วันพฤหัสบดีที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558

ธรรมะเพื่อชีวิต "ทางโลก + ทางธรรม"

หลายปีที่ผ่านในชีวิตผู้เขียนได้มีโอกาสอ่านหนังสือธรรมะ อ่านคำสอนของพระอริยะสงฆ์ (สายวัดป่า ธรรมยุต และ พระนักปฏิบัติ) นับว่าเป็นบุญอย่างยิ่ง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มีผู้ชี้แนะให้อ่านหนังสือของหลวงพ่อจรัญ(อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://msrivirat.blogspot.com/2014/01/blog-post_18.htmlหรือที่ http://msrivirat.blogspot.com/2014/06/blog-post_23.html )



  พร้อมทั้งมีบุญที่ได้มีโอกาสเข้าไปช่วยเหลืองานโครงการบูรณะเส้นทางธรรมะสู่ความเป็นหนึ่ง  (หลวงปู่เสาร์ กันติสีโล http://msrivirat.blogspot.com/2012/10/blog-post.html  หรือ https://www.facebook.com/groups/529791813717687) และมีโอกาสไปรับใช้งานพิธีพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่จาม มหาปุญโญ (http://msrivirat.blogspot.com/2014/01/blog-post.html) โดยในครั้งนั้นผู้เขียนได้มีโอกาสอ่านหนังสือของหลวงปู่จามเกือบทุกเล่ม ทำให้ได้มีสติคิดว่าชีวิตคนเราก็เพียงเท่านี้



 นอกจากนั้น หลายปีที่ผ่านมาผู้เขียนได้มีโอกาสเป็นเจ้าภาพร่วมทำบุญกฐินสามัคคี  (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://msrivirat.blogspot.com/2014/04/blog-post_17.html หรือ https://www.facebook.com/groups/kathin)ในหลายวัดทำให้ทราบว่าการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งทำให้ชีวิตเริ่มคิดว่าจริงๆ แล้ว เราต้องการอะไรกันแน่ซึ่งทำให้ผู้เขียนต้องหาอ่านหนังสือธรรมะที่เกี่ยวข้องหลายๆ เล่ม จำได้บางไม่ได้บาง ทำให้เกิดความคิดว่า รู้อะไรควรจะเขียนบันทึกเอาไว้ เลยเป็นที่มาว่าหลายปีที่ผ่านมาได้เขียนเรื่องราวบันทึกไว้ใน Blog ทั้ง http://msrivirat.blogspot.com หรือ อื่นๆ http://hlifebym.blogspot.com รวมทั้ง อยู่ดีๆ เมื่อประมาณปลายปี ๒๕๕๕ ได้เริ่มแต่งกลอนเล่น http://handwriting-ojt.blogspot.com/ ทั้งนี้ ในชีวิตไม่เคยคิดจะแต่งกลอนอะไรเลย (ก็คงจะแต่งไปเรื่อยๆ ครับ ดีไม่ดี ก็ทำให้เกิดสติ และมีสมาธิกับผู้เขียน)

   อย่างไรก็ดี เป็นสิ่งมหัศจรรย์อย่างยิ่งที่อยู่ดีๆ ผู้เขียนได้มีโอกาสได้อ่านหนังสือของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://msrivirat.blogspot.com/2014/03/blog-post.html หรือ  http://msrivirat.blogspot.com/2014/04/youtube.html) การที่อ่านการที่เขียนก็อาจจะยังไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุด แต่อย่างน้อยที่สุดก็เป็นการบันทึกเผยแพร่ให้เพื่อนๆ กัลยาณมิตรทาง Social Media ให้ท่านใดที่สนใจได้ทราบเพื่อขยายสิ่งดีๆ ให้เพิ่มขึ้นไปอีกทางหนึ่ง ซึ่งคำสอนของพระพุทธองค์ และ พระอริยสงฆ์ ผู้เขียนก็ได้เคยเขียนรวบรวมไว้เช่นกัน (แต่อาจจะเป็นเพียงน้อยนิดเท่านั้นเอง http://msrivirat.blogspot.com/2014/04/blog-post_8.html

