วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2559

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น หลวงปู่จาม"

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น หลวงปู่จาม : ๓ พระอรหันต์"   ๓ พระสงฆ์องค์สำคัญที่พุทธศาสนิกชนคนไทยทราบกันดี คือ  หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น หลวงปู่จาม  นั้นต่างเกี่ยวพันสัมพันธ์กัน?

หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น หลวงปู่จาม  มีความเกี่ยวข้องเกี่ยวเนื่องกันอย่างไร อยากจะขอเชิญชาวท่านพุทธศาสนิกชนคนไทยได้รับชมรับฟังได้จาก YouTube ต่อไปนี้

ธรรมประวัติ หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ 
https://www.youtube.com/watch?v=dMYPr5CqTHw

ซึ่งเมื่อทุกคนทุกท่านได้รับชมรับฟังธรรมประวัติข้างต้นแล้ว ย่อมจะทำให้ทุกท่านได้รู้รับประโยชน์ในเรื่องของ "ธรรมะ" อันหนทางในการหลุดพ้นจากความทุกข์วัฏสงสาร ในที่สุด

และเป็นธรรมเนียมที่ผู้เขียนจะต้องขออนุญาตฝากกาพย์ยานี ๑๑ ไว้ให้ท่านผู้อ่านทุกท่านได้โปรดเมตตากรุณาชี้แนะแนะนำเพื่อการปรับปรุงพัฒนาแก้ไขในดีขึ้นต่อไป ดังนี้

พระสงฆ์องค์สำคัญ ต่างเกี่ยวพันสร้างสรรค์ธรรม
หลวงปู่เสาร์ผู้นำ  ธรรมเช้าค่ำย้ำที่ใจ

หลวงปู่มั่นผู้ตาม  หลวงปู่จามถามเข้าใกล้
ธรรมะจะพาไป  ธรรมสู่ใจให้รู้ดี

ฝึกฝนที่จิตตน  เพื่อหลุดพ้นทุกข์ชีวี
ฝึกธรรมนำฤดี  ให้มากมีดีแน่นอน

ธุดงค์เพื่อสงบ  ธรรมได้พบประสบพร
ฝึกจิตคิดกลับย้อน  ธรรมทุกตอนสอนใจตน

ธุดงค์เพื่อจิตนิ่ง  พบความจริงยิ่งต้องสน
ธรรมะสู่กมล  ตายจากคนพ้นทุกข์ภัย

ตั้งใจภาวนา  ในทุกคราพาสุขใจ
นิพพานตั้งมั่นไว้  ในทันใดที่ตายเอย

ปภาวีร์ 
๑ ตุลาคม ๒๕๕๙
FB : ธรรมะเพื่อชีวิต โดย ปภาวีร์   

ข้อมูลเกี่ยวกับ พระราชทานเพลิงศพหลวงปู่จาม 
ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://msrivirat.blogspot.com/2014/01/blog-post.html 

“หลวงปู่จาม มหาปุญโญ เคยเป็น พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ (กษัตริย์ของศรีลังกา)” โดย หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม
ที่มาจาก ธรรมประวัติ หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ (ช่วงเวลา 1.42.50) https://www.youtube.com/watch?v=dMYPr5CqTHw

และข้อมูลเกี่ยวกับ พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ (ศาสนาพุทธในประเทศศรีลังกา)
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2

วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2559

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ มีดีอยู่อย่างเดียว"

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ  มีดีอยู่อย่างเดียว"  คติธรรมคำสอนของท่านหลวงปู่ดู่ สั้นๆ ในเรื่องของดีมีอยู่อย่างเดียว  ขอเชิญทุกท่านได้อ่านตามรูปภาพต่อไปนี้


“คนเราเกิดมา ไมเห็นมีอะไรดี มีดีอยูอยางเดียว สวดมนตไหวพระปฏิบัติภาวนา” 

คติธรรมหลวงปู่ดู่ข้างต้นสั้นๆ เกี่ยวกับเรื่องของ "มีดีอยู่อย่างเดียว" ดีดังกล่าวนั้นคือเรื่องของการสวดมนต์ไหว้พระปฏิบัติภาวนา ซึ่งเชื่อว่าพุทธศาสนิกชนคนไทยทุกท่านจะต้องรู้จักในเรื่องของการสวดมนต์อย่างแน่นอน  ดังนั้น ลองอ่านที่ท่านหลวงปู่ดู่เมตตาอีกรอบ แล้วลองทำตาม เชื่อว่าจะได้มีดีอย่างแน่นอน

และเป็นธรรมเนียมที่ผู้เขียนจะต้องขออนุญาตฝากกาพย์ยานี ๑๑ ไว้ให้ท่านผู้อ่านทุกท่านได้โปรดพิจารณาแนะนำชี้แนะข้อผิดพลาดเพื่อจะได้ทำการแก้ไขให้ดียิ่งๆ ขึ้นต่อไป ดังนี้

หลายคนสนสงสัย  ว่าทำไมในเรื่องดี
เกิดมามีชีวี   เรื่องที่ดีมีต้องทำ

คนเราที่เกิดมา  บุญนำพาหาสู่ธรรม
ของดีมีจดจำ  จิตน้อมนำธรรมสวดมนต์

ไหว้พระจะสุขใจ  ไหว้ทำไมใยต้องสน
ของดีสู่กมล  ไหว้ทุกคนพ้นหมดทุกข์

ปฏิบัติภาวนา  สิ่งมีค่าพามีสุข
ธรรมได้กายสนุก  จิตพ้นทุกข์สุขนิรันดร์

มีดีอยู่อย่างเดียว  อย่าเสียเที่ยวเกี่ยวสัมพันธ์
ไหว้พระจะสุขสันต์  สวดมนต์กันทุกเช้าเย็น

