วันจันทร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ชีวิตนี้น้อยนัก แต่ชีวิตนี้สำคัญนัก

เมื่อวันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๗ ที่ผ่านมาผู้เขียนได้มีโอกาสไปวัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งในวันดังกล่าวผู้เขียนได้มีโอกาสชมนิทรรศการ "สัมพัจฉรานุสรณ์" ครบ ๑ ปีแห่งการสิ้นพระชนม์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก



และโชคดีเหลือเกินที่ได้มีโอกาสชมการแสดงนิทรรศการแบบพิเศษ ตามนี้ ครับ 



และที่สำคัญคือ เมื่อเริ่มชมได้ยินประโยคนี้ "ชีวิตนี้น้อยนัก แต่ชีวิตนี้สำคัญนัก" นับว่าเป็นบุญที่ได้ชมและฟัง ทำให้ผู้เขียนได้ลองคิดต่อว่า ชีวิตดังกล่าว จะเป็นอย่างไร 


ชีวิตนี้น้อยนัก สำคัญนักหากเข้าใจ
ชีวิตสั้นยาวไป รู้หรือไม่ใครกำหนด

ชีวิตสั้นเหลือเกิน หากเพลิดเพลินดั่งปรากฏ
ชีวิตคงต้องหมด ไม่อาจทดยืดเวลา

ชีวิตต้องสำคัญ ดีสร้างสรรค์อย่างมีค่า
ชีวิตมีคุณค่า ต้องเข้าหาธรรมนำใจ

ชีวิตก็เท่านี้ หมั่นทำดีจิตผ่องใส
ชีวิตคงต้องไป ไม่วันใดคงต้องมา

ชีวิตนี้น้อยนัก ต้องรู้จักธรรมนำพา
ชีวิตสุขอุรา หมั่นค้นหาให้สำคัญ

ชีวิตสำคัญยิ่ง เรื่องดีจริงต้องขยัน
ชีวิตสุขนิรันดร์ ดีสำคัญนำธรรมเอย

มณูญพงศ์ ศรีวิรัตน์
๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๗



    นอกจากนั้น ผู้เขียนได้มีโอกาสกราบสักการะพระศพสมเด็จพระสังฆราช ฯ นับว่าเป็นบุญของชีวิตนี้อันน้อยนักของผู้เขียนจริงๆ  





ครับ "ชีวิตนี้น้อยนัก แต่ชีวิตนี้สำคัญนัก" หากว่าเราทุกคนเข้าใจประโยคดังกล่าวอย่างแท้จริง ผู้เขียนเชื่อว่าจะเกิดความสุขอย่างยิ่ง ซึ่งอาจจะฟังและดูเพิ่มเติมได้จาก YouTube ต่อไปนี้ 



ซึ่งหากทุกท่านได้ฟังเรื่องข้างต้นย่อมจะเข้าใจเรื่องราว "ชีวิตนี้น้อยนักฯ " ได้ดียิ่งขึ้นว่าเป็นอย่างไร ควรจะทำอย่างไร ให้ชีวิตนี้สำคัญ ดังนั้น ผู้เขียนจึงขอเชิญชวนทุกท่านได้ลองฟังอย่างมีสติและมีสมาธิ แล้วย่อมจะเกิด "ปัญญา" ในที่สุด ครับ 

ชีวิตที่น้อยนัก สำคัญนักลองคิดดู
ชีวิตต้องเรียนรู้ ความเป็นอยู่ให้เข้าใจ

ชีวิตสำคัญนัก ควรจะพักดูจิตใจ
ชีวิตเกิดดับไป ไม่ว่าใครหนีไม่พ้น

ชีวิตเหลืออยู่น้อย ต้องเฝ้าคอยดูจิตตน
ชีวิตอย่าหมองหม่น  จิตสู้ทนสู่นิพพาน

ชีวิตนี้สำคัญ จิตสร้างสรรค์ใจประสาน
ชีวิตคงไม่นาน เวลากาลจะผ่านไป

ชีวิตขอให้ง่าย อย่าเสียดายเรื่องเศร้าใจ
ชีวิตเกิดชาติใหม่ อยู่ที่ใจของตัวเรา

ชีวิตจบสิ้นกัน ต้องสำคัญอย่ามัวเมา
ชีวิตอย่าให้เศร้า จิตของเราต้องดีเอย

มณูญพงศ์ ศรีวิรัตน์
๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๗ 

อ้างอิงจาก Facebook : 









วันอังคารที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2557

มุกดาหาร เขตเศรษฐกิจพิเศษ และ การศึกษา

ชื่อเรื่องวันนี้ "มุกดาหาร เขตเศรษฐกิจพิเศษ และ การศึกษา" ผู้เขียนคิดว่ามีความสำคัญและสัมพันธ์กันอย่างยิ่ง เนื่องจากการศึกษาเป็นรากฐานของชีวิต และชีวิตก็ย่อมเกี่ยวพันกับเรื่องอยู่เรื่องกินเรื่องของเศรษฐกิจปากท้องทำมาหากินของประชาชน โดยการศึกษาจะต้องมีการพัฒนาทุกระดับตั้งแต่ก่อนประถมอนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา

