วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2559

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงพ่อจรัญ เรื่องกฏแห่งกรรม"

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงพ่อจรัญ เรื่องกฏแห่งกรรม" คติคำสอนของหลวงพ่อจรัญ  สำคัญอย่างยิ่งในเรื่อง "กฏแห่งกรรม" ขอเชิญทุกท่านอ่านได้ตามต่อไปนี้



"... ที่พระพุทธศาสนาสอนเน้นเรื่อง กฏแห่งกรรม
เพราะต้องการให้มนุษย์ทุกคน มีความสุขทั้งในชาตินี้ และชาติต่อๆ ไป
ทั้งนี้ เพราะความสุข หรือ ความทุกข์
เป็นผลมาจากการกระทำของเราเองทั้งสิ้น
และคำสอนเรื่องกฏแห่งกรรม ไม่ได้ต้องการให้ชาวพุทธ
เป็นคนขาดความกระตือรือร้น
หรือขาดความพยายามที่จะแก้ปัญหาด้วยตัวเอง กฏแห่งกรรม
เพียงแต่เน้นความสำคัญว่า การทำทุกอย่างมีผลต่อผู้ทำทั้งในระยะสั้น
และระยะยาว มากบ้าง น้อยบ้าง ตามประเภทของการกระทำ
ดังนั้น เราจึงควรระมัดระวัง ทำแต่สิ่งดีงามทุกครั้ง
และแม้ว่าชีวิตปัจจบัน จะเป็นผลมาจากการกระทำในอดีต
แต่ก็มิได้หมายความว่า เราไม่มีเสรีภาพที่จะสร้างชีวิตใหม่ เหตุนี้
พระพุทธศาสนาจึงให้ความสำคัญของการกระทำให้ปัจจุบันเป็นพิเศษ..."

คำสอนของท่านหลวงพ่อจรัญข้างต้น หากว่าเราได้น้อมนำทำตามแล้วเชื่อว่า ดีแน่นอน ดังนั้น ปัจจุบันนี้ ลงมือทำได้เลย "ความดีงาม" 

และเป็นธรรมเนียมที่ผู้เขียนจะต้องขออนุญาตฝากกาพย์ยานี ๑๑ ไว้ให้ท่านผู้อ่านทุกท่านได้เมตตากรุณาพิจารณาชี้แนะแนะนำเพื่อการปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งๆ ขึ้นต่อไป ดังนี้

อันเรื่องกฏแห่งกรรม  การกระทำนำตัวเรา
ผ่านมาเรื่องก่อนเก่า  อาจจะเศร้าเราทำเอง

เรื่องกรรมทำมานาน  มหาศาลอย่าอวดเก่ง
ความดีต้องรีบเร่ง   อย่ากลัวเกรงเรื่องไม่ดี

กรรมน้อยหรือกรรมมาก  ธรรมให้มากอยากทำดี
ปัจจุบันทันที  ทำเรื่องดีมีทุกวัน

เรื่องเก่าในอดีต   ทุกชีวิตคิดหยุดพลัน
ทำดีปัจจุบัน  เสกสร้างสรรค์ธรรมให้มี

ใส่ใจความดีงาม  ธรรมติดตามถามให้ดี
เข้าใจทำความดี  สุขชีวีดีกับตน

กฏแห่งกรรมธรรมมาก  ปราศจากยากหมองหม่น
ธรรมดีสุขกมล   ย่อมผ่านพ้นจนนิพพาน

ตั้งใจในเรื่องดี  ทำทันทีมีเบิกบาน
ทำดีมีทุกงาน  สุขสำราญกาลนี้เอย

ปภาวีร์ 
๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙

วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2559

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงปู่ชา ปฏิบัติแท้ๆ อกาลิโก"

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงปู่ชา ปฏิบัติแท้ๆ อกาลิโก" คติธรรมคำสอนขององค์หลวงปู่ชา (วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี)  เกี่ยวกับเรื่องของการ "ปฏิบัติแท้ๆ" และ "อกาลิโก" ท่านใดที่สนใจ ขอเชิญรับฟังได้จาก YouTube ต่อไปนี้



"... คือให้ปฏิบัติ คือ ให้มีความรู้สึกอยู่เรื่อยๆ ติดต่อกัน ไม่ใช่ว่าเราจะนั่ง จะเดิน จะเปลี่ยนอิริยาบท นั้น ไม่ใช่เป็นการปฏิบัติ มันเป็น กิริยา 
การปฏิบัติแท้ๆ มันเป็น อกาลิโก ไม่เลือกกาล ไม่เลือกเวลา แต่ว่าทำเป็นกาลเป็นเวลาก่อน  เมื่อเรายังรวมไม่ได้ มันทำเป็นกาล เป็นเวลา ถ้าหาว่าเราปฏิบัติ จนกว่ามันรู้เรื่อง มันก็เป็นอยู่อย่างนั้น..."

คำสอนเกี่ยวกับการปฏิบัติแท้ๆ ข้างต้นขององค์หลวงปู่ชา นั้น หากว่าท่านใดที่ปฏิบัติแท้ๆ แล้ว ย่อมจะเข้าใจว่าเป็นอย่างนั้นจริงๆ  (หากไม่เชื่อคงต้องลองปฏิบัติดูเอง แล้วจะเป็น "อกาลิโก" แน่นอน)

และเป็นธรรมเนียมที่ผู้เขียนจะต้องขออนุญาตฝากกาพย์ยานี ๑๑ ไว้ให้ผู้อ่านทุกท่านได้เมตตาพิจารณาชี้แนะแนะนำเพื่อการปรับปรุงพัฒนาให้ดียิ่งๆ ขึ้นต่อไป ดังนี้