เมื่อรู้ดูให้ดี  ธรรมทันทีมีบำเพ็ญ
มีดีจิตมองเห็น  ไม่ยากเย็นเป็นสุขเอย

ปภาวีร์ 
๓๐ กันยายน ๒๕๕๙

วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2559

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงปู่ชา เป็นสมมุติทั้งนั้นแหละ"

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงปู่ชา เป็นสมมุติทั้งนั้นแหละ" คติธรรมคำสอนของหลวงปู่ชา (วัดหนองป่าพง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี) เกี่ยวกับเรื่องของ "เป็นสมมุติ" คือ อะไร น่าฟังอย่างยิ่ง ขอเรียนเชิญทุกท่านรับฟังได้จาก YouTube  (นาทีที่ 16.12) ต่อไปนี้

"...เป็นสมมุติทั้งนั้นแหละ เนื้อแท้จริงๆ ก็ไม่มีอะไร เป็นดิน เป็นน้ำ เป็นไฟ เป็นลม 
เป็นธาตุอย่างหนึ่งเท่านั้นประชุมกันขึ้นมา เป็นรูป เป็นคน เป็นตัวตน
ความจริงแล้ว เรื่องตัวตนก็ไม่มี เป็นอนัตตาทั้งนั้น..."

คติธรรมคำสอนของท่านหลวงปู่ชาข้างต้นในเรื่องของสมมุตินั้น เป็นเรื่องที่เราทุกคนน่าจะทราบกันดีว่า ตัวของเราต่างก็เกิดจากธาตุทั้ง ๔ มารวมกันคือ ดิน น้ำ ไฟ ลม  และสุดท้ายก็เป็นอนัตตาในที่สุด 

และเป็นธรรมเนียมที่ผู้เขียนจะต้องขออนุญาตฝากกาพย์ยานี ๑๑ ไว้ให้ท่านผู้อ่านทุกท่านได้โปรดกรุณาเมตตาพิจารณาชี้แนะแนะนำเพื่อการปรับปรุงแก้ไขให้ดีต่อไป ดังนี้

เป็นเรื่องที่สมมุติ  ในที่สุดอนัตตา
ทุกสิ่งที่เกิดมา  ดับทุกคราพาเข้าใจ

ชีวิตธาตุสี่อย่าง  รวมถูกสร้างต่างก่อใหม่
ซึ่งไม่มีอะไร  เมื่อตายไปสิ้นสูญลง

สมมุติกันทุกคน  นี้หนอคนสนไม่ปลง
ธาตุสี่ไม่ดำรง  ไม่มั่นคงนิรันดร์กาล

ตัวตนนั้นไม่มี  ต้องทำดีมีตำนาน
มีธรรมนำประสาน  ไปนิพพานสานสุขใจ

อนัตตารู้ตน  เพื่อหลุดพ้นสนมากไว้
ชีวิตคิดปลงได้  สุขยิ่งใหญ่ในทันที

สมมุติในทุกสิ่ง  เรื่องแท้จริงยิ่งทำดี

มีธรรมในชาตินี้  สิ้นชีวีดีแน่เอย


ปภาวีร์ 
๒๙ กันยายน ๒๕๕๙

วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2559

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงพ่อจรัญ สะเดาะเคราะห์?"

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงพ่อจรัญ สะเดาะเคราะห์?" คติธรรมคำสอนของท่านหลวงพ่อจรัญสำคัญอย่างยิ่งที่ยิ่งจะต้องพิจารณากันว่า "เรานั้นได้เคยไปสะเดาเคราะห์หรือไม่ในชีวิตนี้" ดังนั้น จึงขอเชิญชวนทุกท่านอ่านได้ตามรูปภาพต่อไปนี้ 




คติธรรมคำสอนของท่านหลวงพ่อจรัญข้างต้นในเรื่องของการที่เราจะไปสะเดาะเคราะห์นั้น ขอให้พุทธศาสนิกชนคนไทยคิดให้ดีก่อนที่จะไปสะเดาะเคราะห์ เพราะอย่างไรเสียเรื่องของดวงเรานั้น ขึ้นอยู่กับผลของการกระทำของเรา

และเป็นธรรมเนียมที่ผู้เขียนจะต้องขออนุญาตท่านผู้อ่านทุกท่านได้โปรดพิจารณาชี้แนะแนะนำเพื่อการปรับปรุงพัฒนาแก้ไขให้ดียิ่งขึ้นต่อไป ดังนี้

สะเดาะเคราะห์ทำไม  ใช่หรือไม่ใจรู้ดี
สะเดาะเคราะห์ว่าดี  นำชีวีมีพ้นภัย

สะเดาะเคราะห์เสริมดวง เป็นเรื่องลวงไปกันใหญ่
ทั้งหมดเรื่องไม่ใช่  ไม่เข้าใจในเรื่องธรรม

เสริมดวงไม่เป็นจริง  ทุกข์อย่างยิ่งตามผลกรรม
เสริมดวงเป็นประจำ  ทุกข์ระกำช้ำอุรา

สะเดาะเคราะห์ไม่ดี  ใครว่าดีมีค้นหา
เสริมดวงทุกเวลา  ไม่นำพาหาธรรมดี

สะเดาะเคราะห์มีสุข  อาจจะทุกข์ในฤดี
ต้องเปลี่ยนเริ่มคิดดี  ธรรมให้มีดีแน่นอน

สะเดาะเคราะห์พ้นภัย  จริงหรือไม่ใจคิดก่อน
ธรรมดีมีได้พร  สิ้นถาวรในเคราะห์เอย

ปภาวีร์ 
๒๘ กันยายน ๒๕๕๙

วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2559

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "ภิกขุ หรือภิกษุ ก็มาใช้ในธรรมะปฏิบัติ - ญาณทรรศน์ สมเด็จพระสังฆราชฯ"

