เมื่อเช้าวันนี้ (๒๕ เมษายน ๒๕๕๔) ได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเข้าร่วมพิธีถวายพานพุ่มเงินพุ่มทองวันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งผู้เขียนคิดว่าเราคนไทยทุกคนทราบกันดีว่าพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อประเทศไทยอย่างมหาศาล และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงนี้มีภาพยนต์เฉลิมพระเกียรติตำนานพระนเรศวร (ภาค ๓) ก็ขอเชิญชวนคนไทยทุกคนไปสนับสนุนภาพยนต์ดังกล่าวนะครับ
ครับ สิ่งที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อ (เท่าที่ ผู้เขียนมีความสามารถคิดได้) วันนี้ คือ พระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำเป็นคุณประโยชน์ที่เราคนไทยทุกคนสามารถจะนำไปปฏิบัติเพื่อเกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม คือ เกี่ยวกับ ๓ อ.
๑. อ. "อดทน" สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงอดทนตั้งแต่ทรงพระเยาว์ทรงใช้ชีวิตในวัยเยาว์ในต่างแดน พระองค์ท่านทรงมีพระปรีชาสามารถอดทนในการเรียนรู้ด้านต่างๆ
๒. อ. "โอบอ้อมอารี" สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงมีความโอบอ้อมอารีต่อทั้งเหล่าทหารกล้าที่รบเคียงบ่าเคียงไหลกับพระองค์ท่าน
๓. อ."อาจหาญ" สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงมีความอาจหาญกล้าหาญอย่างมากในการศึก พระองค์ทรงเป็นผู้นำที่อาจหาญในการออกรบทุกรูปแบบทั้งทางบก ทางน้ำ และยุทธหัตถี
แน่นอนครับ ๓ อ. ดังกล่าว เป็นสิ่งที่เราคนไทยควรจะเรียนรู้ศึกษา หากเราเรียนรู้การอดทนในเรื่องต่างๆ อดทนในสิ่งที่ถูกต้อง อดทนในสิ่งที่คิดว่ายังไม่ถึงเวลา เมื่อไรก็ตามที่เราสามารถฝึกอดทนในเรื่องต่างๆ ได้แล้ว จะเกิดความโอบอ้อมอารีโดยทันทีและอัตโนมัติ (หากท่านไม่เชื่อ ลองทำดูนะครับ)
ความโอบอ้อมอารีทำให้ได้เพื่อนจำนวนมากขึ้น เพื่อนในที่นี้เป็นทั้งเพื่อนร่วมงาน เพื่อนต่างวัย เพื่อนต่างสถานที่ และเพื่อนอื่นๆ (แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อมีเพื่อนก็อย่าให้มีพวกใครพวกมันนะครับ) ความโอบอ้อมอารีทำให้เราเกิดการให้อภัยและการมีเมตตาตามมา (เพราะการมีเมตตาเป็นการฆ่าศัตรู ในโอกาสต่อไป ผู้เขียนจะได้เขียนถึงเรื่อง "เมตตาฆ่าศัตรู")
สำหรับ อ.อาจหาญ เป็นสิ่งที่สำคัญในชีวิตของเราทุกคนที่จะต้องมีความอาจหาญกล้าหาญกระทำหรือตัดสินใจในเรื่องที่เกิดประโยชน์ต่อส่วนร่วม (ไม่ใช่ประโยชน์ส่วนตน) หากเราที่เป็นคุณพ่อคุณแม่ฝึกให้ลูกของเรามีความอดทน ไม่ใช่ลูกอยากได้อะไรเราจะให้เสมอ ฝึกให้เกิดความอดทนในความอยากได้อยากมี หากมีโอกาสก็พาลูกๆ ออกไปฝึก "การให้" ให้ความโอบอ้อมอารีต่อผู้ที่ด้อยกว่าเรา เช่น การไปมอบบริจาคสิ่งของให้กับโรงเรียนอุบลปัญญา (ที่จังหวัดอุบลราชธานี) เป็นต้น สำหรับ "อาจหาญ" เราก็สามารถฝึกให้ลูกได้เช่นกัน คือ ฝึกให้มีความกล้าในการแสดงออกที่เหมาะสมกับตัวเขาเอง ซึ่งบางครั้งคุณพ่อคุณแม่จะต้องเป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องความอาจหาญ ความอาจหาญจะเกิดขึ้นได้จะต้องออกมา "จิต" ที่เข้มแข็ง ผู้เขียนเองเมื่อสักประมาณ ๒๐ ปีที่แล้ว ตอนจะบริจาคครั้งแรกในชีวิต ก็เกิดความกลัวไม่กล้าไม่อาจหาญ แต่ด้วยจิตที่สั่งออกมา บอกว่ามันไม่เจ็บหรอก เข็มขนาดเล็กนิดเดียวทำอะไรเราไม่ได้หรอก ไม่สามารถทำให้เราตายหรอก
