วันอังคารที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เรื่องของน้ำ (ตา)

น้ำนั้นมีประโยชน์มหาศาลต่อมนุษย์เราทั้งอุปโภคและบริโภค น้ำทุกหยดล้วนมีคุณค่าเรา เราควรจะต้องช่วยกันประหยัดในการใช้น้ำ ในร่างกายของเราก็เช่นกันโดยส่วนใหญ่มีส่วนประกอบของน้ำ และที่สำคัญในหนึ่งวันเราควรจะดื่มน้ำให้เป็นประจำอย่างน้อยสองลิตรเพื่อให้ร่างกายสามารถนำน้ำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่

ที่กล่าวมาข้างต้นไม่เห็นจะเกี่ยวข้องกับชื่อเรื่องเลย แต่อย่างน้อยที่สุด ผู้เขียนก็คิดว่ามีส่วนที่เกี่ยวข้องกัน คือ น้ำ (ตา) น้ำตานั้นจะหลั่งออกมาได้หลายกรณี ตัวอย่างเช่น เราดีใจเมื่อสอบเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยเรารู้สึกมีความสุขปลื้มสุดๆ จนมีน้ำไหลออกจากดวงตา นักกีฬาฟุตบอลลงแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์โลกแล้วชนะเลิศ (ดั่งเช่น ทีมฟุตบอลประเทศสเปน กัปตันทีมถึงกับหลั่งน้ำตาขึ้นรับถ้วยฟุตบอลโลก) เราเสียใจเมื่อมีคนรักต้องจากไปสู่ที่ชอบที่ชอบ เราเสียใจเมื่อเรารู้สึกผิดหวังในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

จะเห็นว่า น้ำตาของเรานั้นเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อทั้งเมื่อดีใจและเสียใจ ดีใจมากก็อาจจะเสียน้ำตามาก เสียใจมากก็อาจจะเสียน้ำตามากด้วยเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ หากเรามีเหตุการณ์ใดที่ดีใจมากๆ สุดขีด หรือเสียใจมากสุดๆ แล้วละก็ เราไม่อาจจะกลั้นน้ำตาไม่ให้ไหลออกมาได้ จะด้วยเหตุใดก็ตามแต่ น้ำตาเป็นสิ่งที่เราไม่อาจจะสามารถบังคับได้ หากเราจะต้องประสบกับเหตุการณ์ดีๆ หรือร้ายๆ ซึ่งอาจจะเป็นเพราะเราไม่เคยได้ฝึกให้พบกับสิ่งนั้นๆ

อย่างไรก็ดี ถ้าหากเราได้รู้ได้ทราบได้ฝึกฝนว่า ในโลกนี้ล้วนไม่เที่ยง ไม่แน่นอน ล้วนมีสิ่งที่ดี ล้วนมีสิ่งที่ร้าย นั้นหมายความว่า ทุกสิ่งล้วนไม่อนิจังยั่งยืน เกิดได้ ดับได้ เกิดๆ ดับๆ ด้วยเหตุนี้ เมื่อเราเข้าใจและมีความพยายามฝึกฝนให้จิตของเราได้พบกับสภาพความดีใจสุดๆ เสียใจสุดๆ บางทีสภาพดังกล่าวอาจจะทำให้เราดีใจหรือเสียใจด้วยสภาพที่ปราศจากน้ำตาของความดีใจ น้ำตาของความเสียใจก็ได้ สิ่งที่ว่านั้น จะต้องอาศัย ความอดทนอดกลั้น การเข้าใจสภาพนั้นๆ ให้ได้อย่างลึกซึ้ง ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ ไม่มีอะไรที่คงที่แน่นอน ไม่มีอะไรที่จะอยู่ค้ำฟ้าได้ตลอดไป ไม่มีอะไรที่จะเป็นผู้ชนะตลอดไป ไม่มีอะไรที่จะอยู่กับเราตลอดไป

ความเข้าใจ ความรู้จริง ความอดทน จะสามารถทำให้เรา ไม่ต้องเสียน้ำตากับเหตุการณ์ใดๆ ทั้งเหตุการณ์ดีๆ และเหตุการณ์ร้ายๆ ซึ่งในที่สุด เราก็สามารถประหยัดน้ำตาได้ในที่สุด ด้งนั้น น้ำตาหากเราประหยัดได้ก็คงจะดีเหมือนกัน เราจะไม่เสียน้ำตาให้กับเรื่องที่ไร้สาระ เรื่องที่ทำให้เราผิดหวัง (เพราะผิดหวัง เราก็สามารถเริ่มต้นใหม่ได้ ไม่มีคำว่า สาย สำหรับความเป็นคนของเรา) ความเสียใจผิดหวังเป็นสิ่งหนึ่งที่เราควรจะไม่ต้องเสียน้ำตาให้กับมัน เราควรจะประหยัดน้ำตาให้กับความเสียใจและความผิดหวัง แต่สิ่งที่เราควรจะทำ คือ ตั้งหน้า ตั้งตา ตั้งใจ ลงมือทำให้สิ่งที่ดีๆ สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งส่วนตัวและส่วนรวม เมื่อทำได้อย่างนั้นแล้ว ความเสียใจความผิดหวังก็จะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน

อย่างไรก็ดี บางครั้งเราก็ไม่อาจจะกลั้นน้ำตาได้เมื่อเราปลื้มดีใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เรารัก และทำให้เรามีความสุข ซึ่งผู้เขียนคิดว่าคนไทยทุกคนเมื่อได้เห็นได้ชมพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เราคนไทยทุกคนต่างมีความสุขที่ได้เห็น ได้ทราบ ได้เทิดทูนพระองค์ท่าน ดังนั้น น้ำตาของเราคนไทยทุกคนจะไหลออกมาทุกครั้งอย่างมีความสุข ที่เราคนไทยทั้งหลายได้แสดงความจงรักภักดีร่วมกัน น้ำตาแบบนี้เราไม่ควรที่จะประหยัดให้มันหลั่งออกมาได้เลย น้ำตาดังกล่าวเป็นสิ่งบ่งบอกความจงรักภักดี ความรักสถาบันพระมหากษัตริย์ ความรักชาติไทยของเรา ผู้เขียนเองก็เช่นกันทุกครั้งที่ได้เห็นพระองค์ท่านในทีวี หรือ ได้ยินเสียงเพลงสรรเสริญพระบารมีน้ำตาจะไหลออกมาอย่างทันที ซึ่งบอกไม่ถูกเหมือนกันว่าเป็นเพราะอะไร ที่แน่ๆ คือ มีความรู้สึกว่าอยากจะให้พระองค์ท่านทรงพระเกษมสำราญ มีพระพลามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง ทรงพระเจริญตลอดไปยิ่งยืนนานเท่านาน

มนูญ ศรีวิรัตน์

วันจันทร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ตื่น (เพื่อไม่ตาย)

โดยความจริงหลายๆ ท่านเวลานอนอาจจะฝัน หรือ อาจจะไม่ฝัน ถ้าหากฝันแล้วอาจจะจำได้หรือไม่ได้ก็ขึ้นแต่ละท่าน ทั้งนี้ หลายๆ ครั้งเป็นการฝันดี หลายๆ ครั้งเป็นการฝันร้าย ซึ่งคนทั่วๆ ไป มักจะกล่าวว่า ถ้าหากฝันร้ายจะกลายเป็นดี เชื่อว่าทุกท่านในครั้งหนึ่งของชีวิตจะต้องเคยฝันอย่างแน่นอน เพียงแต่ท่านอาจจะจำไม่ได้ บางเรื่องท่านอาจจะเคยฝันซ้ำๆ กันหลายครั้ง หลายๆ ท่านอาจจะเคยฝันว่าสอบตกตอนประถม หรือมัธยม หลายๆ ท่านอาจจะเคยฝันว่าได้ออกรบเป็นทหาร หลายๆ ท่านอาจจะเคยฝันว่าได้กินอาหารที่อร่อย ได้สวมใส่เสื้อสวยๆ งามๆ และเึคยฝันอื่นๆ มีมากมาย

เกี่ยวกับเรื่องของความฝันนั้น มีภาพยนต์เรื่องหนึ่งที่เป็นของอเมริกา ชื่อเรื่องว่า Inception หรือ จิตพิฆาตโลก หลายๆ ท่านอาจจะได้ดูเรียบร้อยแล้ว สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจในภาพยนต์ดังกล่าว คือ เมื่อไรก็ตามที่มีความฝัน แล้วในฝันนั้นปรากฏว่า ตกจากที่สูง ตกน้ำ หรือ ตาย ผู้ที่ฝันก็มักจะตื่นขึ้นมาจากความฝัน นั่นเป็นเรื่องของภาพยนต์ แต่ในปกติโลกความจริงของมนุษย์เรานั้น ปรากฎว่า เวลาเราฝันดีๆ เรามักอยากจะตื่นจากการนอน จากการฝันดีดังกล่าว หลายๆ ครั้ง ที่เวลาฝันผู้คนมักจะตีความ ความฝันดังกล่าว เพื่อนำไปเสี่ยงโชค บางท่านก็อาจจะเคยได้รับโชคจากการตีความฝัน แต่สำหรับวันนี้ ผู้เขียนไม่ได้ตั้งใจเขียนเกี่ยวกับความฝันนะครับ แต่ต้องการจะสื่อให้เห็นเกี่ยวกับ การตื่น ตื่นที่ว่านั้น แน่นอนจะต้องเกิดจากการนอนหลับ

ผู้เขียนตอนเด็กๆ ก็เคยฝันร้ายเหมือนกัน ที่จำได้ คือ เวลาที่เป็นไข้ แล้วนอนหลับมักจะฝันว่าตนเองกำลังตกไปในหลุมใหญ่ๆ มืดๆ เกิดความกลัวเป็นอย่างมาก จนจะต้องตื่นนอน โดยอาการหลังจากตื่น คือ ร้องให้ด้วยความตกใจ นั้น เป็นประสบการณ์เกี่ยวกับความฝัน และตื่นจากความฝันด้วยความกลัว เกี่ยวกับความฝันนั้น ผู้เขียนนั้นเวลานอนฝันเกือบทุกคืนเป็นส่วนมาก เคยนึกไม่เหมือนกันว่าเราผิดปกติหรือไม่ แต่หลังจากที่ได้มีภาพยนต์เรื่อง Inception แล้วก็คิดว่า การฝันน่าจะเป็นเรื่องปกติ และถ้าหากจิตของเราสามารถที่จะฝันและทำอะไรได้เหมือนในภาพยนต์ก็คงจะดี

ที่นี้เรามากล่าวถึง การตื่นจากฝันดีกว่า เพราะเพื่อไม่ได้ตัวเองตกจากที่สูง หรือได้รับอันตรายใดๆ ในฝัน เราก็มัักจะตื่นขึ้นมานั้นเอง ซึ่งการตื่นดังกล่าวก็เพื่อไม่ไห้ตาย (ในฝัน) การตื่นเป็นเรื่องที่สำคัญของมนุษย์เราทุกท่านเพราะเมื่อเราตื่นอยู่ตลอดเวลานั้น จะทำให้เรามีสติ ตื่นรู้ ตื่นเห็น ว่าเราำกำลังทำอะไรอยู่ ถ้าเป็นผู้ที่ตืนอยู่ตลอดเวลานั้น เป็นเรื่องที่ดีมากๆ เพราะทำให้เรารู้ทราบ มีสติในเรื่องต่างๆ ที่เราปฏิบัติหรือกระทำอยู่ โดยที่การตื่นดังล่าวจะทำให้เราไม่มีโอกาสตายได้ ที่เป็นอย่างนั้น ก็เพราะว่า เมื่อเราตื่น เราก็มีสติ เราเกิดปัญญาในการไตร่ตรองการกระทำที่เกิดขึ้น

ดังนั้น ถ้าหากทุกคน ตื่น เราก็จะไม่ตาย ทั้งความฝันและความเป็นจริง แต่การตื่นดังกล่าวจะต้องปฏิบัติให้เป็นการตื่นอยู่ตลอดเวลา โดยตื่นที่ว่า คือ การตื่นตัว ในการเรียน ในการทำงาน ในการปฏิบัติงาน ในการเป็นดนดี เมื่อเป็นเช่นนั้นได้แล้ว การตื่นดังกล่าว ก็เพื่อไม่ตาย และเราก็จะมีแต่ความเจริญก้าวหน้าในเรื่องต่างๆ นั้นเ้อง

มนูญ ศรีวิรัตน์

วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ยิ่งแข่งก็ยิ่งแพ้

การแข่งขันใดๆ ผลการแข่งขันที่จะเกิดขึ้นนั้นมีได้สามอย่าง คือ แพ้ ชนะ หรือ เสมอ การแข่งขันไม่ว่าจะเป็นกีฬา หรือ แข่งขันอย่างอื่นๆ จะต้องมีกติกาสำหรับใช้เพื่อให้ผู้เข้าร่วมแข่งขันได้ทราบข้อปฏิบัติข้อบังคับร่วมกัน เพราะถ้าหากผู้เข้าร่วมแข่งขันฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งกระทำผิดกติกา ย่อมจะกระทบต่อผลการแข่งขันที่จะเกิดขึ้น การแข่งขัน ถ้าหากผู้เข้าร่วมแข่งขันยิ่งแข่งยิ่งเป็นผู้ชนะย่อมจะมีความสุขในผลการแข่งขันดังกล่าว แต่กล่าวสำหรับผู้แพ้แล้วนั้นเมื่อยิ่งแข่งมากเท่าใดมีแต่เป็นผู้แพ้ก็ย่อมจะมีความรู้สึกที่ไม่ดี ไม่มีความสุข ไม่อยากจะลงแข่งขันอีกต่อไป

