วันจันทร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

สอ มอ ศอ ยุบ หรือ ไม่ยุบ

ช่วงนี้กระแส คสช. แรงมาก เกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศในด้านต่างๆ แต่ด้านหนึ่งที่น่าสนใจ คือ เกี่ยวกับการศึกษา โดยเฉพาะด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือสำนักงานรับรองมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา(สมศ.) มีการกล่าวถึงว่า "จะยุบ หรือ ไม่ยุบ" จะดีหรือไม่อย่างไร
 
ผู้เขียนไม่ขอกล่าวถึงก็แล้วกัน ถึงแม้ว่าในอดีตขณะที่ดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีของมหาวิทยาลัย ก็มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลด้านประกันคุณภาพการศึกษาอยู่ช่วงหนึ่งก็ตามแต่
 
ต่อไปนี้ ผู้เขียนขออนุญาตกล่าวถึงเฉพาะ "การประกันคุณภาพการศึกษา กับ อุดมศึกษา" ก็แล้วกัน นะครับ
 
สำหรับ สถาบันอุดมศึกษาทุกแห่ง ผู้เขียนคิดว่ามีการบริหารงานภายใต้พระราชบัญญัติของสถาบันนั้นๆ ซึ่งเชื่อว่าภายใต้พระราชบัญญัตินั้น ได้กำหนดพันธกิจไว้ คือ ๑. ผลิตบัญฑิต ๒. ทำงานวิจัย ๓. ให้บริการด้านวิชาการ และ ๔. ทำนุบำรุงวัฒนธรรมศิลปะ
 
พันธกิจ ทั้ง ๔ อย่างข้างต้น เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องดำเนินการให้มีคุณภาพมากที่สุด อันเป็นการสะท้อนคุณภาพของสถาบันนั้นๆ  แน่นอนว่า สมศ. เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษา ที่ควบคุมมีตัวชี้วัดตัวบ่งชี้ต่างๆ ในการด้านต่างๆ องค์ประกอบต่างๆ ทั้งเกี่ยวข้องกับพันธกิจทั้ง ๔ ด้าน ทั้งด้านที่เรียกว่า
Input Process Output ก็ว่ากันไป
 
แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนอยากจะสะท้อนว่า หากว่าเราคนไทยในฐานะที่นับถือพระพุทธศาสนา เราลองสังเกตว่า "วัด" ต่างๆ จะมีคุณภาพได้อย่างไร เราดูที่จุดไหน ผู้เขียนคิดว่าสิ่งหนึ่งที่มองคือ คุณภาพของพระสงฆ์ เจ้าอาวาส พระผู้หลักผู้ใหญ่ของวัด หากว่าพระเหล่านั้นปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ คุณภาพของวัดของพระลูกวัดก็ดีตามมาด้วย อันดีผู้อ่านคิดว่าใช่หรือไม่ ผู้เขียน ขออนุญาตยกตัวอย่าง เช่น หลวงพ่อฤาษีลิงดำ (จ.อุทัยธานี) หลวงพ่อจรัญ (จ.สิงห์บุรี) เป็นต้น สำนักพระพุทธศาสนาฯ หรือ มหาเถรสมาคม ได้มีตรวจคุณภาพของวัดของพระ มีตัวบ่งชี้ตัวชี้วัดองค์ประกอบต่างๆ หรือไม่ อันนี้ น่าคิดอย่างยิ่ง
 
เมื่อพุทธศาสนิกชนเห็นดังกล่าวก็มั่นใจในเรื่องคุณภาพของวัด จะทำการสิ่งใด ไม่ว่าจะเป็นทำบุญในโอกาสต่างๆ ก็มักจะไปวัดเหล่านั้น ซึ่งตรงกันข้ามกับวัดบางวัด (อาจจะมีส่วนน้อยมากในประเทศไทย) ที่เจ้าอาวาสวัดไม่สนใจพัฒนาวัด พระผู้ใหญ่ในวัดไม่สนใจปฏิบัติธรรมปฏิบัติชอบในทางที่พระพุทธเจ้าทรงได้สั่งสอนไว้ ผู้อ่านคิดว่าจะมีพุทธศาสนิกชนไปทำบุญหรือวัดดังกล่าวหรือไม่อย่างไร ครับ
 
