วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

กาลามสูตร กับ การจัดการความรู้ (Knowledge Management) และการศึกษา ?


หลักกาลามสูตร หรือ หลักความเชื่อ ๑๐ ประการ (http://th.wikipedia.org/wiki/กาลามสูตร ) ในพระพุทธองค์

๑.       มา อนุสฺสวเนน - อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามๆ กันมา
   ๒.     มา ปรมฺปราย - อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบๆ กันมา
   ๓.      มา อิติกิราย - อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ
   ๔.      มา ปิฏกสมฺปทาเนน - อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
   ๕.      มา ตกฺกเหตุ - อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก
   ๖.       มา นยเหตุ - อย่าปลงใจเชื่อ เพราะการอนุมาน
   ๗.      มา อาการปริวิตกฺเกน - อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
   ๘.      มา ทิฎฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา - อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว
   ๙.       มา ภพฺพรูปตา - อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้
๑๐.   มา สมโณ โน ครูติ - อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้ เป็นครูของเรา
      จะเห็นว่าหลักกาลามสูตรจะเกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ (Knowledge Management) และการศึกษา นั้นยังไม่ทราบแน่ชัดว่าจะเป็นอย่างไร แต่ในเบื้องต้นลองอ่านบทกลอนที่ผู้เขียนได้แต่งไว้ข้างล่างนี้ ก่อนนะครับ

หลักความเชื่อ เมื่อรู้ ดูแจ่มชัด
ให้รู้จัก มักคุ้น ตุนให้มาก
ความเป็นจริง ยิ่งค้น สนใจมาก
ไม่ได้ยาก หากทน ค้นเรื่องดี
 

เชื่อไม่คิด จิตตก รกหัวใจ
เชื่อตามใคร ไม่ดู รู้ให้ดี
เชื่อเพราะเชื่อ เมื่อไร ไม่ค่อยดี
เชื่อใน "ดี" มีหนึ่ง จึงเชื่อเอย


     สำหรับการจัดการความรู้นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเป็นจอมปราชญ์ของแผ่นดินกับการจัดการความรู้ (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.opdc.go.th/english/9rama/rama9_details_05.html )  

    นอกจากนั้น เกี่ยวกับเรื่องของ "ความรู้" ความในพระราชดำรัส สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงบรรยายในหัวข้อ แนวโน้มการจัดการเรียนการสอนเพื่อการเรียนรู้ในทศวรรษหน้าในการสัมมนาวิชาการ เรื่อง เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ในทศวรรษหน้า ณ โรงแรม บีพี สมิหลา จังหวัดสงขลา  วันที่  ๒๓ กันยายน  ๒๕๔๒

แนวโน้มความรู้ในทศวรรษหน้าจะมีหลายอย่าง    ดังนี้ 
ประการแรก   ความรู้สากล    คือความรู้ที่จะสามารถเปรียบเทียบกันได้ทั้งโลก
ประการที่     ความรู้ที่เป็นมาตรฐานระดับประเทศ    ที่เราจะกำหนดว่าคนไทยควรต้องรู้อะไร
ประการที่     ความรู้ท้องถิ่น  ทำให้เรารู้ความเป็นมาและศักยภาพของท้องถิ่น
     ที่สำคัญคือ จะต้องสามารถโยงความรู้ทั้ง ๓ ระดับนี้ให้เข้ากันได้”

(สามารถอ่านบทความที่ผู้เขียนให้นักศึกษา ม.อุบลฯ เขียนส่ง ได้ที่ http://knowledgemanagementbypipat.blogspot.com/2013/11/blog-post_25.html)


    สำหรับผู้เขียนแล้วคิดว่าการที่จัดการความรู้ให้มีประสิทธิภาพนั้น บางสิ่่งที่ควรจะต้อง "รู้" และเข้าใจเสียก่อน คือ "KNOW" ซึ่งอาจจะเป็นตามล่างนี้ ครับ




    ซึ่งแน่นอนครับว่าเมื่อเรารู้แล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง "คิด" ดังนั้น ลองคิดมาข้างล่างนี้ลองดูนะครับ 



     และที่สำคัญสิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิด "รู้" มากๆ คือ จะต้องมีการอ่าน "READ"


      ด้วยเหตุดังกล่าว หากว่าเราจะเชื่อสิ่งใดก็ให้ใช้หลักกาลามสูตร ทั้ง ๑๐ ประการ แล้วก็ต้อง "KNOW" ให้มากๆ โดยการ "THINK" และพร้อมด้วยการ "READ"  ก็จะนำไปสู่การมีความรู้ และเมื่อมีความรู้แล้วก็ต้องมีการจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพ (สามารถอ่านรายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับ "การจัดการความรู้" ได้ที่ KM) และเมื่อการจัดการความรู้ที่ดีก็จะเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "การศึกษา" ในที่สุด 



      อย่างไรก็ดี สุดท้ายนี้ ผู้เขียนมีคำถามว่า จะทำอย่างไรที่จะให้ "การจัดการความรู้" สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาด้านการศึกษาในทุกระดับได้อย่างแท้จริง ซึ่งเราทุกคนน่าจะช่วยกันหาคำตอบร่วมกัน เพราะอย่างน้อยที่สุดก็เป็นการ "จัดการกับสิ่งที่ยังไม่รู้" เพื่อให้เป็น "การจัดการให้รู้" ในที่สุด


 ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗





3 ความคิดเห็น:

  1. ขอแลกเปลี่ยนค่ะก่อนที่จะจัดการความรู้ ทุกคนจะต้องถอด...อย่าคิดลึกค่ะ..หมายถึงถอดความเป็นตัวตนของตนเองซะก่อน
    เพื่อให้ได้แนวทางปฏิบัติ หรือการตกผลึกที่ดีออกมาให้มากที่สุด

    ตอบลบ