อันอกาลิโก  เรื่องใหญ่โตหรือเล็กน้อย
เริ่มธรรมนำค่อยๆ  เจริญรอยกาลเวลา

ปฏิบัติเรื่อยๆ  จิตอย่าเฉื่อยเหนื่อยอุรา
ทำได้ทุกเวลา  จิตนำพาหาในธรรม

ปฏิบัติให้ชิน  จิตได้ยินเป็นประจำ
รู้เรื่องเนื่องจดจำ  จิตน้อมนำทำให้ดี

ปฏิบัติทุกเมื่อ  จิตอย่าเบื่อเพื่อชีวี
ธรรมะทุกนาที  ส่งผลดีมีที่ตน

อกาลิโกตื่นรู้  จิตเรียนรู้ดูกมล
ปฏิบัติอดทน  ย่อมหลุดพ้นจนนิพพาน

ปฏิบัติแท้จริง  จิตจะนิ่งอิงประสาน
ธรรมะพาเบิกบาน  สุขสำราญกาลนี้เอย

ปภาวีร์ 

วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2559

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "สารัมถะ - สมเด็จพระสังฆราช"

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "สารัมถะ  - สมเด็จพระสังฆราช" คติธรรมคำสอนในเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เกี่ยวกับเรื่อง "สารัมถะ" ซึ่งอยู๋ในหน้า ๖๙  ของหนังสือพระนิพนธ์ เรื่อง "ธรรมเพื่อความสวัสดี" น่าสนใจอย่างยิ่ง ตามรูปภาพต่อไปนี้



... สารัมถะ ท่านแปลว่า แข่งดี ความหมายคำว่า “แข่งดี” เป็นคนละอย่างกับ “ตีเสมอ”.
เมื่อพูดถึงตีเสมอ จะได้ความรู้สึกถึงความไม่มีสัมมาคารวะ ไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง หยาบคาย. 
ส่วนแข่งดี เป็นเพียงความทะเยอทะยานที่อาจประกอบด้วยขาดอุปกิเลสข้อริษยาด้วยได้ ไม่ถึงกับแสดงความหยาบคาย ขาดสัมมาคารวะเช่นตีเสมอ...


*******************************
คติธรรมคำสอนข้างต้นในเเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เกี่ยวกับเรื่อง "แข่งดี"  หากว่าคนไทยได้ร่วมกันแข่งดีในธรรม ก็น่าจะเป็นผลดี โดยเฉพาะแข่งดีที่ไม่มีในเรื่องริษยาได้ยิ่งน่าจะเป็นผลดีอย่างยิ่ง

และเป็นธรรมเนียมที่ผู้เขียนจะต้องขออนุญาตฝากกาพย์ยานี ๑๑ ไว้ให้ท่านผู้อ่านทุกท่านได้เมตตากรุณาพิจารณาชี้แนะแนะนำเพื่อการปรับปรุงพัฒนาให้ดียิ่งๆ ขึ้นต่อไป ดังนี้

สารัมถะจะดี  หากว่ามีแข่งดีกัน
ทำได้ในทุกวัน  ย่อมสร้างสรรค์ปันแบ่งบุญ

แข่งดีมีทุกคน  สุขกมลสนเกื้อกูล
ทำได้ย่อมเป็นบุญ  พร้อมเป็นทุนหนุนต่อไป

แข่งดีด้วยธรรมะ  มีมานะจะยิ่งใหญ่
แข่งดีมีเรื่อยไป  ย่อมสุขใจในทุกงาน

แข่งดีมีเมตตา  เกิดคุณค่าพาเบิกบาน
แข่งดีมหาศาล  สุขสำราญสานทุกคน

แข่งดีบริสุทธิ์  ธรรมอย่าหยุดสุดกมล
แข่งดีมีอดทน  ย่อมหลุดพ้นจนตัวตาย

แข่งดีดีแน่นอน  อย่าตัดรอนก่อนจะสาย
แข่งดีอย่าเอียงอาย  แข่งมากมายหลายบุญเอย


ปภาวีร์ 
๓๐ มกราคม ๒๕๕๙

วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2559

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "ท่านพุทธทาสภิกขุ อธิบายบุญ"

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "ท่านพุทธทาสภิกขุ อธิบายบุญ"  พุทธศาสนิกชนคนไทยต่างทำบุญกันเป็นประจำ แต่อาจจะยังไม่เข้าใจความหมายของ "บุญ" มากนัก ดังนั้น ท่านพุทธทาสภิภขุได้อธิบายคำว่า "บุญ" ไว้ใน YouTube ต่อไปนี้

*****************************
คำว่า "บุญ" นั้น 
ใจความสำคัญมันอยู่ที่ว่า
เป็นเครื่องชำระชะล้างบาป

การทำบุญหวังให้สวย ให้รวย
ให้ได้วิมาน ให้ได้สวรรค์
เต็มไปด้วยกามารมณ์ เหล่านี้
มันเป็นการชำระชะล้างบาปหรือเปล่า
*****************************

เมื่อทุกท่านได้ฟังคำอธิบายเกี่ยวกับคำว่า "บุญ" ข้างต้นจากท่านพุทธทาสภิกขุแล้ว เชื่อว่าหลายท่านคงจะเข้าใจคำว่า "บุญ" มากยิ่งขึ้น และคงจะหาวิธีการทำบุญให้ถูกต้องตามที่ท่านพุทธทาสภิกขุได้เมตตาไว้

และเป็นธรรมเนียมที่ผู้เขียนจะต้องขออนุญาตฝากกาพย์ยานี ๑๑ ไว้ให้ทุกท่านได้เมตตากรุณาชี้แนะแนะนำเพื่อการปรับปรุงพัฒนาให้ดียิ่งๆ ขึ้นต่อไป ดังนี้

