วันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

พระอาจารย์ ภาสกร ภูริวฑฺฒโน (ภาวิไล)





บ่ายวันนี้ (๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๖) ได้รับเกียรติให้เป็นพิธีกรในการบรรยายพิเศษของ พระอาจารย์ ภาสกร ภูริวฑฺฒโน (ภาวิไล)" ผู้อำนวยการธรรมสถาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (วัดฝ่ายหิน) ณ ห้องบรรยาย อาคารเรียนรวม ๕ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

โดยผมจะพยายามสรุป เบื้องต้นตามนี้ครับ

กึ่งธาตุรู้ จะทำหน้าที่บังคับบัญชา เซลล์แต่ละเซลล์
ต้นไม้เป็นการร่วมตัวกันของกลุ่มกึ่งธาตุรู้ ไม่มีจิต อยู่แบ่งหน้าที่กันทำงาน

ธาตุรู้ปฐมภูมิ ที่สามารถควบคุมบังคับบัญชา => สัตว์เซลล์ สามารถดำรงชีวิตได้มีจิต แต่เป็นจิตชั้นต่ำ

มนุษย์ มีสมองใหญ่ทำให้เกิดการจิตนาการ ฉลาดมายิ่งขึ้น
มนุษย์  น่าจะมีวิวัฒนาการมาจากตัวตุ่น เช่น เมื่อโกรธกันก็ด่ากันว่า โง่เง่าเต่าตุ่น

หากว่าผิวหนังมนุษย์เราใสจนสามารถมองเห็นอวัยวะภายในได้ จะเกิดอะไรขึ้น

จิตเหนืออารมณ์ได้ จะเกิดการยุติ
เมื่อไม่ยินดีในการเกิด จิตจะกลับไปเป็น หนึ่งหน่วยพลังงานที่ทรงปัญญาเป็นอิสระ

พลังงานไม่ได้สูญหายไปไหน
นิพพาน ไม่ใช่การสูญหาย  อยู่ในสถานะที่อิสระ

ขบวนการเกิดทุกข์
อยาก (สมุทัย) => อยากดึงเข้า (โลภะ) อยากเอาออก (โทสะ)
ทำไมจึงอยาก เพราะ => ยึด รูปรสกลิ่นเสียง
ยึดมั่นตัวเองสูง
แล้วเราทำไมจึง ยึดเพราะอวิชชา (ไม่รู้ความจริง)
โมหะ (ความหลง ไม่เห็น) มิจฉาทิฎฐิ (รู้ผิด เห็นผิด)
ดังนั้น อวิชชา โมหะ มิจฉาทิฏฐิ => โง่

ด้วยเหตุนี้
เมื่อ โง่ =ยึด =อยาก =ทุกข์
จะแก้ทุกข์ได้อย่างไร?

มรรคมีองค์แปด (มรรค ๘ = ทางสายกลาง)
สัมมาทิฏฐิ คือ ปัญญาเห็นชอบ หมายถึง การปฏิบัติอย่างเหมาะสมตามความเป็นจริงด้วยปัญญา
สัมมาสังกัปปะ คือ ดำริชอบ หมายถึง การใช้สมองความคิดพิจารณาแต่ในทางกุศลหรือความดีงาม
สัมมาวาจา คือ เจรจาชอบ หมายถึง การพูดต้องสุภาพ พูดในสิ่งที่สร้างสรรค์ดีงาม
สัมมากัมมันตะ คือ การประพฤติดีงาม ทางกายหรือกิจกรรมทางกายทั้งปวง
สัมมาอาชีวะ คือ การทำมาหากินอย่างสุจริตชน ไม่คดโกง เอาเปรียบผู้อื่น
สัมมาวายามะ คือ ความอุตสาหะพยายาม ประกอบความเพียรในการกุศลกรรม
สัมมาสติ คือ การไม่ปล่อยให้เกิดความพลั้งเผลอ จิตเลื่อนลอย ดำรงอยู่ด้วยความรู้ตัวอยู่เป็นปกติ
สัมมาสมาธิ คือ การฝึกจิตให้ตั้งมั่น สงบ สงัด จากกิเลส นิวรณ์อยู่เป็นปกติ
มรรค แต่ละคนไม่เหมือนกัน

