วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2552

การจัดการเรียนการสอน และการปฏิบัติงาน (มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี วิทยาเขตมุกดาหาร)

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี วิทยาเขตมุกดาหาร เป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งใหม่ในจังหวัดมุกดาหารที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้เห็นความสำคัญของการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่จังหวัดมุกดาหารและจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้าน ดังนั้น การวางแผนด้านต่างๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีตัวแบบ หรือ ต้นแบบ ยกตัวอย่างเช่น อาคารเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา มหาราช ที่จะก่อสร้าง ณ บริเวณภูผาเจี้ย นั้นจะใช้ต้นแบบจากลูกปีกไม้ของต้นยาง (ต้นยาง ซึ่งทุกท่านคงทราบดีว่า เป็น ราชาแห่งป่า) ซึ่งรายละเอียดจะได้นำเรียนในโอกาสต่อไป แต่สำหรับวันนี้ ผู้เขียนจะได้ขออนุญาตเสนอความคิดตัวแบบเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน การปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี วิทยาเขตมุกดาหาร และจะค่อยๆ นำทุกท่านไปสู่เป็นขั้นเป็นตอน ดังนี้
จังหวัดมุกดาหารเป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นเมืองเก่าแก่มีประวัติความเป็นมาค่อนข้างยาวนานเช่นกัน ซึ่งผู้เขียนจะไม่ขอกล่าวถึงในที่นี้ เพียงแต่ว่าจะนำคำว่า “มุก” ที่เป็นคำขึ้นต้นของจังหวัดมุกดาหารมาเป็นส่วนนำ สำหรับมุกนั้น หลายๆ ท่านทราบนะครับว่า มุก (Pearl) เป็นอัญมณีที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต (Organic gemstone) ไข่มุกแต่ละเม็ดจะเกิดจากการที่มีสิ่งแปลกปลอมหลุดเข้าไปในหอยทั้งฝาเดียวและสองฝา ซึ่งพบได้ทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม เพื่อลดการระคายเคืองจากสิ่งแปลกปลอมนี้ หอยจะปล่อยสารที่มีส่วนประกอบของแคลเซียมคาร์บอเนต (Calcium Carbonate) ออกมาเคลือบสิ่งแปลกปลอมนั้นเป็นชั้นๆ จนกระทั่งได้เป็นไข่มุกที่แวววาว ส่วนจะมีลักษณะรูปร่างอย่างไรนั้น ขึ้นกับสิ่งแปลกปลอมที่หลุดเข้าไป ตามธรรมชาติแล้วมักมีลักษณะไม่กลม
โดยปกติแล้ว ไข่มุกจะมีสีขาวเหลือบสีรุ้งเล็กน้อยจนถึงขาวนวล แต่ก็มีสีอื่นๆ อีกอย่างเช่น สีชมพู สีเงิน สีครีม สีเหลือง สีทอง สีเทา สีน้ำตาล และสีดำ โดยสีต่างๆ ของไข่มุกนั้นก็เกิดขึ้นอยู่กับชนิดของหอยมุก และสภาวะแวดล้อมในบริเวณที่หอยมุกอยู่อาศัย ความหมายของมุกสีต่างๆ สีเหลือง หมายถึง ความมั่งคั่ง สีน้ำตาล หมายถึง สติปัญญา สีขาว หมายถึง อิสระ เสรีภาพ และสีเขียว หมายถึง ความสุข (อ้างอิง http://nonny264.multiply.com/journal/item/70/70)
ส่วนตำนานของ “มุก” นั้น เริ่มนับตั้งแต่โบราณมามุกก็ยังได้ชื่อว่าเป็นอัญมณีที่มีผู้ชื่นชอบเป็นอย่างมาก และเป็นเครื่องประดับแห่งชนชั้นสูง เห็นได้จากบทกวีของโฮเมอร์ กวีเอกของกรีกโบราณ (1,200-850 ปี ก่อนคริสตศักราช) ได้บรรยายเรื่องของไข่มุกไว้ว่า เทพธิดายูโนมีเครื่องประดับเป็นต่างหูไข่มุก จึงนับได้ว่าไข่มุกเป็นเครื่องประดับ เป็นอัญมณีที่เก่าแก่และสตรีชาวโรมันต่างก็ชื่นชอบต่างหูมุก ไพลนี นักเขียนขาวโรมันก็ยังได้บรรยายไว้ พระนางคลีโอพัตราได้ละลายไข่มุกล้ำค่าราคาสูงลิบลงในเหล้าองุ่นแล้วดื่ม เพื่อแสดงถึงความรักอันยิ่งใหญ่ที่มีต่อมาร์ก แอนโทนี นอกจากนี้พระนางยังทรงต่างหูไข่มุกอยู่เสมอ หรือแม้แต่สตรีผู้ยิ่งใหญ่ของโลกดังเช่น พระนางซูสีไทเฮานั้นก็มีหลักฐานบันทึกมากมายว่าทรงโปรดเครื่องประดับไข่มุกเป็นอย่างยิ่ง แต่ในการใช้เครื่องประดับมุกในประเทศไทยนั้น แท้จริงน่าจะเริ่มต้นเข้ามาในสมัยรัชกาลที่ 5 ตามแบบอย่างเจ้านายสตรีที่นิยมเสื้อผ้าตามแบบฝรั่ง จึงนำเอาไข่มุกมาประยุกต์ให้เข้ากับเสื้อผ้า ไข่มุกจำนวนมากจึงได้เข้ามามีบทบาทเป็นเครื่องประดับยอดนิยม อันเป็นแฟชั่นในยุคนั้นได้อย่างเหมาะเจาะ ไม่ว่าจะเป็นสร้อยไข่มุกยาว ต่างหูไข่มุก แหวนไข่มุก นอกจากนั้น ผู้อ่านสามารถทราบรายละเอียดของไข่มุกได้ที่
www.tint.or.th/nkc/nkc51/nkc5103/nkc5103s.html
จากข้อมูลข้างต้น มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี วิทยาเขตมุกดาหาร จึงใคร่ขอเสนอ ตัวแบบเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน การปฏิบัติงาน คือ
ตัวแบบมุก หรือ MUK model
คือ ตัวแบบที่ใช้การในจัดการเรียนการสอนให้กับนักศึกษา และใช้ในการปฏิบัติงานของบุคลากร วิทยาเขตมุกดาหาร ซึ่งหมายถึง ตัวแบบที่ ทรงคุณค่า บริสุทธิ์ และแข็งแกร่ง ดั่งไข่มุก

