วันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ยุบ

ยุบ เป็นอีกคำหนึ่งที่สังคมในความสนใจเป็นอยากมากในหลายรอบเดือนที่ผ่านมา มีข่าวหลายๆ ข่าวที่ลงในหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ของบ้านเรา ว่า มีการยุบตัวพื้นดินของจังหวัดหนึ่ง รวมทั้งที่ผ่านมาจะเห็นว่ามีข่าวเกี่ยวกับการยุบตัวของพื้นที่กรุงเทพมหานครในแต่ละปีเนื่องจากสาเหตุมาจากหลายประการ เป็นต้นว่า เกี่ยวกับการใช้น้ำบาดาลในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ดังนั้น คำว่า ยุบ คือ อาการของลดระดับของบางอย่างจากระดับที่สูงกว่าไปสู่ระดับที่ต่ำกว่า หรือบางครั้งอาจจะเป็นลักษณะของการลดขนาดให้เล็กลง เช่น การชนของรถยนต์มีการยุบของตัวถังรถยนต์ คำว่า ยุบ ก็อาจจะเป็นอาการหรือลักษณะของการลดขนาดจากใหญ่ให้เล็กลงโดยมีการกระทำจากแรงภายนอกอย่างใดอย่างหนึ่งก็เป็นได้
บางครั้ง เราอาจจะเคยได้ยินว่ามีการยุบตำแหน่ง ยุบองค์กร ยุบหน่วยงาน ด้วยเหตุนี้ ยุบ ก็อาจจะหมายถึงการทำให้หายไปของสิ่งที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งข้าราชการผู้ใดที่มีตำแหน่งสูงๆ ถ้าหากมีการยุบตำแหน่งแล้วรับรองได้ว่าอาจจะไม่สบายใจสักเท่าไร เพราะกลัวว่าตัวเองจะไม่มีตำแหน่ง ไม่มีที่อยู่ สำหรับภาคเอกชนมีการปรับตัวตามกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก หรือที่เรียกว่า โลกาภิวัฒน์ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการยุบตำแหน่ง ยุบแผนก ยุบฝ่ายต่างๆ ที่ไม่ก่อให้เกิดผลกำไร แต่ถ้าสำหรับองค์กรภาคราชการแล้วนั้น การยุบตำแหน่ง การยุบแผนก ยุบผ่ายที่ไม่ก่อประโยชน์ต่อทางราชการ มีไว้ก็รั้งแต่จะทำให้ราชการเสียงบประมาณโดยเปล่าประโยชน์รู้สึกว่าจะทำไม่ได้อย่างรวดเร็วเท่าไรนักเมื่อเปรียบเทียบกับภาคเอกชน ดังนั้น ถ้าหากราชการองค์กรภาครัฐมีการปรับเปลี่ยนโดยมีการยุบดังที่กว่ามาแล้วนั้นโดยกระทำตามกระแสโลกาภิวัฒน์ ตามความจำเป็น ตามความเป็นจริงที่มีอยู่ รับรองได้ว่าราชการของไทยเราจะสามารถกประหยัดงบประมาณแผ่นดินอีกมากมาย
และคำว่า ยุบ ที่พูดถึงมากันหลายๆ ครั้ง ยุบ อีกแบบหนึ่ง คือ การยุบสภา แต่ถ้าหากว่า เราเกิดใช้คำว่า การยุบตัวของสภา อาจจะมีคนเข้าใจผิดว่า ที่ตั้งของสภานั้นยุบตัวลงมา เกิดการเสียหายของตัวอาคารที่เป็นที่ตั้งของสภาก็เป็นได้ ดังที่กล่าวมา การยุบสภา หลายๆ ท่าน คงจะหมายถึง การยุบสภาผู้แทนราษฎร เพื่อทำการเลือกตั้งกันใหม่ จะเห็นว่าการยุบในลักษณะนี้น่าจะหมายถึง การทำให้หายไปของสิ่งที่มีอยู่ นั้นคือ การที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นตัวแทนของปวงชนชาวไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขได้สิ้นสุดหน้าที่ เพื่อมอบอำนาจดังกล่าวกลับคือสู่ประชาชนให้ประชาชนได้ตัดสินใจอีกครั้งว่าประชาชนเสียงส่วนมากต้องการอย่างไร ต้องการผู้ที่จะมาเป็นผู้แทนของประชาชนแบบไหน แล้วมาใช้อำนาจบริหารประเทศแทนประชาชนเสียงส่วนมากภายใต้การรับฟังเสียงส่วนน้อยเพื่อนำมาซึ่งการอยู่ร่วมกันอย่างสันติและมีความสุข
การยุบสภา ไม่มีอำนาจใดที่จะทำได้ ไม่มีองค์กรใดที่จะทำได้ ไม่มีสิ่งใดที่จะทำให้เกิดการยุบสภาได้ นอกเสียจาก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ซึ่งหลายท่านๆ คงจะทราบกันดีว่าเป็นอำนาจเดียวเท่านั้นที่จะกระทำได้ตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข
ดังนั้น จะเห็นว่า การยุบ คือ คำว่า ยุบ จะต้องใช้พลัง หรือ อำนาจ หรือ สิ่งที่เราอาจจะมองไม่เห็น กระทำให้สิ่งของ หรือ วัตถุ หรือ องค์กร หรือ ตำแหน่ง นั้น มีขนาดที่เล็กลง หรือ มีระดับที่ลดลง หรือ สิ้นสุดไป หรือ มลายหายไป หรือ บางครั้งสิ่งที่เราทำอยู่นั้นหรือมีอยู่นั้นไม่ดีตามที่เราต้องการ เราอาจจะยุบทิ้งทำลายทิ้ง แล้วเราก็สร้างขึ้นมาใหม่ ก็ได้ เพราะบางอย่างที่มีอยู่อาจจะไม่เข้าหรือไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน หรือ ได้มาโดยไม่ถูกต้อง เราก็อาจจะยุบทิ้งไปก็ได้เช่นกัน ยุบไปเพื่อทำให้ดียิ่งๆ ขึ้น
ด้วยเหตุนี้ ถ้าหากเราต้องการจะยุบอะไร เราก็จะต้องมีพลัง และ มีอำนาจ เสียก่อน เราถึงจะทำได้ และถ้าหากได้มาซึ่งพลัง อำนาจที่ถูกต้องบริสุทธิ์แล้วนั้น จะยุบอะไรก็ได้ไม่มีใครว่า เพราะเหมาะสม ถูกต้อง แล้วครับท่าน
มนูญ ศรีวิรัตน์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น