วันอาทิตย์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2557

ศ.ดร.ปริญญา นุตาลัย เล่าเรื่อง “หลวงพ่อฤาษีลิงดำ”

ช่วงระหว่างวันที่ ๒๐-๒๒ มีนาคม ๒๕๕๗ ผมโชคดีที่ได้พบและรู้จักท่าน ศ.ดร.ปริญญา นุตาลัย ซึ่งท่านเป็นที่ปรึกษาโครงการของสำนักประเมินผล สำนักงบประมาณ โดยมีท่านอลิสา ปิ่นเประเสริฐ (ผู้อำนวยการสำนักประเมินผล สำนักงบประมาณ) ผู้รับผิดชอบโครงการ เดินทางมาเก็บข้อมูลประเมินผลการใช้งบประมาณเงินแผ่นดินของหน่วยงานต่างๆ ในจังหวัดอุบลราชธานี
๒๐ มีนาคม ๒๕๕๗ ณ ห้องประชุมปทุมวรราช ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี    (ซ้ายมือสุดเป็นผมเอง คนกลาง คือ ท่านอลิสา ปิ่นประเสริฐ และ ขวามือ คือ ท่าน ศ.ดร.ปริญญา นุตาลัย)

(ซึ่งจริงๆ ผมได้รู้จักท่านอลิสา ปิ่นเประเสริฐ มานานแล้ว เนื่องจากผมเคยทำหน้าที่รองอธิการบดีฝ่ายวางแผน รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดการงบประมาณ ซึ่งจะต้องทำงานร่วมกับสำนักงบประมาณ)
(ท่านวลัยรัคน์ ศรีอรุณ ซ้ายมือสุด อดีตผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เมื่อ พ.ศ.๒๕๕๒)

(๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๓ ณ อาคารวิทยาเขตมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร)



(๑๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๕ ณ จังหวัดขอนแก่น ผมรับรางวัลคนดีศรีอีสาน ๒๕๕๕)
ศ.ดร.ปริญญา นุตาลัย
ให้ข้อคิดว่า การจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด คือ ทำอย่างไรจะทำให้คุณภาพชีวิตของคนในจังหวัดอุบลราชธานีดีขึ้น
ในส่วนของด้านการเกษตรนั้นไม่มีการพัฒนาด้านทรัพยากรมนุษย์มารองรับการพัฒนาด้านการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ

ศ.ดร.ปริญญา นุตาลัย
ได้กล่าวว่า การพัฒนาบ้านเมือง โครงการใดๆ หากทำไปแล้วเกิดความแตกแยกก็ไม่ควรจะทำอย่างยิ่งดังนั้น อุบลราชธานี จะต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งในประเด็นนี้

 ด้านขวามือผมคือ ศ.ดร.ปริญญา นุตาลัย
 กำลังดูพระกัน (หลวงพ่อของเรา-โดย-อ-ปริญญา-นุตาลัย) ส่วนซ้ายมือผม คือ ผศ.ดร.เสนอ ภิรมจิตรผ่อง ผู้ช่วยอธิการบดี ม.ราชภัฏอุบลราชธานี (ผู้เชี่ยวชาญการดูพระอีกท่าน) ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๗


๒๒ มีนาคม ๒๕๕๗ ณ วัดหลวง ซึ่งผมได้นำเรียนท่าน ศ.ดร.ปริญญา นุตาลัย ว่ากำลังดำเนินโครงการดีๆ ณ วัดหลวง 




๒๒ มีนาคม ๒๕๕๗ ณ วัดป่าหนองอ้อ วัดป่าบ้านเกิดหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล ซึ่งหนังสือที่ ศ.ดร.ปริญญา นุตาลัย ถืออยู่นั้นเป็นประวัติหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล ที่ผมได้รวบรวมไว้ ทั้งนี้ได้มีการดำเนินโครงการบูรณะเส้นทางธรรมะสู่ความเป็นหนึ่ง

