าร่วมประชุม 
เรื่อง  "University Engagement and Social Enterprise: Experiences from the UK and Thailand”  ณ จังหวัดเชียงใหม่ (ซึ่งสามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ Link ต่อไปนี้ "Social Enterprise กับ มหาวิทยาลัย" )

โดยที่ Social Enterprise กิจการเพื่อสังคม ผู้เขียนขอนำเสนอในลักษณะ ๓ธ เพื่อให้มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเป็นแนวทางในการดำเนินกิจการเพื่อสังคม

ธรรมชาติ  - อุทยาน
                 - เขื่อน ป่าไม้ แม่น้ำ

ธรรมะ - วัด 

ธรรม   - ศิลปวัฒนธรรม
           - โรงเรียนกับธรรม(ชาติ)

        โดยที่เชียงใหม่เกี่ยวกับ "ธรรมชาติ" ได้มีสิ่งที่น่าดีใจเป็นอย่างยิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงพระกรุณาพระราชทานโครงการดีๆ ที่เรียกว่า "ศูนย์ศึกษาาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร์"  (Click ที่ Link ของศูนย์สามารถดูรูปภาพจาก FB ได้ครับ)  ทั้งนี้ หากว่ามหาวิทายลัยอุบลราชธานีจะช่วยสังคมในพื้นที่จังหวัดอุบลฯ ผู้เขียนคิดว่าสามารถจะดำเนินการได้เช่นกัน เช่น จัดทำ "โครงการรักป่า" โดยให้เยาวชนเข้าไปเรียนรู้ในเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ทั้งนี้ ม.อุบลฯ ทำหน้าที่ประสานกับภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อทำให้เกิดโครงการดังกล่าว ทำให้เยาวชนนักเรียนได้เห็นความสำคัญของธรรมชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับ "ป่าไม้"  สำหรับ "เขื่อน" ซึ่งเป็นแหล่งกักเก็บน้ำที่สำคัญ ที่เชียงใหม่มี "อุทยานแห่งชาติศรีลานนา : เขื่อนแม่งัด(Click ที่ Link ของอุทยานฯ สามารถดูรูปภาพจาก FB ได้ครับ) ซึ่งแน่นอนว่า ที่อุบลฯ หาก ม.อุบลฯ ได้มีกิจกรรมเกี่ยวกับอุทยานต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดอุบลฯ โดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมเข้าไปดูแลรักษาอุทยาน แม่น้ำ เช่น เขื่อนปากมูล เขื่อนสิรินธร แม่น้ำมูล แม่น้ำโขง เป็นต้น 

ที่นี้มาเรื่องของ "ธรรมะ" ต้องยอมรับว่าเชียงใหม่เป็นพื้นที่อารยธรรมมาแต่โบราณนานมาแล้ว อายุเมืองเชียงใหม่ ๗๐๐ กว่าปี ซึ่งก่อนหน้านั้นก็มีประวัติศาสตร์มานานเช่นกัน  "ธรรมะ" กับวัดวาอารามต่างๆ ของเชียงใหม่ต้องขอบอกว่า "เป็นแห่งธรรมะ" อย่างแท้จริง และเกี่ยวข้องกับจังหวัดอุบลราชธานีอย่างไร  สิ่งที่ผู้เขียนได้มีโอกาสไปสัมผัสมาคือ วัดบางวัดบางแห่ง มีรูปปั้น "หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต" ซึ่งทุกคนทราบกันดีว่าหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต มีภูมิถิ่นกำเนิดที่อุบลราชธานี้ โดยวัดต่้อไปนี้ มีรูปปั่นของหลวงปู่ เช่น 







จะเห็นว่านั้นเป็นตัวอย่างบางส่วนเท่านั้นเองที่เป็นเรื่องของ "ธรรมะ" ที่เป็นความเกี่ยวข้องระหว่างเชียงใหม่กับอุบลราชธานี นอกจากนั้น เชียงใหม่มีวัดวาอารามอื่นๆ อีกมากมายที่มีความสวยสดงดงามอย่างยิ่ง 





(ทั้งนี้ เพียง Click ไปที่ชื่อวัดสามารถที่ชมรูปภาพใน Facebook ได้) 