สำหรับการศึกษาระดับอุดมศึกษา ผู้เขียนได้เขียนเรื่อง "การจัดอุดมศึกษากับพื้นที่จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ" เพื่อเป็นข้อมูลประกอบในการพัฒนาการศึกษาในภาคอีสาน  นอกจากนั้น เกี่ยวกับแผนการพัฒนาจังหวัดมุกดาหารที่ผ่านมาทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมผลักดันทำให้เกิดแผนเพื่อพัฒนาจังหวัดมุกดาหารในอนาคต ตามข้อมูลดังต่อไปนี้ 

ข้อมูลรวบรวมการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดมุกดาหาร เพื่อนำเสนอต่อนายกรัฐมนตรี
1. ผู้ว่าฯ กับการพัฒนาให้มีวิทยาเขตมุกดาหาร ของ ม.อุบลฯ http://www.youtube.com/watch?v=zWkT_KSywQI

2. ผศ.ดร.มณูญพงศ์ ศรีวิรัตน์ (ตัวแทน กลุ่มที่ 2 ด้านการพัฒนาคน) นำเสนอ http://www.youtube.com/watch?v=_JERWNCOiR4

3. นายกรัฐมนตรี บรรยายการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด (1) http://www.youtube.com/watch?v=w9sOvjGZZlQ

4. นายกรัฐมนตรี บรรยายการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด (2) http://www.youtube.com/watch?v=lmEDcdkUV-g

5. ผู้ว่าราชการมุกดาหาร รายงานต่อนายกรัฐมนตรี ในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด = > โดยได้กล่าวถึงการพัฒนาการศึกษาอุดมศึกษา ณ จังหวัดมุกดาหาร โดยมี ม.อุบลฯ กำลังดำเนินการเกี่ยวกับการก่อสร้างประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์

6. นายกรัฐมนตรี comment การจัดทำแผนฯ ณ จังหวัดมุกดาหาร

7. นายกรัฐมนตรี comment และ สรุปการจัดทำแผนฯ ณ จังหวัดมุกดาหาร

8. ในฐานะที่เป็นประธานสถานศึกษา ร.ร.จุฬาภรณราชวิทยาลัยมุกดาหาร และเป็นอดีตรองอธิการบดี ม.อุบลฯ ขอเวลาสั้นๆ ไม่เกิน ๒ นาที นำเสนอต่อนายกรัฐมนตรี ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๖ ณ มหาวิทยาลัยนครพนม


และล่าสุด "เดินหน้าประเทศไทย" 


ดังนั้น อย่างไรก็ตามผู้เขียนเชื่อว่ามุกดาหารจะเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ดีนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาการศึกษาในทุกระดับควบคู่กันไปด้วย เพื่อให้ได้มีทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพในการรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจในทุกมิติต่อไปอย่างยั่งยืน 

เศรษฐกิจ : มุกดาหาร-อาเซียน
============
เศรษฐกิจ พิเศษ คืออะไร
แล้วทำไม จังหวัด ถึงต้องการ
เศรษฐกิจ ชายแดน ต้องจัดการ
มุกดาหาร เป็นเมือง เหมาะสมดี

เมืองพิเศษ วิเศษ ได้เพราะคน
อุทิศตน ทุกส่วน ทำสิ่งดี
ต้องเข้าใจ เข้าถึง ทำทันที
รับรองดี วิเศษ พิเศษเอย

เกี่ยวกับความเป็นมาที่อาจจะเกี่ยวข้องกับการที่มุกดาหารจะเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ  การจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดมุกดาหาร (โดยนายกรัฐมนตรี เดินทางมาที่มุกดาหาร ระหว่างวันที่ ๓๐ มิถุนายน – ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๖)
มุกดาหาร ขานรับ ทัพนายก
จะมาพบ สบตา หาคนมุก
นายกช่วย ด้วยหมด ปลดความทุกข์
ให้ชาวมุก สุขดี มีแต่ดี

การศึกษา พาดี มีความสุข
มุกสนุก ทุกคน สนสิ่งดี
มีความหวัง ครั้งนี้ มีเรื่องดี
นายกดี มีสุข ทุกข์หมดเอย
=================
จัดทำแผน แสนยาก หากต่างคิด
ต้องรวมจิต คิดใหม่ ให้มีแก่น
มุกดาหาร ด่านต่อ จ่อชายแดน
มีแบบแปลน แก่นสาร ด้านอาเซียน

จัดทำแผน แดนโขง โยงเมืองมุก
เพื่อสร้างสุข ทุกเรื่อง เรืองอาเซียน
มุกดาหาร การค้า พาย้ำเตือน
อย่าแชเชือน เรียนรู้ ดูศึกษา