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "ภิกขุ หรือภิกษุ ก็มาใช้ในธรรมะปฏิบัติ - ญาณทรรศน์ สมเด็จพระสังฆราชฯ" คติธรรมคำสอนในเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เกี่ยวกับเรื่อง "ต่างก็มาใช้ธรรมะปฏิบัติ" ซึ่งสามารถรับฟังได้จาก YouTube ต่อไปนี้ 
https://www.youtube.com/watch?v=57ZgZy55gWA&nohtml5=False
ดั่งคำว่าภิกขุ หรือภิกษุ ก็มาใช้ในธรรมะปฏิบัติ ที่มีความหมายว่า บุคคลผู้เห็นภัยในวัฏฏะ บุคคลผู้เห็นโทษ แม้เล็กน้อยว่าเป็นภัย บุคคลผู้ทำลายกิเลส ไม่ว่าจะเป็นบรรพชิต คือผู้บวช หรือคฤหัสถ์ ไม่ว่าจะเป็นสตรีบุรุษ เมื่อใดเป็นผู้เห็นภัยในวัฏฏะ เห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย และปฏิบัติทำลายกิเลส ก็ชื่อว่าเป็นภิกขุได้

คติธรรมคำสอนของเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช ฯ ข้างต้นเกี่ยวกับการเห็นภัยในวัฏฏะ ซึ่งหากว่าเห็นแล้ว ได้คิด ได้ใช้ปัญญา ย่อมจะสามารถที่ทำลายกิเลสได้ในที่สุด ดังนั้น คงจะเป็นหน้าที่ของทั้ง บรรพชิต และ คฤหัสถ์ ที่จะต้องพิจารณาน้อมจิตพิจารณาให้ดีว่าจะยังอยู่ในวัฏฏะต่อไปหรือไม่อย่างไร 

และเป็นธรรมเนียมที่ผู้เขียนจะต้องขออนุญาตฝากกาพย์ยานี ๑๑ ไว้ให้ท่านผู้อ่านทุกท่านได้โปรดพิจารณาชี้แนะแนะนำเพื่อการปรับปรุงพัฒนาให้ดียิ่งๆ ขึ้นต่อไป ดังนี้
ธรรมะปฏิบัติ  ธรรมแจ่มชัดวัดที่ใจ
ทุกคนต่างเห็นภัย  เห็นหรือไม่ที่ใจตน

วัฏฏะยังวนเวียน  จิตไม่เปลี่ยนต่างเวียนวน
ทุกข์ซ้ำย้ำกมล  นี่หนอคนพ้นไม่มี

ผู้ทำลายกิเลส  ย่อมวิเศษเดชย่อมดี
บุรุษหรือสตรี   ธรรมให้มีดีแน่นอน

ผู้บวชหรือคฤหัสถ์  ต้องเจนจัดธรรมมาก่อน
ปฏิบัติทุกตอน  ย่อมได้พรก่อนตายไป

หากเป็นในภิกขุ   หรือภิกษุธรรมยิ่งใหญ่
กิเลสสิ้นทันใด  หมดมอดไหม้ในทันที

ปฏิบัติให้มาก ธรรมไม่ยากหากรู้ดี
วัฏฏะสิ้นกันที  สุขฤดีนิรันดร์เอย

ปภาวีร์ 
๒๗ กันยายน ๒๕๕๙

วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2559

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงพ่อจรัญ ธรรมที่ทำลายใจไม่ให้เป็นสมาธิ"

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงพ่อจรัญ ธรรมที่ทำลายใจไม่ให้เป็นสมาธิ" คติธรรมคำสอนของท่านหลวงพ่อจรัญสำคัญอย่างยิ่งที่ยิ่งจะต้องพิจารณากันว่า "ธรรมอย่างไรถึงใจจะเป็นสมาธิ" ดังนั้น จึงขอเชิญชวนทุกท่านอ่านได้ตามรูปภาพต่อไปนี้ 

คติธรรมคำสอนของท่านหลวงพ่อจรัญข้างต้นเป็นสิ่งใกล้ตัวกับทุกคน ทุกคนที่ต้องมีสมาธิในการเรื่องต่างๆ ดังนั้น จะต้องเข้าใจในทั้ง ๒๔ ข้อข้างต้น เพราะเมื่อไหร่ที่ใจของเรามีสมาธิที่ดีแล้วย่อมจะเกิดพลังในทำสิ่งต่างให้ประสบความสำเร็จได้ 

และเป็นธรรมเนียมที่ผู้เขียนจะต้องขออนุญาตท่านผู้อ่านทุกท่านได้โปรดพิจารณาชี้แนะแนะนำเพื่อการปรับปรุงพัฒนาแก้ไขให้ดียิ่งขึ้นต่อไป ดังนี้

ต้องมีสมาธิ   จากสติให้ได้ก่อน
สมาธิทุกตอน  ยิ่งถาวรพรเข้ามา

มียี่สิบสี่ข้อ  ไม่ต้องรอขอทุกครา
ทำได้มีคุณค่า   ธรรมนำพาหาเบิกบาน

สมาธิเรื่องดี  ส่งผลดีมหาศาล
ทำได้เกิดผลงาน  ธรรมประสานงานสู่ใจ

เริ่มจากต้องไม่โกรธ  สร้างประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่
สมาธิมากไว้   นิ่งที่ใจให้เนิ่นนาน