ที่กล่าวมาข้างต้นนั้นเป็นการแข่งขันกีฬา แต่สำหรับชีวิตจริงในการทำงานในการปฏิบัติงาน ถ้ามีการแข่งขันกันก็อาจจะมีผลเช่นกันกับการแข่งขันกีฬา ตัวอย่างเช่น มหาวิทยาลัยในประเทศไทยต่างแข่งขันกันในเรื่องคุณภาพการศึกษา โดยมีคณะกรรมการมาประเมินผลการดำเนินงาน ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวไม่สามารถไปประเมินได้ทุกมหาวิทยาลัยเนื่องจากจำนวนมหาวิทยาลัยนั้นมีจำนวนมากมายเหลือเกิน ด้วยเหตุนี้ คณะกรรมการประเมินจะต้องมีเข้ารับการอบรมภายใต้กฎเกณฑ์ที่เหมือนกันมาตรฐานเดียวกัน อันจะทำให้การประเมินนั้นมีความยุติธรรมมาตรฐานที่เดียวกันใกล้เคียงกัน เพื่อทำให้ผลการประเมินเกิดการยอมรับ

ในโลกของความเป็นจริงมีการแข่งขันกันมากมาย กล่าวเช่น การแข่งขันทางธุรกิจ การแข่งขันในเรื่องคุณภาพการศึกษา และนอกจากนั้น ยังมีการแข่งขันในการทำงาน การแข่งขันกันในองค์กรหน่วยงาน กล่าวคือ ถ้าหากในองค์กรใดพนักงานต่างแข่งกันแต่งตัว แข่งกันแต่งหน้า แข่งกันอวดร่ำอวดรวยใช้ในสิ่งที่ของอุปกรณ์ที่ฟุ่มเฟือย ไม่มีเงินก็ไปกู้ยืมเพื่อได้มาซึ่งที่ต้องการนำไปแข่งกันคนอื่นๆ จะเห็นว่าการแข่งดังกล่าว ยิ่งแข่งยิ่งมีแต่ผู้แพ้ ไม่มีผู้ชนะเกิดขึ้น การแข่งดังกล่าวก็มักจะเกิดความอิจฉาริษยา เกิดความโกรธ เกิดความทุกข์เห็นคนอื่นๆ เด่นเกินหน้าเกินตาเราไม่ได้

ซึ่งจริงๆ แล้วเราสามารถเห็นการแข่งขันดังกล่าวได้ในชีวิตประจำวันอีกมากมาย เช่น นักศึกษาหญิงในมหาวิทยาลัยต่างแข่งขันกันแต่งตัวโดยเฉพาะในสมัยนี้ใครสวมใส่กระโปรงยิ่งสั้นยิ่งจะรู้สึกว่าตัวเองนั้นสวยเป็นที่สนใจของคนอื่นๆ หรือ นักเรียนนักศึกษาต่างแข่งกันในการมีเครื่องโทรศัพท์รุ่นใหม่ๆ หรือ ชีวิตของข้าราชการหลายๆ ท่านต่างแข่งกันมีรถยนต์รุ่นใหม่ๆ หากใครไม่มีก็กู้ยืมผ่านสหกรณ์หรือธนาคาร เป็นต้น

โดยข้อเท็จจริงที่เราเห็นหรือทราบกันอยู่ในปัจจุบันนั้น การที่ยิ่งแข่งกันในการใช้ของฟุ่มเฟือยหรือสิ่งของที่ไม่ก่อประโยชน์ที่คุ้มค่า จะเป็นการแข่งขันที่ ยิ่งแข่งยิ่งมีแต่ผู้แพ้ ซึ่งหมายความว่า เราใช้เงินใช้ทองใช้ทรัพย์สมบัติที่เรามีอยู่หรือไปกู้ยืมมานั้นไม่สมเหตุสมผลไม่เหมาะสมไม่ถูกไม่ควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักศึกษาในมหาวิทยาลัยซึ่งบางคนก็ทำการกู้ยืมเงินเรียน (ที่เรียกว่า กยศ.) ยิ่งกู้ยืมเงินเรียน และยิ่งขอเงินคุณพ่อคุณแม่มาใช้ในทางที่ไม่ถูกไม่ควร ซึ่งคุณพ่อคุณแม่บางท่านก็อาจจะไปทำการกู้ยืมเงินมาให้ลูกๆ เพื่อแข่งขันกันในการใช้จ่ายที่ไม่เหมาะสมหรือซื้อสิ่งของที่ไม่คุ้มค่า

ในทางตรงกันข้าม ถ้าหากนักเรียนนักศึกษาเหล่านั้นมาร่วมกันแข่งประหยัดในเรื่องการแต่งตัว การใช้สิ่งของที่ไม่เหมาะไม่ควรสำหรับชีวิตนักเรียนนักศึกษา หรือ เรื่องอื่นๆ แล้วก็ จะสามารถทำให้ การแข่งดังกล่าว กลายเป็น ยิ่งแข่ง ยิ่งแต่มีผู้ที่ชนะ เป็นผู้ที่ชนะทุกคนทั้งคุณพ่อคุณแม่ ทั้งตัวเราเอง ทั้งเพื่อนๆ ที่รอบข้างตัวเรา

การแข่งขันอีกประเภทหนึ่ง ที่ไม่สามารถมองเป็นรูปธรรมได้ คือ การแข่งกันมีอำนาจ เพราะอำนาจเป็นสิ่งที่ทำให้คนๆ นั้นสามารถจะดลบันดาลสิ่งที่ต้องการได้หลายๆ เรื่อง บางเรื่องอาจจะไม่ถูกไม่ควรก็ได้ ยิ่งแข่งกันมีอำนาจก็ยิ่งจะเกิดการแย่งกันมาก เนื่องจากอำนาจมีจำนวนไม่มาก ในหน่วยงานใดๆ ผู้อำนาจสูงสุดในหน่วยงานองค์กรนั้นสามารถที่จะได้รับการนับถือ ได้รับเอาอกเอาใจจากผู้ใต้บังคับบัญชา เพราะถ้าหากกระทำในสิ่งที่ไม่เป็นที่พอใจของผู้มีอำนาจแล้ว ผู้นั้นอาจจะเดือดร้อนก็ได้

ดังนั้น ยิ่งแข่งกันมีอำนาจ ยิ่งมีแต่แพ้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการแข่งกันมีอำนาจด้วยวิธีการที่ไม่ถูกต้อง วิธีการที่ใช้พลังเกินขอบเขตเกินกติกาที่กำหนดไว้ ผลที่เกิดขึ้นย่อมมีแต่แพ้ ถึงแม้จะเป็นผู้ชนะที่มีอำนาจ แต่ก็เป็นผู้แพ้ในสัจธรรมความจริง เป็นผู้ชนะที่ไม่ยั่งยืน

แต่อย่างไรก็ดี ยิ่งมีสิ่งหนึ่งที่ยิ่งแข่งยิ่งไม่มีทางแพ้ คือ การแข่งกันทำความดี ยิ่งแข่งกันทำความดี ยิ่งจะเกิดสิ่งที่ดีๆ ต่อคนรอบข้างต่อครอบครัวต่อองค์กรหน่วยงาน และประเทศชาติของเราในที่สุด ซึ่งก็จะเป็นการ ยิ่งแข่งยิ่งชนะ และเป็นการชนะที่ยั่งยืนตลอดไป

มนูญ ศรีวิรัตน์

วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

อิ่มใจ

วันก่อนเมื่อวันจันทร์ที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วมการประชุมสัมมนาเรื่อง บทบาทของกรรมการสภามหาวิทยาลัยต่อการปฎิรูปอุดมศึกษาไทย ณ ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ กรุงเทพฯ โดยองค์ปราฐก ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ท่านได้กล่าวคำหนึ่งที่ประจำใจ คือ คำว่า อิ่มใจ
เมื่อผู้เขียนได้ฟังแล้วมีความรู้สึกว่าจะต้องแสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้เพื่อให้ท่านผู้รู้ทั้งหลายได้ช่วยกันขยายความและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันให้ได้

ครับ แน่นอนเราคนไทยทุกคนไม่ว่าจะเป็นเด็กเล็ก เด็กโต ผู้ใหญ่ คนแก่คนเฒ่าชรา ล้วนจะต้องมีความรู้สึกอย่างยิ่งในทุกๆ วัน ทุกๆ ช่วงของเวลา นั่นคือ ความหิว และเมื่อเราหิวเราก็จะบรรเทาความหิวใครมีทรัพย์มากก็ได้รับประทานอาหารที่ดีๆ จำนวนมากๆ ใครที่มีกำลังทรัพย์น้อยก็ได้รับประทานอาหารที่มีจำนวนน้อยตามสัดส่วนของทรัพย์ที่มีอยู่ แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกคนได้รับหลังจากการรับประทานอาหาร คือ ความอิ่ม หรือ อิ่มข้าว เมื่อเราอิ่มไม่ว่าจะยากดีมีจนหรือร่ำรวยมหาศาลเพียงใด เราก็ไม่สามารถที่จะรับประทานอาหารได้อีก (แต่ก็อาจจะมีบางคนที่เราเคยได้ยิน คือ ชูชก เท่านั้น ที่อิ่มแล้วยังกินจนตัวเองท้องแตกตายในที่สุด)

อิ่มที่ได้เกริ่นนำตามข้างต้นนั้น เป็นอิ่มใจ น่าจะเป็นความรู้สึกที่ว่า เมื่อเราทำอะไรลงไปแล้วตัวตนของเรา จิตใจของเรามีความรู้ว่า มันเป็นการกระทำที่มีความสุขเหลือเกิน ถ้ามีโอกาสก็ยังมีความอยากที่จะกระทำเรื่องดังกล่าวอีกสักครั้ง ตัวอย่างเช่น ผู้ชายคนหนึ่งเขาเดินเข้าไปที่โรงพยาบาลเพื่อบริจาคโลหิตโดยไม่ได้คิดอะไรมากมาย มีความรู้สึกเพียงแต่ว่า การบริจาคโลหิตเป็นการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ผู้ที่เจ็บไข้ได้ป่วย แต่วันนั้นเป็นวันที่พิเศษมากเพราะเนื่องจากมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นและมีผู้ที่ต้องการโลหิตของเขาซึ่งเป็นกรุ๊บเลือดที่หายาก ปรากฏว่าผู้ที่ประสบอุบัติเหตุนั้นรอดชีวิตจากการบริจาคโลหิตดังกล่าว ทำให้ผู้ชายคนนั้นมีความรู้สึกที่มีความสุข มีความรู้สึกอิ่มใจเป็นอย่างมาก

อิ่มใจ ความอิ่มใจ จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเราทำอะไรลงไปโดยไม่ได้หวังผลตอบแทน และผลการกระทำดังกล่าวนั้นทำให้เกิดประโยชน์ต่อผู้คนทั้งใกล้ชิดรอบข้างหรือผู้คนอื่นๆ โดยการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่บริสุทธิ์ใจเป็นที่ตั้ง ซึ่งถ้าหากในครอบครัวของเราต่างคนต่างต้องการให้มีความอิ่มใจเกิดขึ้น องค์กรของเราต้องการให้ทุกคนมีความอิ่มใจเกิดขึ้นมากๆ ถึงแม้ว่าเราจะอิ่มแล้ว แต่ก็ยังอยากจะกระทำต่อไป ไม่เหมือนกันกับการอิ่มข้าว ที่สามารถรับประทานต่อได้อีก ด้วยเหตุนี้ อิ่มใจ เป็นสิ่งที่เราทุกคนควรจะทำให้เกิดขึ้นและถึงแม้อิ่มใจแล้ว ก็ยังจะสามารถอิ่มได้อีกไม่มีวันเบื่อไม่มีสิ้นสุดลงได้

ถ้าหากเป็นเช่นนั้นแล้ว เราทุกคนในสังคมทุกสังคมเรามาช่วยกันหิวในการสร้างกระทำความดีด้วยความบริสุทธิ์ใจเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนร่วมโดยที่เราไม่หวังผลใดๆ ทั้งสิ้น และเชื่อได้เลยว่าหากที่ใดสังคมใด เกิดความอิ่มใจมากๆ แล้ว สังคมนั้นจะมีแต่ความสุขและเป็นความสุขที่เรานั้นต้องการจะเกิดความหิวต่อไปอีก เพื่อให้สามารถอิ่มใจอย่างไม่มีวันจบสิ้น ก็ขอให้ทุกท่านได้มาลองหิวเพื่ออิ่มใจตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
มนูญ ศรีวิรัตน์

เรื่องของผม

เรื่องของผม เป็นเรื่องที่สูงที่สุดของมนุษย์เรา เพราะร่างกายของเราส่วนที่อยู่บนสุดเหนือสุด คือ ผม
อันผมนี้แหละครับที่เป็นสิ่งที่เราทุกคนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ตั้งแต่เด็กแรกเกิดเราก็มีพิธีโกนผมไฟ (ซึ่งรายละเอียดผู้เขียนก็ไม่สามารถรู้เหมือนกันว่า เขาโกนผมไฟ ไปเพื่ออะไร) พอเราเข้าโรงเรียนประถมมัธยมต่างก็มีกติกาว่าจะต้องตัดผมทรงนักเรียน นักเรียนทุกคนก็จะต้องทำตามที่กติการะเบียบของโรงเรียนต่างๆ ที่วางไว้ ซึ่งอาจจะมีนักเรียนมากบคนที่มีความรู้ว่าอยากจะแหกกฎเกณฑ์ดังกล่าว อาจจะมีความรู้สึกเพราะว่าต้องการที่จะเป็นผู้ใหญที่ไว้ทรงผมอะไรก็ได้ และหลังจากจบมัยธมเข้าสู่วันอุดมศึกษาที่นี้นักศึกษาทุกคนมีความอิสระที่ไว้ทรงผมอะไรก็ได้ที่ไม่ทำให้คนอื่นๆ เขาเดือดร้อน บางคนก็ยาวมากๆ บางคนก็ไว้ทรงผมแปลกๆ เพื่อสร้างจุดเด่นให้กับตัวเอง



ดังนั้น จะเห็นว่าเรื่องของผมนั้นมีหลายหลากมากมาย ทั้งการบำรุงรักษา ทั้งการออกแบบทรงผม ทั้งการทำอย่างไงที่จะทำให้ผมอยู่กับตัวของเรานานๆ ดกดำเส้นผมไม่หงอกบาง เป็นต้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคนเรานั้นให้ความสนใจและใส่ใจเรื่องของผมเป็นอย่างมาก



