วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ขอ.... ให้.....

หลายครั้งหลายเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความสูญเสียและเสียใจให้กับผู้คนที่เกี่ยวข้องมากมายนั้น เราทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นใครก็ไม่อยากจะให้เกิดขึ้นอย่างแน่นอน อย่างไรก็ดี หากว่าเราไม่สามารถที่ห้ามเหตุการณ์ได้ และเมื่อมันเกิดขึ้นมาแล้ว เราก็ต้องทำความเข้าใจ ทำใจในสิ่งนั้น เราไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้ดั่งเดิม ทุกอย่างล้วนเป็นไปตามกรรมของสิ่งที่กำหนด (ฟ้ากำหนดไว้แล้ว)
ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนก็เลยขอเสนอ เรื่อง ขอ... ให้...
"ขอ" ที่ว่า คือ ขอโทษ หากเมื่อไรก็ตามที่เรากระทำการใดๆ ก็ตามแต่จะด้วยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ แต่หากสิ่งที่เราทำไปนั้นมันเกิดโทษเกิดความทุกข์ต่อผู้คนที่ใกล้ชิดเรา หรือไม่ใกล้ชิดก็แล้วแต่ หรือคนอื่นๆ ที่เราไม่ได้เกี่ยวข้อง แต่สิ่งนั้นได้ก่อเกิดความเดือดร้อนตามมาก หากว่าเราได้คิด ได้สติ ได้สำนักในสิ่งที่เรากระทำลงไปนั้น ผู้เขียนอยากจะให้เราได้เอยคำว่า "ขอโทษ" ที่เป็นคำมาจากจิตใจของเราอย่างแท้จริง (ไม่ใช่ขอโทษแต่ปาก หรือคำพูด) คำขอโทษ เป็นคำที่เอยง่ายนิดเดียว แต่เป็นคำที่ยิ่งใหญ่มากสำหรับความเป็นมนุษย์ของเรา ในแต่ละวันอาจจะมีหลายสิ่งหลายอย่างที่เราได้ทำผิดไป ทำไม่ถูกไม่ควรลงไป เราก็ลองคิดอย่างมีสติให้รู้ให้ทราบ แล้วเราก็ลองฝึกขอโทษ จะเป็นการขอโทษตัวเราเองก็ได้ ขอโทษตัวเองที่ไม่ได้คิด ขอโทษตัวเองที่ไม่ได้ใส่ใจ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นแล้ว ผู้เขียนเชื่อว่า สังคมของเราคงจะมีความสุขเพิ่มขึ้นอย่างไม่ใช่น้อย อีกสิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนได้เคยทำผิดทำให้แม่เสียใจจนหลั่งน้ำตาออกมา ผู้เขียนก็รู้สึกเสียใจ แต่ตอนนั้น (เป็นเด็ก) ไม่เคยได้กล่าวคำ "ขอโทษ" แม่ตัวเอง มาวันนี้ คงจะยังไม่สายเกินไปที่อยากจะบอกว่า "ลูกขอโทษ" ถึงแม้ว่าแม่ของผู้เขียนจะจากลาลับจากโลกไปนานมาแล้วก็ตาม คำขอโทษนี้ อย่างน้อยที่สุดก็ทำให้ผู้เขียนมีความสุข (สำนึกในสิ่งที่เคยทำผิดไป) ดังนั้น ตั้งแต่วินาทีนี้เป็นต้นไป เราทุกคนลองมาฝึกคำว่า "ขอโทษ" ขอโทษต่อแผ่นดินที่เราไม่ได้ช่วยกันดูแลให้แผ่นดินไทยของเรามีความร่มเย็น ขอโทษแผ่นดินไทยของเราที่เราต่างมีแต่แย่งกันในการใช้ประโยชน์แก่ตัวเองและพวกพร้อง ขอโทษแผ่นดินที่เราไม่ได้ช่วยกันปลูกป่าและอนุรักษ์ป่าให้มีความอุดมสมบูรณ์
ครับ เมื่อมีคำว่า "ขอ" แล้ว ย่อมจะต้องมีคำว่า "ให้" เป็นสิ่งที่คู่กันเสมอมา
โดย "ให้" ในที่นี้ ผู้เขียนเสนอว่าเป็นการ "ให้อภัย" เมื่อไรก็ตามที่มีผู้กระทำผิดต่อเรา ต่อชุมชน ต่อประชาคม ต่อองค์กร ต่อสังคม เข้าผู้นั้นได้ขอโทษและสำนึกผิดในการกระทำอย่างจริงใจ เราคนไทยด้วยกัน ก็ควรจะต้องกล่าวคำว่า "ให้อภัย" และควรจะต้องให้อภัยที่ออกมาจากใจเช่นกัน (ไม่ใช่ออกมาเป็นเพียงวาจาเท่านั้น) การให้อภัยเป็นเรื่องที่ทำได้ไม่อยากถ้าหากว่าเราจะทำ เพียงแต่ว่าเราจะต้องทำความเข้าใจว่า ในโลกใบนี้ "ไม่มีใครหรอกที่ไม่เคยกระทำความผิด" ความผิดพลาดทำให้เกิดการเรียนรู้เป็นบทเรียนที่มีค่าอย่างมาก ดังนั้น "ให้อภัย" ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เราทุกคนควรจะฝึกปฏิบัติเช่นกัน เพราะหากว่าเราสามารถฝึกฝนจนเป็นประจำแล้ว "ให้อภัย" จะเป็นเป็นการทำบุญกุศลให้เรานั้นเกิดความสุขในการปฏิบัติงาน ในการดำรงชีวิตเป็นอย่างมาก

สุดท้ายนี้ ผู้เขียนขอให้ทุกท่านได้พยายามฝึกนะครับ "ขอ..." คือ "ขอโทษ" และ "ให้..." คือ "ให้อภัย" เมื่อเราทุกคนฝึกได้แล้วสังคมทุกหมู่เหล่าในประเทศไทยของเราก็จะมีแต่ความสุข ความเจริญกันถ้วนหน้า
มนูญ ศรีวิรัตน์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น