ต้องไม่เห็นแก่ตัว  งดทำชั่วจนเชี่ยวชาญ
สมาธิให้นาน  สุขสำราญงานจะดี

สมาธิต้องมาก  ทำไม่ยากหากอยากมี
สมาธิทันที  นำชีวีดีแน่เอย


ปภาวีร์ 
๒๖ กันยายน ๒๕๕๙

วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2559

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ ภาวนาตั้งจิตไวที่ปลายนิ้ว"

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ  ภาวนาตั้งจิตไวที่ปลายนิ้ว"  คติธรรมคำสอนของท่านหลวงปู่ดู่ สั้นๆ คือ "ภาวนาตั้งจิตไว้ที่ปลายนิ้ว" ขอเชิญทุกท่านได้อ่านตามรูปภาพต่อไปนี้



“ที่วาสำเร็จนั้นสำเร็จที่จิต ไมไดสำเร็จที่ฐาน คนที่ ภาวนาเปนแลวจะตั้งจิตไวที่ปลายนิ้วชี้ก็ยังได” แลวทานก็บอกจำนวนที่ตั้งตามฐานตางๆ ของจิตใหฟง จะเห็นไดวาทานไมไดเนนวาตองวางจิตใจที่เดียวที่นั่นที่นี่ เพราะฐานตางๆ ของจิตเปนทางผานของลมหายใจทั้งสิ้น ทานเนน ที่สติและปญญาที่มากำกับใจตางหาก สมดังในพระพุทธพจนที่วา “มโน ปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฐา มโนมยาฯ ธรรมทั้ง หลายมีใจถึงกอน มีใจเปนใหญเปนประธานสำเร็จไดดวยใจ ”

คติธรรมคำสอนของท่านหลวงปู่ดู่สั้นๆ แต่ทรงคุณค่าอย่างยิ่ง เกี่ยวกับเรื่องของการภาวนาซึ่งจิต  ซึ่งหากว่าเราสามารถภาวนาที่ใจให้ใจเป็นประธานด้วยใจ ด้วยจิตอย่างแท้จริงแล้ว ดังนั้น จึงเชื่อว่าจะพบกับสิ่งดีๆ อย่างแน่นอนในที่สุด

และเป็นธรรมเนียมที่ผู้เขียนจะต้องขออนุญาตฝากกาพย์ยานี ๑๑ ไว้ให้ท่านผู้อ่านทุกท่านได้โปรดเมตตาพิจารณาชี้แนะแนะนำเพื่อการปรับปรุงพัฒนาแก้ไขให้ดียิ่งๆ ขึ้นต่อไป ดังนี้

ภาวนาตั้งจิต  ที่ละนิดชิดในธรรม
ฝึกตนสนประจำ  ลงมือทำนำต่อไป

ธรรมะจะพาสุข  ขจัดทุกข์และปลอดภัย
ภาวนาที่ใจ  เริ่มที่ใจใจประธาน

สำเร็จได้ในธรรม  สุขดื่มด่ำนำสำราญ
ภาวนานิพพาน  นิรันดร์กาลไม่กลับมา

ใจตนสนให้มาก  ไม่ได้ยากหากเข้าหา
เริ่มต้นภาวนา  ทุกเวลาพาเบิกบาน

สำเร็จได้ที่จิต  เนรมิตคิดประสาน
ฝึกใจให้เชี่ยวชาญ  ในทุกงานกาลเวลา

กำกับใจให้มั่น  จิตขยันหมั่นทุกครา
จิตตั้งภาวนา  มีคุณค่าพาสุขเอย

ปภาวีร์ 
๒๕ กันยายน ๒๕๕๙

วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2559

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "เป็นเวทคือความรู้ที่จบ - ญาณทรรศน์ สมเด็จพระสังฆราชฯ"

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "เป็นเวทคือความรู้ที่จบ - ญาณทรรศน์ สมเด็จพระสังฆราชฯ" คติธรรมคำสอนในเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เกี่ยวกับเรื่อง "จึงเป็นเวทคือความรู้ที่จบหรือว่าถึงที่สุด" ดูเพิ่มเติมจาก YouTube ต่อไปนี้
https://www.youtube.com/watch?v=sdZtLfvJiJU&nohtml5=False



ความจบเวท คือจบความรู้ในพุทธศาสนานั้น โดยตรงก็คือว่า จบมรรคมีองค์ ๘ มีสัมมาทิฐิ ความเห็นชอบเป็นต้น คือว่าปฏิบัติในมรรคมีองค์ ๘ ในศีล ในสมาธิ ในปัญญาไปจนรู้ทั่วถึงธรรมะ ดับกิเลสและกองทุกข์ได้สิ้น จึงเป็นเวทคือความรู้ที่จบหรือว่าถึงที่สุด เพราะว่าดับกิเลสและกองทุกข์ได้หมด ก็เป็นอันว่าถึงที่สุดจบเวทได้ จะว่าเป็นไตรเพท ไตรเวทก็ได้ คือวิชชา ๓

คติธรรมคำสอนในเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช ฯ ข้างต้นเป็นสิ่งที่ทุกคนรู้เพื่่อจะเกิดความรู้สำหรับการจบในที่สุด โดยการจบด้งกล่าวคงจะหมายถึงการดับสิ้นลงในกิเลสและกองทุกข์ทั้งหลายให้จบสิ้นไป 


และเป็นธรรมเนียมที่ผู้เขียนจะต้องขออนุญาตฝากกาพย์ยานี ๑๑ ไว้ให้ท่านผู้อ่านทุกท่านได้โปรดมีเมตตากรุณาพิจารณาชี้แนะแนะนำเพื่อการปรับปรุงพัฒนาให้ดียิ่งๆ ขึ้นต่อไป ดังนี้ 