ทั้งนี้ สิ่งหนึ่งที่ท่าน ศ.ดร.ปริญญา นุตาลัย ได้กล่าวแล้วทำให้ผมรู้สึกขึ้นมาทันทีเลยว่าใช่ คือ "รักษาใจให้เป็นสุข" ผมก็เลยแต่งกลอนประกอบตามข้างล่างนี้ ครับ 


และที่สำคัญคือ ก่อนที่ท่าน ศ.ดร.ปริญญา นุตาลัย จะเดินทางกลับกรุงเทพฯ ท่านได้ขอที่อยู่ผมเพื่อจะส่งหนังสือให้ผม  ซึ่งหนังสือที่ว่าเกี่ยวกับ "หลวงพ่อ" ซึ่งก็คือ "หลวงพ่อฤาษีลิงดำ"  ทำให้ผมต้องหาข้อมูลเกี่ยวกับหลวงพ่อ ยิ่งทำให้ผมได้รับสิ่งดีๆๆ มากยิ่งขึ้น ตามรูปภาพข้างล่างต่อไปนี้ ครับ 




เรื่องราว "หลวงพ่อฤาษีลิงดำ" โดย ศ.ดร.ปริญญา นุตาลัย 


สำหรับประวัติ ศาสตราจารย์ ดร.ปริญญา นุตาลัย

           ศาสตราจารย์ ดร.ปริญญา นุตาลัย สำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตร์บัณฑิต (ธรณีวิทยา) วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (ธรณีวิทยา) จากมหาวิทยาลัยโคโลราโด (โบลเดอร์) ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ สาขาธรณีวิทยาวิศวกรรม สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย และเป็นที่ปรึกษาพิเศษของอธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย รองประธานมูลนิธิสืบ นาคเสถียร กรรมการในคณะกรรมการแผ่นดินไหวแห่งชาติ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สาขาพัฒนาอุตสาหกรรม (กพ.) กรรมการผู้ชำนาญการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านเหมืองแร่ กรรมการผู้ชำนาญการการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านพัฒนาแห่งน้ำ นอกจากนี้ยังเคย ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมธรณีวิทยาแห่งประเทศไทย นายกสมาคมนักธรณีศาสตร์ เพื่อการพัฒนาแห่งประเทศ รองประธานสหภาพสมาคมธรณีวิทยาแห่งเอเซีย ตะวันออกเฉียงใต้ เป็นต้น (อ้างอิง: http://www.alumni.cmu.ac.th/province/chiangmai/honour42.html)

ครับ ช่วงเวลาเพียงระยะสั้นหว่างวันที่ ๒๐-๒๒ มีนาคม  ๒๕๕๗  ที่ผมได้มีโอกาสได้รับความเมตตาจาก ศ.ดร.ปริญญา นุตาลัย นับเป็นบุญวาสนาอย่างยิ่งได้รับสิ่งดีๆ มากมาย สิ่งหนึ่งที่ท่านได้กล่าวไว้คือ "ยังมีสิ่งที่เราไม่รู้อีกมากมาย" ดังนั้น ผมคิดว่าเราทุกคนก็เช่นกันครับ ฝึกตนเองให้เรียนรู้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์เพื่อความหลุดพ้นของเรา 

มณูญพงศ์ ศรีวิรัตน์
๒๓ มีนาคม ๒๕๕๗


หมายเหตุ
ผมได้มอบหนังสือเล่มนี้ "๑๐๔ ปี ธรรมวิพากษ์ หลวงปู่จาม มหาปุญโญให้ท่าน ศ.ดร.ปริญญา นุตาลัย (ซึ่งท่านได้บอกว่า คิดว่าจะต้องได้หนังสือของหลวงปู่จาม ทำให้ผมค่อนข้างจะแปลกใจอย่างยิ่งว่าท่านรู้ได้อย่างไรว่าผมจะมอบหนังสือให้ท่าน)






และในที่สุดผมก็ได้รับสิ่งดีๆ จากท่าน ศ.ดร.ปริญญา นุตาลัย เป็นหนังสือของท่านหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ดังนั้น เมื่อเราได้รับสิ่งดีๆ ก็ควรจะต้องหาทางบอกสิ่งดีๆ ต่อตนอื่นต่อไป



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น