   นอกจากนั้น ผู้เขียนเองชีวิตได้เข้าไปมีส่วนร่วมช่วยเหลือ (ส่วนเล็กๆ น้อยๆ) ให้แก่วัดต่างๆ เช่น วัดหนองบัว อุบลฯ (อ่านเพิ่มเติมได้ที่  http://msrivirat.blogspot.com/2014/01/blog-post_9.html หรือ https://www.facebook.com/watnongbua.ubon ) และ วัดสระประสานสุข (อ่านเพิ่มเติมได้ที่  http://msrivirat.blogspot.com/2014/08/blog-post_23.html  หรือ  https://www.facebook.com/LuangPuBoonmee ) หรือ วัดหลวง (พระพุทธบุษยรัตนมงคล และ โครงการพระพุทธนวคุณ )เป็นต้น

    ซึ่งคิดเสมอว่า สิ่งที่ผู้เขียนได้ทำข้างต้น (บางส่วน) นั้น เป็นเรื่องที่ดีหรือไม่ จะทำให้หลุดพ้นหรือเปล่า ทำให้ผู้เขียนต้องคิดว่า หากเราไม่หยุดมัวหลงในลาภยศสรรเสริญและสิ่งอื่นๆ แล้วเมื่อไรละที่จะสามารถหลุดพ้นได้ แน่นอนว่า การบวช เป็นทางเลือกที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ครับ

  อย่างที่กล่าวมาข้างต้นว่า หลายปีที่ผ่านมาได้มีโอกาสอ่านหนังสือเกี่ยวกับการปฏิบัติตน เกี่ยวกับธรรมะ (เพียงบางส่วนเล็กๆ น้อยๆ) ซึ่งก็มีหนังสือที่น่าสนใจหลายเล่มเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ตามรอยอริยเจ้าเข้านิพพาน โดย พศิน อินทรวงศ์
นิพพานฉับพลัน โดย นิโรธ จิตวิสุทธ์
อยู่บ้านนิพพานได้ โดย แปลง สุวรรณกาญจน์
เป็นต้น (ลองหาโอกาสอ่านกันนะครับ)ซึ่งนั่นเป็นส่วนของหนังสือ (ที่เป็นประสบการณ์แนวปฏิบัติของผู้ที่รู้ทางโลก)

    ส่วนทางธรรม ทางวัด โชคดีเหลือเกินที่เมื่อช่วงวันนี้ ๑๕-๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๗ ผู้เขียนได้มีโอกาสไปที่วัดหนองบัว (อุบลฯ) ซึ่งมีการประชุมพระสังฆาธิการคณะสงฆ์ธรรมยุต (https://www.youtube.com/watch?v=t9tNnOtvNSY) ซึ่งมีหลายสิ่งหลายอย่างที่ได้พบเจอแล้วต้องกลับมาถามใจตัวเองว่า เหมาะสมกับจริตของเราหรือไม่อย่างไร ก็ยังเป็นคำถามที่คั่งค้างคาใจอยู่เช่นเคย (ยังหาคำตอบไม่ได้)  

     และโชคดีอีกอย่างหนึ่ง คือ สองสามวันต่อมา ห้องสมุดคณะวิทยาศาสตร์ (บ่ายของวันศุกร์ที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๗) มีกัลยาณมิตรอีกท่านได้มานั่งคุยกับผู้เขียน (เป็นเวลาเกือบสามชั่วโมงประโยคแรกที่ท่านถามเขียน คือ จะไป บวช เมื่อไร และที่วัดไหน ผู้เขียนได้แต่ยิ้มแล้วตอบไปว่ายังไม่ได้กำหนดครับ”  

