วันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2556

บัว กับ เมืองดอกบัว (อุบลราชธานี)

เนื่องจากจังหวัดอุบลราชธานี เป็นเมืองแห่งดอกบัว ซึ่งประโยชน์ของบัวมีมากมาย ตัวอย่างเช่น
 
ดอกบัว
ประชาชนนิยมนำไปบูชาพระมากกว่าดอกไม้ชนิดอื่น เพราะดอกบัวสามารถคงความงามไว้ได้นาน
 
เมล็ดบัว
เป็นแหล่งรวมธาตุอาหารหลายชนิด สามารถนำมากินได้ทั้งสดและแห้ง ยังนำมาประกอบอาหารได้ทั้งคาวหวาน หรือนำไปบดเป็นแป้งกวนทำไส้ขนมก็ได้
 
เกสรบัว
มีสรรพคุณทางยาหลายชนิด ปัจจุบันมีการนำเกสรบัวมาทำผลิตภัณฑ์เครื่องบำรุงผิวพรรณอีกด้วย
 
ดีบัว
มีสารเนเฟอรีน (neferine) ซึ่งมีฤทธิ์ต้านการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ สามารถขยายหลอดเลือดและช่วยให้นอนหลับง่าย
 
ใบบัว
นำมาห่อข้าว เป็นข้าวห่อใบบัว ส่วนใบอ่อนสามารถนำมากินเป็นผักสดแกล้มน้ำพริก หรือนำมาหั่นฝอย ๆ ชงดื่มแทนน้ำชา ช่วยแก้ร้อนในกระหายน้ำได้เป็นอย่างดี
 
ก้านบัว
นำมาตากแห้ง สามารถใช้แทนยากันยุงหรือใช้ทำเชื้อเพลิง ใช้ปิ้งย่าง ทำให้มีกลิ่นหอมและสามารถนำไปทำเยื่อกระดาษได้เช่นเดียวกับกระดาษสา
 
เหง้าบัว
เป็นลำต้นใต้ดินสำหรับสะสมอาหาร ขนาดใหญ่ อ้วน มีคุณค่าทางอาหารมาก นิยมนำมาเชื่อมแห้งกินเป็นของหวาน หรือนำไปต้มกับน้ำตาลกรวด แก้ร้อนใน กระหายน้ำ
 
ไหลบัว
เป็นยอดอ่อนของบัว สามารถนำมาประกอบอาหารได้ทั้งสด ทั้งแห้ง จิ้มน้ำพริกหรือผัดก็อร่อย โดยมากจะนำมาแกงส้ม แกงเลียง ผัดเผ็ดต่าง ๆ
 
ส่วน “บัวสาย” ก้านของบัวสาย สามารถปรุงอาหารแทนผักได้หลายชนิด ทั้งแกงส้มสายบัว แกงสายบัวกับปลาทู และทำขนมสายบัว
 
    นอกจากนั้น เพื่อเป็นการองรับการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ.๒๕๕๘  และเป็นการส่งเสริมเอกลักษณ์ของจังหวัดอุบลราชธานี อันนำไปสู่ความสำคัญระดับชาติ ในเบื้องต้นอาจจะมีการพัฒนา “บัวอุบล” ดังนี้
บัวอุบลฯ BUA UBON

B = Beauty สวยงาม
U = Upgrade ยกระดับ ทำให้ดีขึ้น
A = Atop บนยอด สุดยอด สูงสุด


U = Usable มีประโยชน์
B = Bright สีสดใส
O = Optimal เหมาะสมที่สุด ดีที่สุด
N =National ประจำชาติ ระดับชาติ
    
    ดังนั้น BUA UBON ต้องสวยงามถูกทำให้ดีขึ้นสูงสุดโดยพัฒนาให้มีประโยชน์สีสดใสที่ดีที่สุดในระดับชาติ
 