ดังนั้น อาจหาญ ผู้เขียนเชื่อว่าเราทุกคนทำได้ เพียงใช้ "จิต" (ไม่ได้ใช้สมองนะครับ) แน่วแน่ว่าจะทำให้ได้ ว่าจะต้องสำเร็จ ว่าจะต้องไปให้ถึง ว่าจะต้องเป็นตามเป้าหมาย เมื่อเป็นอย่างนั้นแล้ว ทุกอย่างจะประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน สำหรับการทำงานก็เช่นเดียวกับ เราจะต้องฝึกความอดทนต่อเพื่อนร่วมงาน เพื่อนร่วมงานกระทำสิ่งใดที่ไม่เป็นที่พอใจของเรา เราก็ฝึกอดทนอดกลั้น (หรือที่เรียกว่า อย่าใช้อารมณ์) ให้ความโอบอ้อมอารีกับเพื่อนร่วมงาน และที่สำคัญ คือ อาจหาญที่จะกระทำในเรื่องที่ถูกต้อง เป็นตัวอย่างที่ดี
กล่าวสำเร็จ ๓ อ. ข้างต้น จริงแล้วอาจจะมีอีกหลาย อ. ที่มีประโยชน์ต่อการเรียนหนังสือ การทำงาน การปฏิบัติหน้าที่ในฐานะต่างๆ ถ้าเป็นสำหรับการเรียนหนังสือ คือ อ. "อ่าน" นักเรียน นักศึกษาจะต้องอ่านให้มากๆ เพราะการอ่านทำให้เรารู้ข้อมูลข้อเท็จจริงสามารถทำสิ่งที่ได้รับจากการอ่านไปประยุกต์ใช้ในเรื่องต่างๆ ได้ สำหรับผู้ที่ทำงานปฏิบัติงานในฐานะต่าง ๆ อ. "ออม" ก็น่าจะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อฐานะของแต่ละคน เพราะทุกท่านจะต้อง "ออม" ทรัพย์เพื่ออนาคตของท่าน ท่านใดมีมากก็ออมมาก ท่านใดมีน้อยก็ออมน้อย แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนคิดว่าเราคนไทยทุกคนควรจะออม คือ การ "ออม" ความดี สะสมความดีกระทำความดีเพื่ออนาคตของเราในชาติภพหน้า ยิ่งออมวันนิดวันหน่อยด้วยความอดทน ความโอบอ้อมอารี และความอาจหาญกล้าหาญ ที่จะออม จะสามารถทำให้เรานั้น มี อ. ตัวสุดท้ายในตอนนี้ได้ คือ "อิ่มเอิบ" มีความสุขในการออมความดี
ครับ สิ่งที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อ (เท่าที่ ผู้เขียนมีความสามารถคิดได้) วันนี้ คือ พระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำเป็นคุณประโยชน์ที่เราคนไทยทุกคนสามารถจะนำไปปฏิบัติเพื่อเกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม คือ เกี่ยวกับ ๓ อ.
๑. อ. "อดทน" สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงอดทนตั้งแต่ทรงพระเยาว์ทรงใช้ชีวิตในวัยเยาว์ในต่างแดน พระองค์ท่านทรงมีพระปรีชาสามารถอดทนในการเรียนรู้ด้านต่างๆ
๒. อ. "โอบอ้อมอารี" สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงมีความโอบอ้อมอารีต่อทั้งเหล่าทหารกล้าที่รบเคียงบ่าเคียงไหลกับพระองค์ท่าน
๓. อ."อาจหาญ" สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงมีความอาจหาญกล้าหาญอย่างมากในการศึก พระองค์ทรงเป็นผู้นำที่อาจหาญในการออกรบทุกรูปแบบทั้งทางบก ทางน้ำ และยุทธหัตถี
แน่นอนครับ ๓ อ. ดังกล่าว เป็นสิ่งที่เราคนไทยควรจะเรียนรู้ศึกษา หากเราเรียนรู้การอดทนในเรื่องต่างๆ อดทนในสิ่งที่ถูกต้อง อดทนในสิ่งที่คิดว่ายังไม่ถึงเวลา เมื่อไรก็ตามที่เราสามารถฝึกอดทนในเรื่องต่างๆ ได้แล้ว จะเกิดความโอบอ้อมอารีโดยทันทีและอัตโนมัติ (หากท่านไม่เชื่อ ลองทำดูนะครับ)