ซึ่งเหมือนกับที่จังหวัดอุบลราชธานี ที่วัดหนองป่าพงของหลวงปู่ชา สมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้น มีลูกศิษย์ลูกหาต่างๆ มากมาย ทั้งคนไทยและชาวต่างประเทศ แต่หลวงปู่ชาสามารถที่จะสอนได้ทุกรูปแบบ แม้ท่านจะพูดภาษาอังกฤษไม่ได้แต่หลวงปู่ชาสามารถสอนพระฝรั่งได้ นับได้ว่าเป็นตัวอย่างหนึ่งของคุณภาพของวัดหนองป่าพง ที่ปัจจุบันก็ยังคงได้รับศรัทธาจากพุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ  คำถาม คือว่า วัดหนองป่าพง ทำอย่างไร หลวงปู่ชา ทำอย่างไร ถึงได้มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับอย่างที่ไม่มีข้อสงสัย
 
ครับ ขอวกกลับมาสถาบันอุดมศึกษา ที่ปัจจุบันต่างแข่งขันในด้านต่างๆ ทั้งด้านปริมาณนักศึกษา (เนื่องจาก สถาบันอุดมศึกษาจะต้องเลี้ยงตัวเองให้ได้) และคุณภาพละจะอย่างไร
 
สำหรับ "การผลิตบัณฑิต" หากเรายึด ผลลัพธ์ (คุณภาพ) ของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาเป็นหลัก ก็น่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่ง เนื่องจาก บางสาขาวิชาต่างก็มีสภาวิชาชีพกำหนดว่า เมื่อสำเร็จการศึกษาจากสถาบันการศึกษาแล้ว ยังจะต้องสอบเพื่อให้ได้ใบวิชาชีพ เช่น แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล เภสัช วิศวะ นิติศาสตร์ (สอบเนติ ทนาย) เป็นต้น  แล้วดูว่า สถาบันใดที่สอบวิชาชีพผ่านสูงสุดก็แสดงว่ามีคุณภาพในสาขานั้นๆ โดยเรียงร้อยละจากมากไปน้อย ก็น่าจะทราบระดับคุณภาพในการผลิตบัณฑิตของสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ได้
 
ส่วน "งานวิจัย" ก็ดูว่าสถาบันใดนำงานวิจัยไปแก้ปัญหาให้ชาวบ้านได้ประโยชน์มากที่สุด (ขอเน้นนะครับ วิจัยเพื่อชาวบ้าน เพื่อสังคม ให้มีความอยู่ดีกินดีขึ้น มีชีวิตที่ดีขึ้น ส่วนงานวิจัยที่แข่งขันกับประเทศที่เจริญแล้ว ผู้เขียนไม่ขอก้าวล่วงก็แล้วกัน เพราะคิดว่าเราอาจจะไม่เท่าทันสักเท่าไร)
 
และ "การบริการวิชาการ" ก็เกิดจากงานวิจัยเพื่อชาวบ้านนั้นแหละ หากได้ผลก็นำไปอบรมเผยแพร่ประยุกต์ใช้งานต่อไป ปรับปรุงพัฒนาไปเรื่อยๆ ให้ดียิ่งๆ นำกลับไปสอนเพื่อให้นักศึกษาทราบ ซึ่งมันก็จะเป็นวงจรบูรณาการการวิจัย บริการวิชาการ การสอน วนเวียนกัน เกิดพัฒนาอย่างไม่รู้จบ
 
ส่วน "การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม" อันไหนที่เป็นวัฒนธรรมที่ดี ศิลปะที่ดี น่าจะร่วมมือกับ "องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น" กับ "ชาวบ้าน" กับ "วัด" ร่วมกันช่วยกันนำสิ่งที่คิดว่าดีอยู่แล้วทำให้ดีกว่าเดิมเพื่อให้ลูกหลานชาวไทยได้รับทราบในอนาคต
 
