Nuffnang Ads

วันพุธที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

หนองขอน ณ อุบลฯ

วันนี้ วันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๗ เลิกงานเวลา ๑๖.๓๐ น. เลยนั่งคิดอะไรเล่น แล้วลองเขียนออกมา ตามรูปภาพข้างล่างนี้ 

จากรูปภาพข้างบน จะเห็นว่าทุกอย่างล้วนเชื่อมโยงกันอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็น "พุทธศาสนา วิทยาศาสตร์ การศึกษา การสาธารณสุข เทคโนโลยี" 

ทั้งนี้ ในส่วนด้านพุทธศาสนา (ธรรมยุต) รัชกาลที่ ๔ ทรงเคยผนวชและเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร  และสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณยก พระองค์ก็เคยเป็นเจ้าอาวาสวัดดบวรนิเวศวิหารและเป็นเจ้าคณะใหญ่ธรรมยุต  โดยที่ พระอริยสงฆ์สายธรรมยุตที่มีถิ่นกำเนิด ณ ดินแดนนักปราชญ์ราชธานี  อุบลราชธานี ประกอบด้วย พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ พระครูวิเวกพุทธกิจ และ พระครูวินัยธร (ทั้งนี้ อ่านเพิ่มเติเกี่ยวกับพระอริยสงฆ์ ดังกล่าวได้ที่ ๓ พระอรหันต์ ณ หนองขอน 

ส่วนในด้านที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ การศึกษา การสาธารณสุข และเทคโนโลยี นั้น รัชกาลที่ ๔ ซึ่งเป็น "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" อย่างที่เราชาวไทยทราบกันดี  และรัชกาลที่ ๕ ทรงปฏิรูปบ้านเมืองด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการศึกษา ทำให้ประเทศไทยเจริญก้าวหน้า อันนำมาซึ่งที่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชนก ที่ได้ศึกษาเล่าเรียนพัฒนาด้านการสาธารณสุข ซึ่งถือว่าพระองค์ คือ "พระบิดาแห่งการสาธารณสุขไทย" ถือว่าประเทศไทยโชคดีอย่างยิ่งที่มีพระมหากษัตริย์ที่มีพระปรีชาสามารถดั่งองค์รัชกาลที่ ๙ ซึ่งพระองค์ คือ "พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย" ทำให้ประเทศไทยก้าวหน้าในด้านต่างๆ 

ดังนั้น เพื่อการเป็นเชื่อมโยงด้านการศาสนา ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านการศึกษา ด้านการสาธารณสุข และด้านเทคโนโลยี ณ จังหวัดอุบลราชธานี  พื้นที่ "หนองขอน" เป็นพื้นที่ที่น่าสนใจอย่างยิ่งเนื่องกจากในปัจจุบัน วัดไชยมงคล ได้พัฒนาให้มีส่วนพื้นที่ "ศูนย์พุทธธรรมหลวงปู่มั่น" รวมทั้งมีพื้นที่ที่เป็น "อุทยานบึงบัว"  

"โครงการเฉลิมพระเกียรติ" จึงสมควรอย่างยิ่งที่ชาวอุบลราชธานี จะได้ร่วมกันคิดร่วมกันทำนำสิ่งดีๆ ให้เจริญประโยชน์ต่อลูกหลานในอนาคต  ผู้เขียนได้แต่หวังว่า ข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์ (บ้าง) สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นภาครัฐและเอกชน ที่จะร่วมมือร่วมใจกันสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้เกิดขึ้นและคงอยู่ตลอดไป

(สามารถอ่านเพิ่มเกี่ยวกับเรื่องดีเกี่ยวกับหนองขอน ได้ที่ "โครงการ "อุทยานบึงบัวอุบลราชธานี (หนองขอน)"  และเกี่ยวกับ "บัวอุบล => BUA UBON"


อจต.
๙ กรกฎาคม ๒๕๕๗






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น