เป็นเวทคืออะไร  ธรรมมากไว้ให้รู้ดี
เวทจบสิ้นกันที  ไม่ได้มีอีกต่อไป

จบว่าถึงที่สุด  ธรรมไม่หยุดจุดเริ่มใหม่
เรื่องธรรมต้องเข้าใจ  ว่าอย่างไรให้เจริญ

ดับกิเลสกองทุกข์  พบความสุขสรรเสริญ
ธรรมะให้มากเกิน  จิตเพลิดเพลินเกินยิ่งดี

เวทความรู้ที่จบ  จะประสบพบเรื่องดี
ดับทุกข์ในชาตินี้  นำชีวีดีต่อไป

เวทนั้นไม่เวทมนต์  ที่หลายคนสนเข้าใจ
หลายท่านอาจสงสัย  ธรรมทำใจให้เบิกบาน

รู้ทั่วถึงธรรมะ  จิตมานะจะนิพพาน
สุขล้นมหาศาล  สุขสำราญงานเวทเอย

ปภาวีร์
๒๔ กันยายน ๒๕๕๙

วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2559

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงพ่อฤาษีลิงดำ อรหัตมรรค"

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงพ่อฤาษีลิงดำ อรหัตมรรค" คติธรรมคำสอนของท่านหลวงพ่อฤาษีลิงดำเกี่ยวกับของ "อรหัตมรรค" ดังนั้น จึงขอเชิญชวนทุกท่านอ่านได้ตามรูปภาพต่อไปนี้ 





การถือตัวถือตนว่า เราเสมอเขาก็ดี เราดีกว่าเขาก็ดี เราเลวกว่าเขาก็ดี เป็นปัจจัยของความทุกข์ อย่ามองคนด้วยฐานะ อย่ามองคนด้วยศักดิ์ศรี อย่ามองคนด้วยความรู้ความสามารถ มองคนแต่เพียงว่าสภาพของเขา เป็นวัตถุเหมือนสภาพของเรา จิตใจของเราพร้อมในการเมตตาปรานีไม่ถือตน เขาจะมาในฐานะเช่นใดก็ช่าง ถือว่าเป็นเพื่อนเกิด แก่ เจ็บ ตาย เหมือนกันหมด การกำหนดอารมณ์อย่างนี้ เราก็สามารถจะกำจัดตัวมานะ การถือตัวถือตนเสียได้ อย่างนี้เรียกว่า อรหัตมรรค

คติธรรมคำสอนของหลวงพ่อฤาษีลิงดำข้างต้น เกี่ยวกับคำว่า "อรหัตมรรค" ซึ่งหากว่าทุกท่านได้อ่านหลายรอบทบทวนตามแล้ว เชื่อว่าทุกท่านจะเข้าใจและสามารถที่จะปฏิบัติได้อย่างแน่นอน ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของแต่ละท่านที่จะพิจารณาว่าตัวของเรานั้นจะสามารถ "อรหัตมรรค" ได้หรือไม่อย่างไรในที่สุด 

และเป็นธรรมเนียมที่ผู้เขียนจะต้องขออนุญาตฝากกาพย์ยานี ๑๑ ไว้ให้ท่านผู้อ่านทุกท่านได้โปรดพิจารณาเมตตาชี้แนะเพื่อการปรับปรุงพัฒนาให้ดีๆ ยิ่งๆ ขึ้นต่อไป ดังนี้

อันอรหัตมรรค  ต้องรู้จักรักในธรรม
หมั่นฝึกจิตประจำ  ลงมือทำนำเจริญ

อย่ามองคนว่าเลว  อย่างรวดเร็วมากเหลือเกิน
เรื่องธรรมนั้นขอเชิญ  จิตเพลิดเพลินเกินยิ่งดี

จิตใจให้เมตตา  กรุณาและปราณี
ทุกคนต้องมีดี  นำชีวีดีต่อไป

จะต้องไม่ถือตน  จิตอดทนสนธรรมไว้
เกิดตายทุกคนไป  ไม่วันใดใยต้องมา

กำหนดในอารมณ์  ให้เหมาะสมธรรมเข้าหา
ธรรมะในทุกครา  สุขอุราพาเบิกบาน

ถือตัวเสียลงได้  พร้อมจากไปในนิพพาน
ฝึกตนสนทุกงาน  อีกไม่นานกาลนี้เอย  


ปภาวีร์ 
๒๓ กันยายน ๒๕๕๙

วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2559

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "สมเด็จพระสังฆราชฯ อำนาจของกรรม"

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "สมเด็จพระสังฆราชฯ อำนาจของกรรม" คติธรรมคำสอนในเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เกี่ยวกับเรื่อง "อำนาจของกรรม ที่ทุกคนย่อมมีกรรมเป็นของตน" ซึ่งสามารถอ่านได้ตามรูปภาพข้างล่าง ต่อไปนี้ 

พระคติธรรมคำสอนในเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช ฯ ข้างต้น เป็นสิ่งที่ทุกคนทุกท่านจะต้องมีกันอย่างแน่นอนคือ "กรรม" และอำนาจกรรมนั้นไม่มีใครที่จะหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้น จำเป็นจอย่างยิ่งที่ทุกคนจะต้องเข้าในในธรรม แล้วจะได้ไม่สร้างกรรมกันต่อไป  

และเป็นธรรมเนียมที่ผู้เขียนจะต้องขออนุญาตฝากกาพย์ยานี ๑๑ ไว้ให้ทุกท่านได้โปรดพิจารณาเมตตาชี้แนะเพื่อการปรับปรุงพัฒนาแก้ไขให้ดียิ่งๆ ขึ้นต่อไป ดังนี้