อัน "บุญ" คืออะไร  แล้วทำไมใยต้องรู้
ทำบุญอะไรอยู่   จะต้องรู้ดูให้ดี

ทำบุญชำระบาป  อาจจะยากหากไม่มี
ทำบุญอย่างไรดี  เพื่อให้ดีมีประโยชน์

ทำบุญหวังให้สวย  หวังให้รวยซวยมีโทษ
ทำบุญจิตอย่าโกรธ  จิตละโมบโลภไม่ดี

ทำบุญหวังวิมาน  สวรรค์กาลสานฤดี
ทำบุญธรรมต้องมี  จิตคิดดีมีคุณค่า

ทำด้วยกามารมณ์  ไม่เหมาะสมตรมอุรา
ทำบุญทุกเวลา  ต้องนำพาหาในธรรม

ทำบุญหนุนทุกวัน  จิตสร้างสรรค์ขยันทำ
ทำบุญเป็นประจำ  สุขนิรันดร์หมั่นธรรมเอย

ปภาวีร์ 
๒๙ มกราคม ๒๕๕๙

วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2559

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงพ่อจรัญ พลังแห่งเมตตา"

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงพ่อจรัญ พลังแห่งเมตตา" คติคำสอนสั้นในของหลวงพ่อจรัญ  สำคัญอย่างยิ่งในเรื่อง "เมตตา" ขอเชิญทุกท่านอ่านได้ตามต่อไปนี้


"...
ทุกอุปสรรค 
ทุกหนี้เวรกรรม
จะสูญสิ้นไป
ด้วยพลังแห่งเมตตา..."

คติธรรมคำสอนสั้นๆ ในองค์หลวงพ่อจรัญข้างต้นเกี่ยวกับเรื่องของพลังแห่งเมตตา หากว่าพุทธศาสนิกชนคนไทยทุกคนได้ลองพิจารณาธรรมตามแล้วเชื่อว่าจะเกิดผลดีอย่างแน่นอน 

และเป็นธรรมเนียมที่ผู้เขียนจะต้องขออนุญาตฝากกาพย์ยานี ๑๑ ไว้ให้ผู้อ่านทุกท่านได้เมตตา (เช่นกัน) ในการพิจารณาชี้แนะแนะนำเพื่อการปรับปรับพัฒนาให้ดียิ่งๆ ขึ้นต่อไป ดังนี้

อันทุกอุปสรรค  ถูกขจัดตัดออกไป
แผ่เมตตามากไว้  ลมหายใจทุกเวลา

เมตตาแผ่ให้มาก  จะสามารถมากคุณค่า
ตัดกรรมทุกข์อุรา  แผ่เมตตาพาเบิกบาน

ตั้งจิตคิดให้มั่น  ต้องขยันหมั่นประสาน
ทำได้สุขสำราญ  มหาศาลกาลทุกคน

เมตตาอันยิ่งใหญ่  แผ่มากไว้ในกมล
แผ่ไปทุกแห่งหน  แผ่เวียนวนจนสุขใจ

อุปสรรคมักทุกข์  ไร้ความสุขทุกเรื่อยไป
เมตตาแผ่มอบให้  ไม่ว่าใครได้ผลบุญ

เมตตาพรหมวิหาร  พานิพพานทวีคูณ

ธรรมะจะเกื้อกูล  พร้อมเป็นทุนหนุนดีเอย

ปภาวีร์ 
๒๘ มกราคม ๒๕๕๙

วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2559

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "พุทธทาส บุญที่แท้จริง"

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "พุทธทาส บุญที่แท้จริง"  คติธรรมคำสอนของท่านพุทธทาสภิกขุเกี่ยวกับ เรื่องของ "บุญ" ขอเชิญรับฟังได้จาก YouTube ต่อไปนี้ 



"...บุญที่แท้จริงนั้น ไม่เมา ไม่อาจจะเมา
บุญนั้นล้างบาป คือ ล้างความเมา จึงเป็นบุญอันแท้จริง บุญอันแท้จริงนั้น ไม่ต้องเสียเงิน ไม่ต้องใช้เงินมาก ยิ่งใช้เงินมากยิ่งไม่ใช่บุญ..." 

เมื่อทุกท่านได้รับฟังคติธรรมคำสอนของท่านพุทธทาสภิกขุข้างต้นแล้ว เชื่อว่าจะเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของบุญได้อย่างเข้าใจมากขึ้น และคงจะสามารถทำบุญได้อย่างถูกต้องอย่างแน่นอน

และเป็นธรรมเนียมที่ผู้เขียนจะต้องขออนุญาตฝากกาพย์ยานี ๑๑ ไว้ให้ทุกท่านได้เมตตากรุณาชี้แนะแนะนำเพื่อการปรับปรุงพัฒนาให้ดียิ่งๆ ขึ้นต่อไป ดังนี้ 

อันบุญที่แท้จริง  บุญทุกสิ่งจริงไม่เมา
ทำแล้วจิตไม่เศร้า  ต้องไม่เมาเอาสู่ใจ

ทำบุญนั้นล้างบาป  ต้องสามารถล้างเมาได้
ล้างเมาทุกเรื่องไป  จึงจะได้เรียกว่าบุญ

บุญแท้ไม่เสียเงิน  ธรรมอย่าเมินเชิญเกื้อกูล
ทำแล้วเกิดเป็นคุณ  ธรรมเป็นทุนหนุนต่อไป

ต้องใช้เงินไม่มาก  จะสามารถมากบุญใหญ่
สั่งจิตทำต่อไป  บุญสู่ใจในทันที

อย่าลืมต้องไม่เมา  ล้างความเมามากยิ่งดี
บุญแท้ขอให้มี  นำชีวีมีสุขเย็น

ทำแล้วเย็นที่จิต   ที่ละนิดจิตบำเพ็ญ
ทำได้ไม่ยากเย็น  จิตจะเย็นเห็นสุขเอย

ปภาวีร์ 
๒๗ มกราคม ๒๕๕๙

วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2559

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงพ่อจรัญ ความดี ความชั่ว"

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงพ่อจรัญ ความดี ความชั่ว" คติคำสอนสั้นในของหลวงพ่อจรัญ  สำคัญอย่างยิ่งในเรื่อง "ความดี ความชั่ว" ขอเชิญทุกท่านรับชมรับฟังได้จาก YouTube ต่อไปนี้




"...อย่ากลัวความดี แต่ความชั่วนี่ น่าจะสงวนลิขสิทธิ์ ไม่ควรจะเผยแผ่ แต่ความดีควรจะเผยแผ่..."

