ช่วงเวลานี้ ต้นเดือนมีนาคมถึงกลางเดือนมีนาคม เป็นช่วงสอบปลายภาคของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ทั้งปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านใดที่อยู่ชั้นปีสุดท้ายของการศึกษาในหลักสูตรนั้น ก็ต้องรอวิชาสุดท้ายของการสอบดังกล่าว เพื่อที่จะตัวเองจะได้เปล่งวาจาว่า “จบ” แล้ว
ดังนั้น ผู้เขียนจึงใคร่ขออนุญาตเขียนเกี่ยวกับเรื่อง “จบ” เฉพาะด้านการศึกษาเท่านั้นนะครับ
จบ เป็นคำสั้นๆ ตัวอักษรเพียงสองตัว คือ จ.จาน และ บ.ใบไม้ บางทีนั่งคิดว่าแล้วจานกับใบไม้มาอยู่ด้วยกันแล้วกลายเป็น “จบ” ได้อย่างไร แต่คิดว่ามันไม่ใช่สาระหรอกครับ แต่สาระสำคัญ คือ “จบ” ในเรื่องการศึกษานั้นเป็นอย่างไร ซึ่งจริงๆ แล้ว การจบการศึกษาในแต่ละระดับล้วนจะต้องไปต่อ (เหมือนกัน The Star) ตัวอย่างเช่น จบจากอนุบาลก็เข้าศึกษาต่อระดับประถมศึกษา จบจากประถมศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษา จบจากระดับมัธยมศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา เป็นต้น ดังนั้น จะเห็นว่าการ “จบ” ล้วนแต่จะมีการต่อเสมอ ต่อเพื่อให้มีความที่ดีขึ้นสูงขึ้น ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม จบดังกล่าวข้างต้นไม่ได้แสดงว่าจบสิ้นหมดไป แต่เป็นการจบเพื่อต่อไปอีก ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนเลยจะขออนุญาตเสนอเพิ่มเติมเกี่ยวกับ “จบ” เป็นบทกลอน ดังนี้
"จบ"
จ = จาก
บ = บวก
จ = จาก
บ = บวก
"จบ" นั้นมีหลายอย่าง จบเป็นทางเพื่อต้องจาก
หากจบจากลำบาก ย่อมจะมากด้วยความสุข
บางจบอาจจะยาก จบต้องจากอย่างสนุก
จบแบบบวกจะสุข ไม่เป็นทุกข์เมื่อต้องจบ
จบแบบเจ็บไม่ดี เพราะจะมีแต่จะหมด
จบจากอย่างหมดจด แล้วจะพบกับสุขเอย
หากจบจากลำบาก ย่อมจะมากด้วยความสุข
บางจบอาจจะยาก จบต้องจากอย่างสนุก
จบแบบบวกจะสุข ไม่เป็นทุกข์เมื่อต้องจบ
จบแบบเจ็บไม่ดี เพราะจะมีแต่จะหมด
จบจากอย่างหมดจด แล้วจะพบกับสุขเอย
ดังนั้น ในชีวิตจริงของพวกเราทุกคน หากเราต้องจบจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง หรือ จบจากเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งแล้ว เราควรจะต้องคิดให้ดีคิดในทางบวกกันมากๆ นะครับ เพื่อเราจะได้ “จบ” อย่างสมบูรณ์ที่สุด
มณูญพงศ์ ศรีวิรัตน์
๑๑ มีนาคาม ๒๕๕๖
มณูญพงศ์ ศรีวิรัตน์
๑๑ มีนาคาม ๒๕๕๖
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น