วันอังคารที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
เรื่องของน้ำ (ตา)
วันจันทร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
ตื่น (เพื่อไม่ตาย)
วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
ยิ่งแข่งก็ยิ่งแพ้
การแข่งขันใดๆ ผลการแข่งขันที่จะเกิดขึ้นนั้นมีได้สามอย่าง คือ แพ้ ชนะ หรือ เสมอ การแข่งขันไม่ว่าจะเป็นกีฬา หรือ แข่งขันอย่างอื่นๆ จะต้องมีกติกาสำหรับใช้เพื่อให้ผู้เข้าร่วมแข่งขันได้ทราบข้อปฏิบัติข้อบังคับร่วมกัน เพราะถ้าหากผู้เข้าร่วมแข่งขันฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งกระทำผิดกติกา ย่อมจะกระทบต่อผลการแข่งขันที่จะเกิดขึ้น การแข่งขัน ถ้าหากผู้เข้าร่วมแข่งขันยิ่งแข่งยิ่งเป็นผู้ชนะย่อมจะมีความสุขในผลการแข่งขันดังกล่าว แต่กล่าวสำหรับผู้แพ้แล้วนั้นเมื่อยิ่งแข่งมากเท่าใดมีแต่เป็นผู้แพ้ก็ย่อมจะมีความรู้สึกที่ไม่ดี ไม่มีความสุข ไม่อยากจะลงแข่งขันอีกต่อไป
ที่กล่าวมาข้างต้นนั้นเป็นการแข่งขันกีฬา แต่สำหรับชีวิตจริงในการทำงานในการปฏิบัติงาน ถ้ามีการแข่งขันกันก็อาจจะมีผลเช่นกันกับการแข่งขันกีฬา ตัวอย่างเช่น มหาวิทยาลัยในประเทศไทยต่างแข่งขันกันในเรื่องคุณภาพการศึกษา โดยมีคณะกรรมการมาประเมินผลการดำเนินงาน ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวไม่สามารถไปประเมินได้ทุกมหาวิทยาลัยเนื่องจากจำนวนมหาวิทยาลัยนั้นมีจำนวนมากมายเหลือเกิน ด้วยเหตุนี้ คณะกรรมการประเมินจะต้องมีเข้ารับการอบรมภายใต้กฎเกณฑ์ที่เหมือนกันมาตรฐานเดียวกัน อันจะทำให้การประเมินนั้นมีความยุติธรรมมาตรฐานที่เดียวกันใกล้เคียงกัน เพื่อทำให้ผลการประเมินเกิดการยอมรับ
ในโลกของความเป็นจริงมีการแข่งขันกันมากมาย กล่าวเช่น การแข่งขันทางธุรกิจ การแข่งขันในเรื่องคุณภาพการศึกษา และนอกจากนั้น ยังมีการแข่งขันในการทำงาน การแข่งขันกันในองค์กรหน่วยงาน กล่าวคือ ถ้าหากในองค์กรใดพนักงานต่างแข่งกันแต่งตัว แข่งกันแต่งหน้า แข่งกันอวดร่ำอวดรวยใช้ในสิ่งที่ของอุปกรณ์ที่ฟุ่มเฟือย ไม่มีเงินก็ไปกู้ยืมเพื่อได้มาซึ่งที่ต้องการนำไปแข่งกันคนอื่นๆ จะเห็นว่าการแข่งดังกล่าว ยิ่งแข่งยิ่งมีแต่ผู้แพ้ ไม่มีผู้ชนะเกิดขึ้น การแข่งดังกล่าวก็มักจะเกิดความอิจฉาริษยา เกิดความโกรธ เกิดความทุกข์เห็นคนอื่นๆ เด่นเกินหน้าเกินตาเราไม่ได้