อันอำนาจของกรรม  ที่กระทำนำผ่านมา
ล้ำลึกหนักอุรา  ล่วงเวลาพาระทม

เรื่องกรรมต้องเข้าใจ  รู้มากไว้ใจขื่นขม
กรรมนั้นพาตรอมตรม  ทุกข์ระบมจมเนิ่นนาน

กรรมใดใครเคยก่อ  ทำไม่พอก่อประสาน
กรรมเก่าในสันดาน  สุขสำราญย่อมไม่มี

กรรมทำย่อมไม่พ้น  กรรมของตนผลไม่ดี
ทุกข์มากในชีวี  นำชีวีมีวนเวียน

กรรมสิ้นสูญหมดลง  ธรรมดำรงคงพากเพียร
จิตตนสนปรับเปลี่ยน  ธรรมย้ำเตือนเพียรด้วยใจ

กรรมหมดปลดสิ้นทุกข์  มีความสุขในทันใด
หยุดกรรมให้เร็วไว  สุขฤทัยเย็นใจเอย

ปภาวีร์ 
๒๒ กันยายน ๒๕๕๙

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2559

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงพ่อจรัญ สร้างกรรม เราเป็นคนทำ"

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงพ่อจรัญ สร้างกรรม เราเป็นคนทำ" คติธรรมคำสอนของท่านหลวงพ่อจรัญสำคัญอย่างยิ่งที่ยิ่งจะต้องพิจารณากันว่า "กรรมนั้น ใช่เราหรือเปล่าที่เป็นคนทำ" ดังนั้น จึงขอเชิญชวนทุกท่านอ่านได้ตามรูปภาพต่อไปนี้ 



คติธรรมคำสอนของท่านหลวงพ่อจรัญข้างต้น เป็นสิ่งที่ตัวเรานั้่แหละเป็นคนทำทั้งนั้น "กรรม" ดังนั้น ลองพิจารณากันเอาเองก็แล้วกันว่าใช่จริงหรือไม่

และเป็นธรรมเนียมที่ผู้เขียนจะต้องขออนุญาตท่านผู้อ่านทุกท่านได้โปรดพิจารณาชี้แนะแนะนำเพื่อการปรับปรุงพัฒนาแก้ไขให้ดียิ่งขึ้นต่อไป ดังนี้

กรรมเราเบาหรือหนัก ต้องรู้จักมักเข้าใจ
กรรมเราเก่าหรือใหม่ ต้องรู้ไว้ให้รู้ดี

กรรมเราเป็นคนทำ หากมีธรรมนำชีวี
เรื่องกรรมควรทำดี  ส่งผลดีมีต่อตน

หากว่าเราทำชั่ว  จะต้องกลัวกรรมส่งผล
ความชั่วติดกมล  ไม่หลุดพ้นจนตัวตาย

กรรมเราเป็นคนก่อ  จะต้องพอรอเดี๋ยวสาย
กรรมดีมีสบาย  ไม่ต้องอายก่อกรรมดี

ตัวเราคิดก่อนทำ  สตินำกรรมจะดี
ตายไปย่อมไปดี  สุขฤดีมีนิรันดร์

ต้องหยุดสุดสร้างกรรม  จิตมีธรรมนำสุขสันต์
นิพพานสานเร็วพลัน  กรรมสิ้นกันชาตินี้เอย

ปภาวีร์ 
๒๑ กันยายน ๒๕๕๙

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2559

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "ไม่สิ้นกิเลส ก็ต้องปฏิบัติธรรม- ญาณทรรศน์ สมเด็จพระสังฆราชฯ"

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "ไม่สิ้นกิเลส ก็ต้องปฏิบัติธรรม- ญาณทรรศน์ สมเด็จพระสังฆราชฯ" คติธรรมคำสอนในเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เกี่ยวกับเรื่อง "เมื่อยังไม่สิ้นกิเลส ก็ต้องปฏิบัติธรรม" ซึ่งสามารถรับฟังได้จาก YouTube ต่อไปนี้ 
https://www.youtube.com/watch?v=rppiENVZXdc&nohtml5=False



จนกว่าจะสิ้นกิเลสจึงจะเสร็จกิจแห่งการปฏิบัติในไตรสิกขา เมื่อยังไม่สิ้นกิเลส ก็ต้องปฏิบัติธรรม
คือไตรสิกขานี้เรื่อยไปเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้น กิจที่พึงทำ เพื่อดำรงชีวิตอยู่ในโลกนี้คือในปัจจุบัน และในโลกหน้าคือในภายหน้า ก็เป็นกิจที่พึงทำอยู่ทุกวัน การปฏิบัติธรรมเพื่อพ้นทุกข์ก็พึงปฏิบัติ พึงกระทำอยู่ทุกวันเช่นเดียวกัน เป็นกิจที่พึงทำ เพราะฉะนั้น จึงพึงประกอบกระทำกิจเหล่านี้ ให้งอกงามขึ้นทุกวันๆ โดยไม่ให้กาลเวลาล่วงไปปราศจากประโยชน์

คติธรรมคำสอนของเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช ฯ ข้างต้นเป็นสิ่งที่เราทุกคนจะต้องทำให้ได้ นั่นคือ การสิ้นกิเลส  ฟังดูอาจจะเป็นเรื่องที่ยาก หากว่าเราลองเริ่มต้นลดลง ลดกิเลส ลดความอยาก ค่อยๆ ลด แล้วในที่สุดจะสามารถสิ้นกิเลสได้ในที่สุด