คติธรรมคำสอนในหลวงพ่อจรัญข้างต้น สั้นๆ ได้ใจความ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราทุกคนพุทธศาสนิกชนคนไทยควรจะต้องช่วยกัน เผยแผ่ในแต่ความดีให้มากๆๆ  

และเป็นธรรมเนียมที่ผู้เขียนจะต้องขออนุญาตฝากกาพยานี ๑๑ ไว้ให้ทุกท่านได้เมตตากรุณาพิจารณาชี้แนะแนะนำเพื่อการปรับปรุงพัฒนาต่อไป ดังนี้

อย่ากลัวในความดี  ทำให้มีดีมากไว้
ความชั่วละจากใจ  ให้เร็วไวในทันที

สงวนลิขสิทธิ์  ให้มิดชิดชั่วไม่ดี
เผยแผ่หยุดยิ่งดี  อย่าให้มีมากต่อไป

ความดีต้องเผยแผ่  ดีจริงแท้แน่มากไว้
ความดีนี้ยิ่งใหญ่  ทำต่อไปให้มากมี

ความดีอาจทำยาก  จิตต้องอยากทำเรื่องดี
ทำได้ทุกนาที  ธรรมให้มีดีแน่นอน

ความดีช่วยกันทำ  เป็นประจำย้ำทุกตอน
ความชั่วต้องตัดรอน  อย่าอาวรณ์สอนใจตน

ความดีทำทุกวัน  ธรรมสร้างสรรค์หมั่นกมล
ทำดีจิตอดทน  พ้นจากคนไปดีเอย

ปภาวีร์ 
๒๖ มกราคม ๒๕๕๙

วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2559

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "ความเห็นแก่ตัว พุทธทาสภิกขุ"

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "ความเห็นแก่ตัว พุทธทาสภิกขุ" ความเห็นแก่ตัวเป็นสิ่งที่คู่กับมนุษย์เรามานานแสนนาน  ใช่หรือไม่?  ลองฟังคติธรรมคำสอนของท่านพุทธทาสในเรื่องกล่าวได้ที่ YouTube ต่อไปนี้ 

สมมติว่านะ ประชาชนทุกคนในประเทศเรานั้นเห็นแก่ตัว หรือประเทศไหนก็ได้อย่าออกชื่อเลย ประชาชนราษฎรทุกคนเห็นแก่ตัว เลือกผู้แทนมา ก็ได้ผู้แทนเห็นแก่ตัว ไปตั้งรัฐบาลมันก็เป็นรัฐบาลที่เห็นแก่ตัว ไปทำตุลาการ ก็เป็นตุลาการที่เห็นแก่ตัว ไม่ยกเว้นสักคนหนึ่ง ล้วนแต่เห็นแก่ตัวแล้วบ้านเมืองจะเป็นอย่างไร คุณไปคิดดู.

คติธรรมคำสอนข้างต้นหากว่าเราทุกคนไม่เห็นแแก่ตัว ย่อมไม่เกิดความชั่วขึ้นแน่นอน ดังนั้น เราทุกคนมาช่วยกันไม่เห็นแก่ตัว 

และเป็นธรรมเนียมเช่นเคยที่ผู้เขียนจะต้องขออนุญาตฝากกาพย์ยานี ๑๑ ไว้ให้ทุกท่านได้เมตตากรุณาชี้แนะแนะนำเพื่อการปรับปรุงให้ดียิ่งๆ ขึ้นต่อไป ดังนี้

มื่อไม่เห็นแก่ตัว  เรื่องความชั่วมั่วไม่สน
หากมีได้ทุกคน  จะสุขล้นพ้นจากภัย

หากว่าเห็นแก่ตัว  เกิดความชั่วอย่างยิ่งใหญ่
มีมากยากแก้ไข  ทุกข์ฤทัยไม่ได้ดี

เห็นแก่ตัวมีบ่อย  ไม่ยอมปล่อยทุกข์ชีวี
สังคมยุ่งสิ้นดี  วุ่นวายมีแก่ทุกคน

เห็นแก่ตัวมัวเศร้า  เรื่องก่อนเก่าเคล้ากมล
ใจร้อนไม่อดทน  ไม่หลุดพ้นจนตัวตาย

เห็นแก่ตัวไม่ดี  นำชีวีชั่วมากมาย
หยุดสิ้นอย่าเสียดาย  หยุดก่อนตายได้นิพพาน

เห็นแก่ตัวแก้ได้  เมตตาไว้ใจประสาน
พร้อมนำพรหมวิหาร  จิตเบิกบานกาลนี้เอย

ปภาวีร์ 
๒๕ มกราคม ๒๕๕๙

วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2559

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงปู่บุญมี โชติปาโล (วัดสระประสานสุข อุบลฯ)"

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน  "หลวงปู่บุญมี โชติปาโล (วัดสระประสานสุข อุบลฯ)" โดยที่วัดสระประสานสุข (หลวงปู่บุญมี โชติปาโล) ในวันนี้ (๒๔ มกราคม ๒๕๕๙) จะมีงานพิธีพระราชทานเพลิงศพพระภาวนาวิศาลเถร (หลวงปู่บุญมี โชติปาโล) (ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : www.facebook.com/LuangPuBoonmee)  



และต่อไปนี้ เป็นข้อมูลเรื่องราวธรรมะเพื่อชีวิต (ซึ่งสามารถ Click ดูข้อมูลเพิ่มเติมตาม Link ในแต่ละเรื่อง) ดังนี้ 

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "เปิดบันทึกตำนาน ตอน หลวงปู่บุญมี วัดสระประสานสุข"
http://msrivirat.blogspot.com/2015/08/blog-post_23.html

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "คำสอนของหลวงปู่บุญมี โชติปาโล"
http://msrivirat.blogspot.com/2015/09/blog-post_13.html