ซึ่งจริงๆ แล้วเราสามารถเห็นการแข่งขันดังกล่าวได้ในชีวิตประจำวันอีกมากมาย เช่น นักศึกษาหญิงในมหาวิทยาลัยต่างแข่งขันกันแต่งตัวโดยเฉพาะในสมัยนี้ใครสวมใส่กระโปรงยิ่งสั้นยิ่งจะรู้สึกว่าตัวเองนั้นสวยเป็นที่สนใจของคนอื่นๆ หรือ นักเรียนนักศึกษาต่างแข่งกันในการมีเครื่องโทรศัพท์รุ่นใหม่ๆ หรือ ชีวิตของข้าราชการหลายๆ ท่านต่างแข่งกันมีรถยนต์รุ่นใหม่ๆ หากใครไม่มีก็กู้ยืมผ่านสหกรณ์หรือธนาคาร เป็นต้น
โดยข้อเท็จจริงที่เราเห็นหรือทราบกันอยู่ในปัจจุบันนั้น การที่ยิ่งแข่งกันในการใช้ของฟุ่มเฟือยหรือสิ่งของที่ไม่ก่อประโยชน์ที่คุ้มค่า จะเป็นการแข่งขันที่ ยิ่งแข่งยิ่งมีแต่ผู้แพ้ ซึ่งหมายความว่า เราใช้เงินใช้ทองใช้ทรัพย์สมบัติที่เรามีอยู่หรือไปกู้ยืมมานั้นไม่สมเหตุสมผลไม่เหมาะสมไม่ถูกไม่ควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักศึกษาในมหาวิทยาลัยซึ่งบางคนก็ทำการกู้ยืมเงินเรียน (ที่เรียกว่า กยศ.) ยิ่งกู้ยืมเงินเรียน และยิ่งขอเงินคุณพ่อคุณแม่มาใช้ในทางที่ไม่ถูกไม่ควร ซึ่งคุณพ่อคุณแม่บางท่านก็อาจจะไปทำการกู้ยืมเงินมาให้ลูกๆ เพื่อแข่งขันกันในการใช้จ่ายที่ไม่เหมาะสมหรือซื้อสิ่งของที่ไม่คุ้มค่า
ในทางตรงกันข้าม ถ้าหากนักเรียนนักศึกษาเหล่านั้นมาร่วมกันแข่งประหยัดในเรื่องการแต่งตัว การใช้สิ่งของที่ไม่เหมาะไม่ควรสำหรับชีวิตนักเรียนนักศึกษา หรือ เรื่องอื่นๆ แล้วก็ จะสามารถทำให้ การแข่งดังกล่าว กลายเป็น ยิ่งแข่ง ยิ่งแต่มีผู้ที่ชนะ เป็นผู้ที่ชนะทุกคนทั้งคุณพ่อคุณแม่ ทั้งตัวเราเอง ทั้งเพื่อนๆ ที่รอบข้างตัวเรา
การแข่งขันอีกประเภทหนึ่ง ที่ไม่สามารถมองเป็นรูปธรรมได้ คือ การแข่งกันมีอำนาจ เพราะอำนาจเป็นสิ่งที่ทำให้คนๆ นั้นสามารถจะดลบันดาลสิ่งที่ต้องการได้หลายๆ เรื่อง บางเรื่องอาจจะไม่ถูกไม่ควรก็ได้ ยิ่งแข่งกันมีอำนาจก็ยิ่งจะเกิดการแย่งกันมาก เนื่องจากอำนาจมีจำนวนไม่มาก ในหน่วยงานใดๆ ผู้อำนาจสูงสุดในหน่วยงานองค์กรนั้นสามารถที่จะได้รับการนับถือ ได้รับเอาอกเอาใจจากผู้ใต้บังคับบัญชา เพราะถ้าหากกระทำในสิ่งที่ไม่เป็นที่พอใจของผู้มีอำนาจแล้ว ผู้นั้นอาจจะเดือดร้อนก็ได้
ดังนั้น ยิ่งแข่งกันมีอำนาจ ยิ่งมีแต่แพ้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการแข่งกันมีอำนาจด้วยวิธีการที่ไม่ถูกต้อง วิธีการที่ใช้พลังเกินขอบเขตเกินกติกาที่กำหนดไว้ ผลที่เกิดขึ้นย่อมมีแต่แพ้ ถึงแม้จะเป็นผู้ชนะที่มีอำนาจ แต่ก็เป็นผู้แพ้ในสัจธรรมความจริง เป็นผู้ชนะที่ไม่ยั่งยืน