 
ที่กล่าวมาทั้งหมด ก็เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัว (ไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันหน่วยงานที่ผู้เขียนทำงานอยู่นะครับ) แต่หากว่าเป็นเรื่องที่ดี เราก็ควรจะ "ค้นหาสิ่งดีๆ มาปฏิรูปการศึกษา ให้ดียิ่งๆ ขึ้น โดยที่ไม่ทำให้เกิดความทุกข์กับใคร" ดั่งวิธีการปฏิบัติพระราชทานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ที่ว่า "ประหยัด เรียบง่าย ประโยชน์สูงสุด" (อ้างอิงจาก http://ubumanoon.blogspot.com/2014/06/blog-post.html)
 
ผศ.ดร.มณูญพงศ์ ศรีวิรัตน์
อดีตรองอธิการบดี ม.อุบลฯ (พ.ศ.๒๕๔๕-๒๕๕๕)
๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๗
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

วันพุธที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

หนองขอน ณ อุบลฯ

วันนี้ วันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๗ เลิกงานเวลา ๑๖.๓๐ น. เลยนั่งคิดอะไรเล่น แล้วลองเขียนออกมา ตามรูปภาพข้างล่างนี้ 

จากรูปภาพข้างบน จะเห็นว่าทุกอย่างล้วนเชื่อมโยงกันอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็น "พุทธศาสนา วิทยาศาสตร์ การศึกษา การสาธารณสุข เทคโนโลยี" 

ทั้งนี้ ในส่วนด้านพุทธศาสนา (ธรรมยุต) รัชกาลที่ ๔ ทรงเคยผนวชและเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร  และสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณยก พระองค์ก็เคยเป็นเจ้าอาวาสวัดดบวรนิเวศวิหารและเป็นเจ้าคณะใหญ่ธรรมยุต  โดยที่ พระอริยสงฆ์สายธรรมยุตที่มีถิ่นกำเนิด ณ ดินแดนนักปราชญ์ราชธานี  อุบลราชธานี ประกอบด้วย พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ พระครูวิเวกพุทธกิจ และ พระครูวินัยธร (ทั้งนี้ อ่านเพิ่มเติเกี่ยวกับพระอริยสงฆ์ ดังกล่าวได้ที่ ๓ พระอรหันต์ ณ หนองขอน 

ส่วนในด้านที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ การศึกษา การสาธารณสุข และเทคโนโลยี นั้น รัชกาลที่ ๔ ซึ่งเป็น "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" อย่างที่เราชาวไทยทราบกันดี  และรัชกาลที่ ๕ ทรงปฏิรูปบ้านเมืองด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการศึกษา ทำให้ประเทศไทยเจริญก้าวหน้า อันนำมาซึ่งที่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชนก ที่ได้ศึกษาเล่าเรียนพัฒนาด้านการสาธารณสุข ซึ่งถือว่าพระองค์ คือ "พระบิดาแห่งการสาธารณสุขไทย" ถือว่าประเทศไทยโชคดีอย่างยิ่งที่มีพระมหากษัตริย์ที่มีพระปรีชาสามารถดั่งองค์รัชกาลที่ ๙ ซึ่งพระองค์ คือ "พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย" ทำให้ประเทศไทยก้าวหน้าในด้านต่างๆ 

ดังนั้น เพื่อการเป็นเชื่อมโยงด้านการศาสนา ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านการศึกษา ด้านการสาธารณสุข และด้านเทคโนโลยี ณ จังหวัดอุบลราชธานี  พื้นที่ "หนองขอน" เป็นพื้นที่ที่น่าสนใจอย่างยิ่งเนื่องกจากในปัจจุบัน วัดไชยมงคล ได้พัฒนาให้มีส่วนพื้นที่ "ศูนย์พุทธธรรมหลวงปู่มั่น" รวมทั้งมีพื้นที่ที่เป็น "อุทยานบึงบัว"  