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงปู่บุญมี โชติปาโล : โลกวุ่นวาย"
http://msrivirat.blogspot.com/2015/06/blog-post_37.html

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน ตัดกิเลส "ต้นไม้พูดได้ ณ วัดหลวงปู่บุญมี โชติปาโล (วัดสระประสานสุข อุบลฯ)"
http://msrivirat.blogspot.com/2015/04/blog-post_11.html

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน สงบใจ "ต้นไม้พูดได้ ณ วัดหลวงปู่บุญมี โชติปาโล (วัดสระประสานสุข อุบลฯ)"
http://msrivirat.blogspot.com/2015/04/blog-post_86.html

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "ทุกข์เพราะหาเงิน : หลวงปู่บุญมี โชติปาโล"
http://msrivirat.blogspot.com/2015/04/blog-post_3.html

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "ยกย่องพระธรรมไว้ที่ใจ หลวงปู่บุญมี โชติปาโล"
http://msrivirat.blogspot.com/2015/03/blog-post_38.html

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "พระจริง พระแท้ โดยหลวงปู่บุญมี โชติปาโล"
http://msrivirat.blogspot.com/2015/03/blog-post_4.html

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "วันมาฆบูชา" (๑๐๖ ปี หลวงปู่บุญมี โชติปาโล)
http://msrivirat.blogspot.com/2015/03/blog-post_91.html

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน พระแก้วสององค์ "คำสอน หลวงปู่บุญมี โชติปาโล" วัดสระประสานสุข อุบลราชธานี
http://msrivirat.blogspot.com/2015/02/blog-post_6.html

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน อโหสิกรรม "ต้นไม้พูดได้ ณ วัดหลวงปู่บุญมี โชติปาโล (วัดสระประสานสุข อุบลฯ)"
http://msrivirat.blogspot.com/2015/02/blog-post_1.html

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "ต้นไม้พูดได้ ณ วัดหลวงปู่บุญมี โชติปาโล (วัดสระประสานสุข อุบลฯ)"
http://msrivirat.blogspot.com/2015/01/blog-post_31.html

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน “คติธรรม : หลวงปู่บุญมี โชติปาโล"
http://msrivirat.blogspot.com/2015/01/blog-post_8.html

เรื่องดีๆ (เกี่ยวกับหลวงปู่บุญมี) ๑
http://msrivirat.blogspot.com/2014/12/blog-post_24.html

เรื่องดีๆ (เกี่ยวกับหลวงปู่บุญมี) ๒
http://msrivirat.blogspot.com/2014/12/blog-post_25.html

เรื่องดีๆ (เกี่ยวกับหลวงปู่บุญมี) ๓
http://msrivirat.blogspot.com/2014/12/blog-post_26.html



และขอเทิดทูนบูชา "คติธรรมคำสอนในองค์หลวงปู่" ดังต่อไปนี้


คำสอนอันทรงค่า  ต้องนำพามาสู่ใจ
คำสอนอันยิ่งใหญ่  ชิดในใจให้ประจำ

คำสอนคำอีสาน  ต้องสืบสานงานพระธรรม
คำสอนควรน้อมนำ  ลงมือทำจำให้ดี

คำสอนจะต้องฟัง  จิตพร้อมสั่งตั้งฤดี
คำสอนปู่บุญมี  บุญมากมีที่เข้าใจ

คำสอนดีทุกตอน  จิตพร่ำสอนย้อนมากไว้
คำสอนองค์ปู่ใหญ่  น้อมสู่ใจให้ดีเอย

ปภาวีร์ 
๒๔ มกราคม ๒๕๕๙ 

FB : ธรรมะเพื่อชีวิต โดย ปภาวีร์

วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2559

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "ธรรมสามัคคี - พุทธทาสภิกขุ"

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "ธรรมสามัคคี - พุทธทาสภิกขุ" คติธรรมคำสอนของท่านพุทธทาสภิกขุ เกี่ยวกับเรื่องของ "ธรรมสามัคคี" เป็นสิ่งที่ดีอย่างยิ่งที่เราทุกคนจะต้องมี ขอเชิญรับฟังได้จากที่ YouTube ต่อไปนี้




"ธรรมสามัคคี หรือ สามัคคีธรรม คือสามัคคีที่บริสุทธิ์ มองเห็นว่าสัตว์ทั้งหลายเป็นทุกข์เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น เราอาจจะยอมได้แม้ว่าเรายอมตายเองให้เขาอยู่ก็ยังได้ มันกลายเป็นอุดมคติของโพธิสัตว์ไป"

คติธรรมคำสอนของท่านพุทธทาสข้างต้นหากว่าเราทุกคนสามารถมองเห็นอย่างนั้นแล้ว เชื่อว่าจะเกิดแต่สิ่งที่ดีงามอย่างยิ่งในที่สุด

และเป็นธรรมเนียมที่ผู้เขียนจะขอมอบกาพย์ยานี ๑๑ ไว้ให้ท่านผู้อ่านทุกท่านได้เมตตาพิจารณาชี้แนะแนะนำเพื่อการปรับปรุงพัฒนาให้ดียิ่งๆ ขึ้นต่อไป ดังนี้

อันธรรมสามัคคี  เป็นสิ่งดีมีกับตน
มีมากในกมล  มีทุกคนยิ่งจะดี

มองเห็นสัตว์ทั้งหลาย  เกิดแก่ตายทุกชีวี
มีธรรมสามัคคี  นำชีวีมีเมตตา

ยอมตายให้เขาอยู่  น่าเชิดชูคู่คุณค่า
เป็นสิ่งควรนำพา  มีทุกคราพาเบิกบาน

มีสามัคคีธรรม  เป็นประจำนำสำราญ
สิ้นภพจบนิพพาน  อีกไม่นานกาลสิ้นลง

ฝึกตนสนให้มาก  ธรรมต้องอยากมากดำรง
จิตใจให้มั่นคง   ต้องสั่งปลงลงทันที

อุดมคติถูกจัด  โพธิสัตว์บุญมากมี
น้อมธรรมสามัคคี  ให้มากมีดีแน่เอย

ปภาวีร์ 
๒๓ มกราคม ๒๕๕๙ 

วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2559

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "อิสสา “ริษยา” - สมเด็จพระสังฆราช"