จัดทำแผน แปลนดี มีประโยชน์
ต้องมีโชค โจทย์แท้ แก้ปัญหา
มีตัวอย่าง ต่างช่วย ด้วยปัญญา
ทุกคนมา อาสา ทำแผนเอย

ผศ.ดร.มณูญพงศ์ ศรีวิรัตน์ 
ประธานสถานศึกษา ร.ร.จุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร
ประธานคณะกรรมการตรวจการจ้างอาคารเฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา มหาราชา (ภูผาเจีย มุกดาหาร)
อดีตรองอธิการบดี ม.อุบลราชธานี (พ.ศ.๒๕๔๕-๒๕๕๕)

วันศุกร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2557

CRM สำหรับสถาบันอุดมศึกษา

CRM (Customer Relation Management) คือ การบริหารจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า  หรือ อาจจะเรียกชื่ออย่างอื่นก็ได้  อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนคิดว่า หัวใจหลักของ CRM น่าจะเป็น "การทำอย่างไรที่จะให้ลูกค้ามีความพึงพอใจมากที่สุด (และกลับมาใช้บริการของเราอีก หรือ บอกต่อว่าการให้บริการของเรานั้นดีมากๆ ให้ผู้อื่นมาใช้บริการ) 

ที่นี้ เกี่ยวกับชื่อเรื่อง "CRM สำหรับสถาบันอุดมศึกษา" จะเป็นอย่างไร และหากว่าจะนำ Information Technology มาประยุกต์ใช้ช่วยเหลือในการจัดทำ CRM สำหรับสถาบันอุดมศึกษา จะมีลักษณะอย่างไร 

แน่นอนว่า สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันอุดมศึกษาที่ควรจะทำให้ท่านเหล่านั้น ประทับใจ คือ 

๑. นักศึกษาปัจจุบัน
๒. ศิษย์เก่า
๓. ผู้ปกครอง 
๔. (ตอนนี้ผู้เขียนยังคิดไม่ออก) 

ซึ่งในปัจจุบันการส่งเสริม CRM ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่ง เนื่องจากทุกท่านที่เกี่ยวข้องกับสถาบันอุดมศึกษาล้วนแต่มีเครื่องมือสื่อสาร (โดยเฉพาะ Smart Phone) แล้วสำหรับสถาบันอุดมศึกษา ควรจะมีระบบ CRM หรือไม่ หรือ พัฒนาระบบ CRM ที่มีอยู่แล้วอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด  "ในแง่การสร้างความพึงพอใจให้ผู้ใช้บริการ" 


ซีอาร์เอ็มจะดี ด้วยไอทีวิชาการ
ซีอาร์เอ็มประสาน เกิดผลงานพึงพอใจ  

ซีอาร์เอ็มลูกค้า ควรนำพาและใส่ใจ
ลูกค้ากลับมาใหม่ ประทับใจบริการ

ซีอาร์เอ็มว่องไว ต้องเข้าใจไม่เนิ่นนาน
สร้างสรรค์ก่อการงาน  ไม่หย่อนยานยิ้มด้วยใจ

ซีอาร์เอ็มสรรสร้าง หาหนทางสร้างสิ่งใหม่
ซีอาร์เอ็มยุคใหม่ สร้างสายใยลูกค้าเอย

ครับ ผู้เขียนขอกลับมาที่เรื่อง "CRM สำหรับสถาบันอุดมศึกษา" สิ่งที่จะทำให้นักศึกษา ศิษย์เก่า และหรือผู้ปกครอง ผู้เขียนคิดว่ามีมากมายหลายเรื่อง เช่น

ระบบการจองเสื้อครุย (ทำอย่างไรที่บัณฑิตจะไม่ต้องเดินทางมาจองที่มหาวิทยาลัย จอง Online ระบุขนาด ชำระเงินทางธนาคาร รอรับเสื้อครุยจากไปรษณีย์ไทยที่บ้านได้เลย)

ระบบแจ้งเตือนผลการเรียนนักศึกษาให้ผู้ปกครอง (ผ่านระบบ Social Media หรือ App (IOS หรือ Android) 

ระบบ Portfolio ของศิษย์เก่า (บัณฑิตทุกท่าน) 

ระบบการรับเข้าศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา (ที่สามารถสอบคัดเลือก Online หรือ สัมภาษณ์ Online)  

เอาเป็นว่า หากใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ให้ CRM มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ผู้เขียนคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ครับ ดังนั้น เรามาช่วยกันคิดว่าจะพัฒนาอย่างไร เพื่อจะให้ "ลูกค้า (หรือ ผู้ใช้บริการ) ของสถาบันอุดมศึกษา" มีความพึงพอใจประทับใจมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ กันนะครับ 


มณูญพงศ์ ศรีวิรัตน์
๔ ตุลาคม ๒๕๕๗ 

อ้างอิงเกี่ยวกับ CRM 

ระบบบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า