แต่อย่างไรก็ดี ยิ่งมีสิ่งหนึ่งที่ยิ่งแข่งยิ่งไม่มีทางแพ้ คือ การแข่งกันทำความดี ยิ่งแข่งกันทำความดี ยิ่งจะเกิดสิ่งที่ดีๆ ต่อคนรอบข้างต่อครอบครัวต่อองค์กรหน่วยงาน และประเทศชาติของเราในที่สุด ซึ่งก็จะเป็นการ ยิ่งแข่งยิ่งชนะ และเป็นการชนะที่ยั่งยืนตลอดไป
มนูญ ศรีวิรัตน์
วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
อิ่มใจ
เมื่อผู้เขียนได้ฟังแล้วมีความรู้สึกว่าจะต้องแสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้เพื่อให้ท่านผู้รู้ทั้งหลายได้ช่วยกันขยายความและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันให้ได้
ครับ แน่นอนเราคนไทยทุกคนไม่ว่าจะเป็นเด็กเล็ก เด็กโต ผู้ใหญ่ คนแก่คนเฒ่าชรา ล้วนจะต้องมีความรู้สึกอย่างยิ่งในทุกๆ วัน ทุกๆ ช่วงของเวลา นั่นคือ ความหิว และเมื่อเราหิวเราก็จะบรรเทาความหิวใครมีทรัพย์มากก็ได้รับประทานอาหารที่ดีๆ จำนวนมากๆ ใครที่มีกำลังทรัพย์น้อยก็ได้รับประทานอาหารที่มีจำนวนน้อยตามสัดส่วนของทรัพย์ที่มีอยู่ แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกคนได้รับหลังจากการรับประทานอาหาร คือ ความอิ่ม หรือ อิ่มข้าว เมื่อเราอิ่มไม่ว่าจะยากดีมีจนหรือร่ำรวยมหาศาลเพียงใด เราก็ไม่สามารถที่จะรับประทานอาหารได้อีก (แต่ก็อาจจะมีบางคนที่เราเคยได้ยิน คือ ชูชก เท่านั้น ที่อิ่มแล้วยังกินจนตัวเองท้องแตกตายในที่สุด)
อิ่มที่ได้เกริ่นนำตามข้างต้นนั้น เป็นอิ่มใจ น่าจะเป็นความรู้สึกที่ว่า เมื่อเราทำอะไรลงไปแล้วตัวตนของเรา จิตใจของเรามีความรู้ว่า มันเป็นการกระทำที่มีความสุขเหลือเกิน ถ้ามีโอกาสก็ยังมีความอยากที่จะกระทำเรื่องดังกล่าวอีกสักครั้ง ตัวอย่างเช่น ผู้ชายคนหนึ่งเขาเดินเข้าไปที่โรงพยาบาลเพื่อบริจาคโลหิตโดยไม่ได้คิดอะไรมากมาย มีความรู้สึกเพียงแต่ว่า การบริจาคโลหิตเป็นการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ผู้ที่เจ็บไข้ได้ป่วย แต่วันนั้นเป็นวันที่พิเศษมากเพราะเนื่องจากมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นและมีผู้ที่ต้องการโลหิตของเขาซึ่งเป็นกรุ๊บเลือดที่หายาก ปรากฏว่าผู้ที่ประสบอุบัติเหตุนั้นรอดชีวิตจากการบริจาคโลหิตดังกล่าว ทำให้ผู้ชายคนนั้นมีความรู้สึกที่มีความสุข มีความรู้สึกอิ่มใจเป็นอย่างมาก