ความโอบอ้อมอารีทำให้ได้เพื่อนจำนวนมากขึ้น เพื่อนในที่นี้เป็นทั้งเพื่อนร่วมงาน เพื่อนต่างวัย เพื่อนต่างสถานที่ และเพื่อนอื่นๆ (แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อมีเพื่อนก็อย่าให้มีพวกใครพวกมันนะครับ) ความโอบอ้อมอารีทำให้เราเกิดการให้อภัยและการมีเมตตาตามมา (เพราะการมีเมตตาเป็นการฆ่าศัตรู ในโอกาสต่อไป ผู้เขียนจะได้เขียนถึงเรื่อง "เมตตาฆ่าศัตรู")
สำหรับ อ.อาจหาญ เป็นสิ่งที่สำคัญในชีวิตของเราทุกคนที่จะต้องมีความอาจหาญกล้าหาญกระทำหรือตัดสินใจในเรื่องที่เกิดประโยชน์ต่อส่วนร่วม (ไม่ใช่ประโยชน์ส่วนตน) หากเราที่เป็นคุณพ่อคุณแม่ฝึกให้ลูกของเรามีความอดทน ไม่ใช่ลูกอยากได้อะไรเราจะให้เสมอ ฝึกให้เกิดความอดทนในความอยากได้อยากมี หากมีโอกาสก็พาลูกๆ ออกไปฝึก "การให้" ให้ความโอบอ้อมอารีต่อผู้ที่ด้อยกว่าเรา เช่น การไปมอบบริจาคสิ่งของให้กับโรงเรียนอุบลปัญญา (ที่จังหวัดอุบลราชธานี) เป็นต้น สำหรับ "อาจหาญ" เราก็สามารถฝึกให้ลูกได้เช่นกัน คือ ฝึกให้มีความกล้าในการแสดงออกที่เหมาะสมกับตัวเขาเอง ซึ่งบางครั้งคุณพ่อคุณแม่จะต้องเป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องความอาจหาญ ความอาจหาญจะเกิดขึ้นได้จะต้องออกมา "จิต" ที่เข้มแข็ง ผู้เขียนเองเมื่อสักประมาณ ๒๐ ปีที่แล้ว ตอนจะบริจาคครั้งแรกในชีวิต ก็เกิดความกลัวไม่กล้าไม่อาจหาญ แต่ด้วยจิตที่สั่งออกมา บอกว่ามันไม่เจ็บหรอก เข็มขนาดเล็กนิดเดียวทำอะไรเราไม่ได้หรอก ไม่สามารถทำให้เราตายหรอก
ดังนั้น อาจหาญ ผู้เขียนเชื่อว่าเราทุกคนทำได้ เพียงใช้ "จิต" (ไม่ได้ใช้สมองนะครับ) แน่วแน่ว่าจะทำให้ได้ ว่าจะต้องสำเร็จ ว่าจะต้องไปให้ถึง ว่าจะต้องเป็นตามเป้าหมาย เมื่อเป็นอย่างนั้นแล้ว ทุกอย่างจะประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน สำหรับการทำงานก็เช่นเดียวกับ เราจะต้องฝึกความอดทนต่อเพื่อนร่วมงาน เพื่อนร่วมงานกระทำสิ่งใดที่ไม่เป็นที่พอใจของเรา เราก็ฝึกอดทนอดกลั้น (หรือที่เรียกว่า อย่าใช้อารมณ์) ให้ความโอบอ้อมอารีกับเพื่อนร่วมงาน และที่สำคัญ คือ อาจหาญที่จะกระทำในเรื่องที่ถูกต้อง เป็นตัวอย่างที่ดี
กล่าวสำเร็จ ๓ อ. ข้างต้น จริงแล้วอาจจะมีอีกหลาย อ. ที่มีประโยชน์ต่อการเรียนหนังสือ การทำงาน การปฏิบัติหน้าที่ในฐานะต่างๆ ถ้าเป็นสำหรับการเรียนหนังสือ คือ อ. "อ่าน" นักเรียน นักศึกษาจะต้องอ่านให้มากๆ เพราะการอ่านทำให้เรารู้ข้อมูลข้อเท็จจริงสามารถทำสิ่งที่ได้รับจากการอ่านไปประยุกต์ใช้ในเรื่องต่างๆ ได้ สำหรับผู้ที่ทำงานปฏิบัติงานในฐานะต่าง ๆ อ. "ออม" ก็น่าจะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อฐานะของแต่ละคน เพราะทุกท่านจะต้อง "ออม" ทรัพย์เพื่ออนาคตของท่าน ท่านใดมีมากก็ออมมาก ท่านใดมีน้อยก็ออมน้อย แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนคิดว่าเราคนไทยทุกคนควรจะออม คือ การ "ออม" ความดี สะสมความดีกระทำความดีเพื่ออนาคตของเราในชาติภพหน้า ยิ่งออมวันนิดวันหน่อยด้วยความอดทน ความโอบอ้อมอารี และความอาจหาญกล้าหาญ ที่จะออม จะสามารถทำให้เรานั้น มี อ. ตัวสุดท้ายในตอนนี้ได้ คือ "อิ่มเอิบ" มีความสุขในการออมความดี