     ท่านดังกล่าว ท่านยิ้มอย่างมีความสุขที่ได้ยินคำตอบจากผู้เขียนและแววตาของท่านบ่งบอกถึงความจริงใจอย่างยิ่ง พร้อมมีน้ำตานิดๆๆ (ที่ลูกตา) หลังจากนั้น ท่านได้เล่าให้ฟังมากมายว่า ดังนี้
เมื่อยี่สิบกว่าปีที่แล้ว ท่านตามหาธรรมะจากสายวัดป่าไม่ว่าจะเป็นดินแดนจังหวัดต่างๆ ในอีสานไม่ว่าจะเป็นสกลนคร นครพนม รวมถึงอุบลราชธานี และท่านก็ฝึกปฏิบัติตนไปทำบุญที่วัดเป็นประจำในทุกโอกาส จนเพื่อนๆ คิดว่าท่านไม่ปกติ  และเมื่อเวลาผ่านไปหลายปี ท่านได้กลับมาฝึกดูจิตของตน ได้พบว่าสิ่งที่ได้ทำที่ผ่านมาอาจจะไม่เหมาะกับจริตของตน ในที่สุดได้ฝึกจิตให้มากยิ่งขึ้นโดยให้เข้าใจเกี่ยวกับกฎไตรลักษณ์ และจะพบกับจิตที่แท้จริง ซึ่งทุกวันนี้วัดวาอารามได้เปลี่ยนแปลงไปมาก โดยหาที่เข้าถึงคำสอนคำปฏิบัติตามพระสายป่าอย่างแท้จริงอาจจะยากนิดหน่อย
            ซึ่งจริงๆ แล้วกัลยาณมิตรท่านได้กล่าวให้เล่าให้ผู้เขียนฟังมากกว่านี้ แต่ผู้เขียนจำได้แต่นี้ แต่ก็นับว่าเป็นสิ่งที่มีค่าอย่างยิ่งสำหรับคำแนะนำที่ล้ำค่า ที่ท่านจะได้กรุณาเสียสละเวลามานั่งคุยด้วย และประโยคสุดท้ายท่านยังได้ย้ำเน้นว่าขอให้คิดดีๆ ให้หาสิ่งที่เหมาะกับจริตของตนให้เจอ
   กล่าวสำหรับการบวช นั้น คุณพ่อของผู้ขียนได้ขอเพียงว่าอย่าบวชนาน เพราะอายุยังน้อยอยู่ (ซึ่งเราเป็นลูกก็ต้องฟังผู้เป็นพ่ออย่างยิ่ง) แต่จริงๆ แล้วชีวิตของคนเรานั้น ไม่ทราบว่าเมื่อไรจะไปจากโลก เพราะชีวิตนี้น้อยนัก แต่ชีวิตนี้สำคัญนัก” (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://msrivirat.blogspot.com/2014/10/blog-post_27.html)  ดังนั้น ทำให้ผู้เขียนต้องคิดสิ่งดีที่สุดให้เหมาะกับจริตของตนมากที่สุด โดยคงจะต้องลองถามจิตของเรา เพราะจิตของเราผ่านภพชาติมานานแสนนาน ผ่านความวุ่นวายมาหลายภพชาติ ไม่สามารถที่สงบนิ่งได้โดยใช้เวลาเพียงน้อยนิด
           
ความวุ่นวายที่ยุ่งเหยิง 
ต่างเป็นเพลิงเผาผลาญใจ
วุ่นวายมีต่อไป 
แล้วเมื่อไหร่จะสิ้นลง