แต่เรื่องผม ที่กล่าวไว้ข้างต้น กับเรื่องของผมต่อไปนี้ เป็นคนละเรื่องที่กล่าวมาข้างต้น เรื่องของผมในที่นี้ คือ เรื่องของผม ที่หมายถึง การที่ผู้ชายคนหนึ่งทำงานในองค์กรหน่วยงานใดๆ ก็ตามแต่ การทำงานของเขา เขาไม่ได้สนใจกฎข้อบังคับ ระเบียบแบบแผนที่กำหนดไว้ให้ปฏิบัติ เขามักจะทำงานตามใจของตัวเองเป็นส่วนใหญ่ เขามักจะเอาตัวเองเป็นที่ตั้ง คนอื่นๆ ทำอะไรจะผิดไปหมด แต่สำหรับตัวเขานั้นเขามีความรู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้องและทุกคนจะต้องทำตาม และที่สำคัญคือ ทุกครั้งเขามักบอกผู้คนที่ทำงานร่วมว่า เป็นเรื่องของผม นั้นหมายว่า เรื่องของผมดังกล่าว เป็นสิ่งที่เพื่อนร่วมงานอาจจะมีความรู้สึกไม่ดีต่อการทำงานร่วมกันได้ เพราะการทำงานเราไม่สามารถทำงานเพียงลำพังคนเดียว เราจะต้องทำงานภายใต้กฎกติกาขังคับ ระเบียบ กฎหมาย ที่ทุกคนได้เห็นชอบร่วมกัน ซึ่งจะทำให้การทำงานนั้นสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยความถูกต้องมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อองค์กรมากที่สุด



ถ้าหากสุภาพบุรุษทุกคนสามารถที่จะไม่สนใจเรื่องของผมลงไปได้ เพราะผมมันก็เป็นเพียงสิ่งหนึ่งที่เป็นส่วนประกอบที่ปกคลุมศรีษะไม่ได้ได้รับความร้อนจากแสงแดดมากเท่านั้น เราจะหลบเลี่ยงแสงแดดด้วยวิธีการอื่นๆ ก็ได้ และที่สำคัญถ้าหากว่าท่านสุภาพบุรุษไม่สนใจทำแต่ในเรื่องผมจนมากมายในการทำงาน ไม่ปฏิบัติงานในลักษณะเป็นเรื่องของผม แล้วการทำงานต่างๆ ในหน่วยงานจะได้รับความร่วมมือกับเพื่อนร่วมงานเป็นอย่างมาก



ดังนั้น เราอย่าให้เกิดเรื่องของผม ในองค์กร หน่วยงานต่างๆ นะครับ เพราะเมื่อไรก็ตาม เรื่องของผม เกิดขึ้นกับสุภาพสตรีในองคกร หน่วยงานแล้วละก็ จะเกิดความโกลาหลเป็นอย่างมาก เพราะผมของสุภาพสตรีนั้นยาวมากๆ และยุ่งมากๆ และถ้าหากเราไม่ต้องการให้เกิดเรื่องของผม เราก็พยายามอย่าไปสนใจผมให้มาก ตัดมันทิ้งไปบ้าง ตัดมันให้สั้นๆ มันจะเป็นทรงไหนก็แล้วแต่มัน เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว เรื่องของผมจะไม่เกิดขึ้น และเราก็จะทำงานร่วมกันภายใต้กฎกติา ระเบียนแบบแผนที่กำหนดไว้ และจะทำให้เราทุกคนมีความสุขในการทำงาน
มนูญ ศรีวิรัตน์

ไม่ถึงเวลาก็ไม่ควร จะได้ จะมี จะเป็น

ในการทำงานใดๆ ก็ตามแต่ปัจจัยเรื่องของเวลาเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะเวลาเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าการทำงานใดๆ นั้นจะสำเร็จตามเวลาที่กำหนดหรือไม่ เวลาสิ่งที่ถูกสมมติขึ้นมาว่าให้มีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด และเมื่อเรานำช่วงที่แตกต่างช่วงที่ห่างระหว่างจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดในการทำงานเราก็จะทราบว่าเราใช้เวลาไปเป็นจำนวนเท่าไร เวลาเป็นสิ่งที่ทำให้เราจะต้องทำในสิ่งต่างๆ เช่น การกำหนดเวลาตื่นนอน การกำหนดเวลาเข้านอน การกำหนดเวลาเข้าเรียนในรายวิชาต่างๆ เป็นต้น ซึ่งการกำหนดเวลาดังกล่าวนั้นเป็นการกำหนดในแต่ละวัน แต่ถ้าหากเรากำหนดช่วงที่ยาวมากยิ่งขึ้น ก็จะกลายเป็นเวลาช่วงสัปดาห์ ช่วงเวลาเป็นเดือน ช่วงเวลาเป็นไตรมาส ช่วงเวลาเป็นปี ช่วงเวลาเป็นทศวรรษ ช่วงเวลาเป็นศัตวรรษ หรือมากกว่ากว่าก็แล้วแต่การกำหนดสมมติขึ้นมา
อย่างไรก็ดี เกี่ยวกับเวลานั้น ก็มีเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับการไม่ถึงเวลาที่กำหนด เราจะไม่สามารถทำอะไรได้เลย และถ้าหากกระทำลงไปก็จะเป็นการผิดกติกา ผิดกฎที่มีการตั้งไว้ ตัวอย่างเช่น การแข่งขันวิ่งระยะต่างๆ ที่กรรมการผู้ตัดสินจะกำหนดให้เตรียมพร้อมเพื่อออกตัว ซึ่งจะมีการกำหนดให้ออกวิ่งพร้อมๆ กัน ถ้าหากนักกีฬาคนใดออกตัวก่อนก็จะเป็นผู้กระทำผิดกติกาและจะต้องถูกลงโทษตามที่กำหนดไว้ นอกจากการแข่งขันกีฬาประเภทต่างๆ ที่กำหนดผลแพ้ชนะเกี่ยวกับการใช้เวลาแล้ว ยังมีอีกหลายประการที่เกี่ยวข้องกับการไม่ถึงเวลาที่กำหนด เราลงมือกระทำหรือปฏิบัติก่อน จะเป็นการที่ไม่สมควรและไม่เหมาะสม

จากที่ยกตัวอย่างที่ผ่านมา เราจะเห็นว่า ถ้ายังไม่ถึงเวลาที่เหมาะที่ควรแล้ว การกระทำของเราไม่เหมาะสมอย่างแน่นอน เพราะมันเป็นธรรมชาติ กติกา ประเพณี ธรรมเนียมปฏิบัติที่ได้กำหนดไว้แล้ว ซึ่งถ้าหากเราลงมือกระทำไปก่อนก็อาจจะเกิดความเสียหายเกิดขึ้นไม่มากก็น้อย และที่สำคัญ คือ งานบางอย่าง หน้าที่บางอย่าง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้เวลามาเกี่ยวข้อง เวลาดังกล่าว มักจะถูกเรียกว่า ประสบการณ์ นั่นเอง ด้วยเหตุนี้ เราจะเห็นว่างานหลายๆ อย่างหลายประเภทจำเป็นจะต้องใช้ผู้มีประสบการณ์มาก่อน ซึ่งเราจะเรียกว่า ไม่ถึงเวลาก็ไม่ควรจะเป็น
มีหลายสิ่งหลายอย่างที่เราอาจจะต้องการอยากได้อยากมีอยากเป็นก่อนเวลาอันควรและก่อนเวลาที่เหมาะสม ซึ่งจะทำให้เราเกิดความทุกข์เกิดกิเลสเกิดความอยากอันเป็นสิ่งที่ไม่ดีเลย เวลาที่เราไม่ได้ในสิ่งดังกล่าวแล้ว ย่อมทำให้เรามีความรู้สึกว่าเราต้องทำให้ได้ เราต้องมีให้ได้ เราต้องเป็นให้ได้ แต่ท่านเชื่อหรือไม่ว่า การอยากได้ อยากเป็น อยากมี ก่อนเวลาที่ควรจะเป็นนั้น ล้วนทำให้เกิดความไม่เหมาะสมตามมาเช่นกัน ดังตัวอย่างเช่น เด็กชั้นประถมมีความต้องการได้จะได้ใช้โทรศัพท์รุ่นใหม่ที่ทันสมัย เด็กมหาวิทยาลัยต้องการจะมีครอบครัวต้องการจะมีคู่ครองก่อนเวลาอันควร อาจารย์มหาวิทยาลัยที่พึ่งสำเร็จการศึกษามาใหม่ต้องการเป็นผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัย เป็นต้น
ดังนั้น การจะได้ จะมี จะเป็น เมื่อยังไม่ถึงเวลาที่เหมาะสมกับสถานการณ์ของตัวเราหรือคุณสมบัติของตัวเรา ก็อาจจะทำให้การได้ การมี การเป็น ในเรื่องใดๆ นั้นก็ย่อมไม่เหมาะสมไม่ถูกต้องไปด้วย ด้วยเหตุนี้ ตัวเราเองก็ควรจะต้องประเมินตัวเองว่าเวลาขณะนั้นเราสถานภาพอย่างไร มีคุณสมบัติอย่างไร เพียงพอที่จะได้ จะมี จะเป็น หรือไม่ ซึ่งถ้าหากเป็นเวลาที่เหมาะสมตัวเราแล้ว การได้ การมี การเป็น ก็จะเหมาะสมไปด้วยมนูญ ศรีวิรัตน์

วันศุกร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

อตด. (เอาแต่ได้)

คำย่อโดยส่วนมากมักจะมีเพียง 3 ตัวอักษร ผู้เขียนก็ไม่รู้ว่าเป็นเพราะอะไรกัน เนื่องจากที่เห็นและได้ยินอักษรย่อที่ใช้เรียกแทนก็มักจะพบเห็นเป็น 3 ตัว เช่น BBC CNN NEC JVC KFC KTB JBP BMW ภาษาไทยก็อาจจะเป็น กกต. ศอฉ. สกอ. กพร. สมศ. และอื่นๆ อีกมากมาย

แล้วเกี่ยวอะไรกันกับเรื่อง อตด. (เอาแต่ได้)


เอาแต่ได้ เป็นเรื่องทีเรามักจะได้ยินในกรณีสำหรับเรื่องที่ไม่ดี มีแต่แง่ลบ เพื่อให้เห็นภาพหรือมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ขออนุญาตนำเสนอ เรื่องต่อไปนี้


เรื่องก็มีอยู่ว่าในห้องเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 แห่งหนึ่ง ห้องเรียนดังกล่าวมักจะถึงเรียกว่า ห้องคิง เป็นห้องสำหรับเด็กเรียนเก่งมาอยู่เรียนร่วมกัน ในห้องนี้มีนักเรียนหลายคนที่สนใจแต่เรื่องเรียนที่โรงเรียน และเรียนพิเศษทั้งตอนเย็นเลิกเรียน และวันเสาร์ วันอาทิตย์ สรุปง่ายๆ คือ ไม่มีเวลาทำกิจกรรมอย่างอื่นเลย นอกจากเรียน และห้องเรียนนี้ มีนักเรียนคนหนึ่งที่ไม่สนใจเพื่อนๆ เลย วันๆ นอกจากเวลาเรียนในชั่วโมงแล้วเขาอ่านแต่หนังสือ เวลาที่เพื่อนรู้อะไรเขาก็ต้องถามเพื่อนเพื่อให้ตัวเองรู้ ในทางตรงกันข้ามเวลาเพื่อนๆ ถามอะไรเขามักจะบอกว่าไม่รู้


อีกตัวอย่างหนึ่ง เป็นเรื่องเกี่ยวกับที่ทำงานแห่งหนึ่ง หน่วยงานแห่งนี้มีสุภาพสตรีเป็นจำนวนมากกว่าสุภาพบุรุษ โดยในแต่ละเดือนหน่วยงานนี้มักจะมีการจัดเลี้ยงในโอกาสต่างๆ ซึ่งการเลี้ยงเป็นการใช้งบประมาณกลางของส่วนรวม ทุกครั้งเมื่อจะใกล้สิ้นสุดเวลาของงานเลี้ยง จะมีคนๆ หนึ่งที่มักจะบอกทุกคนว่า "คงจะไม่มีใครสนใจในอาหารที่เหลือนะ เราขอเอากลับไปให้แมวที่บ้านนะ" แต่ที่สำคัญคือ อาหารบางอย่างยังไม่มีการทานเลยและสามารถที่นำเก็บไว้ทานในวันต่อไปได้ คนๆ นี้ก็ไม่สนใจขอห่อกลับบ้านทุกอย่าง


จากตัวอย่างที่กล่าวมาก เราจะเห็นว่า การกระทำดังกล่าว ถ้าหากเราเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องและอยู่ในเหตุการณ์ดังกล่าวก็อาจจะไม่เดือดร้อนเท่าไรนัก เพราะมันก็ไม่ม่ผลกระทบอะไรกับเราเลย อย่างไรก็ดี ถ้าบุคคลดังกล่าวเขามีนิสัยหรือการกระทำที่กระทำแบบนี้กับทุกเรื่องๆ ไป จะเกิดอะไรขึ้น ลักษณะการกระทำดังกล่าว บางครั้งมักถูกเรียกว่า "เอาแต่ได้" นั่นคือ เอาประโยชน์ส่วนตนเป็นหลัก ไม่สนใจคนอื่นๆ ว่าจะเป็นอย่างไร ด้วยเหตุนี้ ถ้าหากหน่วยงานของเรา องค์กรของเรา มีบุคคลประเภทดังกล่าวจำนวนมากๆๆๆๆๆ จะเกิดอะไรขึ้น แน่นอนครับ จะเกิดการเอาประโยชน์ส่วนตนมากๆๆๆๆ และประโยชน์ส่วนรวมก็จะไม่มีเลย ไม่เกิดขึ้นเลย
คำว่า เอาแต่ได้ และคำว่า ได้แต่เอา มีความหมายไม่เหมือนกันอย่างแน่นอน ได้แต่เอา นี่ผู้เขียนก็ไม่มั่นใจเหมือนกันว่าจะเป็นอย่างไร แต่ในวันนี้ ขอกลับมาสำหรับคำว่า "เอาแต่ได้ หรือ อตด." ทำไมถึงเกิดอาการเอาแต่ได้ หรือ เกิดการกระทำเอาแต่ได้ ที่เป็นอย่างนั้น เพราะว่าบุคคลนั้น ไม่ได้นึกถึงความรู้สึกของผู้คนรอบข้าง ไม่ได้สนใจความรู้สึกความนึกคิดของคนอื่นๆ ที่อยู่ใกล้ตัว คือ ไม่ได้มีการเอาใจเขามาใส่ใจเรา ไม่ได้เอาความรู้สึกคนอื่นมาใส่ความรู้สึกของเรา ซึ่งถ้าหากใครฝึกปฏิบัติการเอาใจเขามาใส่ใจของเราบ่อยๆ ครั้ง รับรองและเชื่อได้ว่า จะไม่สามารถเกิดอาการที่เรียกว่า "เอาแต่ได้"