อุบลฯเมืองดอกบัว รู้กันทั่วเมืองบัวงาม
บัวอุบลฯ ลือนาม เป็นนิยามของดอกบัว
บัวมีมากหลายพันธุ์ ต้องร่วมกันให้รู้ทั่ว
อนุรักษ์พันธุ์บัว ทุกครอบครัวมารวมกัน
อุบลฯต่างต้องชวน ทุกภาคส่วนต้องแข็งขัน
ช่วยประชาสัมพันธ์ สืบสานพันธุ์บัวงามเอย
 
ผศ.ดร.มณูญพงศ์ ศรีวิรัตน์
ภาควิชาคณิตศาสตร์ สถิติและคอมพิวเตอร์
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

อ้างอิงเกี่ยวกับเรื่องประโยชน์ของบัว
๑. ประโยชน์ ๑
๒. ประโยชน์ ๒
๓. ประโยชน์ ๓

 







วันอังคารที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2556

ไม่เข้าท่า

ชื่อเรื่อง “ไม่เข้าท่า” ผู้เขียนได้ยินผู้คนเขาพูดกัน เลยมานั่งคิดว่า “ไม่เข้าท่า” คืออะไรกัน มีที่มาอย่างไร


ก่อนอื่น คำว่า “ท่า” มีหลากหลายความหมายมาก หากเกี่ยวกับการเดินทาง เช่น ท่าน้ำ ท่าเรือ ท่าอากาศยาน เป็นต้น หรือ หากเกี่ยวกับท่วงทีของร่างกาย เช่น ท่าดีทีเหลว ท่าทาง ท่าเดียว ท่าที ท่านั้นท่านี้ เป็นต้น


ที่กล่าวมานั้นเกี่ยวกับคำว่า “ท่า” แต่หากตามชื่อเรื่องที่กำหนดไว้ว่า “ไม่เข้าท่า” จะเป็นอย่างไรละครับ


“ไม่เข้าท่า” ทำให้ผู้เขียนนึกถึงการเดินทางเรือที่ใช้แม่น้ำลำคลองในการสัญจร อย่างเช่นแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณแถวๆ พระราชวัง (วัดพระศรีรัตนศาสดาราม) ก็มีท่าน้ำ เช่น ท่าพรานนก ท่าสี่พระยา ท่าช้าง เป็นต้น ซึ่งผู้โดยสารจะต้องรอที่ท่าเรือ หากเรือไม่เข้าท่าผู้โดยสารก็ไม่สามารถที่จะขึ้นเรือเพื่อเดินทางต่อไปได้ ซึ่งการ “ไม่เข้าท่า” อาจจะมีหลายสาเหตุ เป็นต้นว่า ท่าเรือไม่มีความเรียบร้อย ดังนั้น การไม่เข้าท่าดังกล่าวย่อมจะก่อให้เกิดความเดือดร้อนของผู้โดยสารตามมาในที่สุด กล่าวง่ายๆ คือ “ไปต่อไม่ได้” สำหรับเรือที่ไม่เข้าท่าแล้ว มีแต่จะเกิดความเสียหายเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นของเชื้อเพลิงที่ลอยลำในแม่น้ำ หรืออื่นๆ ดังนั้น “ไม่เข้าท่า” ไม่ดีทั้งกับเจ้าของเรือและผู้โดยสารอย่างแน่นอน


อย่างไรก็ดี สำหรับคำว่า “ไม่เข้าท่า” ในปัจจุบันนั้นมักจะถูกนำมาใช้กับเรื่องอะไรที่ทำลงไปแล้ว “ไม่ถูกไม่ควร ไม่เหมาะสม ไม่ถูกกาลเทศะ” หรือ ทำไปแล้วไม่ดีเลย ไม่ชอบ จะเห็นว่า “ไม่เข้าท่า” โดยส่วนมากมักจะถูกใช้ในทางลบเป็นส่วนมาก ด้วยเหตุนี้ หากมีใครมาว่าเรา “ไม่เข้าท่า” แสดงว่าเราจะต้องทำอะไรลงไปที่ไม่ถูกไม่ควรอย่างแน่นอน