นอกจากนั้น มีวัดที่มีความเชื่อมโยงระหว่างเชียงใหม่กับลำพูน คือ 

และ 
วัดพระธาตุดอยคำ จังหวัดเชียงใหม่


ดังนั้น Social Enterprise ที่อุบลฯ ผู้เขียนคิดว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่มหาวิทยาอุบลราชธานี จะได้จัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับ "วัด" ต่างๆ ในจังหวัดอุบลราชธานี ในลักษณะที่เป็นการส่งเสริมเพื่อให้ประชาชนทั้งในและนอกจังหวัดอุบลราชธานีได้เข้าถึง "วัด" ผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยในรูปแบบต่างๆ (อ่านเรื่องราว ๓ พระอรหันต์ ณ หนองขอน

เกี่ยวกับ "ธรรม"   ที่ว่าด้วย "ศิลปวัฒนธรรม" และ "โรงเรียนกับธรรม(ชาติ)" ที่เชียงใหม่ เทศบาลนครฯ ได้ดำเนินโครงการ "หอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่" นับได้ว่ามีวิสัยทัศน์ที่สุดยอด เพื่อเป็นแห่งรวบรวมสิ่งล้ำค่าของจังหวัดเชียงใหม่ให้นักท่องเที่ยวได้ชื่นชม นอกจากนั้น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ดำเนินโครงการดีๆ คือ "พิพิธภัณฑ์พระตำหนักดาราภิรมย์"   ทั้งนี้ ที่อุบลฯ หากว่ามหาวิทยาลัยอุบลราชธานีจะได้กรุณาดำเนินการในลักษณะดังกล่าวอันจะเป็นการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ก็น่าจะสามารถดำเนินการได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "อาคารโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช" หลังเก่า (บริเวณศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี เก่า) ซึ่งอาจจะดำเนิการในลักษณะดังนี้



(ต้อง Click อ่านตาม Link นะครับ แล้วจะได้ข้อมูลที่น่าสนใจ) 


สำหรับเรื่องของโรงเรียนกับธรรมชาติ นั้น ที่เชียงใหม่มีโรงเรียนที่น่าสนใจแห่งหนึ่ง โดยโรงเรียนดังกล่าวอยู่ในบริเวณพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ เชียงใหม่ ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ โรงเรียนมีชื่อว่า "โรงเรียนเพื่อชีวิตเชียงใหม่




ดังนั้น หากที่อุบลฯ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จะได้มีโครงการไปช่วยเหลือโรงเรียนเพื่อชีวิตอย่างที่เชียงใหม่ นับว่าจะเป็นการดีอย่างยิ่ง เนื่องจากจะสอดรับกับ "โครงการดีๆๆ ที่เราต้องสนับสนุน" (ต้อง Click อ่านนะครับถึงจะรู้) 

ครับ ที่กล่าวมาตามข้างต้นป็นการนำเสนอในความคิดของผู้เขียนเกี่ยวกับเรื่องของ "Social Enterprise" ณ เชียงใหม่ ภายใต้ ๓ ธ. เพื่อจะได้เป็นแนวทางสำหรับผู้บริหารมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้พิจารณาว่าจะเป็นไปได้หรือไม่ในการดำเนินงานเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมมากที่สุดต่อไปในอนาคต 

อจต.
๑ กันยายน ๒๕๕๗ 


Social Enterprise สิ่งยิ่งใหญ่เพื่อสังคม
ทำได้น่าชื่นชม น่าเหมาะสมกับเมืองไทย

สังคมธรรมชาติ ประเทศชาติต้องสนใจ
ธรรมะต้องเข้าใจ ต้องใส่ใจในโรงเรียน

ส่วนวัฒนธรรม น้อมจดจำเพื่อรู้เรียน
สมัยกาลล่วงเปลี่ยน ต้องหมั่นเพียรรักษาไว้

รักษาพร้อมประสาน อุทยานและป่าไม้
โรงเรียนที่ห่างไกล มีน้ำใจมาช่วยกัน

ทุกอย่างต้องศรัทธา เสริมคุณค่าเชื่อมหากัน
สังคมจะสร้างสรรค์ สัมพันธ์กันอย่างดีเอย