เมื่อไรก็ตาม ที่เราไม่สนใจคนอื่นคนรอบข้าง ตัวเราเองอาจจะไม่รู้สึกอะไร แต่สำหรับคนอื่นคนรอบข้างนั้นพวกเขามีความรู้สึกอย่างแน่นอน ว่า คนที่ไม่สนใจคนอื่นไม่เอาใจเขามาใส่ใจเรา เป็นคนประเภทที่ไม่ควรจะเข้าใกล้ ไม่ควรที่จะร่วมสนทนา ถ้าเป็นอย่างนั้น นานๆ ไป คนที่เอาแต่ได้ก็จะไม่มีเพื่อนแท้ ไม่มีมิตร จะทำอะไรก็ยากที่จะมีผู้ช่วยเหลืออย่างจริงใจ ก็ขอให้ผู้เป็นคนเอาแต่ได้ หรือ คิดว่าตนเองเข้าข่ายเป็นคนเอาแต่ได้ ลองกลับมาทบทวนตัวเอง ตัวเราเองว่าเป็นอย่างไร

อย่างไรก็ดี ถ้าหากเราในครอบครัว ในหมู่บ้าน ในหน่วยงาน ในองค์กร ในอำเภอ ในจังหวัด ในประเทศ ต่างก็มาร่วมกันเอาแต่ใจในเรื่องการทำความดี ย่อมจะเกิดประโยชน์ต่อส่วนร่วมในที่ต่างๆ ซึ่งเมื่อเป็นอย่างนั้นแล้ว การเอาแต่ได้ในการทำความดีก็พลอยทำให้เกิดความสุขในทุกแห่งหนได้ เรามาเริ่มเป็น คนเอาแต่ได้ในการสร้างความดีตั้งแต่วินาทีเป็นต้นไป
มนูญ ศรีวิรัตน์




วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ความสว่าง และ ความมืด (ครู)

ความสว่าง และ ความมืด เราทุกท่านต่างรู้จักต่้างสัมผ้สอยู่เป็นประจำทุกวัน สำหรับแสงสว่างกับความมืดมนมาอยู่ด้วยกันได้อย่างไร โดยธรรมชาติไม่รู้เป็นมากี่ร้อยล้านล้านปีที่ผ่านมา เราจะเห็นว่า แสงสว่างและความมืดเป็นสิ่งที่คู่กันเป็นที่เรียกว่า กฎธรรมชาติ เมื่อมีสว่างก็ย่อมมีมืด แต่อย่างไรก็ดี บางสถานที่ทั้งแสงสว่างและความมืดมันก็อยู่ด้วยกัน เพียงแต่ว่า อันไหนมันจะมากกว่ากันเท่านั้น ถ้าหากที่ใดมีแสงสว่างมากกว่าความมืด ที่นั้นก็จะทำให้เรามีความรู้สึกว่ามันสว่าง ในทางตรงกันข้ามในทีใดที่มีความมืดมากกว่าความสว่าง เราก็จะรู้สึกว่าที่นั้นมันมืด (ทั้งที่ความเป็นจริง มันอยู่ผสมกัน ครับ) ข้อดีของความสว่างหรือแสงสว่าง คือ มันทำให้เรามองเห็นสิ่งของ วัตถุ ต่างๆ แต่บางครั้งถ้ามีแสงน้อยๆ เราก็สามารถที่จะมองเห็นเช่นกัน แต่จะต้องใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วย (ที่เรียกว่า กล้องอินฟาเรด อะไรทำนองนั้น)

ครับ ชีวิตของคนเราบางครั้งมันอาจจะมืดมน แต่อย่างไรก็ดี อีกสักหน่อยอีกสักพักมันก็ย่อมจะกลับมาสว่างมีแสงสว่างขึ้นมาอย่างแน่นอน

ที่นี้ เรามาต่อกับ คำว่า แสงสว่าง กับ ความมืด มันมีคำ สันสกฤต ที่เกี่ยวข้องกับ คำดังกล่าว เป็นดังนี้ แสงสว่าง จะมาจากคำว่า คุ และ ความมืดมน จะมาจากคำว่า รุ เมื่อเราเอาทั้งสองคำสันสกฤตดังกล่าวมารวมกัน ก็จะเป็น คุรุ ซึ่งก็เป็นคำที่เราคุ้นๆ กันดี คือที่มาของคำว่า ครู

ดังนั้น ครู ก็มีที่มาแล้ว คือ มาจาก คุรุ และ คุ กับ รุ ก็มีที่มาตามข้างต้น ครู จึงเป็นผู้ที่มีทั้งแสงสว่างและความมืด กล่าวให้ง่ายๆ ขึ้น คือ ครู เป็นผู้ที่นำแสงสว่างมาเพื่อขจัดความมืดให้กับลูกศิษย์ ให้ลูกศิษย์ได้พบได้มองเห็นกับสิ่งที่ดีๆ ช่วยชี้แนะ ช่วยให้ข้อคิด ช่้วยให้ความรู้สำหรับการใช้ชีิวิตการประกอบอาชีพ ครูเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่มากๆ สำหรับเราไม่ว่าเป็นเด็ก เป็นผู้ใหญ่ เพราะเราทั้งหมดต่างก็ถูกสั่งถูกสอนให้เป็นคนดี ให้เป็นคนที่มีความรู้ความสามารถได้ก็เพราะ ครู จึงเป็นที่มาที่เราเรียกว่า คุณครู (เนื่องจากสิ่งที่ครูทำให้เรานั้น มันมีแต่คุณทั้งนั้นเลย ครับ)

เราทุกคนที่เกิดมาผู้เขียนคิดว่า เราเป็น ครู ได้ทั้งนั้น เพราะท่านจะต้องเคยนำแสงสว่างขจัดความมืดให้ใครบางคน ซึ่งบางคร้งก็อาจจะเป็นตัวเราเองที่เคยนำแสงสว่างมาขจัดความมืดให้ตัวของเรา โดยใช้ความคิดที่สงบมีสติ บอกเตือนตัวของเราเองว่า อะไรที่เคยผิดพลาด เราจะไม่ทำอีกนะ อะไรที่เราเคยหลงทางไปในทางที่ผิดแล้วเราจะไม่ไปทางนั้นอีก ดัวยเหตุนี้ ก็แสดงให้เห็นแล้วว่า เราเป็น ครู สำหรับตัวเราได้ เมื่อเราเป็นครูได้ เราก็ย่อมจะสามารถชี้แนะให้คนอื่นๆ ได้ (นำแสงสว่างไปให้เขา ชี้แนะเขาโดยประสบการณ์ของเรา ความรู้ที่เรามีอยู่)

เราเกิดมาจนถึงชีวิตในวันนี้นั้น ผู้เขียนเชื่อว่าทุกคนมีครูหลายๆ ท่าน (เริ่มตั้งแต่พ่อแม่) บุญคุณของครูยิ่งใหญ่มากๆ อย่างที่กล่าวมา ท่านใดที่มีครูเคยสั่งสอนเรามา หากมีโอกาสก็กลับไปเยี่ยมท่านหรือมีโอกาสติดต่อท่านไม่ว่าจะเป็นหนทางใด (จดหมาย E-mail Social Networksอื่นๆ) ที่สำคัญคือ อยากเชิญชวนทุกท่านร่วมกันได้โปรดพิจารณาบอกคุณครูของท่านสั้นๆ ว่า "ขอบพระคุณ ครับ ขอบพระคุณ คะ" สำหรับการนำแสงสว่างมาสู่ชีวิตของเราในวันนี้และที่ช่วยขจัดให้ความมืดมนออกจากชีิวิตของเรา

แสงสว่างในชีวิตเป็นเรื่องที่หาได้ไม่ยาก แต่ความมืดมนมันจะเข้ามาหาเราได้ง่าย ดังนั้น การที่่จะให้มีแสงสว่างสำหรับชีวิตเรา เราสามารถเริ่้มได้ที่ตัวเราและด้วยความตั้งใจที่จะหาแสงสว่างซึ่งเมื่อตั้งใจแล้วรับรองได้ว่าท่านจะได้แสงสว่างไว้ค่อยขจัดความมืดในชีิวิตของท่านอย่างแน่นอน ธรรมชาติมันมีทั้งสว่างและมืด แต่เมื่อไรก็ตาม เราสามารถที่จะทำให้ตัวของเรามีความสว่างมากกว่าความมืดอยู่ตลอดเวลา เราก็จะสามารถเป็น ครู สำหรับตัวเราเอง และเป็นครูที่ดีๆ สำหรับคนรอบข้าง และในที่สุดทุกคนก็จะเรียกเราว่า คุณครู

มนูญ ศรีวิรัตน์


มอง แต่ไม่เห็น หรือ เห็น แต่ไม่มอง

มนุษย์เราสามารถมีประสาทสัมผัสอันหนึ่งที่ทำให้เราได้รู้ลักษณะของวัตถุที่เป็นทั้งสัตว์ คน สิ่งของ หรืออื่นๆ ทั้งในลักษณะหนึ่งมิติ สองมิติ และสามมิติ ซึ่งการรู้รับลักษณะดังกล่าวจะสามารถเกิดขึ้นได้ด้วยสองลักษณะ คือ มอง หรือ เห็น

มอง เป็นลักษณะของการที่เรารับรู้ลักษณะของวัตถุ สัตว์ สิ่งของ หรืออื่นๆ ที่อาจจะเป็นเพียงไม่ใส่ใจ

เห็น เป็นลักษณะของการที่เรารับรู้ลักษณะของวัตถุ สัตว์ สิ่งของ หรืออื่นๆ ที่เป็นการใส่ใจ ให้ความสนใจ

(หรือ นิยามข้างต้นอาจจะผิดก็ได้นะครับ เป็นเพียงความรู้สึกของผู้เขียนเท่านั้น)

ผู้เขียนขอยกตัวอย่างประกอบเพื่อให้มีความชัดเจนเกี่ยวกับการมองและการเห็น ในห้องเรียนขนาดใหญ่ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง นักศึกษาบางคนนั่งอยู่ในห้องได้แต่มองไปที่อาจารย์หน้าห้องโดยไม่สนใจเนื้อหาที่อาจารย์สอนบนจอภาพขนาดใหญ่ แต่นักศึกษาส่วนใหญ่นั้นได้เห็นว่าอาจารย์ผู้สอนกำลังสอนอะไรเห็นข้อความที่ปรากฏ เห็นว่าอาจารย์กล่าวถึงเรื่องอะไร ซึ่งเรื่องดังกล่าว นักศึกษาบางส่วนที่ได้แต่มองและไม่เห็น นักศึกษาส่วนใหญ่ได้เห็นและมองด้วย ดังนั้น โดยทั่วๆ ไป แล้ว การมอง การเห็น มีด้วยกันหลายลักษณะดังนี้

ได้แต่มอง และไม่เห็น
ได้แต่มอง และเห็น
ได้แต่เห็น และไม่มอง
ได้แต่เห็น และมอง

จากข้างต้น เราจะเลือกแบบไหน แต่ถ้าจะให้ดี เราทุกคนควรจะฝึกหรือกระทำในรูปแบบ ได้แต่มองและเห็น หรือได้แต่เห็นและมอง เพราะเมื่อไรก็ตามที่เรามองแล้วเห็น หรือ เห็นแล้วมอง ก็จะเป็นเรื่องที่ดี ตัวอย่างเช่นถ้าหากนักศึกษาในห้องเรียนเมื่อมองแล้วเห็น นั้นหมายความว่า นักศึกษาได้รับรู้ทุกอย่างที่ปรากฏต่อหน้าต่อดวงตาได้อย่างเข้าใจและถูกต้องสามารถที่จะตัดสินใจเรื่องที่มองแล้วเห็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อย่างไรก็ดี โดยส่วนมากบางครั้งเราได้แต่มองเท่านั้น ได้แต่มอง คือ ไม่สามารถจะทำอะไรได้ในเรื่องนั้น เช่น เราได้รับรู้อยู่ในเหตุการณ์ของการวิ่งราวทรัพย์ แต่เราได้แต่อยู่เฉยๆ ไม่รู้สึกว่าจะต้องทำอะไร เพราะไม่ใช่เรื่องของเรา ดังนี้แล้ว จะเป็นลักษณะที่ ได้แต่มอง ด้วยเหตุนี้ หากคนไทยทุกคนได้แต่มองเกี่ยวกับความแห้งแล้งของประเทศไทยของเรา ได้แต่มองเกี่ยวกับความปรองดองของคนในไทย ได้แต่มองเกี่ยวกับการขาดแคลนพลังงานของประเทศ ถ้าเป็นอย่างนั้นแล้ว ย่อมจะเกิดความเดือดร้อนอย่างแน่นอน แต่ถ้าหากคนไทยทุกคนได้แต่เห็นเกี่ยวกับปัญหาของประเทศร่วมกัน เชื่อได้ว่าปัญหาด้านต่างๆ ที่เราเห็นนั้น จะสามารถถูกแก้ไขร่วมกัน

ที่ผ่านมาบางครั้ง หรือ หลายๆ ครั้ง เราอาจจะมีความรู้สึกว่า ได้แต่มอง แต่ถ้าหากมาลองปฏิบัติฝึกฝน ให้เป็นการ ได้แต่เห็น นั้นหมายความว่า เราใส่ใจในสิ่งที่เรารับรู้รับทราบได้สัมผัสได้รับรู้ผ่านดวงตาด้วยสติด้วยความตั้งใจ การได้แต่เห็นดังกล่าวจะมีประโยชน์ต่อการเรียน การศึกษา การทำงานอย่างมหาศาล เพราะการเห็นดังกล่าวหากเป็นเห็นด้วยจิตใจที่ตั้งใจที่ใส่ใจ จะก่อเกิดความเข้าใจในเรื่องที่เราเห็น แล้วเราจะสามารถไตร่ตรองประมวลผลผ่านสมองได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