อิ่มใจ ความอิ่มใจ จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเราทำอะไรลงไปโดยไม่ได้หวังผลตอบแทน และผลการกระทำดังกล่าวนั้นทำให้เกิดประโยชน์ต่อผู้คนทั้งใกล้ชิดรอบข้างหรือผู้คนอื่นๆ โดยการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่บริสุทธิ์ใจเป็นที่ตั้ง ซึ่งถ้าหากในครอบครัวของเราต่างคนต่างต้องการให้มีความอิ่มใจเกิดขึ้น องค์กรของเราต้องการให้ทุกคนมีความอิ่มใจเกิดขึ้นมากๆ ถึงแม้ว่าเราจะอิ่มแล้ว แต่ก็ยังอยากจะกระทำต่อไป ไม่เหมือนกันกับการอิ่มข้าว ที่สามารถรับประทานต่อได้อีก ด้วยเหตุนี้ อิ่มใจ เป็นสิ่งที่เราทุกคนควรจะทำให้เกิดขึ้นและถึงแม้อิ่มใจแล้ว ก็ยังจะสามารถอิ่มได้อีกไม่มีวันเบื่อไม่มีสิ้นสุดลงได้
ถ้าหากเป็นเช่นนั้นแล้ว เราทุกคนในสังคมทุกสังคมเรามาช่วยกันหิวในการสร้างกระทำความดีด้วยความบริสุทธิ์ใจเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนร่วมโดยที่เราไม่หวังผลใดๆ ทั้งสิ้น และเชื่อได้เลยว่าหากที่ใดสังคมใด เกิดความอิ่มใจมากๆ แล้ว สังคมนั้นจะมีแต่ความสุขและเป็นความสุขที่เรานั้นต้องการจะเกิดความหิวต่อไปอีก เพื่อให้สามารถอิ่มใจอย่างไม่มีวันจบสิ้น ก็ขอให้ทุกท่านได้มาลองหิวเพื่ออิ่มใจตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
มนูญ ศรีวิรัตน์
เรื่องของผม
อันผมนี้แหละครับที่เป็นสิ่งที่เราทุกคนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ตั้งแต่เด็กแรกเกิดเราก็มีพิธีโกนผมไฟ (ซึ่งรายละเอียดผู้เขียนก็ไม่สามารถรู้เหมือนกันว่า เขาโกนผมไฟ ไปเพื่ออะไร) พอเราเข้าโรงเรียนประถมมัธยมต่างก็มีกติกาว่าจะต้องตัดผมทรงนักเรียน นักเรียนทุกคนก็จะต้องทำตามที่กติการะเบียบของโรงเรียนต่างๆ ที่วางไว้ ซึ่งอาจจะมีนักเรียนมากบคนที่มีความรู้ว่าอยากจะแหกกฎเกณฑ์ดังกล่าว อาจจะมีความรู้สึกเพราะว่าต้องการที่จะเป็นผู้ใหญที่ไว้ทรงผมอะไรก็ได้ และหลังจากจบมัยธมเข้าสู่วันอุดมศึกษาที่นี้นักศึกษาทุกคนมีความอิสระที่ไว้ทรงผมอะไรก็ได้ที่ไม่ทำให้คนอื่นๆ เขาเดือดร้อน บางคนก็ยาวมากๆ บางคนก็ไว้ทรงผมแปลกๆ เพื่อสร้างจุดเด่นให้กับตัวเอง
มนูญ ศรีวิรัตน์
ไม่ถึงเวลาก็ไม่ควร จะได้ จะมี จะเป็น
จากที่ยกตัวอย่างที่ผ่านมา เราจะเห็นว่า ถ้ายังไม่ถึงเวลาที่เหมาะที่ควรแล้ว การกระทำของเราไม่เหมาะสมอย่างแน่นอน เพราะมันเป็นธรรมชาติ กติกา ประเพณี ธรรมเนียมปฏิบัติที่ได้กำหนดไว้แล้ว ซึ่งถ้าหากเราลงมือกระทำไปก่อนก็อาจจะเกิดความเสียหายเกิดขึ้นไม่มากก็น้อย และที่สำคัญ คือ งานบางอย่าง หน้าที่บางอย่าง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้เวลามาเกี่ยวข้อง เวลาดังกล่าว มักจะถูกเรียกว่า ประสบการณ์ นั่นเอง ด้วยเหตุนี้ เราจะเห็นว่างานหลายๆ อย่างหลายประเภทจำเป็นจะต้องใช้ผู้มีประสบการณ์มาก่อน ซึ่งเราจะเรียกว่า ไม่ถึงเวลาก็ไม่ควรจะเป็น