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "อิสสา  ริษยา - สมเด็จพระสังฆราช" คติธรรมคำสอนในเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เกี่ยวกับเรื่อง "อิสสา  ริษยา" ซึ่งอยู๋ในหน้า ๕๘  ของหนังสือพระนิพนธ์ เรื่อง "ธรรมเพื่อความสวัสดี" น่าสนใจอย่างยิ่ง ตามรูปภาพต่อไปนี้





อิสสา ท่านแปลว่า “ริษยา” คือ เห็นเขาได้ดี ทนอยู่ไม่ได้ ที่จริงความหมายของคำอิสสาหรือริษยา ก็ให้ความเข้าใจที่ชัดแจ้งอยู่แล้วว่าเป็นความร้อน เพราะมีความหมายว่า “ทนอยู่ไม่ได้” สิ่งที่ต้องทนนั้นถ้าพอทนได้ก็แสดงว่าไม่ร้ายแรง หรือ ไม่หนักหนานัก

ความรู้สึกริษยาจนทนอยู่ไม่ได้ ต้องให้ความร้อนอย่างยิ่ง และผู้ได้รับความร้อนอย่างยิ่งนั้นก็ไม่ใช่ผู้อื่น เป็นเจ้าตัวผู้มีความริษยาเอง

คติธรรมคำสอนในเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ข้างต้น ปถุชนคนธรรมดาย่อมอาจจะต้องมีที่เรียกว่า "อิสสา ริษยา" อย่างแน่นอน หากไม่เชื่อ ท่านลองอิสสาดูก็น่าจะยิ่งเข้าใจว่าเป็นอาการอย่างไร 

และเป็นธรรมเนียมที่ผู้เขียนจะต้องขออนุญาตฝากกาพย์ยานี ๑๑ ไว้ให้ท่านผู้อ่านทุกท่านได้เมตตาพิจารณาชี้แนะแนะนำเพื่อการปรับปรุงให้ดียิ่งๆ ขึ้นต่อไป ดังนี้

อิสสาริษยา  ไม่มีค่าพาไม่ดี
หากว่ายิ่งมากมี  ทุกข์ชีวีดีไม่ได้

อิสสาเป็นความร้อน  รีบตัดรอนก่อนก่อนจะสาย
หากมีก่อนจะตาย  น่าเสียดายตายทุกข์ทน

เรื่องทนอยู่ไม่ได้  ทุกข์เรื่อยไปในกมล
ความทุกข์มีมากล้น  หนีไม่พ้นจนกลับมา

ร้อนรุ่มอยู่คนเดียว  จิตเปล่าเปลี่ยวเที่ยวไร้ค่า
มีจิตใจอิสสา  ริษยาพาระทม

มีมากยากแก้ไข  ทุกข์ฤทัยใจตรอมตรม
ร้อนในใจขื่นขม  จิตดิ่งจมตรมแสนนาน

รีบตัดก่อนจะตาย  ให้มากมายใจเบิกบาน
โชคดีได้นิพพาน  สุขสำราญกาลนี้เอย

ปภาวีร์ 
๒๒ มกราคม ๒๕๕๙

วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2559

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงพ่อจรัญ สติสมบูรณ์"

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงพ่อจรัญ สติสมบูรณ์"  คติธรรมคำสอนของท่านหลวงพ่อจรัญเกี่ยวกับเรื่อง "สติสมบูรณ์"  ขอเชิญทุกท่านได้รับชมรับฟังตาม YouTube ต่อไปนี้



"...สติใช่หรือไม่ ตัวอุดมสมบูรณ์ ถ้าคนไหนมีสติสัมปชัญญะอุดมสมบูรณ์แล้ว จะทำอะไรก็ได้ผล จะทำได้เป็นมรรคเป็นผลต่อไป จิตมันเลว กายก็หมดกำลังเป็นอัมพาต จิตก็ไม่มีกำลัง คือ เสียใจ มีความเศร้าใจ จิตหมดกำลัง แล้วท่านจะทำอะไรหรือ ท่านจะทำอะไรจิตหมดกำลัง เสียใจ หมดพลัง มือไม้อ่อนหมดไม่อยากจะทำงาน ซังกะตายไปวันหนึ่ง นี่พวกเถรเทวทัต..."

คติธรรมคำสอนของท่านหลวงพ่อจรัญข้างต้น เมื่อทุกท่านได้รับชมรับฟังแล้ว เชื่อว่าจะสามารถทำตนให้มีสติอย่างสมบูรณ์ได้อย่างไร 

และเป็นธรรมเนียมที่ผู้เขียนจะต้องขออนุญาตฝากกาพย์ยานี ๑๑ ไว้ให้ทุกท่านได้โปรดพิจารณาเมตตาชี้แนะแนะนำเพื่อการปรับแก้ไขให้ดียิ่งๆ ขึ้นต่อไป ดังนี้

สติที่สมบูรณ์   ต้องเพิ่มพูนคูณมากมี
สติจะต้องมี  ทุกนาทีดีแน่นอน

สติมีทุกคน   จะเป็นผลสนทุกตอน
สติอย่าตัดรอน  ขอวิงวอนสอนใจตน

สติดีมีกำลัง  จิตพลังสั่งกมล
สติต้องอดทน  จิตต้องสนทนได้ดี

สติฝึกฝนได้  ทำมากไว้ใจสุขี
สติวินาที  สู่วิถีดีภพใหม่

สติชิดในธรรม  เป็นประจำนำฤทัย
สติอ้นยิ่งใหญ่  สุขต่อไปในนิพพาน

สติมิได้ขาด  จะสามารถมากทุกงาน
สติจิตประสาน  สุขสำราญกาลสิ้นเอย

ปภาวีร์ 
๒๑ มกราคม ๒๕๕๙

วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2559

ธรรมะเพือชีวิต ตอน "หน้าที่คือธรรมะ พุทธทาสภิกขุ"