โดย MUK model จะมี 2 แบบ คือ (1) สำหรับนักศึกษา และ (2) สำหรับบุคลากร ที่เป็นเจ้าหน้าที่ และอาจารย์
(1) MUK Model for Students มุกโมเดล สำหรับนักศึกษา
M = Multi-Skilling การมีทักษะทำงานได้หลากหลาย ที่เกิดจากการเรียนรู้
U = Utility สิ่งที่เป็นประโยชน์
K = Knowledge ความรู้ความเข้าใจ
เป็นตัวแบบ ที่เน้นการเรียนรู้ให้เกิดความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่เป็นประโยชน์เพื่อให้มีทักษะสามารถทำงานได้หลากหลาย


(2) MUK Model for staffs มุกโมเดล สำหรับบุคลากรที่เป็นเจ้าหน้าที่ และอาจารย์
M = Management ความสามารถในการจัดการ
U = Unity ความเป็นเอกภาพ รักสามัคคี
K = Keenness ความหลักแหลม ความกระตือรือร้น
เป็นตัวแบบ ที่เน้นการทำงานที่กระตือรือร้น การทำงานที่ใช้ความสามารถในการจัดการ (ทั้งการเรียนการสอนการปฏิบัติงาน การวิจัย การบริการวิชาการ การทำนุวัฒนธรรม) และ การทำงานที่เกิดความเป็นเอกภาพเดียวกันและรักความสามัคคีในองค์กร

การใช้ MUK model ให้ประสบความสำเร็จ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้เครื่องมือในการดำเนินงาน อย่างน้อย 2 ประการ ดังนี้
1. ภาษา (ภาษาไทย ภาษอังกฤษ และภาษาเพื่อนบ้าน) เพื่อการสื่อสาร
2. เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการสื่อสาร และการจัดการ โดยใช้ระบบ Socail Network (Blogger, Twitter, webs, etc.)


3 ความคิดเห็น:

  1. สนใจอยากทำงานเป็นอาจารย์ที่วิทยาเขตมุก

    อาจารย์รับสาขาไหนบ้างค่ะ

    หนูจะได้เลือกเรียนต่อสาขาได้ถูก

    ^^

    (เป็นอาจารย์สอนมหาลัยต้องต้องจบปริญญาเอกเลยหรือเปล่าค่ะ
    แค่ปริญญาโทได้ไหม)

    ตอบลบ
  2. เหมือนกันเลย ต๋อมแต๋ม(รึป่าว)

    คนมุกเหมือนกัน

    อยาก ทำงาน ที่วิทยาเขต มุก

    (เป็น บุคลาการก็ยังดี เพราะ ไม่อยากเป็นอาจารย์ )

    ตอบลบ