ศีล สมาธิ ปัญญา (อธิษฐานนิพพานพลัน)
สิกขา (การศึกษา) มีไว้แก้โง่
สมถะ = ทำให้เกิดกำลังใจ (กำลัง) การเอาใจไปจดจ่อกับอะไรจะทำให้เกิดกำลัง (กรรมฐาน มี ๔๐ วิธี)
แต่กำลังอย่างเดียวไม่พอ จะต้องมีการทำงานวิเคราะห์ => วิปัสสนา
โยนิโสมนสิการ = คิดอย่างฉลาด คือ คิดที่ละเรื่อง คิดตั้งแต่ต้นต้นจนจบ
วิปัสสนา = ญาณ (วิชชา) รู้
เมื่อรู้ ก็เลิกโง่ เมื่อเลิกโง่ ก็เลิกยึด เมื่อเลิกยึด ก็เลิกอยาก เมื่อเลิกอยาก ก็เลิกทุกข์ ในที่สุด

อริยสัจ ๔คือ กฎแห่งความเป็นจริง
ไตรลักษณ์คือ กฎของการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะต้องมีเวลามีเกี่ยวข้อง
กรรมนิยามกฎแห่งกรรมของตน
ปฏิจจสมุปบาท” กฎการเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลายเพราะอาศัยกัน


ทุกข์ คือ สภาวะที่ทนได้ยาก
รักสุข เกลียดทุกข์
กลายมาเป็นวิวัฒนาการ
มีความสุขมากขึ้น มีความทุกข์น้อยลง

กฎธรรมชาติ มีกฎเดียว ไม่มีอะไรที่ขัดกัน
ธรรมชาติ ย่อมมีธรรมชาติที่ไม่มีสองกฎ
วิทยาศาสตร์ และศาสนา มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน คือ
ธรรมชาติ สนใจในเรื่องเดียวกัน แต่เป้าหมายต่างกัน วิทยาศาสตร์ สนใจธรรมชาติเพื่อความอยากรู้ ส่วนศาสนา เป้าหมายคือความหลุดพ้น

การบรรเทาทุกข์ การดับทุกข์
ทุกข์ คือ ทนได้อยาก
ทุกข์เบื้องต้น เกิดขึ้นเพราะอะไร ?
หลายสิ่งในโลกนี้ต่างมาจากที่เป็นสิ่งเดียวกัน เพียงแต่เปลี่ยนแตกต่างกันไปเพราะพลังงาน 
เช่น น้ำ น้ำแข็ง ไอน้ำ คือ สิ่งเดียวกัน แต่เปลี่ยนไปเพราะสถานะโดยใช้พลังงาน

จิตเดิมแท้ คือ มีความสว่าง ประภัสสร บริสุทธิ์ คือ โง่บริสุทธิ์

ความรู้ รู้แล้วรู้เลย จะทำเป็นไม่รู้ไม่ได้
ความรู้เบื้องต้นดังเดิม คือ ความกลัวเช่น กลัวแสงสว่างมาก กลัวเสียงดังๆ แล้วก็นำพลังงานส่วนมาห่อหุ้มเพื่อป้องกันความกลัวของเรา ดังนั้น  เมื่อมีพลังงานมาห่อหุ้มขึ้นก็เกิดวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงไป เป็นสิ่งที่เรียกว่าสิ่งมีชีวิตในระดับต่างๆ เรื่อยๆ มาในที่สุด

มนุษย์
คิด => ทำ
ไม่คิด => ทำ
คิด =ไม่ทำ
ศีล เป็นความปกติ

ความเครียด เป็นสิ่งที่ตั้งค่าของจิตใจในความอยาก ค่าคาดหวังแล้วไม่สมใจ ค่าที่ตั้งไว้นั้น สมจริงหรือไม่ เป็นไปได้หรือไม่ ดังนั้น จะต้องตรวจสอบค่าคาดหวังว่าเป็นอย่างไร