ดังนั้น เพื่อเป็นการสื่อสารเกี่ยวกับ “ไม่เข้าท่า” ดีมากยิ่งขึ้น ผู้เขียนขออนุญาตนำเสนอเป็นบทกลอน ดังนี้




ทำเรื่องไม่เข้าท่า แล้วจะมาบอกว่าดี


ทุกเรื่องมีศักดิ์ศรี ล้วนต้องมีความเป็นมา


หลายคนไม่เคยทำ มัวแต่ย้ำไม่เข้าท่า


ทุกเรื่องพัฒนา ต้องเข้าท่าถึงจะดี


บางอย่างไม่เคยทำ เรื่องระยำทำทุกที


ทำอ้างสร้างความดี แล้วจะมีใครสนใจ


ทุกอย่างล้วนต้องทำ เพื่อจะนำสู่หลักชัย


ทุกอย่างอยู่ที่ใจ รวมจิตใจเข้าท่าเอย




มณูญพงศ์ ศรีวิรัตน์


๑๓ มีนาคม ๒๕๕๖






รวย

คำๆ นี้ ผู้เขียนเชื่อว่าทุกท่านต้องการอย่างแน่นอน คือ คำว่า “รวย”

ท่านใดที่ยังไม่รวย ก็ต้องการ  “รวย”

ท่านใดที่รวยอยู่แล้ว ก็ต้องการ “รวยๆ”
         
รวย เป็นคำที่มีอักษรเพียง ๓ ตัว เท่านั้น (ร.เรือ ว.แหวน ย.ยักษ์) มีเรือที่จะขนทรัพย์สมบัติแก้วแหวนเงินทองแล้วเดินทางไปหายักษ์ หากเป็นเช่นนี้ ย่อมแสดงว่า “จะต้องโดนยักษ์กินหมดเลย) ผู้เขียนล้อเล่นนะครับ เพียงแต่นำตัวอักษรของคำว่า “รวย” มาลองเรียงกันดูเพียงเท่านั้น ครับ
         
สำหรับผู้เขียนคิดว่าการ “รวย” อย่างหนึ่งที่คนไทยทุกคนควรจะต้องมี คือ “รวยน้ำใจ” หากเราคนไทยรวยน้ำใจเพื่อช่วยเหลือคนอื่นๆ ที่ได้รับความเดือดร้อนแล้วละก็ เชื่อได้ว่าการรวยดังกล่าวจะเป็นการรวยที่มีความสุขทั้งตัวเองและสำหรับคนอื่นๆ
          
อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนขออนุญาตเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำว่า “รวย” เป็นดังนี้

ร  = รุ่งเรือง
วุฒิ = วุฒิบัตร วุฒิการศึกษา วุฒิภาวะ
ย = ยั่งยืน
   
        หากว่าเราอยากจะรวย อาจจะเป็นคือ รุ่งเรืองในวุฒิ (ด้านต่างๆ เช่น วุฒิบัตร วุฒิการศึกษา วุฒิภาวะ) อย่างยั่งยืน แล้วเราจะทำอย่างไรเพื่อให้ “รวย” ดังกล่าวนี้ ผู้เขียนก็ยังไม่รวยหรอกครับ แต่จะต้องพยายาม คือ ทำให้ตัวเรารุ่งเรืองให้ด้านวุฒิภาวะความคิดเห็นอย่างมีสติสมาธิเพื่อก่อเกิดปัญญาในที่สุด ครับ เพื่อให้เข้าใจเกี่ยวกับรวยตามข้างต้นเพิ่มเติม ผู้เขียนขออนุญาตนำเสนอเป็นบทกลอน ตามข้างล่างนี้ ครับ
 
