วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ธรรมะเพื่อชีวต ตอน "หลวงปู่ฝั้น อริยสงฆ์ผู้มีพลังจิตกล้าแกร่ง"

ธรรมะเพื่อชีวต ตอน "หลวงปู่ฝั้น อริยสงฆ์ผู้มีพลังจิตกล้าแกร่ง"  นามของพระอริยสงฆ์ท่านนี้เชื่อว่าพุทธศาสนิกชนชาวไทยจะต้องทราบกันเป็นอย่างดี คือ หลวงปูฝั่น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร ท่านเป็นศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต  ซึ่งหนังสือเล่มต่อไปนี้ 

"หลวงปู่ฝั้น อริยสงฆ์ผู้มีพลังจิตกล้าแกร่ง" โดยอมรินทร์ธรรมะ สามารถหาซื้ออ่านได้จากร้านหนังสือทั่วไป ทั้งร้านนายอินทร์ และ ร้าน SE-ED ซึ่งในหนังสือดังกล่าวมีคติธรรมคำสอนของหลวงปู่ฝั้นที่ทรงคุณค่าอย่างยิ่ง มีข้อคิดอันเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตให้ปกติสุขสำหรับพุทธบริษัททุกท่าน 






"ทุกคนจะต้องเข้ามหายุทธสงครามสักวันหนึ่ง
คือการต่อสู้กับมัจจุราช
เมื่อถึงเวลานั้นแต่ละคนจะต้องสู้เพื่อตนเอง
และต้องสู้โดยลำพัง
ผู้ที่สู้ได้ดีก็จะไปดี คือไปสู่สุคติ
ผู้ที่เพลี่ยงพล้ำก็จะไปร้าย คือไปสู่ทุคติ
อาวุธที่ใช้ต่อสู้มีเพียงสิ่งเดียว คือ "สติ"
ซึ่งจะต้องสร้างสมได้ด้วยการเจริญภาวนาเท่านั้น"

   คติธรรมคำสอนของท่านหลวงปู่ฝั้นข้างต้นเป็นเพียงบางส่วนในหนังสือ นับว่าเป็นสิ่งที่ทรงคุณค่าที่เราทุกคนหากว่าอ่านให้เข้าใจด้วย "สติ" ย่อมจะเกิดปัญญาอย่างแน่นอน  สำหรับหลวงปู่ฝั้นนั้น มีหนังสือของท่านหลายเล่ม โดย ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ ผู้เขียนหนังสือ "โลกกระจ่าง ธรรมกระจาย" (ตามรูปภาพข้างล่างนี้) ซึ่งท่าน ดร.วรภัทร์ เคยอ่านหนังสือหลวงปู่ฝั้นแล้วทำให้ท่าน ดร.วรภัทร์ ได้รับทราบสิ่งดีๆ เกี่ยวกับเรื่องของ "ธรรมะ" และเป็นจุดเริ่มต้นของท่านในการศึกษาเรื่องธรรมะอย่างจริงจังในเวลาต่อมา (ลองหาอ่านหนังสือ "โลกกระจ่าง ธรรมกระจาย" หน้า ๔๒ และ ๕๑)

และเป็นธรรมเนียมที่ผู้เขียนจะขออนุญาตฝากกาพย์ยานี ๑๑ ไว้ให้ท่านผู้อ่านได้โปรดกรุณาพิจารณาชี้แนะเพื่อการปรับปรุงแก้ไขใด้ดียิ่งๆ ขึ้นต่อไปดังนี้

ต่อสู้มัจจุราช  ต้องสามารถด้วยตนเอง
หากว่ามัวกลัวเกรง จิตไม่เก่งเจ๊งแน่นอน

ต้องสู้โดยลำพัง  มีพลังจิตได้พร
เพลี่ยงพล้ำจิตใจอ่อน  ต้องไปก่อนทุคติ

อาวุธที่ต่อสู้ ต้องเรียนรู้ด้วยสติ
ฝึกจิตสมาธิ  สุคติสุขฤดี

เจริญภาวนา ทุกเวลาวินาที
ฝึกมากยิ่งจะดี ไปทางดีมีด้วยธรรม

อาวุธอยู่ที่ใจ  หากเข้าใจจิตน้อมนำ
ฝึกจิตเป็นประจำ  พร้อมตอกย้ำสติดี

ถึงเวลาที่ต่อสู้  สติรู้ในทันที
ตายไปสุขทันที  สู่วิถีนิพพานเอย

ปภาวีร์ 
๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๘
FB : ธรรมะเพื่อชีวิต โดย ปภาวีร์


 หน้า ๔๒ 
 หน้า ๕๑

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น