เมื่อไม่สิ้นกิเลส  ไม่วิเศษเดชไม่มี
กิเลสหากมากมี  ยิ่งไม่ดีมีต่อตน

สิ้นกิเลสต้องทำ  ปฏิบัติธรรมจำต้องสน
ทำได้มีสุขล้น  สุขกมลพ้นทุกข์ภัย

กิเลสน้อยหรือมาก  ไม่ลำบากหากเข้าใจ
กิเลสสิ้นหรือไม่  ธรรมมากไว้ให้ที่จิตตน

ต้องปฏิบัติธรรม  เป็นประจำนำหลุดพ้น
กิเลสมีทุกคน  จิตอดทนพ้นแน่นอน

พึงธรรมในทุกวัน  จิตสุขสันต์พลันได้พร
มีธรรมให้ได้ก่อน  มีทุกตอนก่อนสายไป

กิเลสดับสิ้นลง  จิตต้องปลงมั่นคงไว้

รับรองสุขฤทัย  ตายจากไปใจสุขเอย

ปภาวีร์ 
๒๐ กันยายน ๒๕๕๙

วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2559

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ แก้กลุ้ม"

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ  แก้กลุ้ม"  คติธรรมคำสอนของท่านหลวงปู่ดู่ สั้นๆ คือ "แก้กลุ้ม" ขอเชิญทุกท่านได้อ่านตามรูปภาพต่อไปนี้

หลวงพอถามวา “มันกลุมมากหรือโยม” “มากครับทาน สมองแทบจะระเบิดเลย แนนอยูในอก
ไปหมด”
“เอางี้ โยมออกไปยืนที่กลางแจง สูดลมหายใจเขา ปอดแรงๆ สามครั้งแลวตะโกนใหดังที่สุดวา กูกลุมจริงโวย กูกลุมจริงโวย กูกลุมจริงโวย” 


คติธรรมคำสอนของท่านหลวงปู่ดู่สั้นๆ แต่ทรงคุณค่าอย่างยิ่ง เกี่ยวกับเรื่องของความกลุ้มใจ ดังนั้น ลองดูกันเมื่อไหร่ที่กลุ้มลองทำปฏิบัติตามข้างต้น ความกลุ้มใจไปหากเราอย่างแน่นอน 

และเป็นธรรมเนียมที่ผู้เขียนจะต้องขออนุญาตฝากกาพย์ยานี ๑๑ ไว้ให้ท่านผู้อ่านทุกท่านได้โปรดเมตตาพิจารณาชี้แนะแนะนำเพื่อการปรับปรุงพัฒนาแก้ไขให้ดียิ่งๆ ขึ้นต่อไป ดังนี้

ความกลุ้มนำทุกข์ใจ  ไม่ว่าใครใจระทม
หากมียิ่งตรอมตรม  มีแต่จมจนวันตาย

แก้กล้าทำอย่างไร  อยู่ที่ใจในหญิงชาย
ความกลุ้มมีหลากหลาย  มีมากมายตายแน่นอน

ความกลุ้มแน่ในอก  คือนรกตกยิ่งร้อน
ตัดกลุ้มให้ได้ก่อน  จะได้พรย้อนทันที

รีบสูดลมหายใจ  มากเข้าไว้ให้มากมี
ทำได้ให้รู้ดี  สูดให้ดีมีได้ธรรม

ตะโกนร้องออกไป  ได้ทุกวัยให้ประจำ
กลุ้มแล้วลงมือทำ  จิตน้อมนำย้ำให้ดี

หายใจให้แรงแรง  จิตแข็งแกร่งกลุ้มไม่มี
ธรรมได้ในฤดี  สุขชีวีดีแน่เอย

ปภาวีร์ 
๑๙ กันยายน ๒๕๕๙

วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2559

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงพ่อจรัญ พ่อแม่พระอรหันต์ของลูก"

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงพ่อจรัญ พ่อแม่พระอรหันต์ของลูก" คติธรรมคำสอนของท่านหลวงพ่อจรัญสำคัญอย่างยิ่งที่ยิ่งจะต้องพิจารณากันว่า "พ่อแม่คือพระอรหันต์ของเรา" ดังนั้น จึงขอเชิญชวนทุกท่านอ่านได้ตามรูปภาพต่อไปนี้ 




คติธรรมคำสอนของท่านหลวงพ่อจรัญข้างต้นเป็นสิ่งใกล้ตัวกับทุกคน ทุกคนเกิดมาล้วนมีพ่อมีแม่ ดังนั้น พระอรหันต์อยู่ใกล้ๆ กับเรานี้เอง ต้องเคารพบูชาท่านทั้งสองพ่อแม่ให้ดี แล้วจะมีแต่สิ่งดีๆ เข้ามาในชีวีแน่นอน

และเป็นธรรมเนียมที่ผู้เขียนจะต้องขออนุญาตท่านผู้อ่านทุกท่านได้โปรดพิจารณาชี้แนะแนะนำเพื่อการปรับปรุงพัฒนาแก้ไขให้ดียิ่งขึ้นต่อไป ดังนี้

พระอรหันต์ในบ้าน  ธรรมประสานคือแม่พ่อ
กราบท่านไม่ต้องรอ  ดีให้พอมากยิ่งดี

ดูแลในพ่อแม่  ธรรมจริงแท้แน่สิ่งดี
เหลียวแลท่านให้ดี  นำชีวีดีแน่นอน

พ่อแม่กราบบูชา  ทุกเวลาพาได้พร
ธรรมะอำนวยพร  ได้ทุกตอนก่อนสายไป

เคารพน้อมนอบนบ  จะประสบพบสุขใจ
พ่อแม่น้อมกราบไหว้  อยู่ในใจให้ทุกวัน

พระอรหันต์ของลูก  ดีให้ปลูกถูกสร้างสรรค์
พระคุณยิ่งอนันต์  ขอขยันกราบด้วยใจ

บุญคุณขอทดแทน  หมื่นล้านแสนขอมอบให้  
พระคุณอันยิ่งใหญ่  อยู่ในใจไม่เสื่อมเอย

ปภาวีร์ 
๑๘ กันยายน ๒๕๕๙

วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2559

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "ปฏิบัติดับตัณหา- ญาณทรรศน์ สมเด็จพระสังฆราชฯ"

