Nuffnang Ads

วันศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

STEM Education


หลายๆ ท่านคงอาจจะเคยได้ยินได้รู้จักเกี่ยวกับ STEM Education มาบ้าง ทั้งนี้  STEM Education คือการสอนแบบบูรณาการข้าม กลุ่มสาระวิชา (Interdisciplinary Integration) ระหว่าง ศาสตร์สาขาต่างๆ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ (Science: S) เทคโนโลยี (Technology: T) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineer: E) และ คณิตศาสตร์ (Mathematics: M) โดยนำจุดเด่นของธรรมชาติ ตลอดจนวิธีการสอนของแต่ละสาขาวิชามาผสมผสานกันอย่างลงตัว เพื่อให้ผู้เรียนนําความรู้ทุกแขนงมาใช้ในการแก้ปัญหา การค้นคว้า และการพัฒนาสิ่งต่างๆ ในสถานการณ์โลกปัจจุบัน
  (ผู้อ่านสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ Link ต่อไปนี้ นะครับ  http://www.se-edlearning.com/wp-content/uploads/2013/11/stem.education.in_.21thcentury.pdf )

          อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ผู้เขียนจะนำเสนอต่อไปนี้นั้น อาจจะเป็น STEM Education อีกรูปแบบหนึ่งที่วงการศึกษาอาจจะลองพิจารณานำไปใช้  โดยที่

S =  Social สังคม

T =  Thai ความเป็นไทย

E =  Environment  สิ่งแวดล้อม

M = Mental จิตใจ
            ซึ่งหมายความว่า การศึกษาของไทยจากที่เป็น STEM Education แบบ วิทยาศาสตร์ (Science: S) เทคโนโลยี (Technology: T) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineer: E) และ คณิตศาสตร์ (Mathematics: M) แล้ว ก็ควรจะกลับมามองถึงแบบที่เป็น สังคม (Social :S) ความเป็นไทย (Thai : T) สิ่งแวดล้อม (Environment :E) และ จิตใจ (Mental :M)  อันหมายถึง “การศึกษาที่เน้นการอยู่ร่วมกันเป็นสังคมด้วยความเป็นไทยใส่ใจ (จิตใจ) สิ่งแวดล้อม”

            โดยที่การศึกษาจะต้องให้ความสำคัญของการดำรงคงอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขที่ยั่งยืนทำอย่างไรที่จะให้คนไทยประเทศไทยของเราเป็น “สังคมความเป็นไทย” อย่างแท้จริง ซึ่งอาจจะต้องเน้นหนักในเรื่องของหลักพุทธธรรมคำสอนให้ลึกซึ้งของเด็กนักเรียนตั้งแต่ปฐมวัยจนไปสู่ระดับที่สูงขึ้นตามลำดับ คือ ประถมศึกษา มัธยมศึกษา อุดมศึกษา เป็นต้น ทั้งนี้ จะต้องมีจิตใจที่รักธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ให้ความสนใจในการรักษาสิ่งแวดล้อมในทุกๆ ด้านอย่างสมดุล 


           ครับ กล่าวสำหรับ “สังคม (Social :S)  หากว่าการศึกษาทำให้เกิดการเรียนรู้ความเข้าใจการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขย่อมจะทำให้เกิดประเทศไทยของเราน่าอยู่ยิ่งๆ ขึ้น  และเช่นเดียวกันกับ ความเป็นไทย (Thai : T) ซึ่งเป็นการน้อมนำพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราชดำรัส แก่ประชาชนชาวไทย ในโอกาสขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๕๗  ณ วังไกลกังวล หัวหิน ความตอนหนึ่งที่ว่า ข้อสำคัญ จะคิดจะทำสิ่งใด ให้นึกถึงส่วนรวม และความเป็นไทยไว้เสมอ  งานของตน และงานของชาติ  จักได้ดำเนินก้าวหน้าไป โดยถูกต้อง เที่ยงตรง ไม่ติดขัด และบรรลุถึงประโยชน์  เป็นความสุข  ความเจริญ และความสงบร่มเย็น  ดังที่ทุกคนตั้งใจปรารถนา
            และโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม (Environment :E) นับวันจะมีความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่กระทบการดำรงชีพของคนเราในทางที่ไม่ดีเท่าที่ควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอากาศ น้ำ ป่า หรือ อื่นๆ ที่เป็นสิ่งแวดล้อมกระทบต่อตัวเรา คนไทยก็ควรจะต้องอย่างยิ่งตระหนักให้ความสำคัญในการศึกษาเรียนรู้ว่าทำอย่างไรที่จะให้สิ่งแวดล้อมด้านต่างๆ ของเราน่าอยู่มีความสมดุลตามหลักธรรมชาติ ซึ่งเมื่อเราทำได้แล้วย่อมจะเกิดผลดีต่อจิตใจ (Mental :M)  และหากว่าจิตใจของเราดีย่อมจะดีในทุกๆ ด้านตามมาในที่สุด
            ครับ สุดท้ายนี้ หากว่าเรานำ STEM education ทั้ง ๒ แบบมาบูรณาการในการเรียนการสอนในการศึกษาทุกระดับ ผู้เขียนเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าจะทำให้เกิดการพัฒนาการศึกษาอย่างยั่งยืน
มณูญพงศ์ ศรีวิรัตน์
๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗



วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

กาลามสูตร กับ การจัดการความรู้ (Knowledge Management) และการศึกษา ?


