วันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2553

รังเกียจ

รังเกียจ ความรู้สึกรังเกียจ เกิดขึ้นจากอะไรกันเแน่ เกิดจากสาเหตุอะไร หลายๆ คนอาจจะบอกว่าเกิดจากความไม่พอใจในสิ่งนั้นๆ เกิดจากความเป็นทุกข์กับสิ่งนั้น หรือจากสาเหตุอื่นๆ
สมมติในที่ทำงานแห่งหนึ่ง เจ้านายไม่พอใจที่ลูกน้องมาทำสาย นอกจากมาทำงานสายแล้วขณะที่ทำงานยังทำงานไม่เต็มที่เล่นแต่เน็ต แซ็ท ทั้งวัน วันๆ เอาแต่นั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์แล้วก็ยิ้มอยู่คนเดียว เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว เจ้านายก็อาจจะมีความรู้สึกว่าไม่อยากจะเข้าใจลูกน้องคนนี้ ไม่อยากจะมอบงานให้ลูกน้องคนนี้ทำงานเลย
แล้วจะทำอย่างไรละครับ ลูกน้องจะทราบหรือเปล่าว่าเจ้านายเขารังเกียจ เขาไม่พอใจ เขาไม่อยากจะเข้าใกล้ แล้วเจ้านายจะทราบหรือไม่ว่าลูกน้องก็มีความรู้สึกเช่นเดียวกัน มีหาทางเดียวที่จะทำได้ คือ ตัวลูกน้องเลยจะต้องกลับมาดูตัวเองในกระจก ดูตัวเองว่าเกิดอะไรขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมากที่จะทำได้ แต่อย่างไรก็ดี ยังมีหนทางหนึ่งที่จะสามารถทำให้ความรังเกียจหายไป คือ เจ้านายเองจะต้องใจเย็นๆ คุยกับลูกน้องถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ตัวลูกน้องเองก็ต้องรับฟังข้อดังกล่าว ว่าเป็นจริงหรือไม่อย่างไร เมื่อได้ข้อสรุป หรือ พูดคุยร่วมกันแล้ว สร้างความเข้าใจร่วมกันด้วยกัณยาณมิตร ด้วยความรู้สึกที่ดีต่อกัน ด้วยความรู้สึกที่ไม่ต่อต้าน ด้วยความรู้สึกที่ไม่มีข้อโต้แย้งระหว่างกัน ด้วยความรู้สึกที่ว่าไม่มีความเห็นแก่ตัว
ความรู้สึกเช่นนี้ ระหว่างเจ้านายและลูกน้อง เรียกว่า เกิดความรังเกียจซึ่งกันและกันขึ้นมาระหว่างเจ้านายกับลูกน้อง รังเกียจ ความรู้สึกรังเกียจ เป็นสิ่งที่เราไม่ต้องการ เป็นที่เราทุกคนมีความรู้สึกว่าไม่ดี เป็นที่เราทุกคนมีความรู้สึกว่าไม่อยากจะรับรู้ไม่อยากจะเข้าใกล้
ดังนั้น จะเห็นว่าความรังเกียจสามารถจะหายไปได้อย่างแน่นอน ถ้าหากว่าผู้ที่รังเกียจและผู้ถูกรังเกียจได้รับรู้ ได้ทราบถึงสาเหตุร่วมกัน ซึ่งจะต้องใช้ความใจเย็น ใช้สติ ใช้ปัญญา เอาใจเขามาใส่ใจของเรา เอาความรู้สึกของคนอื่นๆ มาเป็นความรู้สึกของเรา รู้เขารู้เรา รู้จิตใจของคนรอบข้างให้มากที่สุด ซึ่งถ้าเจ้านายและลูกน้องตามข้างต้นได้เข้าใจความรู้สึกเข้าใจจิตใจของกันและกัน พูดคุยกัน สังเกตพฤติกรรม เข้าใจพฤติกรรม พัฒนาปรับปรุงพฤติกรรมร่วมกัน ผู้เขียนคิดว่า ความรังเกียจซึ่งกันและกันจะลดลง และถ้าหากทั้งเจ้านายและลูกน้องปฏิบัติได้อย่างที่ว่าแล้ว องค์กรนั้นๆ จะมีแต่ความสุขความเจริญอย่างแน่นอน
มนูญ ศรีวิรัตน์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น