สำหรับนักเรียน นักศึกษา เวลานั่งเรียนก็ควรจะฝึกตัวเองให้เป็นคนที่มี เห็น มากกว่า มอง ในสิ่งที่ครูบาอาจารย์ผู้สอนได้มอบให้เราในแต่ละชั่วโมงสอน สำหรับผู้คนที่ทำงานในบริษัทองค์กรใดๆ ก็ควรจะฝึกให้ตัวเองเป็นคนที่ เห็น มากกว่า มอง เช่นกัน คือ เห็นว่าเพื่อนร่วมงานทำงานด้วยความลำบากเราก็ควรจะให้การช่วยเหลือ ไม่ใช่ ได้แต่มอง ถ้าเป็นเจ้านายคนก็เช่นกัน ก็ควรจะเห็นความเหน็ดเหนื่อยของลูกน้องไม่ใช่ได้แต่เอาแต่มอง เมื่อเจ้านายเห็นในส่วนต่างๆ ของลูกน้อง ก็สามารถที่จะเข้าใจลูกน้องเพื่อนร่วมงานได้มากยิ่งขึ้น ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานขององค์กรมีประสิทธิภาพสูงมากยิ่งๆ ขึ้น

ผู้เขียนก็ได้แต่หวังว่า เราทุกคนคนไทยจะไม่เอาแต่มองซึ่งกันและกันนะครับ เราควรจะเห็นซึ่งกันและกัน เห็นในความเดือดร้อนของเพื่อนคนในชาติ เห็นในความยุติธรรมที่จะต้องมีต่อคนไทยในทุกชนชั้นทุกระดับ แล้วเมื่อเป็นอย่างนั้น สังคมไทย ประเทศไทยของเราจะมีแต่การเห็นตรงกัน มีความเห็นตรงกัน และมีความสุขในที่สุด

มนูญ ศรีวิรัตน์

วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

หมดหวัง

การแข่งขันกีฬา โดยเฉพาะฟุตบอลทั้งระดับโลกระดับชาติ หรือ ระดับไหนแล้วแต่ เวลาที่อีกฝ่ายหนึ่งยิงประตูขึ้นนำแล้ว เราจะสังเกตสีหน้าของกองเชียร์ทั้งสองฝ่ายได้อย่างชัดเจนว่ามีความแตกต่างกันอย่างมาก ฝ่ายที่ขึ้นนำสีหน้าหน้าตาจะมีแต่ความสุขยิ้มแย้มสนุกสนาน แต่ตรงกันข้ามกับอีกฝ่ายหนึ่งที่สีหน้ามีแต่ความเศร้าหมอง ไม่มีรอยยิ้ม โดยเฉพาะถ้าหากใกล้หมดเวลาของการแข่งขัน สีหน้าลักษณะต่างๆ ที่แสดงออกมานั้น บ่งบอกถึง ความหมดหวัง ในใจก็อาจจะคิดว่าทีมของตัวเองอาจจะสามารถยิงประตูเพิ่ม ยิงประตูตีเสมอ หรือยิงประตูเพิ่มแซงเพื่อให้ได้มาซึ่งชัยชนะ แฟนบอลบางคนทนไม่ไหว หมดหวังกับผลการแข่งขันดังกล่าวอาจจะเดินออกจากสนามการแข่งขันไป โดยไม่รอว่าสิ้นเสียงนกหวีดของกรรมการผู้ตัดสินใจจะเกิดขึ้นเมื่อไร จะเห็นว่า อาการหมดหวังนี้ ทำให้ผู้นั้นมีแต่ความทุกข์ในจิตใจ กระวนกระวาย กับเวลาที่ยังเหลืออยู่

จะเห็นว่า จากที่กล่าวมาข้างต้น ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการหมดหวังนั้นมีสองประการ คือ หนึ่ง เรื่องเป้าหมาย หรือ จุดประสงค์ หรือ สิ่งที่หวังไว้ และ สอง เรื่องของเวลา ซึ่งทั้งสองปัจจัยนั้นจะมีความสัมพันธ์เกี่ยวกับความหมดหวังพอสมควร นั้นหมายความว่า ถ้าหากเราเป้าหมาย จุดประสงค์ สิ่งที่หวังไว้ ความหวังที่สูงเกินความสามารถของเรา โอกาสที่เราจะประสบความสำเร็จที่ตั้งไว้ย่อมมีน้อยมากเช่นกัน เรื่องของเวลาก็เช่นเดียวกันถ้าหากเราตั้งเป้าหมาย จุดประสงค์ หรือสิ่งที่หวังไว้สูงเกิน แต่เวลามีน้อย โอกาสที่เราจะประสบความสำเร็จก็ย่อมมีน้อยเช่นกัน แต่บางครั้ง ถ้าหากเรายังมีเวลาเหลืออยู่ แต่เรายังไม่บรรลุเป้าหมายหรือสิ่งที่หวังไว้ แต่เรา หมดหวัง ที่จะเดินต่อสู้ต่อไป ณ เวลานั้น จิตใจของเราจะรู้สึกว่า เป้าหมายนั้นมันไกลเหลือเกินเป็นไปไม่ได้

แต่ท่านเชื่อหรือเปล่าว่า เมื่อไรก็ตามที่เวลาของเรายังไม่หมดลงไป ความหวัง (เป้าหมาย สิ่งที่หวังไว้) ก็ยังมีโอกาสเป็นไปได้ ขอเพียงแต่เราจะต้องมีจิตใจที่เข้มแข็งแน่วแน่เด็ดเดี่ยว บอกตัวเองอยู่ตลอดเวลาทุกนาที ทุกวินาที ทุกเสี้ยววินาทีว่าเราจะต้องทำให้ได้ ด้วยเหตุนี้ เราเมื่อไรก็ตามที่เราหรือท่านมีความรู้สึกว่าหมดหวังในเรื่องใดๆ (ทั้งที่เวลายังไม่ได้หมด ยังไม่ได้สูญสิ้นลงไป) เราลองมาฝึกจิตใจ ฝึกจิตของเราให้มีความรู้สึกว่า เรายังทำได้ เราจะต้องไปให้ถึง เหมือนกันโฆษณาสินค้าบางประเภทที่บอกว่า เป้าหมายมีไว้ให้พุ่งชนเท่านั้น ซึ่งเวลานั้นไม่เคยหยุดนิ่ง เพียงแต่จิตใจของเรานั้นเองที่หยุดนิ่งไปบางช่วงบางขณะว่า เราหมดหวังแล้ว เราสิ้นหวังแล้ว แต่อย่าลืมว่า นั้นเป็นเพียงช่วงขณะเวลาสั้นๆ มากในจิตของเรา ถ้าหากสั่งจิตของเราว่า เราทำได้ เราจะต้องไปให้ถึง รับรองได้ว่า ความหมดหวัง จะไม่เกิดขึ้น จะมีเพียงความหวังที่เกิดขึ้นมาแทนที่

เราสามารถจะหยุดเวลาได้ทำเวลาให้ช้าลงได้ ถ้าหากเราฝึกจิตของเราให้สติ ความรวมเร็วในการทำงาน ในการปฏิบัติก็ย่อมจะเกิดขึ้น และเมื่อเป็นเช่นนั้น เป้าหมาย จุดประสงค์ หรือ สิ่งที่เราหวังไว้ ก็สามารถบรรลุได้และประสบความสำเร็จในที่สุด แน่นอนครับการฝึกจิตของเราให้มีสติเป็นเรื่องที่ยากมาก แต่หากเรามาลองฝึกกันโดยมีความหวัง และบอกตัวเองว่า เราจะไม่มีวันหมดหวังในเรื่องดังกล่าว เชื่อได้เลยว่า ในชีวิตของเรานี้ โอกาสที่จะเกิดความหมดหวังมีน้อยมาก

สำหรับท่านใดที่กำลังหมดหวังในเรื่องใดๆ ในชีวิต ก็ขอให้ลองมาคิดมาฝึกจิตของเราให้บอกตัวเราว่า เวลายังไม่หมด เวลายังมีอีกมาก เวลาที่เหลือ เราสามารถทำได้ และต้องทำให้ได้ ด้วยจิตที่เป็นหนึ่งเดียวในเป้าหมายของเรา ด้วยจิตที่มั่นคงแน่วแน่ ด้วยจิตที่มีสติ ด้วยจิตที่บริสุทธิ์ เราจะไม่มีวันหมดหวังในชีวิตนี้ วันนี้เป็นต้นไปเราจะบอกตัวเองว่า ในชีวิตนี้ เราจะไม่หมดหวังในเรื่องใดๆ แต่บางครั้งก็อย่า หวังหมดไปทุกอย่างก็แล้วกัน

มนูญ ศรีวิรัตน์

น้ำ และ ใจ

ในช่วงนี้ของทุกปี คือ เดือนพฤษภาคม ถึง มิถุนายน จะเป็นช่วงของเวลาที่มีฝนตกลงมาเพื่อให้ชาวเกษตรกรได้ทำไร่ทำนา บางปีปรากฏว่าฝนตกไม่ต้องตามฤดูกาลหรือมีปริมาณน้ำฝนที่น้อยก็ทำให้เกษตรกรเดือดร้อน บางปีถ้าหากมีฝนตกปริมาณมากก็อาจจะทำให้เกษตรกรเดือดร้อนเช่นกันเพราะเกิดน้ำท่วมสร้างความเสียหายให้กับพื้นที่การเกษตรได้ ดังนั้น เราจะเห็นว่าในเรื่องน้ำนั้นจำเป็นที่จะต้องมีปริมาณน้ำที่พอดีพอเพียงต่อการบริโภคใช้สอย น้ำทำให้เรามีความสุขทั้งใช้ดื่ม ใช้ทำความสะอาด และอื่นๆ

ใจ ถ้าหากเป็นสิ่งที่จับต้องได้ คงจะหมายถึง หัวใจ ที่เป็นก้อนๆ ในร่างกายของมนุษย์เรา ซึ่งตามที่ทางแพทย์เขาบอกไว้นั้น ใจ หรือ หัวใจ มีทั้งหมดสี่ห้อง เป็นอวัยวะที่สำคัญในการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ส่วน จิตใจ เป็นลักษณะของนามธรรม จับต้องไม่ได้ เป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกท่านจะต้องมีเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ ใช้ประกอบกับการคิดไตร่ตรอง ซึ่งเป็นสิ่งที่เราทุกคนมีแตกต่างกันไปตามการฝึกปฏิบัติ ใครที่มีจิตใจที่ดี จะนำมาซึ่ง การกระทำ การปฏิบัติดี ใครที่มีจิตใจไม่ดี ก็จะนำมาซึ่งการกระทำไม่ดี การปฏิบัติในทางที่ไม่ดี

สำหรับ ใจ บางครั้ง เรามักจะเคยได้ยินว่า มีใจ ซึ่งอาจจะหมายถึง เราสนใจในเรื่องนั้นๆ เรามีความตั้งใจในเรื่องนั้นๆ เรามีสติในเรื่องนั้น เรามีเอาใจใส่ในเรื่องนั้นๆ ตัวอย่างเช่น นักศึกษามีใจในการเรียน นักเรียนมีใจในการร้องเพลงเชียร์ เป็นต้น นอกจากนั้น ใจ บางครั้งที่เป็นเรื่องอาจจะไม่ดี ได้แก่ เอาแต่ใจ เช่น ลูกๆ เอาแต่ใจของตนเอง อันหมายถึง ลูกคนนั้นไม่สนใจในเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ได้สั่งสอนบอกกล่าว ไม่ฟังคุณพ่อคุณแม่ ไม่ใส่ใจในเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่บอกให้ทำ จะเห็นว่า การเอาแต่ใจ มักจะเป็นเรื่องที่ไม่ดี เพราะคนที่เอาแต่ใจจะมีแต่ความทุกข์ มีแต่กิเลศ มีแต่ความต้องการ มีแต่ความอยาก ที่ไม่มีเหตุผล คนดังกล่าวรู้แต่เพียงว่าต้องการได้ในสิ่งที่ตนอยากได้เท่านั้น ซึ่งจะเห็นว่าการเอาแต่ใจ เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดทุกข์สำหรับทุกๆ คน ทั้งผู้ที่เอาแต่ใจ และผู้ที่อยู่ใกล้ชิด ถ้าหาก ครอบครัวใด หน่วยงานใด องค์ใด มีแต่คนที่ เอาแต่ใจ จะเกิดแต่ความทุกข์ไม่มีวันที่สิ้นสุด

ที่กล่าวมาข้างต้น ผู้เขียนเพียงต้องการให้ทราบว่า น้ำ และ ใจ นั้น เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ด้วยกันทั้งคู่ แต่บางครั้งก็เกิดโทษได้เช่นเดียวกัน น้ำถ้าหากมีมาก ก็เกิดน้ำท่วมนำมาซึ่งความเดือนร้อนได้เช่นกัน ใจ ถ้าหาก เรามีใจให้กับการเรียน การสอน การงาน รับรองได้ว่าจะนำมาซึ่งความสุขความเจริญ ในทางตรงข้าม หาก เอาแต่ใจในการเรียน การสอน การงาน รับรองได้เช่นกันว่าจะนำมาซึ่งความทุกข์ ทั้ง น้ำ และ ใจ หากเรานำมารวมกัน ก็จะกลายเป็นสิ่งที่ประโยชน์ต่อสังคมเป็นอย่างมาก คือ น้ำใจ น้ำใจ เป็นสิ่งที่เราทุกคนควรจะต้องมีและยิ่งมีมากยิ่งดี เพราะ น้ำใจ คือ สิ่งที่เราเอื้อเฟื้อ อาทร เสียสละ ช่วยเหลือให้กับคนรอบข้าง ให้คนที่ใกล้ชิดเรา ให้กับครอบครับ ให้กับหน่วยงาน ให้กับองค์กร ให้กับสังคม ให้กับประเทศชาติ ด้วยเหตุนี้ ถ้าเรามีน้ำใจแล้วไม่ว่าจะมากหรือจะน้อยก็แล้วแต่ จะทำให้เรามีความสุข คุณพ่อคุณแม่ พี่น้อง ญาติๆ ของเรา เพื่อนร่วมงานของเรา เพื่อนบ้านของเรา เพื่อนๆ ในสังคมต่างๆ ของเราจะได้รับแต่ความสุข