ธรรมะเพือชีวิต ตอน "หน้าที่คือธรรมะ พุทธทาสภิกขุ"  คติธรรมคำสอนเกี่ยวกับเรื่องของ "ธรรมะ" ที่ท่านพุทธทาสภิกขุได้เมตตาไว้ อยากจะขอเชิญชวนทุกท่านได้รับฟังจาก YouTube ดังต่อไปนี้


"...ท่านทั้งหลายทุกคนทำหน้าที่ทุกอย่าง ตามหน้าที่ของตนๆ กันอยู่ตั้งแต่เกิดจนตาย แต่ไม่เคยสำนึกเลยว่า หน้าที่นั่นแหละคือธรรมะ มันก็เลยไม่บูชาหน้าที่ ไม่ชื่นใจในการทำหน้าที่ มันก็กลายเป็นทนทำหน้าที่ มันก็ตกนรกทุกอิริยาบถ..."

คติธรรมคำสอนในท่านพุทธทาสข้างต้น หากว่าเราทำความเข้าใจให้ดีจะเข้าว่า "หน้าที่" คือ "ธรรมะ" ดังนั้น คงจะต้องเป็นหน้าที่ของแต่ละท่านที่จะพิจารณาว่าเราได้ทำหน้าที่ที่ดีหรือยัง หากว่ายังไม่ดี ก็ต้องคงจะต้องทำให้ดียิ่งๆ ขึ้นต่อไป 

และเป็นธรรมเนียมที่ผู้เขียนจะต้องขออนุญาตฝากกาพย์ยานี ๑๑ ไว้ให้ทุกท่านได้โปรดพิจารณาชี้แนะแนะนำเพื่อการปรับปรุงพัฒนาให้ดียิ่งๆ ขึ้นต่อไป ดังนี้

หน้าที่คืออะไร  ต้องเข้าใจให้ดีๆ 
อะไรคือหน้าที่  หากไม่มีดีไม่ได้

หน้าที่จะต้องทำ  ต้องมีธรรมนำต่อไป
ทำดีมีมากไว้  หน้าที่ใครให้มีธรรม

หน้าที่เกิดจนตาย  อย่าเดียวดายอายไม่ทำ
หน้าที่ดีจดจำ   ลงมือทำจำให้ดี

หน้าที่คือธรรมะ  มีมานะจะบุญมี
ทุกคนมีหน้าที่ ทำให้ดีดีแน่นอน

ธรรมะจะนำทาง  ตายจากร่างต่างได้พร
หน้าที่อย่าตัดรอน  ธรรมทุกตอนก่อนสายไป

ชื่นใจในหน้าที่  นำชีวีดีภพใหม่
ตายสิ้นลมหายใจ  สุขฤทัยในกาลเอย

ปภาวีร์ 
๒๐ มกราคม ๒๕๕๙

วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "กิเลส โดย หลวงพ่อจรัญ"

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "กิเลส โดย หลวงพ่อจรัญ" คติธรรมคำสอนของท่านหลวงพ่อจรัญ เกี่ยวกับเรื่องของ "กิเลส" 





"กิเลสแปลว่าความเศร้าหมองใจ
ความเศร้าหมองใจมาจากความโลภ ความโกรธ ความหลง
เราจะตัดความโลภ โกรธ หลง ออกได้ต้องมี ศีล สมาธิ ปัญญา
การปฏิบัติศีล สมาธิ ปัญญา ก็คือ ปฏิบัติกรรมฐาน
ศีลก็คือตัวสติ สมาธิก็คือการกำหนดจิตให้สติอยู่กับจิต
ปัญญา แปลว่า แก้ไขปัญหา รอบรู้เหตุการณ์ได้"

คติธรรมคำสอนของหลวงพ่อจรัญข้างต้น หากว่าท่านใดที่ยังมีความเศร้าหมองใจ แสดงว่าท่านนั้นยังคงมี "กิเลส" ดังนั้น จะต้องรีบจัดการความเศร้าหมองใจดังกล่าวให้หมดไปในที่สุด

และเป็นธรรมเนียมที่ผู้เขียนจะต้องขออนุญาตฝากกาพย์ยานี ๑๑ ไว้ให้ทุกท่านได้โปรดเมตตาพิจารณาชี้แนะแนะนำเพื่อการปรับปรุงพัฒนาให้ดียิ่งๆ ขึ้นต่อไป ดังนี้ 

กิเลสคือเศร้าหมอง  ต้องเฝ้ามองจ้องให้ดี
มีมากไม่ได้ดี  นำชีวีมีทุกข์ใจ

มาจากโลภโกรธหลง ไม่มั่นคงตรมฤทัย
ต้องตัดออกจากใจ  ทำให้ได้ใจสุขจริง

กิเลสเดชฤทธิ์มาก  เป็นความอยากยากอย่างยิ่ง
ตัดได้ใจต้องนิ่ง  ธรรมทุกสิ่งยิ่งสุขใจ

การปฏิบัติศีล  ทำให้ชินมากเข้าไว้
สมาธิที่ใจ  สติได้ใจมั่นคง

สติอยู่กับจิต  ให้ใกล้ชิดธรรมดำรง
ปัญญาเกิดสั่งตรง  ตามประสงค์แก้ปัญหา

ศีลคือตัวสติ  สมาธิจะตามมา
กิเลสสิ้นด้วยปัญญา  สุขอุราพาเพลินเอย

ปภาวีร์ 
๑๙ มกราคม ๒๕๕๙

วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2559

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงตาม้า จิตทำบุญอยู่ตลอดเวลา"