 อันว่ารวยนั้นดี  รวยเป็นศรีแก่ตัวเอง
 บางรวยอาจวังเวง  เพราะมัวเกรงแต่ตัวตน
 หากรวยต้องรุ่งเรือง  ขอแต่เพียงช่วยทุกคน
 รวยวุฒิไม่จน  ขอเพียงตนไม่จนใจ
 รวยแบบยั่งยืนยง  รวยมั่นคงและปลอดภัย
 คือรวยด้วยน้ำใจ  จะนำชัยเพราะรวยเอย

มณูญพงศ์ ศรีวิรัตน์
๑๒ มีนาคม ๒๕๕๖



ยอม

หลายครั้งในชีวิต เรามักจะเคยได้ยินคำว่า “ยอม” เป็นคำสั้นๆ ที่เมื่อยอมแล้ว ฝ่ายที่ยอมจะต้องยอมทุกอย่าง หยุดทุกอย่างที่ได้กระทำอยู่ กล่าวง่ายๆ คือ เป็นผู้ยุติ นั่นเอง

ท่านผู้อ่านลองถามตัวเองซิครับว่า ในชีวิตนี้ท่านเคย “ยอม” หรือไม่อย่างไร หรือ เคยทำให้คนอื่นยอมเราหรือไม่  ซึ่งผู้เขียนเชื่อว่าหลายๆ ท่านจะต้องเป็นทั้งผู้ที่ยอมและผู้ที่ทำให้ผู้อื่นเขายอมอย่างแน่นอน  แต่คำถามต่อไป คือ ระหว่างที่เป็นผู้ที่ยอมกับผู้ที่ทำคนอื่นให้ยอม อันไหนมีจำนวนมากกว่ากันละครับ
 
“ยอม” ทำให้เหตุการณ์บางอย่างที่กำลังรุนแรงดำเนินอยู่ในขณะนั้นยุติลงไปได้ ตัวอย่างเช่น การแข่งขันชกมวยปรากฏว่าฝ่ายหนึ่งชกอีกฝ่ายหนึ่งอยู่อย่างเดียว จำเป็นอย่างยิ่งที่พี่เลี้ยงจะต้องโยนผ้าขาวเพื่อ “ยอม” แพ้ เพราะหากว่าปล่อยให้ชกต่อไป อาจจะอันตรายนำมาซึ่งชีวิตของนักมวยก็เป็นได้  หรือ เหตุการณ์จลาจลในบ้านเมืองที่มีกำลังกองกำลังติดอาวุธที่กำลังอาวุธมากกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง (ที่ไม่มีอาวุธ) ฝ่ายหลังนี้จำเป็นจะต้อง “ยอม” เพื่อไม่ให้ก่อเกิดความสูญเสียของชีวิตผู้คนตามมาเป็นจำนวนมาก
 
ท่านผู้อ่านคงจะพอมองภาพของการ “ยอม” ได้พอสมควร  ดังนั้น เพื่อเป็นการขยายคำว่า “ยอม” ผู้เขียนขออนุญาตนำเสนอคำกลอนเกี่ยวกับ “ยอม” เป็นดังนี้

ย = ยุติ
อ = อดทน
ม = ไม่เอาอีกแล้ว
 
ปัญหาต้องยุติ    ต้องไม่ตินินทาต่อ
ทำไปไม่ย่อท้อ    ทำให้พอและอดทน
ต้องไม่เอาอีกแล้ว   เพื่อเป็นแนวให้กับตน
ก้มหน้าพร้อมสู้ทน    และถ่อมตนเพื่อ "ยอม" เอย

มณูญพงศ์ ศรีวิรัตน์
๙ มีนาคม ๒๕๕๖

สอบ

    การเรียนทุกรายวิชาทุกหลักสูตรไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรใดๆ ก็ตามแต่ โดยส่วนมากเมื่อเรียนเสร็จสิ้นแล้วจะต้องมีการ “สอบ”  และบางครั้งการสอบก็ใช้สำหรับการคัดเลือกในการต่างๆ เช่น การศึกษาต่อ การทำงาน เป็นต้น ดังนั้น “สอบ” จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่ทุกคนควรจะต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
 
