วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2552

การเป็นผู้ประกอบการ หรือ ผู้ทำมาหากิน อันไหนจะดีกว่ากัน

การเป็นผู้ประกอบการ หรือ ผู้ทำมาหากิน อันไหนจะดีกว่ากัน

การเป็นผู้ประกอบการ หรือ ภาษาอังกฤษที่นิยมกล่าวถึงกัน คือ Entrepreneurship ในโลกปัจจุบันนั้น จะต้องรู้ จะต้องเรียนรู้หลายๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นด้านกลยุทธ์ ทั้ง Red Ocean, Blue Ocean, White Ocean จำเป็นจะต้องทราบการวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็ง หรือนักวิเคราะห์นักวางแผนเรียกว่า Swot Analysis ซึ่งจะนำมาซึ่งการได้ วิสัยทัศน์ กลยุทธ์ ยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัด (Key Performance Index :KPI) นอกจากนั้น ผู้ประกอบการจะต้องเรียนรู้ ต้องศึกษาเรื่องอื่นๆ อีกมากมาย เช่น นโยบายของรัฐบาล ความต้องการของผู้บริโภค ระบบ CRM CSR การบริหารความเสี่ยง(Risk Management) การบริหารจัดการความรู้ (Knowledge Management) การใช้ Social Network (Blog, Twitter, Hi5, ect,..) ให้เกิดประโยชน์ทั้งด้านการโฆษณาประชาสัมพันธ์ การตลาด การหากลุ่มลูกค้าเป้าหมาย Target Group และสิ่งที่สำคัญเช่นกันคือ จะต้องรู้เรื่องการจัดทำแผนธุรกิจ (Business Plan) การประมาณการรายรับ การประมาณการรายจ่าย เพื่อดูว่าผลประกอบการจะเป็นอย่างไรในอนาคต ซึ่งการจัดทำแผนธุรกิจจะสามารถทำให้ลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต นอกจากนั้น เรื่องของเงินทุนในการเป็นผู้ประกอบการก็สำคัญเช่นกัน ถ้าหากเป็นคนรวยมีเงินมีทองอยู่แล้วก็ค่อนข้างจะสบายไม่เดือนร้อนในการจัดหาแหล่งทุน แต่อย่างไรก็ตาม บางครั้งคนเราจำเป็นจะต้องมีเงินทุนสนับสนุนในการดำเนินการทางธุรกิจ ซึ่งปัจจุบันมีหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นธนาคารหรือสถาบันด้านเงินกู้พร้อมที่จะให้ผู้ประกอบการได้เป็นช่องทางทางเลือกในการที่ได้รับเงินลงทุน แต่ธนาคารหรือสถาบันก็จะต้องมองหรือวิเคราะห์เช่นกันว่าธุรกิจหรือสิ่งที่ผู้ประกอบการคิดจะทำนั้น มีโอกาสเป็นไปได้ มีโอกาสในการเจริญเติบโต หรือ ง่ายๆ คือ มีโอกาสที่จะดำเนินการแล้วมีผลกำไรเกิดขึ้น เหนือสิ่งอื่นใดในการเป็นผู้ประกอบการที่ดีนั้นควรจะน้อมนำเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง ซึ่งในประเทศไทยของเรามีหลายๆ คน หลายๆ ผู้ประกอบการได้น้อมนำหลักปรัชญาดังกล่าวไปใช้จริง เช่น
นายมนูญ เทศนำ อายุ 43 ปี บ้านเลขที่ 13/2 หมู่ที่ 1 ต.แม่โป่ง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ การศึกษา ประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) สาขาธุรกิจการเกษตร คู่สมรส นางพูลสุข เทศนำ สมาชิกในครัวเรือน 5 คน พ่อ 1 คน แม่ 1 คน ลูกชาย 2 คน ลูกสาว 1 คนมีพื้นที่เป็นของตนเอง จำนวน 8 ไร่ การใช้ประโยชน์ที่ดินพื้นที่สระน้ำ 0.5 ไร่, พื้นที่ปลูกข้าว 2.0 ไร่, พื้นที่ปลูกไม้ผล 4.0 ไร่, ที่อยู่อาศัยโรงเรือน 1.5 ไร่ การจัดการ น้ำ มีน้ำเติมจากแหล่งอื่น (อ่างเก็บน้ำที่ 7 ศูนย์ฯ ห้วยฮ่องไคร้) ดิน รู้จักการทำปุ๋ยหมัก และปุ๋ยพืชสดปรับปรุงบำรุงดิน และปุ๋ยชีวภาพ พืช ปลูกข้าว ลำไย มะม่วง กระท้อน ส้มโอ พืชผัก และเพาะเห็ด สัตว์ หมูป่า การลงทุน ร่วมสมทบการขุดสระน้ำ เพาะเห็ด ส่วนพันธุ์พืช ปลา กบ รัฐสนับ สนุนเข้าร่วมโครงการ ปี พ.ศ. 2543 ปัจจุบันดำเนินการต่อเนื่องระยะเวลาร่วมโครงการ 8 ปี สถานะหลังเข้าร่วมโครงการประกอบอาชีพหลักเกษตรกรรม รายได้เฉลี่ย/ครัวเรือน 176,000.- บาท/ปี แบ่งเป็นรายได้จากภาคการเกษตร จำนวน 99,600.- บาท/ปี (ข้าว ไม้ผล พืชผัก หมูป่า กบ ปลา ) รายได้จากภาคอื่นๆ 76,400.- บาท/ปี
(อ้างอิง www.sedb.org/show_Selectdata.php?start=0&style=1&detail=15)