วันศุกร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
อตด. (เอาแต่ได้)
เมื่อไรก็ตาม ที่เราไม่สนใจคนอื่นคนรอบข้าง ตัวเราเองอาจจะไม่รู้สึกอะไร แต่สำหรับคนอื่นคนรอบข้างนั้นพวกเขามีความรู้สึกอย่างแน่นอน ว่า คนที่ไม่สนใจคนอื่นไม่เอาใจเขามาใส่ใจเรา เป็นคนประเภทที่ไม่ควรจะเข้าใกล้ ไม่ควรที่จะร่วมสนทนา ถ้าเป็นอย่างนั้น นานๆ ไป คนที่เอาแต่ได้ก็จะไม่มีเพื่อนแท้ ไม่มีมิตร จะทำอะไรก็ยากที่จะมีผู้ช่วยเหลืออย่างจริงใจ ก็ขอให้ผู้เป็นคนเอาแต่ได้ หรือ คิดว่าตนเองเข้าข่ายเป็นคนเอาแต่ได้ ลองกลับมาทบทวนตัวเอง ตัวเราเองว่าเป็นอย่างไร
วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
ความสว่าง และ ความมืด (ครู)
มอง แต่ไม่เห็น หรือ เห็น แต่ไม่มอง
วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
หมดหวัง
การแข่งขันกีฬา โดยเฉพาะฟุตบอลทั้งระดับโลกระดับชาติ หรือ ระดับไหนแล้วแต่ เวลาที่อีกฝ่ายหนึ่งยิงประตูขึ้นนำแล้ว เราจะสังเกตสีหน้าของกองเชียร์ทั้งสองฝ่ายได้อย่างชัดเจนว่ามีความแตกต่างกันอย่างมาก ฝ่ายที่ขึ้นนำสีหน้าหน้าตาจะมีแต่ความสุขยิ้มแย้มสนุกสนาน แต่ตรงกันข้ามกับอีกฝ่ายหนึ่งที่สีหน้ามีแต่ความเศร้าหมอง ไม่มีรอยยิ้ม โดยเฉพาะถ้าหากใกล้หมดเวลาของการแข่งขัน สีหน้าลักษณะต่างๆ ที่แสดงออกมานั้น บ่งบอกถึง ความหมดหวัง ในใจก็อาจจะคิดว่าทีมของตัวเองอาจจะสามารถยิงประตูเพิ่ม ยิงประตูตีเสมอ หรือยิงประตูเพิ่มแซงเพื่อให้ได้มาซึ่งชัยชนะ แฟนบอลบางคนทนไม่ไหว หมดหวังกับผลการแข่งขันดังกล่าวอาจจะเดินออกจากสนามการแข่งขันไป โดยไม่รอว่าสิ้นเสียงนกหวีดของกรรมการผู้ตัดสินใจจะเกิดขึ้นเมื่อไร จะเห็นว่า อาการหมดหวังนี้ ทำให้ผู้นั้นมีแต่ความทุกข์ในจิตใจ กระวนกระวาย กับเวลาที่ยังเหลืออยู่