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "ปฏิบัติดับตัณหา- ญาณทรรศน์ สมเด็จพระสังฆราชฯ" คติธรรมคำสอนในเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เกี่ยวกับเรื่อง "ปฏิบัติดับตัณหา" ซึ่งสามารถรับฟังได้จาก YouTube ต่อไปนี้  
https://www.youtube.com/watch?v=-nJylVO0eFU&nohtml5=False



สันโดษในพุทธศาสนา จึงเป็นสันโดษที่ถูกต้อง และก็มีระดับของสันโดษ ตั้งแต่ระดับต่ำ จนถึงระดับสูง ก็คือเต็มความประสงค์ แต่ว่าความที่จะได้ความเต็มความประสงค์นั้น ในเมื่อยังมีความประสงค์อยู่ก็ยังไม่เต็ม เพราะฉะนั้น จึงต้องละความประสงค์ เมื่อปราศจากความประสงค์เสียได้นั่นแหละจึงจะเต็ม ก็คือ ปฏิบัติดับตัณหาความดิ้นรนทะยานอยาก

คติธรรมคำสอนในเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชฯ ข้างต้นเป็นสิ่งที่พุทธศาสนิกชนคนไทยใจให้น้อมปฏิบัติเพื่อจะดับในตัญหา ซึ่งหากว่าดับได้แล้วด้วยปัญญาย่อมจะเกิดความสุขเกิดประโยชน์อย่างยั่งยืน 

และเป็นธรรมเนียมที่ผู้เขียนจะต้องขออนุญาตฝากกาพย์ยานี ๑๑ ไว้ให้ท่านผู้อ่านทุกท่านได้โปรดเมตตาพิจารณาชี้แนะแนะนำเพื่อการปรับปรุงพัฒนาให้ดียิ่งๆ ขึ้นต่อไป ดังนี้

ปฏิบัติดับตัณหา  ด้วยปัญญาพาเบิกบาน
ตัณหามหาศาล  ทุกข์อีกนานมีต่อไป

สันโดษที่ถูกต้อง  ตามครรลองต้องทำไว้
ตัณหาสิ้นลงไป  สุขฤทัยในทันที

ดิ้นรนทะยานอยาก  ทุกข์ยิ่งมากยากไม่ดี
ตัณหาหากมากมี  ทุกข์ชีวีมีทุกวัน

ประสงค์ดำรงธรรม  ดีพร้อมทำนำสร้างสรรค์
ตัณหาหมดลงพลัน  ย่อมสุขสันต์นิรันดร์กาล

ต้องฝึกตัดลดลง  จิตต้องปลงธรรมประสาน
ฝึกไปไม่ช้านาน  อาจนิพพานกาลเวลา

ชีวิตที่น้อยนัก  ต้องรู้จักธรรมมีค่า
ขอเพียงดับตัญหา  ในทุกคราพาสุขเอย

ปภาวีร์ 
๑๗ กันยายน ๒๕๕๙

วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2559

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงพ่อฤาษีลิงดำ จะกำอะไรดี "

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน "หลวงพ่อฤาษีลิงดำ จะกำอะไรดี " คติธรรมคำสอนของท่านหลวงพ่อฤาษีลิงดำเกี่ยวกับของ "การเลือกที่จะกำ" ดังนั้น จึงขอเชิญชวนทุกท่านอ่านได้ตามรูปภาพต่อไปนี้ 

คติธรรมคำสอนของหลวงพ่อฤาษีลิงดำข้างต้น เชื่อว่าหลายท่านคงจะสามารถเลือกได้ว่าจะ "กำ" อะไร ซึ่งแน่นอนว่าชีวิตของเรานั้นสามารถที่เลือก "ทำ" เลือก "กำ" โดยใช้ "ธรรม" เพื่อจะได้มีแต่ "กรรม" ที่ดี 

และเป็นธรรมเนียมที่ผู้เขียนจะต้องขออนุญาตฝากกาพย์ยานี ๑๑ ไว้ให้ท่านผู้อ่านทุกท่านได้โปรดพิจารณาเมตตาชี้แนะเพื่อการปรับปรุงพัฒนาให้ดีๆ ยิ่งๆ ขึ้นต่อไป ดังนี้

ชีวิตเราเลือกทำ  ต้องเลือกกำนำชีวิต
เลือกได้ตามลิขิต  สั่งดวงจิตคิดเรื่องดี

คนดีมีให้คบ  ธรรมประสบพบทันที
คนชั่วมั่วไม่ดี  ขอลาทีพร้อมจากไป

กำขี้ก็ต้องเหม็น  เลือกให้เป็นกำอะไร
น้ำหอมกำทันใด  หอมเหลือใจในการกำ

คบชั่วก็ชั่วตาม  ไม่ต้องถามตามผลกรรม
เลือกคบคนมีธรรม  ผลจะนำทำเจริญ

คบคนสนให้ดี  คนคนดีมีสรรเสริญ
เลือกคนอย่ามัวเขิน  ธรรมมากเกินได้ยิ่งดี

กำทำนำมีผล  จิตต้องสนธรรมให้ดี
เลือกกำทำสิ่งดี  สุขฤดีมีธรรมเอย

ปภาวีร์ 
๑๖ กันยายน ๒๕๕๙