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


คำถามก็คือว่า ผู้ประกอบการจะทำอย่างไรหรือจะเลือกอะไรที่จะทำให้เกิดความสำเร็จในการเป็นผู้ประกอบการที่ดีตามที่มุ่งหวังไว้ ถ้าเป็นไปได้ ผู้ประกอบการอาจจะลองนำคำสำคัญต่อไปนี้ Red Ocean, Blue Ocean, White Ocean, Swot Analysis, วิสัยทัศน์, กลยุทธ์, ยุทธศาสตร์, KPI, นโยบายของรัฐบาล, ความต้องการของผู้บริโภค, CRM, CSR, Risk Management, Knowledge Management, Social Network, การโฆษณาประชาสัมพันธ์, การตลาด, Target Group, Business Plan, การประมาณการรายรับ, การประมาณการรายจ่าย และ Sufficiency Economy มาเขียนเป็นแผนที่ความคิด (Mind map)

ตัวอย่างการเขียนแผนที่ความคิดเกี่ยวกับกฎหมาย
(อ้างอิง www.igetweb.com/www/legendlaw/index.php?mo=10&art=118066)

สรุปสุดท้ายถึงแม้ว่าผู้เขียนจะไม่มีประสบการณ์ตรงในการเป็นผู้ประกอบการ แต่จากการที่ได้มีประสบการณ์ในการทำงานและปฏิบัติหน้าที่ด้านต่างๆ มีความคิดว่า การจะเป็นผู้ประกอบการที่ดี นั้น ควรคำนึงถึงข้อความต่อไปนี้ คิดแล้วทำ ทำแล้วคิด คิดเพื่อไปปรับปรุง มุ่งทำให้ดีขึ้น แล้วก็คิดทำต่อไป