จะเห็นว่า จากที่กล่าวมาข้างต้น ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการหมดหวังนั้นมีสองประการ คือ หนึ่ง เรื่องเป้าหมาย หรือ จุดประสงค์ หรือ สิ่งที่หวังไว้ และ สอง เรื่องของเวลา ซึ่งทั้งสองปัจจัยนั้นจะมีความสัมพันธ์เกี่ยวกับความหมดหวังพอสมควร นั้นหมายความว่า ถ้าหากเราเป้าหมาย จุดประสงค์ สิ่งที่หวังไว้ ความหวังที่สูงเกินความสามารถของเรา โอกาสที่เราจะประสบความสำเร็จที่ตั้งไว้ย่อมมีน้อยมากเช่นกัน เรื่องของเวลาก็เช่นเดียวกันถ้าหากเราตั้งเป้าหมาย จุดประสงค์ หรือสิ่งที่หวังไว้สูงเกิน แต่เวลามีน้อย โอกาสที่เราจะประสบความสำเร็จก็ย่อมมีน้อยเช่นกัน แต่บางครั้ง ถ้าหากเรายังมีเวลาเหลืออยู่ แต่เรายังไม่บรรลุเป้าหมายหรือสิ่งที่หวังไว้ แต่เรา หมดหวัง ที่จะเดินต่อสู้ต่อไป ณ เวลานั้น จิตใจของเราจะรู้สึกว่า เป้าหมายนั้นมันไกลเหลือเกินเป็นไปไม่ได้
แต่ท่านเชื่อหรือเปล่าว่า เมื่อไรก็ตามที่เวลาของเรายังไม่หมดลงไป ความหวัง (เป้าหมาย สิ่งที่หวังไว้) ก็ยังมีโอกาสเป็นไปได้ ขอเพียงแต่เราจะต้องมีจิตใจที่เข้มแข็งแน่วแน่เด็ดเดี่ยว บอกตัวเองอยู่ตลอดเวลาทุกนาที ทุกวินาที ทุกเสี้ยววินาทีว่าเราจะต้องทำให้ได้ ด้วยเหตุนี้ เราเมื่อไรก็ตามที่เราหรือท่านมีความรู้สึกว่าหมดหวังในเรื่องใดๆ (ทั้งที่เวลายังไม่ได้หมด ยังไม่ได้สูญสิ้นลงไป) เราลองมาฝึกจิตใจ ฝึกจิตของเราให้มีความรู้สึกว่า เรายังทำได้ เราจะต้องไปให้ถึง เหมือนกันโฆษณาสินค้าบางประเภทที่บอกว่า เป้าหมายมีไว้ให้พุ่งชนเท่านั้น ซึ่งเวลานั้นไม่เคยหยุดนิ่ง เพียงแต่จิตใจของเรานั้นเองที่หยุดนิ่งไปบางช่วงบางขณะว่า เราหมดหวังแล้ว เราสิ้นหวังแล้ว แต่อย่าลืมว่า นั้นเป็นเพียงช่วงขณะเวลาสั้นๆ มากในจิตของเรา ถ้าหากสั่งจิตของเราว่า เราทำได้ เราจะต้องไปให้ถึง รับรองได้ว่า ความหมดหวัง จะไม่เกิดขึ้น จะมีเพียงความหวังที่เกิดขึ้นมาแทนที่
เราสามารถจะหยุดเวลาได้ทำเวลาให้ช้าลงได้ ถ้าหากเราฝึกจิตของเราให้สติ ความรวมเร็วในการทำงาน ในการปฏิบัติก็ย่อมจะเกิดขึ้น และเมื่อเป็นเช่นนั้น เป้าหมาย จุดประสงค์ หรือ สิ่งที่เราหวังไว้ ก็สามารถบรรลุได้และประสบความสำเร็จในที่สุด แน่นอนครับการฝึกจิตของเราให้มีสติเป็นเรื่องที่ยากมาก แต่หากเรามาลองฝึกกันโดยมีความหวัง และบอกตัวเองว่า เราจะไม่มีวันหมดหวังในเรื่องดังกล่าว เชื่อได้เลยว่า ในชีวิตของเรานี้ โอกาสที่จะเกิดความหมดหวังมีน้อยมาก
สำหรับท่านใดที่กำลังหมดหวังในเรื่องใดๆ ในชีวิต ก็ขอให้ลองมาคิดมาฝึกจิตของเราให้บอกตัวเราว่า เวลายังไม่หมด เวลายังมีอีกมาก เวลาที่เหลือ เราสามารถทำได้ และต้องทำให้ได้ ด้วยจิตที่เป็นหนึ่งเดียวในเป้าหมายของเรา ด้วยจิตที่มั่นคงแน่วแน่ ด้วยจิตที่มีสติ ด้วยจิตที่บริสุทธิ์ เราจะไม่มีวันหมดหวังในชีวิตนี้ วันนี้เป็นต้นไปเราจะบอกตัวเองว่า ในชีวิตนี้ เราจะไม่หมดหวังในเรื่องใดๆ แต่บางครั้งก็อย่า หวังหมดไปทุกอย่างก็แล้วกัน