ดังนั้น เรามาช่วยกันรณรงค์หาน้ำ รักษาน้ำ อนุรักษ์น้ำ ซึ่งน้ำที่ว่า คือ น้ำใจ ให้ได้มากที่สุดตั้งแต่วันนี้เถอะครับ เมื่อเรามีน้ำใจให้กันและกันแล้ว โลกของเราก็จะชุ่มชื่นไปด้วยน้ำทิพย์ที่พร้อมจะให้ทุกคนได้นำใช้ในการดำรงชีพที่มีแต่ความสุขทั้งกายและใจตลอดกาล

มนูญ ศรีวิรัตน์

วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

กด แล้ว ดัน หรือจะเป็น ดัน แล้ว กด

เราทุกคงจะทราบกันดีนะครับ ว่า กด หมายถึงอะไร กด เป็นลักษณะที่เราใช้กำลังที่มีอยู่ถ่ายน้ำหนักหรือพละกำลังลงวัตถุสิ่งของเป็นจุดๆ ที่เราต้องการ โดยเมื่อกดแล้ววัตถุสิ่งของนั้นจะได้รับการขยายตัวอันเนื่องมาจากพละกำลังดังกล่าว ซึ่งการขยายตัวจะมากจะน้อยก็ขึ้นอยู่พละกำลังที่ใช้ไป

ส่วนการ ดัน จะเป็นลักษณะที่เราใช้กำลังที่มีอยู่เช่นกันถ่ายน้ำหนักหรือพละกำลังไปที่วัตถุสิ่งของเป็นบริเวณที่เราต้องการ โดยเมื่อดันแล้ววัตถุสิ่งของนั้นจะได้รับการเคลื่อนที่ไปด้านหน้าด้านหลังด้านบนหรือด้านล่าง จะเห็นว่า กด และ ดัน มีความหมายที่ต่างๆ กัน แต่สิ่งที่เหมือนกัน คือ จะต้องมีการใช้พละกำลัง พลังงาน ในการกระทำทั้งสอง นอกจากนั้น สิ่งที่เหมือนกันอีกอย่างหนึ่ง คือ จะต้องมีเป้าหมายในการใช้พละกำลังหรือพลังงาน ไม่ว่า จะเป็นจุด หรือ บริเวณ

การกดแล้วดัน หรือ การดันแล้วกด สามารถเกิดขึ้นได้กับหลายเหตุการณ์แต่มักจะเกิดขึ้นกับการใช้พละกำลัง พลังงานกับวัตถุสิ่งของเท่านั้น เช่น การกดเก้าอี้ลงและดันเข้าไปเก็บในที่ใดที่หนึ่ง หรือ การดันกล่องออกมาแล้วกดเก็บลงในที่เก็บ เป็นต้น

แต่ที่ผู้เขียนต้องการที่สื่อให้เห็นและเกิดขึ้นบ่อยๆ เป็น คำติดกัน ระหว่าง กด และ ดัน กลายเป็น กดดัน (ไม่ใช่ ดันกด จะหมายถึง เราทำอะไรที่ไม่ได้ตั้งใจกดสิ่งใดสิ่งหนึ่ง) คือ คำที่ใช้กับนุษย์กับมนุษย์ ซึ่ง กดดัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ต้องการของใครๆ เพราะเนื่องจากว่าเมื่อไรที่เราโดยกดดันหรือถูกกดดัน จะหมายถึง เราถูกบังคับให้ต้องกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งที่เราจะต้องทำให้สำเร็จตามที่ผู้บังคับ (ผู้กดดัน) เราต้องการ

จะเห็นว่า เมื่อเราถูกกดดันหรือโดยกดดันเราจะมีความรู้สึกว่าเครียด รู้สึกกระวนกระวาย รู้สึกไม่สบายใจ พูดง่ายๆ คือ มีความเป็นทุกข์เกิดขึ้น เอาตัวอย่างง่ายๆ ก็แล้วกัน คือ อาจารย์กดดันในนักเรียน นักศึกษาจะต้องส่งการบ้านหรืองานให้ตามเวลาที่กำหนด หรือ คุณพ่อคุณแม่กดดันเราให้เรียนได้เกรดสูงๆ หรือ เจ้านายที่ทำงานกดดันให้ลูกน้องทำงานให้แล้วเสร็จภายในเวลาเร็วที่สุด เป็นต้น

เราทุกคนที่เกิดมาล้วนเคยเป็นทั้งผู้กดดันหรือผู้ถูกกดดัน แต่เมื่อไรก็ตามที่เป็นผู้กดดันมักจะเป็นผู้ที่มีอำนาจมากกว่า มีพละกำลังมากกว่า มีพลังงานมากกว่า มีอะไรที่เหนือกว่าผู้ถูกกดดัน ดังนั้น ถ้าหากเราเป็นผู้มีอำนาจมีพลังใช้พลังอำนาจที่มีอยู่อย่างไม่บริสุทธิ์ใจจะทำให้การกดดันดังกล่าวนั้น เกิดความไม่ยุติธรรม ไม่เป็นที่พอใจของทุกๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ด้วยเหตุนี้ ถ้าหากเราไม่จำเป็นก็ไม่ควรที่จะกดดันใครๆ นะครับ

แต่อย่างไรก็ดี ถ้าหากการกดดันทำให้เกิดผลดีต่อผู้ที่ถูกกดดัน หรือ องค์กร หน่วยงาน เราก็ควรให้พละกำลัง พลังในการกดดันด้วยความบริสุทธิ์ใจและยุติธรรมนะครับ สำหรับผู้ถูกกดดัน ถ้าหากว่าเราได้รับการกดดัน เราก็ควรตั้งใจทำงานนั้นให้สำเร็จในเวลา ให้ได้ตามกำหนด ให้ได้ตามวัตถุประสงค์ที่ผู้กดดันได้กำหนดไว้ ทั้งนี้ ถ้าจะให้ดีทั้งผู้กดดันและผู้ถูกกดดันก็ควรทำความเข้าใจซึ่งกันและกันให้ดีเพื่อจะได้ไม่เกิดปัญหาในการเข้าใจผิดในเรื่องนั้นๆ ประการสุดท้าย คือ ถ้าหากเลี่ยงได้ ก็อย่าไปกดดันใครๆ และ อย่าไปดันกดในเรื่องใดๆ ก็แล้วกันนะครับ

มนูญ ศรีวิรัตน์

วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บอกแล้ว ได้ยิน แต่ไม่ฟัง

เราทุกคนต่างสื่อสารกันได้หลายแบบๆ แบบหนึ่งที่สำคัญ คือ การพูด ในลักษณะการบอกออกไปจากคนหนึ่ง ไปสู่อีกคนหรือหลายๆ คน เมื่อเสียงที่พูดที่บอกออกไป จะไปกระทบกับโสตประสาทภายในหูของเราก็จะทำให้ได้รับเสียงที่ส่งผ่านมา แต่ประเด็นสำคัญที่กล่าวถึง คือ การรับเสียงของเราอาจจะมี 2 ประเภท คือ เป็นการได้รับที่เรียกว่า ได้ยิน และการได้รับที่เรียกว่า ได้ฟัง

ได้ยิน กับ ได้ฟัง แตกต่างกันอย่างแน่นอนครับ เพราะทั้ง 2 ลักษณะนั้น ผู้ที่ได้รับเสียงที่ส่งมาจะปฏิบัติหรือกระทำต่อจากการได้รับเสียงไม่เหมือนกัน

ตัวอย่างในห้องเรียนแห่งหนึ่งในสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นห้องเรียนที่ได้มาตรฐาน บรรยายกาศน่านั่งเรียนเป็นอย่างมาก แอร์เย็นสบาย นักศึกษาบางคนก็ใส่หรือกันหนาวแขนยาว ไม่เหมือนเรียนให้ห้องของโรงเรียนประภมมัธยม ห้องเรียนดังกล่าวอาจารย์ก็สอนไป นักศึกษานั่งเรียนบางคนได้ยินเสียงอาจารย์เท่านั้น เพราะมั่วแต่คุยกัน บางคนก็สนใจเรื่องข้อความในโทรศัพท์มือถือ บา่งคนก็มองหน้าอาจาีรย์ผู้สอน นั้นคือ การยินเสียงของอาจารย์เท่านั้น เพราะการยินคือ อาการที่นักศึกษารับทราบว่ามีเสียงเข้ามาในรูหูเท่านั้น แต่ไม่จดจำ ไม่รู้ว่ามันเกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร ไม่รู้ว่าจะทำอะไรต่อไป ซึ่งต่างกันกับนักศึกษาส่วนใหญ่ในห้องเรียนที่ได้ฟังเสียงอาจารย์ผู้สอนสามารถจะจดจำ สามารถที่จะคิดถามในเรื่องที่อาจารย์สอน สามารถที่ตอบคำถามในใจในเรื่องที่อาจารย์สอน สามารถที่คิดประยุกต์เพิ่มเติมได้จากที่อาจารย์สอน สามารถที่รู้ว่าเรื่องที่ีได้ฟังเสียงจากอาจารย์นั้นเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียน การดำรงชีวิตการใช้ชีวิต และประการสำคัญ คือ สามารถทำให้นักศึกษาสามารถที่รู้เรื่องต่างๆ ได้เป็นอย่างดีในชั่งโมงสอนนั้น

จะเห็นว่า การได้ยิน กับ การได้ฟัง นั้นมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะการได้ยินเป็นเพียงแต่เราไ้ด้รับเสียงผ่านรูหูเท่านั้น ไม่ได้ใช้มันสมองในการคิดในเรื่องที่ได้ยินเลย ไม่ได้ใช้มันสมองในการจดจำหรือคิดประยุกต์ประมวลผลในเรื่องที่ได้ยินเลย ส่วนการได้ฟังนั้น เป็นสิ่งที่เราได้รับเสียงผ่านรูหูของเราและเราได้ใช้มันสมองที่มีอยู่ในการจดจำ ในการคิดประยุกต์ ในการประมวลผลในเรื่องที่เราได้ฟัง ด้วยเหตุนี้ เราจะเห็นว่า การได้ฟังนั้นมีความสำคัญมากต่อการใช้ชีิวิตประจำวัน ทั้งในการเรียนการสอน การทำงาน และที่สำคัญมากยิ่งขึ้น คือ ถ้าหากเราได้ฟังอย่างมีสติรอบครอบ มีจิตใจที่ตั้งใจแน่วแน่ มีจิตใจที่จดจ่อแล้ว การฟังในเรื่องต่างๆ ยิ่งจะได้ประโยชน์เป็นอย่างมาก เพราะจะทำให้เราได้ใช้มันสมองของเราให้เกิดประโยชน์

ที่นี้ มาตามชื่อเรื่อง ที่ว่า บอกแล้ว ได้ยิน แต่ไม่ฟัง นั้น เกิดขึ้นกับหลายๆ คน ไม่ว่าจะเป็นลูกๆ หลานๆ เด็กๆ นักเรียน นักศึกษา หรือแม้แต่กระทั่งผู้ใหญ่ในวัยทำงาน ความหมายที่เกี่ยวข้อง คือ ผู้ใหญ่ ผู้ที่มีประสบการณ์ คุณพ่อ คุณแม่ คุณครูบาอาจารย์ เจ้านาย ได้บอกในเรื่องที่เป็นประโยชน์ เราเพียงได้ยินเท่านั้น แต่เราไม่ฟัง จะเห็นว่า การได้รับเสียงจาก ผู้ใหญ่ คุณพ่อ คุณแม่ ครูบาอาจารย์ เจ้านาย ไม่มีประโยชน์อันใดเลย สูญเปล่าเวลาในการได้รับเสียง เพราะเป็นการได้รับเสียง เพียงเป็นการได้ยิน

ด้วยเหตุนี้ หากเราเป็นลูก เป็นนักเรียน เป็นนักศึกษา เป็นผู้ใต้บังคับบัญชา เป็นอะไรก็ตามแต่ เราควรจะฝึกฝนในการได้รับเสียงจากการได้ยิน เป็นการได้ฟัง น่าจะดีกว่า เพราะทำให้เราได้ใช้มันสมองของเราคิดติดตามในเรื่องที่เราได้ฟัง แล้วสมองของเราจะสั่งการในส่วนที่เกี่ยวข้องในทางที่ดีมีประโยชน์ต่อตัวเรา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเราได้รับเสียงโดยการฟังที่มีสติมากเท่าไร เรายิ่งจะได้ใช้มันสมองของเราในการประมวลผลเพื่อกระทำในสิ่งที่ดีๆ สิ่งที่งามๆ และในที่สุด เราก็จะเป็นผู้ที่ฟังที่ดี เมื่อมีคนบอกแล้ว เรามีแต่ฟัง