      นอกจากนั้น “สอบ” บางอย่างผู้คนทั่วไปอาจจะไม่ชอบสักเท่าไร เพราะการสอบที่ว่า คือ การสอบข้อเท็จจริง การสอบวินัยของข้าราชการ โดยการสอบดังกล่าวนั้น เป็นการสอบว่ามีความผิดหรือไม่มีความผิด หากผิดจริงก็ถูกลงโทษไปตามกระบวนการขั้นตอนของทางราชการ
 
        อย่างไรก็ตาม “สอบ” สำหรับผู้เขียนที่กล่าวนี้  เป็นการกล่าวถึงการสอบของนักเรียน นักศึกษา ก็แล้วกัน เพื่อให้เข้าใจว่าการสอบคือ อะไร โดยเป็นตามบทกลอนต่อไปนี้
 
สอบ คือ อะไร
ส = สรุป
อ = อ่าน
บ = บูรณาการ

สอบนั้นคืออะไร   แล้วทำไมเราต้องสอบ
สรุปให้รอบคอบ   เข้าห้องสอบจะได้ดี
การสอบจะต้องอ่าน  ทำการบ้านมาอย่างดี
โดยอ่านให้รู้ดี   เพื่อจะมีสิ่งลิขิต
มีบูรณาการ   ทั้งการอ่านและความคิด
มาเข้าสอบด้วยจิต   ใช้ความคิดสอบได้เอย
 
มณูญพงศ์ ศรีวิรัตน์
๑๑  มีนาคม ๒๕๕๖

จบ

ช่วงเวลานี้ ต้นเดือนมีนาคมถึงกลางเดือนมีนาคม เป็นช่วงสอบปลายภาคของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ทั้งปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านใดที่อยู่ชั้นปีสุดท้ายของการศึกษาในหลักสูตรนั้น ก็ต้องรอวิชาสุดท้ายของการสอบดังกล่าว เพื่อที่จะตัวเองจะได้เปล่งวาจาว่า “จบ” แล้ว

ดังนั้น ผู้เขียนจึงใคร่ขออนุญาตเขียนเกี่ยวกับเรื่อง “จบ” เฉพาะด้านการศึกษาเท่านั้นนะครับ 

จบ เป็นคำสั้นๆ ตัวอักษรเพียงสองตัว คือ จ.จาน และ บ.ใบไม้  บางทีนั่งคิดว่าแล้วจานกับใบไม้มาอยู่ด้วยกันแล้วกลายเป็น “จบ” ได้อย่างไร แต่คิดว่ามันไม่ใช่สาระหรอกครับ  แต่สาระสำคัญ คือ “จบ” ในเรื่องการศึกษานั้นเป็นอย่างไร ซึ่งจริงๆ แล้ว การจบการศึกษาในแต่ละระดับล้วนจะต้องไปต่อ  (เหมือนกัน The Star) ตัวอย่างเช่น จบจากอนุบาลก็เข้าศึกษาต่อระดับประถมศึกษา จบจากประถมศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษา จบจากระดับมัธยมศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา เป็นต้น ดังนั้น จะเห็นว่าการ “จบ” ล้วนแต่จะมีการต่อเสมอ  ต่อเพื่อให้มีความที่ดีขึ้นสูงขึ้น ตามลำดับ 

อย่างไรก็ตาม จบดังกล่าวข้างต้นไม่ได้แสดงว่าจบสิ้นหมดไป แต่เป็นการจบเพื่อต่อไปอีก ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนเลยจะขออนุญาตเสนอเพิ่มเติมเกี่ยวกับ “จบ” เป็นบทกลอน ดังนี้