มนูญ ศรีวิรัตน์
น้ำ และ ใจ
ในช่วงนี้ของทุกปี คือ เดือนพฤษภาคม ถึง มิถุนายน จะเป็นช่วงของเวลาที่มีฝนตกลงมาเพื่อให้ชาวเกษตรกรได้ทำไร่ทำนา บางปีปรากฏว่าฝนตกไม่ต้องตามฤดูกาลหรือมีปริมาณน้ำฝนที่น้อยก็ทำให้เกษตรกรเดือดร้อน บางปีถ้าหากมีฝนตกปริมาณมากก็อาจจะทำให้เกษตรกรเดือดร้อนเช่นกันเพราะเกิดน้ำท่วมสร้างความเสียหายให้กับพื้นที่การเกษตรได้ ดังนั้น เราจะเห็นว่าในเรื่องน้ำนั้นจำเป็นที่จะต้องมีปริมาณน้ำที่พอดีพอเพียงต่อการบริโภคใช้สอย น้ำทำให้เรามีความสุขทั้งใช้ดื่ม ใช้ทำความสะอาด และอื่นๆ
ใจ ถ้าหากเป็นสิ่งที่จับต้องได้ คงจะหมายถึง หัวใจ ที่เป็นก้อนๆ ในร่างกายของมนุษย์เรา ซึ่งตามที่ทางแพทย์เขาบอกไว้นั้น ใจ หรือ หัวใจ มีทั้งหมดสี่ห้อง เป็นอวัยวะที่สำคัญในการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ส่วน จิตใจ เป็นลักษณะของนามธรรม จับต้องไม่ได้ เป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกท่านจะต้องมีเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ ใช้ประกอบกับการคิดไตร่ตรอง ซึ่งเป็นสิ่งที่เราทุกคนมีแตกต่างกันไปตามการฝึกปฏิบัติ ใครที่มีจิตใจที่ดี จะนำมาซึ่ง การกระทำ การปฏิบัติดี ใครที่มีจิตใจไม่ดี ก็จะนำมาซึ่งการกระทำไม่ดี การปฏิบัติในทางที่ไม่ดี
สำหรับ ใจ บางครั้ง เรามักจะเคยได้ยินว่า มีใจ ซึ่งอาจจะหมายถึง เราสนใจในเรื่องนั้นๆ เรามีความตั้งใจในเรื่องนั้นๆ เรามีสติในเรื่องนั้น เรามีเอาใจใส่ในเรื่องนั้นๆ ตัวอย่างเช่น นักศึกษามีใจในการเรียน นักเรียนมีใจในการร้องเพลงเชียร์ เป็นต้น นอกจากนั้น ใจ บางครั้งที่เป็นเรื่องอาจจะไม่ดี ได้แก่ เอาแต่ใจ เช่น ลูกๆ เอาแต่ใจของตนเอง อันหมายถึง ลูกคนนั้นไม่สนใจในเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ได้สั่งสอนบอกกล่าว ไม่ฟังคุณพ่อคุณแม่ ไม่ใส่ใจในเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่บอกให้ทำ จะเห็นว่า การเอาแต่ใจ มักจะเป็นเรื่องที่ไม่ดี เพราะคนที่เอาแต่ใจจะมีแต่ความทุกข์ มีแต่กิเลศ มีแต่ความต้องการ มีแต่ความอยาก ที่ไม่มีเหตุผล คนดังกล่าวรู้แต่เพียงว่าต้องการได้ในสิ่งที่ตนอยากได้เท่านั้น ซึ่งจะเห็นว่าการเอาแต่ใจ เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดทุกข์สำหรับทุกๆ คน ทั้งผู้ที่เอาแต่ใจ และผู้ที่อยู่ใกล้ชิด ถ้าหาก ครอบครัวใด หน่วยงานใด องค์ใด มีแต่คนที่ เอาแต่ใจ จะเกิดแต่ความทุกข์ไม่มีวันที่สิ้นสุด