ตายไปไหน ไปด้วยกำลังของใจ ภพของใจจะถูกสร้างขึ้น  จิตเป็นสุขจะขึ้น จิตเป็นทุกข์จะลง เตรียมตัวก่อนตาย ดังนั้น ปมในใจ ลองทบทวนปมในใจ จิตจะวิ่งหาข้อมูลเก่าปมเก่า ไล่ถอยหาตัวแก้ปม เอาความจริงไปแก้ หาเหตุหาผลว่าทำไมปมถึงเป็นอย่างนั้น จิตคือ ธาตุรู้ จะต้องเข้าไปแก้ที่จิต หาคำตอบให้ปมดังกล่าว

บุญ คือ ความสุข ความเจริญ ไม่จำเป็นจะต้องไปทำที่วัดก็ได้ มีวิธีการมากมาย ที่จะทำเช่นเริ่มทำที่บ้านก่อน ด้วยการดูแลพ่อแม่ของเรา เลือกวิธีการที่เหมาะสม

ตัวสำคัญที่สุดให้การตัดสินที่จะไปอยู่ภพไหน คือ สภาพของจิต ดังนั้น ฝึกคิดเรื่องดี คือ ก่อนนอนทุกวัน ให้คิดและเขียนความดีของเราในแต่ละวัน ๓ ข้อในแต่ละคืนก่อนนอน ดังนั้น คนเราต้องมั่นคิดถึงความดีและทำความดีในทุกวัน และจัดทำรูปภาพในการทำบุญของแต่ละเดือนติดไว้ในบ้าน ภายใน ๑ ปี จะทำให้มีรูปภาพอย่างน้อย ๑๒ ภาพ

อจต.
ผู้รวบรวม

อ้างอิงเพิ่มเติมของการบรรยายของพระอาจารย์





วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บัวอุบล => BUA UBON


เนื่องจากจังหวัดอุบลราชธานี เป็นเมืองแห่งดอกบัว ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมเอกลักษณ์ของจังหวัดอุบลราชธานี อันนำไปสู่ความสำคัญระดับชาติ ในเบื้องต้นอาจจะมีการพัฒนา บัวอุบล ดังนี้


บัวอุบลฯ BUA UBON


BUA ==> 


B = Beauty สวยงาม


U = Upgrade ยกระดับ ทำให้ดีขึ้น


A = Atop บนยอด สุดยอด สูงสุด


UBON  ==>  


U = Usable มีประโยชน์


B = Bright สีสดใส


O = Optimal เหมาะสมที่สุด ดีที่สุด


N =National ประจำชาติ ระดับชาติ



   ดังนั้น BUA UBON  ต้องสวยงามถูกทำให้ดีขึ้นสูงสุดโดยพัฒนาให้มีประโยชน์สีสดใสที่ดีที่สุดในระดับชาติ






วิสัยทัศน์ => "บัวอุบลงามล้ำค่า นำพาความสุขอย่างยั่งยืน"


บทกลอน
๑.
อุบลเมืองดอกบัว       รู้กันทั่วเมืองบัวงาม
บัวอุบลลือนาม          เป็นนิยามของดอกบัว
บัวมีมากหลายพันธุ์    ต้องร่วมกันให้รู้ทั่ว
อนุรักษ์พันธุ์บัว          ทุกครอบครัวมารวมกัน
คนอุบลต่างต้องชวน  ทุกภาคส่วนต้องแข็งขัน
ช่วยประชาสัมพันธ์     สืบสานพันธุ์บัวงามเอย


๒.
วิสัยทัศน์บันดล         บัวอุบลงามล้ำค่า
บัวอุบลงามตา          ต้องนำพาให้รุ่งเรือง
คนอุบลรวมใจ           พร้อมใส่ใจบัวทุกเรื่อง
บัวงามต้องลือเลื่อง    จะเป็นเมืองดอกบัวงาม
พันธกิจร่วมกัน          ต่างแบ่งปันทำกันตาม
รับรองต้องลือนาม     ทุกเขตคามรู้ทั่วเอย



มณูญพงศ์ ศรีวิรัตน์