"จบ"
จ = จาก
บ = บวก
 
"จบ" นั้นมีหลายอย่าง  จบเป็นทางเพื่อต้องจาก
หากจบจากลำบาก  ย่อมจะมากด้วยความสุข
บางจบอาจจะยาก   จบต้องจากอย่างสนุก
จบแบบบวกจะสุข   ไม่เป็นทุกข์เมื่อต้องจบ
จบแบบเจ็บไม่ดี   เพราะจะมีแต่จะหมด
จบจากอย่างหมดจด  แล้วจะพบกับสุขเอย
 
ดังนั้น ในชีวิตจริงของพวกเราทุกคน หากเราต้องจบจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง หรือ จบจากเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งแล้ว เราควรจะต้องคิดให้ดีคิดในทางบวกกันมากๆ นะครับ เพื่อเราจะได้ “จบ” อย่างสมบูรณ์ที่สุด

มณูญพงศ์ ศรีวิรัตน์
๑๑ มีนาคาม ๒๕๕๖  


วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2556

สภาเครือข่ายพลเมืองอุบลราชธานี

หลายๆ ท่านชาวจังหวัดอุบลราชธานีอาจจะแปลกใจว่าชื่อเรื่องข้างต้น คือ สภาเครือข่ายพลเมืองอุบลราชธานี เป็นมาอย่างไร สภาฯ ดังกล่าวมีหน้าที่ทำอะไร เพื่ออะไร และเป้าหมายคืออะไร 

โดยในเบื้องต้นเกิดจากหลักการที่ว่าอุบลราชธานีนั้นมีองค์กรต่างๆ มากมายทั้งภาครัฐและเอกชนที่ได้ทำงานในด้านที่องค์กรนั้นๆ ถนัดและทำประโยชน์เพื่ออุบลราชธานี ดังนั้น จะทำอย่างไรเพื่อให้องค์กรต่างๆ เหล่านั้นได้มีโอกาสมาพูดคุยแลกเปลี่ยนกันความคิดในการพัฒนาอุบลราชธานีเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัฒน์ ดังนั้น จึงเกิด (ร่าง) หลักการดังนี้






และในที่สุดความร่วมมือดังกล่าวได้เริ่มเมื่อวันอาทิตย์ที่  ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ เครือข่ายต่างๆ ของเมืองอุบลฯ เข้าร่วมประชุมเพื่อสร้างสามัคคีอุบลราชธานี (UBON UNITY





ซึ่งความร่วมมือดังกล่าวข้างต้นจึงเกิดเป็น “สภาเครือข่ายพลเมืองอุบลราชธานี” 



โดยในเบื้องต้นผู้เขียนขออนุญาตขยาย “สภาเครือข่ายพลเมืองอุบลราชธานี” เป็นดังนี้ (เป็นความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ)

สภา = Council
เครือข่าย =Network
พลเมือง = Citizen
อุบลราชธานี = Ubon ratchathani

สภาเครือข่ายพลเมืองอุบลราชธานี (สคพอ.)
โดยที่ สคพอ. 
ส = สุข => เป็นสุข
ค = คุณ => เป็นคุณ
พ = พลัง => เป็นพลัง
อ = อุบลฯ 
สคพอ. จะทำงานให้เป็นสุขเป็นคุณเป็นพลังต่ออุบลฯ

Ubon ratchathani Citizen Network Council (UCNC)
โดยที่ UCNC มีเป้าหมายประกอบด้วย
U = Unity ความสามัคคี
C = Communication การสื่อสาร
N = Negotiation การเจรจา
C = Cooperation การทำงานร่วมกัน
UCNC = สามัคคีสื่อสารเจรจาทำงานร่วมกัน

มณูญพงศ์ ศรีวิรัตน์
อาจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์ สถิติและคอมพิวเตอร์ 
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ประธานสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จำกัด
ประธานสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร
อดีตรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (พ.ศ.๒๕๔๕-๒๕๕๕)



อ้างอิงเพิ่มเติม
๑.   Facebook1
๒. Facebook2
๓.  Facebook3