ที่กล่าวมาข้างต้น ผู้เขียนเพียงต้องการให้ทราบว่า น้ำ และ ใจ นั้น เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ด้วยกันทั้งคู่ แต่บางครั้งก็เกิดโทษได้เช่นเดียวกัน น้ำถ้าหากมีมาก ก็เกิดน้ำท่วมนำมาซึ่งความเดือนร้อนได้เช่นกัน ใจ ถ้าหาก เรามีใจให้กับการเรียน การสอน การงาน รับรองได้ว่าจะนำมาซึ่งความสุขความเจริญ ในทางตรงข้าม หาก เอาแต่ใจในการเรียน การสอน การงาน รับรองได้เช่นกันว่าจะนำมาซึ่งความทุกข์ ทั้ง น้ำ และ ใจ หากเรานำมารวมกัน ก็จะกลายเป็นสิ่งที่ประโยชน์ต่อสังคมเป็นอย่างมาก คือ น้ำใจ น้ำใจ เป็นสิ่งที่เราทุกคนควรจะต้องมีและยิ่งมีมากยิ่งดี เพราะ น้ำใจ คือ สิ่งที่เราเอื้อเฟื้อ อาทร เสียสละ ช่วยเหลือให้กับคนรอบข้าง ให้คนที่ใกล้ชิดเรา ให้กับครอบครับ ให้กับหน่วยงาน ให้กับองค์กร ให้กับสังคม ให้กับประเทศชาติ ด้วยเหตุนี้ ถ้าเรามีน้ำใจแล้วไม่ว่าจะมากหรือจะน้อยก็แล้วแต่ จะทำให้เรามีความสุข คุณพ่อคุณ
ดังนั้น เรามาช่วยกันรณรงค์หาน้ำ รักษาน้ำ อนุรักษ์น้ำ ซึ่งน้ำที่ว่า คือ น้ำใจ ให้ได้มากที่สุดตั้งแต่วันนี้เถอะครับ เมื่อเรามีน้ำใจให้กันและกันแล้ว โลกของเราก็จะชุ่มชื่นไปด้วยน้ำทิพย์ที่พร้อมจะให้ทุกคนได้นำใช้ในการดำรงชีพที่มีแต่ความสุขทั้งกายและใจตลอดกาล
มนูญ ศรีวิรัตน์
วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
กด แล้ว ดัน หรือจะเป็น ดัน แล้ว กด
วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
บอกแล้ว ได้ยิน แต่ไม่ฟัง
วันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
แก่ แล้วเห็น เห็นแล้ว ตัวใครตัวมัน
วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
เห็นใจ
วันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
โต้ตอบ กับ ตอบโต้
คน
มนูญ ศรีวิรัตน์
วันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
ด่า
ด่า นั้น มักจะต้องมีเหตุ มีสาเหตุ ดังที่ยกตัวอย่างมา เหตุที่ว่า คือ ตื่นสาย ไม่ทำการบ้าน เล่นเน็ต เหตุดังกล่าวจะเห็นว่าเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการด่า แต่ถ้าเหตุดังกล่าวไม่มากไปไม่น้อยไป หมายความว่า อยู่ทางสายกลาง อาจจะทำให้ไม่เป็นเหตุของการด่า
มนูญ ศรีวิรัตน์