ตัวอย่าง ผู้ทำมาหากิน บ้านบัววัด ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี (ที่ไม่จำเป็นจะต้องรู้ภาษาอังกฤษไม่ต้องรู้คำสำคัญข้างต้น ไม่จำเป็นต้องรู้แผนที่ความคิด แต่เขาก็เป็นผู้ประกอบการ ผู้ทำมาหากินได้เป็นอย่างดี)
สามีและภรรยาคู่หนึ่งในหมู่บ้านที่ใกล้กับโรงเรียนบ้านบัววัด ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี อาชีพสามี คือ รับจ้างรับรถรับส่งนักเรียนไปเรียนหนังสือที่ตัวอำเภอ ส่วนภรรยาก็รับซักรีดเสื้อผ้าและช่วยเหลือสามีในการดูแลเด็กนักเรียน โดยในช่วงเวลาเช้าของทุกวันที่เป็นวันราชการ ทั้งสองจะตื่นแต่เช้าสามีก็ออกไปหาของกิน (หาปลา ตามสภาพ บ้านเราเรียกว่า หาของกิน) ภรรยาก็ซักรีดเสื้อผ้า แต่ทุกวันดังกล่าวเขาทั้งสองจะต้องมีความรับผิดชอบสูงสุดในการดูแลสิ่งที่มีค่าที่สุดของคนอื่นๆ นั่นคือ เด็กๆ ที่จะต้องนั่งรถยนต์ (รถปิกอัพ มีที่นั่งที่ปรับให้สามารถรองรับเด็กๆ นักเรียนได้นั่งมากที่สุดและปลอดภัยที่สุด) สามีจะเป็นคนขับ ภรรยาเป็นคนดูแลด้านหลัง เห็นหรือเปล่าครับท่านว่า ทั้งคู่นั้น เป็นอาชีพที่จะต้องมีความรับผิดชอบสูงสุด แต่ค่าตอบแทนไม่แน่ใจว่าได้รับสูงสุดหรือไม่ แต่เราเชื่อว่าทั้งสองมีความสุขในการทำงานทุกวัน เพราะสังเกตว่า ทั้งคู่มีรอยยิ้มในทุกเช้า ตอนเย็นก็มีรอยยิ้ม ทั้งคู่ได้รับใช้สังคม รับใช้ความเจริญก้าวหน้าของเยาวชนในวันหน้า เพราะเด็กๆ ที่นั่งรถไปกับพวกเขาได้รับการศึกษาที่ดีขึ้น มีพื้นฐานที่ดีขึ้น มีโอกาสทางการศึกษา มีโอกาสได้เป็นผู้ใหญ่ที่มีอนาคตจากการได้รับการศึกษาในอำเภอ อย่างไรก็ดี จากสภาพดังกล่าวจะเห็นว่าสังคมไทยในหลายๆ พื้นที่ จะต้องมีการนำนักเรียนเด็กเล็กๆ เข้าไปเรียนในเขตพื้นที่ของอำเภอและจังหวัด ซึ่งการเดินทางในแต่ละครั้งนั้นมีความเสี่ยงเกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุทางถนน หรือ อื่นๆ เขาทั้งคู่เป็นผู้ทำมาหากินโดยใช้เวลาทุกนาที ทุกชั่วโมงให้มีค่าสูงสุดและที่สำคัญสามีภรรยาจะต้องแบกรับอนาคตของชาติ ถึงแม้ว่าจะเป็นจำนวนเด็กนักเรียนเพียงน้อยนิดเท่านั้น ทั้งสองเป็นผู้ทำมาหากินที่สุจริต มีความรับผิดชอบ ใช้เวลาที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า ใช้ความรู้ความสามารถที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและที่สำคัญ คือ มีจิตใจงดงามดูแลเด็กทุกๆ คนเหมือนกับลูกของตนเอง
จะพบว่าในแต่ละวันพวกเขาไม่ว่าจะเป็นสามีภรรยาคู่นี้ และเด็กนักเรียนเล็กๆ ต่างก็มีความเสี่ยงแทบทั้งสิ้น แล้วเราในฐานะประชาชนคนหนึ่งในสังคมไทยเราจะทำอย่างไร ให้ดีขึ้น คำถามที่เกิดขึ้นนั้นมีมากมาย เช่น ความเสี่ยงของสามีภรรยาคู่นี้คืออะไร ความเสี่ยงของเด็กๆ คืออะไร ความเสี่ยงของสังคมคืออะไร ความเสี่ยงของประเทศชาติคืออะไร อย่างไรก็ตาม ภายใต้ความเสี่ยงทุกๆ ด้าน ย่อมต้องมีสิ่งที่สมควรจะต้องได้รับ แต่ก็มีคำถามกลับว่า สิ่งที่ได้รับคุ้มค่าหรือไม่
ดังนั้น จะเห็นว่าในปัจจุบันสังคมไทยของเราควรจะต้องมองความคุ้มค่า และโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากเราทุกคนน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการทำงาน การปฏิบัติงาน การทำหน้าที่ในด้านต่างๆ ก็อาจจะสามารถลดความเสี่ยง ด้วยเหตุดังกล่าว การเป็น “ผู้ทำมาหากิน” ถ้าทำแล้วมีพออยู่พอกิน มีความสุขทั้งกายและใจตามความพอเพียงของตัวเองที่ตั้งไว้ คิดว่า การเป็นผู้ทำมาหากิน จะเป็นคนที่ทำให้ครอบครัวมีความสุข สังคมมีความสุข เมื่อสังคมมีความสุข ประเทศชาติก็มีความสุข ทุกคนก็มีความสุข ในหลวงพ่อหลวงที่รักยิ่งของชาวไทยทุกคนพระองค์ท่านก็มีความสุข

