วันอาทิตย์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2558

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน “คติธรรม :พุทธทาสภิกขุ "

ธรรมะเพื่อชีวิต ตอน “คติธรรม : ท่านพุทธทาสภิกขุ" สำหรับท่านพุทธทาสภิกขุผู้เขียนเชื่อว่าพุทธศาสนิกชนชาวไทยทราบกันดีว่า ท่านคือ บุคคลที่ถูกยกย่องโดยยูเนสโก (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ พุทธทาสภิกขุ) ซึ่งท่านพุทธทาสภิกขุได้มีคำสอนคติธรรมมากมายในสื่อต่างๆ ตัวอย่างเช่น
 
 
 
     อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า คติธรรมคำสอนของท่านพุทธทาสภิกขุนั้นเป็นคติธรรมคำสอนที่ทรงคุณค่าอย่างยิ่ง และโชคดีที่ผู้เขียนได้มีโอกาสอ่านหนังสือเล่มนี้ (เล่มเล็กๆ เท่าฝ่ามือของเรา) ชื่อหนังสือว่า "การเป็นพุทธบริษัทที่ถูกต้อง" ธรรมะใกล้มือ ลำดับที่ ๕/๕๓
 
 
     แน่นอนว่าถึงแม้ว่าจะเป็นหนังสือเล่มเล็กๆ เป็นธรรมะใกล้มือที่เราพุทธศาสนิกชนสามารถที่หยิบขึ้นมาอ่านได้สะดวกเมื่อทุกเวลาได้ตามใจชอบ ซึ่งในหนังสือเล่มดังกล่าวนี้ มีคติธรรมคำสอนมากหมายอย่างที่ผู้เขียนได้เกริ่นนำไปแล้ว  แต่สำหรับวันนี้ มีคติธรรมนำหนึ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ดั่งตามรูปภาพต่อไปนี้
 
 
 
คำที่ว่า คือ " ไม่เห็นแก่ตัว" เป็นคำสั้นๆ แต่เมื่ออ่านตามพิจารณไตร่ตรองลองคิดให้ดี ผู้เขียนเชื่อว่าหลายๆ ท่านจะต้องเห็นด้วยว่าเป็นคติธรรมที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง ที่เราทุกคนสามารถนำไปลองฝึกปฏิบัติในชีวิตประจำวันของเรา ทั้งนี้ หากว่าทุกสังคมไทยไม่ว่าจะระดับไหนไม่มีความเห็นแก่ตัว ย่อมจะเกิดแต่สิ่งดีๆ ในที่สุด  และเป็นธรรมเนียมก่อนจากกันในวันนี้ ผู้เขียนขอฝากกาพย์ยานี ๑๑ เกี่ยวกับเรื่อง "ไม่เห็นแก่ตัว" เพื่อไว้เตือนใจเป็นข้อคิดเล็กๆ น้อยๆ  ดังต่อไปนี้
 
การไม่เห็นแก่ตัว ดีไปทั่วในทุกอย่าง
เห็นแก่ตัวทุกอย่าง หมดหนทางไปทางดี

แล้วจะทำอย่างไร ต้องเข้าใจจิตให้ดี
เห็นแก่ตัวไม่ดี นำชีวีเพื่อนสิ้นสูญ

เห็นแก่ตัวหยุดลง อย่างมั่นคงไม่อาดูร
กุศลต่างเกื้อหนุน เกิดผลบุญเพื่อทุกคน

เห็นแก่ตัวไม่มี เพื่อนย่อมมีอย่างมากล้น
การใดเกิดกุศล เป็นมงคลทุกคนเอย

ปภาวีร์
๑๒ มกราคม ๒๕๕๘
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น