หลักกาลามสูตร หรือ หลักความเชื่อ ๑๐ ประการ (http://th.wikipedia.org/wiki/กาลามสูตร ) ในพระพุทธองค์

๑.       มา อนุสฺสวเนน - อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามๆ กันมา
   ๒.     มา ปรมฺปราย - อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบๆ กันมา
   ๓.      มา อิติกิราย - อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ
   ๔.      มา ปิฏกสมฺปทาเนน - อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
   ๕.      มา ตกฺกเหตุ - อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก
   ๖.       มา นยเหตุ - อย่าปลงใจเชื่อ เพราะการอนุมาน
   ๗.      มา อาการปริวิตกฺเกน - อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
   ๘.      มา ทิฎฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา - อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว
   ๙.       มา ภพฺพรูปตา - อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้
๑๐.   มา สมโณ โน ครูติ - อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้ เป็นครูของเรา
      จะเห็นว่าหลักกาลามสูตรจะเกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ (Knowledge Management) และการศึกษา นั้นยังไม่ทราบแน่ชัดว่าจะเป็นอย่างไร แต่ในเบื้องต้นลองอ่านบทกลอนที่ผู้เขียนได้แต่งไว้ข้างล่างนี้ ก่อนนะครับ

หลักความเชื่อ เมื่อรู้ ดูแจ่มชัด
ให้รู้จัก มักคุ้น ตุนให้มาก
ความเป็นจริง ยิ่งค้น สนใจมาก
ไม่ได้ยาก หากทน ค้นเรื่องดี
 

เชื่อไม่คิด จิตตก รกหัวใจ
เชื่อตามใคร ไม่ดู รู้ให้ดี
เชื่อเพราะเชื่อ เมื่อไร ไม่ค่อยดี
เชื่อใน "ดี" มีหนึ่ง จึงเชื่อเอย


     สำหรับการจัดการความรู้นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเป็นจอมปราชญ์ของแผ่นดินกับการจัดการความรู้ (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.opdc.go.th/english/9rama/rama9_details_05.html )  

    นอกจากนั้น เกี่ยวกับเรื่องของ "ความรู้" ความในพระราชดำรัส สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงบรรยายในหัวข้อ แนวโน้มการจัดการเรียนการสอนเพื่อการเรียนรู้ในทศวรรษหน้าในการสัมมนาวิชาการ เรื่อง เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ในทศวรรษหน้า ณ โรงแรม บีพี สมิหลา จังหวัดสงขลา  วันที่  ๒๓ กันยายน  ๒๕๔๒

แนวโน้มความรู้ในทศวรรษหน้าจะมีหลายอย่าง    ดังนี้ 
ประการแรก   ความรู้สากล    คือความรู้ที่จะสามารถเปรียบเทียบกันได้ทั้งโลก
ประการที่     ความรู้ที่เป็นมาตรฐานระดับประเทศ    ที่เราจะกำหนดว่าคนไทยควรต้องรู้อะไร
ประการที่     ความรู้ท้องถิ่น  ทำให้เรารู้ความเป็นมาและศักยภาพของท้องถิ่น
     ที่สำคัญคือ จะต้องสามารถโยงความรู้ทั้ง ๓ ระดับนี้ให้เข้ากันได้”

(สามารถอ่านบทความที่ผู้เขียนให้นักศึกษา ม.อุบลฯ เขียนส่ง ได้ที่ http://knowledgemanagementbypipat.blogspot.com/2013/11/blog-post_25.html)


    สำหรับผู้เขียนแล้วคิดว่าการที่จัดการความรู้ให้มีประสิทธิภาพนั้น บางสิ่่งที่ควรจะต้อง "รู้" และเข้าใจเสียก่อน คือ "KNOW" ซึ่งอาจจะเป็นตามล่างนี้ ครับ




    ซึ่งแน่นอนครับว่าเมื่อเรารู้แล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง "คิด" ดังนั้น ลองคิดมาข้างล่างนี้ลองดูนะครับ 



     และที่สำคัญสิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิด "รู้" มากๆ คือ จะต้องมีการอ่าน "READ"


      ด้วยเหตุดังกล่าว หากว่าเราจะเชื่อสิ่งใดก็ให้ใช้หลักกาลามสูตร ทั้ง ๑๐ ประการ แล้วก็ต้อง "KNOW" ให้มากๆ โดยการ "THINK" และพร้อมด้วยการ "READ"  ก็จะนำไปสู่การมีความรู้ และเมื่อมีความรู้แล้วก็ต้องมีการจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพ (สามารถอ่านรายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับ "การจัดการความรู้" ได้ที่ KM) และเมื่อการจัดการความรู้ที่ดีก็จะเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "การศึกษา" ในที่สุด 



      อย่างไรก็ดี สุดท้ายนี้ ผู้เขียนมีคำถามว่า จะทำอย่างไรที่จะให้ "การจัดการความรู้" สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาด้านการศึกษาในทุกระดับได้อย่างแท้จริง ซึ่งเราทุกคนน่าจะช่วยกันหาคำตอบร่วมกัน เพราะอย่างน้อยที่สุดก็เป็นการ "จัดการกับสิ่งที่ยังไม่รู้" เพื่อให้เป็น "การจัดการให้รู้" ในที่สุด


 ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