10 ความคิดเห็น:

  1. ขอเป็น ผู้ทำมาหากิน ครับ

    แบบไม่ต้องมีตังค์เก็บมากมาย

    เอาแค่ได้ เที่ยวที่ๆอยากไป ได้

    ก็พอและ คับ >.<

    ตอบลบ
  2. อยากเป็นผู้ทำมาหากิน....

    มีความสุขกับชีวิตที่เรียบง่าย พอกินพอใช้ ไม่ต้องรวย(ไม่มีหนี้)

    เเค่นี้ ชีวิต ก้อมีความสุข เเร้ว.....

    ตอบลบ
  3. อยากเป็นผู้ประกอบการ อยากมีรายได้แบบ Passive Income

    ตอบลบ
  4. เป็นผู้ทำมาหากินดีกว่า
    เพราะว่า ไม่ต้องดิ้นร้นมากมาย พอมีพอกินพอใช้
    ก็มีความสุขแล้ว
    คนเราเกิดมาต้องใช้ชีวิตให้ค้มค่าและมีความสุขที่สุด

    ตอบลบ
  5. อยากเป็นผู้ประกอบการคับ เเละใช้หลักเศรษฐกิจพอเเพียง

    ตอบลบ
  6. สิ่งสำคัญของการเป็นผู้ประกอบการคือ จะต้องรู้เรื่องการจัดทำแผนธุรกิจ (Business Plan) การประมาณการรายรับ การประมาณการรายจ่าย เพื่อดูว่าผลประกอบการจะเป็นอย่างไรในอนาคต และควรจะน้อมนำเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) มาประยุกต์ใช้ในการทำธุรกิจเพื่อเป็นแนวทางในการประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมาย หากเราทุกคนน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการทำงาน การปฏิบัติงาน การทำหน้าที่ในด้านต่างๆ ก็อาจจะสามารถลดความเสี่ยง ด้วยเหตุดังกล่าว การเป็น “ผู้ทำมาหากิน” ถ้าทำแล้วมีพออยู่พอกิน มีความสุขทั้งกายและใจตามความพอเพียงของตัวเองที่ตั้งไว้

    ตอบลบ
  7. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  8. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  9. ขอเป็นผู้ทำมาหากินดีกว่า เพราะจะได้น้อมเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ใช้ในการประกอบธุรกิจเพื่อเป็นแนวที่จะมุ่งไปสู่การประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมาย และประมาณหนึ่งที่สำคัญนั้ก็คือ ผู้่ประกอบการหวังแต่ผลกำไรเพียงอย่างเดียว ถ้าผู้ประกอบลองไปทำประกอบธุรกิจที่ว่าไม่ได้หวังผลกำไรเพียงอย่างเดียว ผู้ประกอบก็จะรู้ว่าเงินทองหรือทรัพย์สินต่างๆ ไม่มีค่าเท่ากับการมีเพื่อน และการมีมิตรสหาย การเป็นผู้ทำมาหากินถุึงแม้จะไม่ได้ดิ้นรนอะไรมากมาย มันก็้สามารถมีความสุขทั้งกายและใจได้ด้วย

    ตอบลบ
  10. ไม่ระบุชื่อ18 ธันวาคม 2557 เวลา 03:50

    ความคิดเห็นนี้ถูกลบโดยผู้ดูแลระบบของบล็อก

    ตอบลบ