วุ่นวายไม่สงบ 
ม่รู้จบหากไม่ปลง
วุ่นวายคงคำรง 
ยั่งยืนยงคงต่อไป

วุ่นวายเพราะความอยาก 
ยิ่งมีมากทุกข์เรื่อยไป
วุ่นวายในจิตใจ 
ทำอย่างไรคิดให้ดี

วุ่นวายจะสิ้นสุด 
หากว่าหยุดวุ่นฤดี
วุ่นวายหมดเสียที 
จิตคิดดีมีหยุดเอย
            
    ครับ ผู้เขียนเชื่อว่าเมื่อไรก็ตามที่เราให้ความสำคัญกับจิตของเรามากยิ่งขึ้น และตั้งมั่นว่าเราจะต้องหลุดพ้น แล้วค้นหาหนทางที่ว่าอะไรที่น่าจะเป็นสิ่งที่ดีในตอนนี้เพราะอย่างไรก็ตามแต่ การจัดการจิตให้ได้ตามหนังสือที่กล่าวไว้ข้างต้นทั้ง เล่มนั้น เป็นสิ่งที่เราควรจะต้องเข้าใจให้ท่องแท้  โดยการบวช ผู้เขียนต้องขอเริ่มต้นโดยการเริ่มที่ใจ บวชใจให้ได้เสียก่อน ฝึกปฏิบัติตน ปฏิบัติธรรมให้จิตนิ่งมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยปฏิบัติธรรม ต้องปฏิบัติใจให้ได้ก่อน ค่อยๆ เป็นไป บวชใจให้ได้ แล้วค่อยบวชกาย ครับ การบวช "จิต" คือ อะไร
----------------------
ต้องบวชเริ่มที่จิต 
ที่ละนิดในทุกวัน
บวชจิตยากเหมือนกัน 
ลงมือพลันในทันใด

บวชจิตคิดให้ดี 
เข้าใจดีธรรมเรื่องใหญ่
บวชจิตอยู่ที่ใจ 
ไม่ว่าใครควรลองดู

บวชจิตเริ่มที่ตน 
จิตใจสนใฝ่เรียนรู้
บวชจิตไตร่ตรองดู 
แล้วจะรู้ดีให้สุด

บวชนั้นเริ่มที่
จิตต้องพอบริสุทธิ์
.เว้นให้สิ้นสุด 
พร้อมจะหยุดสิ่งไม่ดี

.ชอบในธรรมะ 
มีมานะยิ่งจะดี
บวชจิตเริ่มทันที 
ส่งผลดีต่อตัวเรา

บวชจิตได้ทุกคน 
ฝึกกมลไม่มัวเมา
ไม่ดีไม่ต้องเอา 
ลืมเรื่องเก่าเศร้าทิ้งไป

บวชจิตเป็นประจำ 
จะเห็นธรรมอันยิ่งใหญ่
บวชจิตทุกเพศวัย 
ย่อมสุขใจนิรันดร์เอย

 ซึ่งสิ่งที่สำคัญคือ จะต้องรีบตัดความวุ่นวายทั้งหลายลงให้ได้ เนื่องจาก ความวุ่นวายเป็นสิ่งที่ผกผันกับความสงบนิ่ง อันความวุ่นวายคือความอยากอยากมากทุกข์มาก น่าจะเป็นคำกล่าวที่ถูกต้องเสมอ



ทางโลกหรือทางธรรม 
ใช้จิตนำถูกจริต

ทุกทางล้วนต้องคิด 
เพื่อให้จิตสู่นิพพาน


ได้อย่างต้องเสียอย่าง 
หาหนทางใจประสาน
ธรรมนำอีกไม่นาน 
จิตก่อการสงบเย็น

เป้าหมายไปให้ถึง 
ต้องคำนึงสิ่งที่เป็น
นิพพานไม่ยากเย็น 
สิ่งจำเป็นฝึกจิตใจ

ศีลห้าต้องมั่นคง  
ตามประสงค์อย่างตั้งใจ
พระรัตนตรัย 
น้อมจิตใจกราบบูชา

ความตายต้องมาแน่ 
สิ่งจริงแท้ไม่คอยท่า
นับวันถึงเวลา 
ไม่รอช้าเราทุกคน

ทางหนึ่งที่ต้องไป 
เตรียมจิตใจอย่างอดทน
ธรรมะให้มากล้น 
จิตสู้ทนทางพ้นภัย

ไม่ขอกลับมาอีก 
ไม่ต้องรีบต้องได้ไป
ศึกษาธรรมเข้าใจ 
เสร็จเมื่อไรไปแน่นอน

ตั้งมั่นในทุกวัน 
จิตสั่งพลันตัดนิวรณ์
นำธรรมเข้ามาก่อน 
ย่อมได้พรนิพพานเอย



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น