วันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ลังเล

วันนี้ได้มีโอกาสเดินทางไปร่วมงานปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่วิทยาเขตมุกดาหาร (มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี) ณ จังหวัดมุกดาหาร รู้สึกดีใจมากที่ได้มีโอกาสดังกล่าว เพราะการได้มาพูดในโอกาสนับว่าสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะได้มีโอกาสได้ให้ข้อคิดสำหรับนักศึกษาใหม่ เพื่อนักศึกษาใหม่ของวิทยาเขตมุกดาหารได้นำไปใ้ช้ประโยชน์ ก็เลยไม่ลังเล
ที่นี้้ เรามาดูคำว่า ลัีงเล คือ ไม่แน่ใจ ไม่รู้ว่าจะเลือกอะไร ไม่รู้ว่าจะไปไหนดี ไม่รู้ว่าจะทำอย่างหนึ่งอย่างใด ผู้เขียนคิดว่า เป็น คนๆ นั้น ไม่มีข้อมูลเพียงพอในการตัดสินใจในการทำอย่างใดอย่างหนึ่ง และไม่มีสติเพียงพอในการตัดสินใจในเรื่องนั้นๆ ความลังเล ถ้าหากเกิดขึ้นแล้วจะทำให้เราเสียเวลาอย่างมากในการทำอย่างใดอย่างหนึ่งที่เราสนใจอยู่ในขณะนั้น ซึ่งการเสียเวลาดังกล่าวทำให้เกิดการสูญเสียเป็นอย่างมาก แล้วเราจะแก้ปัญหาเรื่อง การลังเล ได้อย่างไรดี
เรามาเริ่มต้นการป้องกันการลังเลกันดีกว่า อันดับแรก เราควรจะต้องมีข้อมูล หรือ หาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ให้มากที่สุดที่เราจะทำได้โดยหาได้จากแหล่งต่างๆ ที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ ผู้ที่มีความรู้ความสามารถในเรื่องนั้นๆ หาจากแหล่งเรียนรู้ ห้องสมุด อินเทอร์เน็ต เป็นต้น เมื่อเราหาข้อมูลดังกล่าวได้แล้ว เราต้องมาไตร่ตรองอย่างรอบครอบ และที่สำคัญคือ จะต้องใช้ สติ ควบคู่ไปด้วย ถ้าหากเราสามารถทำได้ดังกล่าวแล้ว การลังเล จะลดลง
และถ้าหากเราปฏิบัติอย่างที่กล่าวมาแล้วเป็นประจำในทุกๆ เรื่อง การลังเล ของเราจะไม่เกิดขึ้น แต่อย่างไรก็ดี บางครั้ง การลังเลก็เกิดประโยชน์เป็นอย่างมาก เพราะทำให้เราเกิด สติ เกิดความรอบครอบ เกิดความเอาใจใส่มากยิ่งขึ้น แต่ใช่ว่า เราต้องลังเล เสมอไปนะครับ
ที่กล่าวมาตามข้างต้น ผู้เขียนก็เคยลังเลเหมือนกัน แต่เท่าที่จำได้ การลังเล รู้สึักว่าทำให้ผู้เขียนได้เกิดการกลับมาทบทวน คิดด้วยความระมัดระวัง คิดด้วยความเข้าใจในสถานการณ์นั้น คิดด้วยความเป็นไปได้ที่ถูกที่สุดตาม 3 ธ 3 ธรรม คือ ธรรมชาติ ธรรมะ และยุติธรรม
สุดท้ายนี้ ผู้เขียนขอให้ทุกท่าน ได้โปรดลังเลในบา่งเรื่อง และไม่ลังเล ในบางเรื่อง เรื่องใดที่ท่านมีข้อมูํลที่ตัดสินใจได้อย่างครบถ้วน ท่านดำเนินการได้เลย เรื่องใดที่ท่านยังคิดว่าจะต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ท่านก็ควรจะลังเล ในการตัดใจสิน ในการให้คำตอบ ในการกระทำ ในเรื่องนั้นๆ
ท่านใดที่เป็นผู้บริหารขององค์กร บางเรื่องถ้าเกิดลังเล จะเกิดความเสียหายอย่างมาก ไม่สามารถเยียวยาแก้ไขได้ ดัีงนั้น ท่านจะต้องไม่ลังเล แต่ควรจะรีบเร่ง
มนูญ ศรีวิรัตน์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น