"โครงการเฉลิมพระเกียรติ" จึงสมควรอย่างยิ่งที่ชาวอุบลราชธานี จะได้ร่วมกันคิดร่วมกันทำนำสิ่งดีๆ ให้เจริญประโยชน์ต่อลูกหลานในอนาคต  ผู้เขียนได้แต่หวังว่า ข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์ (บ้าง) สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นภาครัฐและเอกชน ที่จะร่วมมือร่วมใจกันสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้เกิดขึ้นและคงอยู่ตลอดไป

(สามารถอ่านเพิ่มเกี่ยวกับเรื่องดีเกี่ยวกับหนองขอน ได้ที่ "โครงการ "อุทยานบึงบัวอุบลราชธานี (หนองขอน)"  และเกี่ยวกับ "บัวอุบล => BUA UBON"


อจต.
๙ กรกฎาคม ๒๕๕๗






วันอังคารที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

หนังสือ "ฝึกใจให้ฉลาด"

วันนี้ ๘ กรกฎาคม ๒๕๕๗ ได้มีโอกาสไปกราบเคารพพระศพสมเด็จพระสังฆราช ฯ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร และนับว่าเป็นบุญที่ได้รับหนังสือดีๆ คือ "ฝึกใจให้ฉลาด" 







ฝึกใจให้ฉลาด ให้สามารถเข้าใจธรรม
ฝึกแล้วต้องจดจำ พร้อมจะทำในเรื่องดี

ขอโทษอภัยเ็ป็น  และต้องเห็นเรื่องไม่ดี
ทำได้สุขชีวี แล้วจะมีแต่ประโยชน์

ฝึกใจให้มากมาก ปราศจากในความโกรธ
อีกทั้งไม่มีโลภ ลดความโกรธด้วยเมตตา

ทุกอย่างต้องฝึกปลง โดยอย่าหลงเสียเวลา
ฝึกใจให้มีค่า เกิดปัญญาฉลาดเอย

อจต.๘ ก.ค.๒๕๕๗


สำเนาหนังสือดีๆ "ฝึกใจให้ฉลาด" เนื่องจากเมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๕๗ ได้มีโอกาสเคารพพระศพสมเด็จพระสังฆราช ณ วัดบวรนิเวศวิหาร และได้รับเมตตาในการรับหนังสือ "ฝึกใจให้ฉลาด" เล่มนี้ เลยขออนุญาตจัดทำสำเนาเพื่อเผยแพร่สิ่งดีๆ ผ่าน Social Media ครับผม  ที่ Link ต่อไป 





วจนธรรม

วันนี้ ๘ กรกฎาคม ๒๕๕๗ ได้มีโอกาสไปวัดบวรนิเวศวิหาร ได้อ่านหนังสือ "วจนธรรม" โดยคณะผู้จัดทำได้บอกกล่าวในบทนำให้สามารถเผยแพร่ผ่าน Social Network ได้ ผู้เขียนเลยต้องอนุญาต ครับ 

==== วจนธรรม ====
วจนธรรม ต้องน้อมนำทำให้ได้
ทำแล้วจะสุขใจ ทุกข์สิ้นไปอย่างถาวร

สิ่งนี้ประเสริฐยิ่ง เรื่องความจริงตามคำสอน
ล้วนเป็นอุทาหรณ์ เป็นดั่งพรหายากยิ่ง

ธรรมที่ลิขิต ให้ข้อคิดในทุกสิ่ง
ทุกอย่างแท้แน่จริง อย่าประวิงอ่านเร็วพลัน

อ่านแล้วคิดทบทวน ซึ่งสมควรกระทำกัน
ธรรมะล้วนสร้างสรรค์ สุขนิรันดร์ให้ชีวี

ตั้งใจทำให้ได้ อยู่ที่ใจของคนดี
ธรรมะนำทำดี นำชีวีสุขีเอย

อจต.
๘ ก.ค.๒๕๕๗