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงตาม้า จิตทำบุญอยู่ตลอดเวลา" สำหรับหลวงตาม้า ชื่อนี้หลายคนหลายท่านอาจจะยังไม่ค่อยรู้จัก หรือ บางท่านอาจจะรู้จักเป็นอย่างดี หลวงตาม้าท่านอยู่ที่  "วัดถ้ำเมืองนะ" จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งหลายท่านอาจจะเคยไปวัดดังกล่าวมาแล้ว ทั้งนี้ สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวัดถ้ำเมืองนะได้ที่ www.watthummuangna.com

ซึ่งท่านหลวงตาม้า ได้เมตตาเกี่ยวกับเรื่อง เมื่อ "จิตทำบุญ"   ขอเชิญรับชมรับฟังได้จาก YouTube ต่อไปนี้ 



"... เราจะเปลี่ยนร่างนี่ เราไม่รู้ว่าจะเกิดเลยมาต่อบารมีเลย เพื่อเป็นประโยชน์เลย หรือว่าเราจะไปไหน  เรากำหนดได้ เพราะจิตเราอยู่ที่หลวงปู่ จิตเราอยู่ที่หลวงพ่อ จิตอยู่ที่ไตรสรณคมณ์ จิตเราอยู่ที่จักรพรรด จิตเราที่มีบุญ ทำบุญตลอดเวลา เรื่องทางโลก มันจะน้อยลง ทางโลก แต่ก็อยู่กับโลก มีงานทางโลก เราก็ทำ ธรรมะเราก็ทำ เราก็สร้างไปเรื่อยๆ นั่นแหละ ไม่จำเป็นว่าเราต้องมาวัด ไม่จำเป็นเราต้องไปในที่สงบ เราสงบอยู่แล้ว ก็เราทำ บุญ นะ คือ ความสบาย นะ เราบันทึกบุญนะ ความสบาย..."

คติธรรมคำสอนของหลวงตาม้าข้างต้นนั้น หากว่าท่านใดสามารถทำได้ให้จิตเราทำบุญอยู่ตลอดเวลา เชื่อว่าจะต้องได้ดีอย่างยิ่งแน่นอน 

และเป็นธรรมเนียมที่ผู้เขียนจะต้องขออนุญาตฝากกาพย์ยานี ๑๑ ไว้ให้ทุกท่านได้เมตตาชี้แนะแนะนำเพื่อการปรับปรุงพัฒนาให้ดียิ่งๆ ขึ้นต่อไปดังนี้

เมื่อเราจะเปลี่ยนร่าง หาหนทางสร้างให้ดี
ชีวิตมีเท่านี้  จิตคิดดีมีต่อไป

ทำบุญตลอดเวลา  ทรงคุณค่าพาภพใหม่
สั่งจิตคิดบุญไว้  เมื่อตายไปย่อมสบาย

จิตอยู่คู่กับพระ  จิตมานะอย่าเสียดาย
ทำบุญหนุนก่อนตาย  หากเอียงอายตายไม่ดี

มีงานอยู่ทางโลก  สร้างประโยชน์โกรธไม่มี
ทำบุญทุนชีวี  ส่งผลดีสงบเย็น

สร้างบุญไปเรื่อยๆ  จิตอย่าเฉื่อยธรรมให้เห็น
ทำบุญทุกเช้าเย็น  จิตบำเพ็ญเห็นธรรมเอย

ปภาวีร์ 
๑๘ มกราคม ๒๕๕๙

วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "เมตตาที่ถูกแท้ - สมเด็จพระสังฆราช"

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "เมตตาที่ถูกแท้ - สมเด็จพระสังฆราช"  คติธรรมคำสอนในเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เกี่ยวกับเรื่อง "เมตตาที่ถูกแท้" ซึ่งอยู๋ในหน้า ๔๕ ของหนังสือพระนิพนธ์ เรื่อง "ธรรมเพื่อความสวัสดี" น่าสนใจอย่างยิ่ง ตามรูปภาพต่อไปนี้





“...เมตตาต้องมีผลเป็นความเย็นในจิตใจ
ของตนเอง จึงจะเป็นเมตตาที่ถูกแท้ 
แม้ให้ความเดือดร้อนเศร้าหมองแก่ใจตน 
นั่นไม่ใช่เมตตาที่ถูกแท้ แต่เป็นเมตตาที่หลงทาง ไม่อาจนำไปสู่จุดหมายอันสวัสดีได้ ทั้งตนเองและผู้ที่ตนเมตตาทั้งหลาย...”

คติธรรมคำสอนข้างต้นนับได้ว่าทรงคุณค่าอย่างยิ่ง ที่เราทุกคนควรจะต้องมี "เมตตาที่ถูกแท้" ให้ได้ 

และเป็นธรรมเนียมที่ผู้เขียนจะต้องขออนุญาตฝากกาพย์ยานี ๑๑ ไว้ให้ทุกท่านได้โปรดกรุณาเมตตาพิจารณาชี้แนะแนะนำเพื่อการปรับปรุงพัฒนาให้ดียิ่งๆๆ ขึ้นต่อไป ดังนี้

ความเย็นในจิตใจ  มีมากไว้ให้มากมี
มีแล้วเย็นฤดี  นับว่าดีมีเมตตา

เศร้าหมองแก่ใจตน  ยิ่งมากล้นไม่ค้นหา
ไม่ใช่ในเมตตา  เสียเวลาพาอับจน

เมตตาที่ถูกแท้  ธรรมให้แน่แผ่จิตตน
เมื่อมีเย็นกมล  สุขเหลือล้นจนไม่มี

เมตตาที่หลงทาง  พาอับปางทางไม่ดี
หลงมากยากจะดี  ทุกข์ชีวีดีไม่ได้

เมตตาในทุกเรื่อง  ยิ่งต่อเนื่องเรื่องยิ่งใหญ่
เย็นจิตชิดธรรมไว้  เมตตาได้ให้ทุกคน

ถูกแท้ในเมตตา  สิ่งมีค่ามาสู่ตน
ทำได้ทุกข์หนีพ้น  ตายจากคนพ้นภัยเอย

ปภาวีร์ 
๑๖ มกราคม ๒๕๕๙