มนูญ ศรีวิรัตน์

วันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

แก่ แล้วเห็น เห็นแล้ว ตัวใครตัวมัน

ชื่อเรื่องในวันนี้ จะเห็นว่าแปลกๆ เพราะมันเป็นอะไรกันแน่ ผู้เขียนก็คิดอยู่นานหลายรอบเหมือนกัน แต่ในที่สุด ก็คิดว่า จำเป็นจะต้องเขียน เรื่องนี้ครับ
แก่ ผู้เขียนหมายถึง ผู้ที่มีประสบการณ์มามาก อาจจะเป็นคนสูงอายุ อาจจะเป็นคนที่มีวุฒิการศึกษาที่สูง
แล้วเห็น ผู้เขียนหมายถึง เห็นในสิ่งที่ประโยชน์ต่อการพัฒนาองค์กร หน่วยงาน เห็นในสิ่งที่เป็นข้อบกพร่องในเรื่องต่างๆ ที่ผ่านมา เห็นในสิ่งที่ไม่ดีในการทำงานปฏิบัติงาน ปฏิบัติตน
ตัวใครตัวมัน ผู้เขียนหมายถึง ไม่สนใจใครเลยนอกจากตัวเราเอง เอาตัวเองเป็นใหญ่เป็นสำคัญ ใครจะทำอะไรก็ตามเถอะตัวเราเองต้องมาก่อน
ดัวอย่างอาจจะมีให้เห็น เช่น อาจารย์ที่มีวุฒิปริญญาที่สูงและทำการสอนในระดับอุดมศึกษา ท่านดังกล่าวมีประสบการณ์เป็นอย่างมากในการสอนในการทำวิจัย ท่านทำการวิจัยเพื่อให้ตัวเองได้ตำแหน่งทางวิชาการติดตัวท่านที่สูงขึ้น แต่เวลามีงานของหน่วยงานในเรื่องต่างๆ ท่านมักจะบอกว่าไม่มีเวลา เวลาเพื่อนร่วมงานขอความช่วยเหลือในเรื่องใดๆ ท่านมักจะบอกว่า ท่านไม่รู้ ท่านมีงานอย่างอื่นๆ ที่จะต้องทำ หรือ เจ้าหน้าที่บางท่านในหน่วยงานเป็นผู้มีความรู้ประสบการณ์เป็นอย่างมาก มาทำงานตามเวลาราชการปกติ มา 08.30 น. กลับ 16.30 น.ชอบทำงานคนเดียวเพื่อให้ตัวเองได้ตำแหน่งที่สูงขึ้นจะด้วยวิธีการใดก็ตาม ที่สำคัญคือ ไม่เคยช่วยเหลือเพื่อนร่วมงาน ไม่เคยช่วยเหลือหน่วยงานของตนเลย เวลาหน่วยงานมีงานพิเศษต้องการความช่วยเหลือ มักจะพูดว่าจะต้องดูแลครอบครัว จะต้องรีบกลับบ้านเพราะ ....สารพัด ที่จะเอามาอ้าง
เห็นแก่ตัว (หรือ เห็นแก่ตัวเอง เป็นการที่ไม่เห็นคนอื่นๆ ที่นี้) มันเกิดขึ้นได้อย่างไรกัน ซึ่งคนที่กล่าวมาข้างต้นอาจจะมีลักษณะพิเศษหรือถูกเรียกว่า เห็นแก่ตัว เป็นคนเห็นแต่ตัว คือ เป็นคนที่ไม่สนใจเรื่องของคนอื่นๆ ไม่ช่วยเหลือคนอื่นๆ ด้วยเหตุนี้ คนเห็นแก่ตัว ไม่ได้ทำได้ง่ายๆ นะครับ เพราะจะต้องมีลักษณะพิเศษ เอาประโยชน์ส่วนตนเป็นใหญ่ เอาประโยชน์ของส่วนรวมเป็นรอง ความเห็นแก่ตัว สามารถหมดหรือหายไปได้ง่ายโดยไม่ยาก เพียงแต่ตัวของเราบอกตัวเองอยู่เสมอว่า เราต้องช่วยเหลือคนอื่นๆ ที่เดือดร้อนในเรื่องใดๆ ภายใต้ศักยภาพของเราที่มีอยู่ สำหรับเห็นแก่ตัว อาการดังกล่าวจะทำให้เรารู้สึกว่า ตัวเองจะต้องสำคัญ ตัวเองจะต้องได้อะไรที่คนอื่นเข้าไม่ได้ หรือ ตัวเองจะต้องทำอะไรที่ตัวเองได้ประโยชน์เท่านั้น
จะเห็นว่าถ้าหากเราซึ่งเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ มีวุฒิภาวะ มีวุฒิการศึกษาสูง เราต่างได้เห็นได้พบได้รับสิ่งที่ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน ได้พบข้อบกพร่องในการปฏิบัติงาน ได้พบสิ่งที่ไม่ดีในเรื่องต่างๆ แต่เราไม่ได้นำความรู้ความสามารถประสบการณ์มาใช้ในการดำรงชีวิตการทำงานปฏิบัติในหน้าที่เลย ต่างทำตัวไม่สนใจใครเลยและยังทำตัวแบบตัวใครตัวมันที่ไม่ใส่ใจคนอื่นๆ รอบข้าง ดังนั้น ผู้เขียนคิดว่าหากใครเป็นอย่างที่กล่าวแล้ว ย่อมไม่มีใครรักใครสนใจใส่ใจ เป็นคนก็เป็นคนที่ไม่มีประโยชน์ หรือ พูดง่ายๆ คือ เป็นคนที่ไร้ซึ่งประโยชน์ไร้คุณค่า
ด้วยเหตุดังกล่าว เราควรจะต้องฝึกปฏิบัติใช้จิตสั่งอย่างแน่วแน่อยู่ทุกเวลา ว่า เราต้องช่วยเหลือคนอื่นถ้าเราทำได้ ความเห็นแก่ตัว เป็นเรื่องที่คนในครอบครัว คนในองค์กรหน่วยงาน คนในสังคมไม่ต้องการ เพราะถ้าในครอบครัวของเรา หน่วยงานองค์กรของเรา สังคมประเทศไทยของเรามีแต่ความเห็นแก่ตัว (ตัวใครตัวมัน) แล้ว ครอบครัวของเรา องค์กรหน่วยงานของเรา สังคมไทยของเรา จะไม่มีความสุขเกิดขึ้น ดังนั้น เรามาช่วยกัน แก่ แล้วเห็น เห็นแล้ว ช่วยกันทำ เมื่อเป็นอย่างนั้นแล้ว เห็นแก่ตัว ก็จะกลายเป็น เห็นแก่ตัวเองน้อยลง เห็นแก่สังคมจะมากขึ้น
มนูญ ศรีวิรัตน์



วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เห็นใจ

เห็นใจ ความเห็นใจ เป็นความรู้สึกอย่างหนึ่งที่เราคนไทยทุกคนนั้นมีอยู่ประจำตัวและประจำใจ เพราะเนื่องจากเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยทันทีที่เราเห็นคนเดือดร้อน คนพ่ายแพ้ หรือ คนผิดหวังที่เป็นทุกข์ ความเห็นใจเป็นความรู้สึกที่ดี เพราะัจะทำให้ผู้ที่พ่ายแพ้ ผู้ที่เดือดร้อน ผู้ที่ผิดหวัง รู้สึกว่าเขาเหล่านั้น ยังมีเพื่อนที่เข้าใจ มีเพื่อนที่คอยจะให้กำลังใจในการต่อสู้ต่อไป ซึ่ง "เห็นใจ" น่าเป็นสิ่งที่เกี่ยวกับพุทธศาสนาของเรา เพราะน่าจะเป็นประเด็นของความเมตตา (ผู้เขียนก็ไม่ใช่ผู้ที่เชี่ยวชาญทางพุทธศาสนามากมาย)

เห็นใจ หากเรามีความรู้สึกดังกล่าวที่จริงใจ บริสุทธิ์ใจ แล้วจะทำให้ทั้งผู้เห็นใจและผู้ถูกเห็นใจต่างมีความสุขกันทั้งคู่ แต่โดยความเป็นจริงบางครั้ง เราพูดแต่วาจา พูดแต่ปาก ว่า "เห็นใจเขานะ" "เห็นใจคนโน้นคนนี้" ความเห็นใจจะว่ายากก็ยาก จะว่าง่ายก็ง่าย บางท่านก็อาจจะแย้ง เนื่องจาก ใจ อยู่ข้างในร่างกาย แล้วเราจะไปเห็นได้อย่างไรกัน แค่เห็นรูปกายข้างนอกบางครั้งยังไม่รู้เลยว่า คนๆ นั้นเป็นอย่างไร แล้วยิ่งจะมาให้เห็นใจคนง่ายๆ นั้น น่าจะเป็นเรื่องที่ยาก บางคนบอกว่าเห็นใจเขาจริงๆ แต่จริงๆ แล้วภายใจจริงใจอาจจะไม่ใช่ก็ได้ ซึ่ง เห็นใจ และ ความเห็นใจ ควรจะต้องออกมาจากใจจริงๆ

มาลองดูตัวอย่าง สมมติว่า ในที่ทำงานแห่งหนึ่ง มีเพื่อนร่วมงานอยู่ด้วยกัน 10 คน มีหนึ่งคน (สมมติว่า ชื่อ น.ส. สวยขยัน) ที่มีความขยันมากๆ มาทำงานแต่เช้่า เวลาทำงานก็ทำงานด้วยความตั้งใจ และกลับก็ช้ากว่าใครๆ ในที่ทำงาน อยู่มาวันหนึ่งปรากฏว่า น.ส.สวยขยัน ถูกเจ้านายต่อว่าเรื่องการทำงานไม่เรียบร้อยต่อหน้าเพื่อนร่วมงาน ท่านคิดว่าจะเกิดความเห็นใจในหมู่เพื่อนร่วมงานของ น.ส.สวยขยันหรือไม่ เพื่อนร่วมงานอีก 9 คนจะเห็นใจ น.ส.สวยขยันหรือไม่ แน่นอนครับ ถ้าหากเพื่อนร่วมงานมีความสนิทสนมกันมีความรักสามัคคีกันภายในหน่วยงานนั้น ความเห็นใจ จะเกิดขึ้นโดยทันที่ อย่างไรก็ดี ถ้าหากหน่วยงานนั้นต่างคนต่างทำงานแข่งขันกันไม่มีความสามัคคี ไม่มีความรักกันในองค์กร รับรองได้เห็นว่า เราจะไม่เห็น ความเห็นใจเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

หากสถานที่ใด องค์กรใด หน่วยงานใด หรือ ครวบครัวใด ที่มีความรัก ความสามัคคี ความอบอุ่น ความเข้าใจซึ่งกันและกันเป็นอย่างดี ย่อมจะเิกิดความเห็นใจ ในเวลาที่คนใดคนหนึ่งในองค์กร ในหน่วยงาน ได้รับความเดือดร้อน ได้รับความเสียหาย ความเห็นใจดังกล่าวเกิดขึ้นและอาจจะตามมาด้วยการกระทำอย่างๆ หลาย ที่จะทำให้ผู้ที่เดือดร้อนนั้นได้คลายทุกข์คลายโศรก คลายความเสียหายเดือดร้อน ซึ่งในทางตรงกันข้าม หากองค์กรใด หน่วยงานใด สถานที่ใด ครอบครัวใดที่มีแต่ความชิงดีชิงเด่นกัน มีแต่ความเอารัดเอาเปรียบกัน มีแต่ความเป็นมาตรฐานไม่เท่ากัน (อาจจะเรียกว่า ไม่มีมาตรฐาน หรือ สองสามมาตรฐานก็ตามแต่) ความเห็นใจจะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน มีแต่จะเกิดความสมน้ำหน้า

ในปัจจุบัน ถ้าหากสังคมไทยของเราเห็นคนในสังคมได้รับความเดือดร้อนไม่ว่าเรื่องใดๆ เราต่างคนต่างเห็นใจผู้ที่เดือดร้อนผู้ที่ต่ำต้อยกว่าเราด้วยใจที่บริสุทธิ์ สังคมไทยของเราจะมีแต่ความสุข ในที่ทำงานก็เช่นกันหากเพื่อนร่วมงานได้รับความเดือดร้อน เราเพื่อนร่วมงานหากเห็นใจกันด้วยความจริงใจด้วยความบริสุทธิ์ใจ ทุกอย่างที่เป็นเรื่องความเดือดร้อนก็จะหายไปโดยเร็ว

ดังนั้น ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เรามาเริ่มเห็นใจคุณพ่อคุณแม่ เห็นใจพี่ๆ น้องๆ ของเราในครอบครัว เห็นใจเพื่อนร่วมงาน เห็นใจลูกน้อง เห็นใจเจ้านาย เห็นใจเพื่อนมนุษย์ในโลกนี้ ซึ่งเมื่อเราทำได้อย่างนั้น คือ เห็นใจทุกคน เราก็จะสื่อสารกันผ่านจิตใจบริสุทธิ์ที่ดีงาม แล้วความสุขก็เกิดกับทุกคน

มนูญ ศรีวิรัตน์

วันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

โต้ตอบ กับ ตอบโต้

โต้ เป็นลักษณะของการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งที่กลับคืนสู่ฝ่ายตรงกันข้าม ซึ่งฝ่ายตรงข้ามหรืออีกฝ่ายอาจจะมีสองฝ่ายหรือมากกว่าก็ได้ โดยการกระทำนั้นอาจจะเป็นด้วยลักษณะทั้งกาย วาจา และใจ
ตอบ เป็นลักษณะของการกระทำเพื่อให้กระจ่างในข้อคำถาม ข้อสงสัย ข้อข้องใจ ข้อที่ยังไม่รู้ ซึ่งการตอบจะทำให้ผู้ที่ตั้งคำถามสามารถได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่ง
ถ้าหากเรานำคำสองคำข้างต้น โต้ และ ตอบ มาต่อเรียงกันจะเกิดอะไรขึ้น จะเป็นได้ทั้ง โต้ตอบ หรือ ตอบโต้
โต้ตอบ ผู้เขียนเชื่อว่าทุกท่านล้วนจะเคยโต้ตอบกับใคร ซึ่งใครในที่นี้อาจจะเป็นหนึ่งคน อาจจะเป็นองค์กร หน่วยงาน คณะ ทีม หรือ อื่นๆ ก็ตามแต่ โต้ตอบที่ว่า อาจจะเป็นการโต้ตอบจดหมายราชการ โต้ตอบคำพูดวาจา
โต้ตอบอีกแบบหนึ่ง ที่เป็นลักษณะวาจา อาจจะเกิดขึ้นกับบางเหตุการณ์ในครอบครัวเช่นคุณพ่อคุณแม่ต้องการให้ลูกๆ อาบน้ำ ทำการบ้าน เข้านอนตรงต่อเวลา ซึ่งลูกๆ อาจจะไม่พอใจ ไม่สนใจที่จะทำตาม ไม่มีความสุขที่ทำตามที่คุณพ่อคุณแม่สั่ง ลูกๆ บางคนอาจจะโต้ตอบโดยการเถียง (หรือที่เรียกว่า โต้เถียง) โดยการกระทำที่ไม่สมควร หรือ ลูกๆ บางคนอาจจะโต้ตอบ ด้วยการไม่พูดไม่จาพร้อมทั้งหน้าบูด ทำตัวเงียบๆ ลักษณะการโต้ตอบแบบนี้ อาจจะเรียกว่า การประท้วง เนื่องจากลูกๆ ไม่มีกำลังที่เพียงพอ ไม่มีเหตุผลที่เพียงพอ ดังนั้น ผู้ที่เป็นลูกที่ดีจะต้องไม่โต้ตอบในเรื่องใดๆ กับคุณพ่อคุณแม่ผู้บังเกิดเกล้า
นอกจากนั้น อาจจะมีการโต้ตอบอื่นๆ ก็เช่น โต้ตอบคู่ต่อสู้ในการแข่งขันกีฬาประเภทต่างๆ เพราะถ้าหากเราไม่โต้ตอบเราก็จะต้องพ่ายแพ้ในที่สุด โต้ตอบดังกล่าวเป็นแสดงความสามารถในเรื่องการแข่งขันที่มีกติกา มีกรรมการผู้ตัดสิน มีผู้ชมรอบข้างที่คอยตรวจสอบการแข่งขันว่ามีความยุติธรรมหรือไม่อย่างไร ซึ่งจะเห็นว่าการโต้ตอบแบบนี้เมื่อแข่งขันเสร็จเรียบร้อยทุกคนต่างก็ไม่มีข้อกังขาสงสัยใด
อย่างไรก็ดี โต้ตอบ ที่ไม่มีกติกา ไม่มีกรรมการผู้ตัดสิน ไม่มีคนดู ผู้เขียนคิดว่าอาจจะเป็นเรื่องที่ทำให้เป็นที่สงสัย การโต้ตอบที่ว่าฝ่ายใดที่มีกำลังมากกว่ามีอาวุธที่ดีกว่าพลานุภาพมากกว่าย่อมได้เปรียบในการโต้ตอบ ซึ่งโดยส่วนมากเรามักจะได้ยินว่า เป็น การตอบโต้
ตอบโต้ ที่ว่านั้น เราอาจจะได้ยินไม่บ่อยนักเมื่อเทียบกับโต้ตอบ ซึ่งประเด็นนี้ผู้เขียนก็ไม่มั่นใจเหมือนกัน ว่าระหว่าง โต้ตอบ หรือ ตอบโต้ อย่างใดที่ถูกใช้มากกว่า แต่ผู้เขียนคิดว่าทั้งสองคำมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยและถูกใช้สถานการณ์ที่แตกต่างกันไป
การโต้ตอบด้วยวาจาเรามักจะเห็นในกรณีที่มีคู่กรณีที่ขัดแย้งกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่งต่างฝ่ายต่างมีความคิดความเห็นที่ไม่เหมือนกัน ทั้งคู่จะต้องหาเหตุผลมาโต้ตอบกันเพื่อหาข้อยุติ ทั้งนี้ การโต้ตอบดังกล่าวจะยุติด้วยดีนั้นควรจะต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง ยุติธรรม มีกติกา และถ้าจะให้ดี คือ ควรจะมีกรรมการผู้ตัดสินที่ทรงความยุติธรรม เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว การโต้ตอบ จะหายไปแล้วนำมาซึ่งความสงบปกติสุขของทั้งสองฝ่าย
มนูญ ศรีวิรัตน์

คน

คน คำนี้ ตอนแรกผู้เขียนก็นึกไม่ออกว่าจะเขียน เรื่อง คน เป็นอย่างไรดี เพราะเชื่อว่าท่านผู้อ่านทุกท่านคงทราบกันดี แต่ผู้เขียนลองนั่งคิดทบทวนดูแล้วมีความเห็นว่า คน เป็นคำที่น่าสนใจคำหนึ่งเช่นกันในแง่ความหมายที่เป็นคำกิริยา ที่แสดงการกระทำใดกระทำหนึ่ง โดยหลายๆ ครั้ง เรามีจะได้ยินคำว่า คน ในหลายๆ สถานการณ์ ในหลายๆ เหตุการณ์ ซึ่งจะแตกต่างกันไป
คน เป็นคำที่แสดงลักษณะอาการที่ทำให้ของเหลวชนิดใดชนิดหนึ่งหรือหลายชนิดให้มีลักษณะที่หมุนผสมกันเพื่อให้โมเลกุลของของเหลวสามารถผสมกลมกลืนกัน ที่เรียกว่า ทำให้เข้ากัน ตัวอย่างเช่น การคนกาแฟ นอกจากนั้น ลักษณะของการคน อาจจะเป็นการระบายความร้อนก็ได้ อาจจะเช่น การคนข้าวต้มร้อนๆ อยู่ให้เย็นเร็วขึ้น
นอกจากนั้น คน อาจจะเป็นการทำให้คละกัน เช่น คนหมายเลขออกฉลากกินแบ่งรัฐบาล คนลูกปิงปองที่ใช้ในการจับฉลากแบ่งสายหรือแบ่งกลุ่มกีฬาฟุตบอล เป็นต้น
ดังนั้น จะเห็นว่า คน จะเป็นการทำให้สิ่งของต่างๆ นั้นคละกัน หมุน เหวี่ยง เพื่อผสมกัน บางครั้งอาจจะเรียกว่า ทำให้เกิดวุ่นวาย หยุ่งเหยิง สับสนปนเปกัน การคนบางลักษณะทำให้เกิดสิ่งที่ดีขึ้น เช่น คนข้าวต้มที่ร้อนๆ ให้เย็น คนกาแฟร้อนให้เย็น คนอาหารทำกับข้าวให้เข้ากันเพื่อได้รสชาติที่อร่อย คนหมายเลขฉลากทำให้เกิดความยุติธรรม เป็นต้น อย่างไรก็ดี คนบางลักษณะอาจจะไม่ดีก็ได้ แต่ผู้เขียนยังนึกไม่ออกว่ามีอะไรบ้างในขณะนี้
ที่นี้กลับมาที่ คน ในลักษณะคำนาม อันหมายถึง สิ่งที่มีชีวิตที่มีมันสมองขั้นสูง สามารถสื่อสารด้วยภาษาพูด ภาษากาย ภาษาเขียน สามารถมีประสาทสัมผัสที่ดีไม่ว่าจะเป็น หู ตา จมูก ผิวหนัง ลิ้น และมีความสามารถอื่นๆ อีกมากมาย คนที่ว่า คือ ตัวเราทุกท่านในโลกใบนี้นั้นเอง คนนี้แหละที่มีวุ่นวาย มีความยุ่งเหยิง มีความสับสน
คนที่ว่า ทำให้เกิดสิ่งต่างๆ ในโลกนี้อย่างมากมาย ด้วยเหตุนี้ หากเราเป็นคนที่ทำให้เกิดความวุ่นวาย ยุ่งเหยิ่ง สับสน มักจะทำให้สังคมหรือสิ่งที่อยู่ใกล้รอบข้างของเรา เกิดความร้อน (เหมือนกับวัตถุที่วิ่งชนกันยุ่งเหยิงแล้วจะเกิดความร้อนจากการวิ่งชนกันตามหลักของฟิสิกส์) เกิดความเดือดร้อน เมื่อเป็นเช่นนั้น สังคมและตัวเราเองก็ไม่มีความสุข อย่างไรก็ดี เราควรจะทำให้เราทุกคน เป็นเหมือนลักษณะการคนที่ทำให้สิ่งของร้อนๆ นั้นเย็นลง นอกจากนั้น เรามาคนกันเพื่อให้เกิดความกลมกลืน เพื่อให้เกิดความผสมเข้ากัน เพื่อให้เกิดความเป็นเนื้อเดียวกัน อันจะเป็นการนำไปสู่ความสามัคคีรักกลมเกลียวกัน
ด้วยเหตุนี้ เราคงจะต้องมีการฝึกปฏิบัติตัวของเราเองไม่ให้มีความวุ่นวาย สับสน ยุ่งเหยิง เราทุกคนควรจะต้อง เป็นคนที่มีคุณลักษณะพิเศษ คือ ทำให้อะไรก็แล้วแต่ให้เย็นลง เมื่อเย็นลงการทำงานต่างๆ ก็จะไม่เกิดความเดือดร้อน มีแต่ความสุข เรามาเป็นคนอย่างที่ว่ากันเถอะครับ ซึ่งเมื่อเป็นคนที่เย็นๆ แล้ว ทุกอย่างก็จะหยุดนิ่ง เมื่อหยุดนิ่งก็จะไม่เกิดการกระทบกระทั้นไม่เดือดร้อนในที่สุด
มนูญ ศรีวิรัตน์

วันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ด่า

ด่า เป็นสิ่งหนึ่งที่ไม่พึงปรารถนาสำหรับมนุษย์เรา ด่า เป็นอาการสำหรับความโกรธ ความไม่พอใจ ความไม่ถูกใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งผู้ไม่พอใจจะเปล่งวาจาออกไป เพื่อเป็นการระบายความไม่พอใจ ไม่ถูกใจขอองตนเอง การเปล่งวาจาดังกล่าวก็จะเป็นที่ไม่ต้องการของคนที่ได้ฟังหรือได้ยิน (ได้ฟังกับได้ยิน ไม่เหมือนกันนะครับ) คำวาจาที่เปล่งออกไปเพื่อด่านั้น โดยส่วนมากเกิดจากความไม่มีสติยั้งคิดเพราะมันเป็นสิ่งที่เกิดจากความโกรธ ความไม่พอใจ ความไม่ถูกใจ เมื่อด่าออกไป ผู้ที่กล่าวคำด่า จะรู้สึกว่าผ่อนคลายขึ้นเล็กน้อย และจะรู้สึกดีถ้าได้ด่าออกไป
แน่นอนครับ ด่าเป็นสิ่งที่ไม่ต้องการสำหรับคนที่ได้ยินได้ฟัง เพราะจะมีความรู้สึกว่าถูกตำหนิ ถูกว่าในเรื่องนั้นๆ ผู้ที่ถูกด่าก็มักจะถามตัวเองว่า เราทำอะไรผิดกันเนี้ย เราทำอะไรไม่ถูก มนุษย์เราทุกคนมักจะเข้าข้างตัวเองอยู่เสมอว่า ตัวเองไม่ผิด ด่า การด่า มักจะเกี่ยวข้องกับผู้ด่ากับผู้ถูกด่า เช่น พ่อแม่ด่าลูกๆ ว่าตื่นสาย ครูด่านักเรียนว่าไม่ทำการบ้าน เจ้านายด่าลูกน้องว่าเล่นแต่เน็ต แฟนสาวด่าแฟนหนุ่มว่าไม่เอาใจใส่ และอื่นๆ อีกมากมาย
ด่า นั้น มักจะต้องมีเหตุ มีสาเหตุ ดังที่ยกตัวอย่างมา เหตุที่ว่า คือ ตื่นสาย ไม่ทำการบ้าน เล่นเน็ต เหตุดังกล่าวจะเห็นว่าเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการด่า แต่ถ้าเหตุดังกล่าวไม่มากไปไม่น้อยไป หมายความว่า อยู่ทางสายกลาง อาจจะทำให้ไม่เป็นเหตุของการด่า
ผู้ที่ถูกด่า บางครั้งก็อยากจะด่าตอบเหมือนกัน ที่เป็นอย่างนั้น ก็เพราะเขาเรียกว่า มีอารมณ์ ตัวอารมณ์นี้แหละครับเป็นสิ่งที่ทำให้เราควบคุมตัวเองไม่ได้ หากท่านใดควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้รับรองว่าจะไม่มีการโต้ตอบ และการด่าจะไม่เกิดขึ้น ตัวอารมณ์จะควบคุมได้ก็ต้องใช้สติ
และผู้เขียนคิดว่าสิ่งที่จะช่วยไม่ให้การด่าเกิดขึ้น คือ เราต้องพยายามฝึกยิ้มเวลาจะด่าใคร นั้นหมายความว่า เมื่อรู้สึกว่ามีอารมณ์โกรธ เกลียด ไม่พอใจ ไม่ถูกใจเมื่อใด ให้ยิ้มก่อนเลย และเช่นเดียวกัน สำหรับผู้ถูกด่า เมื่อได้ยินได้ฟังคำด่า เราก็จะต้องยิ้มไว้ก่อน เพราะการยิ้มจะเป็นด่านแรกที่ทำให้เรามีสติ (ถ้าหากไม่เชื่อ ทดลองดูนะครับ)
อย่างไรก็ดี เหมือนที่ได้บอกไปก่อนหน้านี้ว่า ด่า นั้น จะต้องมีเหตุหรือสาเหตุมาเกี่ยวข้อง ด้วยเหตุนี้ เราทุกคนควรจะต้องคิดทบทวนถึงเหตุและสาเหตุดังกล่าว เพราะต่อไปในอนาคตถ้าหากเรารู้เหตุหรือสาเหตุของเรื่องต่างๆ แล้วนั้น เราสามารถที่จะได้ให้เกิดการด่าได้ด้วยการทำให้ไม่เกิดเหตุนั้น หรือเหตุนั้นมีน้อย เช่น เหตุ คือ ตื่นสาย เราก็พยายามนอนหัวค่ำเพื่อจะได้ตื่นเร็วขึ้น เหตุ คือ ไม่ทำการบ้าน เราก็พยายามหาเวลาให้มากเพื่อทำการบ้าน เหตุ คือ การเล่นเน็ตในเวลาทำงาน เราก็พยายามเล่นน้อยลง เล่นเวลาอาหารกลางวันหรือเวลาเลิกงาน เป็นต้น
เหนือสิ่งอื่นใด หากเราทำผิดแล้ว รู้ว่าทำผิด เราควรจะยิ้มเพื่อรอรับการด่าหรือคำด่า หากเราต้องการด่าคนใดคนหนึ่งเราลองยิ้มไปด้วยด่าไปด้วย รอยยิ้มจะทำให้การด่าและการได้รับคำด่า ไม่มีความรุนแรง วันนี้ หากท่านใดกำลังจะด่าใครก็ตามแต่ลองฝึกยิ้มก่อนด่าดูนะครับ มนุษย์เราไม่มีใครต้องการถูกด่าหรอกครับ และไม่ต้องการด่าใครแบบไร้เหตุผลด้วย
มนูญ ศรีวิรัตน์